นกตะขาบม่วง

นกตะขาบม่วง หรือ นกตะขาบหัวสีน้ำตาล (อังกฤษ: purple roller หรือ rufous-crowned roller; ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias naevius) เป็นนกขนาดกลางในวงศ์นกตะขาบ กระจายพันธุ์ในอนุภูมิภาคทะเลทรายสะฮารา มีสีต่างจากนกตะขาบอื่น ๆ อย่างชัดเจนคือโดยรวมสีค่อนข้างทึม และร้องเสียงห้วน ๆ และแหบแห้ง

นกตะขาบม่วง
นกตะขาบม่วง
นกตะขาบม่วง ที่พบในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ประเทศแอฟริกาใต้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Coraciiformes
วงศ์: Coraciidae
สกุล: Coracias
สปีชีส์: C.  naevius
ชื่อทวินาม
Coracias naevius
Daudin, 1800
นกตะขาบม่วง
เขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา
ชื่อพ้อง
  • Coracias naevia
  • Coracias noevia
  • Coracias noevius
นกตะขาบม่วง
ริ้วสีขาวที่เด่นชัดบนคอและอก ที่นามิเบีย (ของชนิดย่อย Coracias naevius mosambicus)
นกตะขาบม่วง
ภาพประกอบ

อนุกรมวิธาน

นกตะขาบม่วงได้รับการระบุชนิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1800 โดยฟรองซัวร์ มารี โดแดง (François Marie Daudin) นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ในชื่อทวินาม Coracias naevia จากตัวอย่างที่เก็บได้ในเซเนกัล ชื่อลักษณะเฉพาะจากภาษาละติน "naevius" หมายถึง "เป็นจุด" หรือ "เป็นเครื่องหมาย"

การศึกษาสายวิวัฒนาการระดับโมเลกุลที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2018 พบว่านกตะขาบม่วงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับนกตะขาบทุ่งหางบ่วง (Coracias spatulatus)

ชนิดย่อย

สองชนิดย่อยได้รับการยอมรับ คือ

  • Coracias naevius naevius - Daudin, 1800 – นกตะขาบคอสีม่วง พบตั้งแต่เซเนกัลและแกมเบีย ไปจนถึงโซมาเลียและแทนซาเนียตอนเหนือ ซึ่งชื่อสามัญของชนิดย่อยนี้ยังใช้เป็นชื่อรองของนกตะขาบทุ่งอกสีม่วง
  • Coracias naevius mosambicus - Dresser, 1890 – แต่เดิมระบุว่าเป็นชนิดที่แยกออกต่างหาก (Coracias mosambicus) พบเห็นได้ในแองโกลาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกตอนใต้ ไปจนถึงนามิเบียตอนเหนือของแอฟริกาใต้

ลักษณะ

นกตะขาบม่วงเป็นนกตะขาบที่ใหญ่ที่สุดในสกุลนกตะขาบทุ่ง (rollers) มีความยาว 35 ถึง 40 เซนติเมตร (14 ถึง 16 นิ้ว) ปีกยาวและโค้งลู่และมน ส่วนหางตัดเป็นสี่เหลี่ยม

จากระยะไกลมีสีน้ำตาลทึม มีคิ้วยาวสีขาว คอและอกมีริ้วสีขาวจำนวนมาก หางสีครามเข้ม ประชากรนกทางเหนือมีแนวโน้มที่จะมีกระหม่อมสีน้ำตาลอ่อน ในขณะที่ประชากรนกทางใต้มีกระหม่อมสีเขียวมะกอก ท้องเป็นสีม่วงอมชมพู

เสียง

ร้องเสียง (โดยมาก 2 จังหวะติด ๆ) "ก้า" หรือ "วา-ก้ะ" ที่แหบแห้งและเกรี้ยวกราด ซ้ำ ๆ อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอหลายนาที

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

นกตะขาบม่วงชอบอาศัยในตอหรือต้นที่ตายแล้วของพืชมีหนามสกุลสีเสียด (กระถิน) มักเกาะอยู่ตามยอดไม้มีหนามหรือเสาเป็นเวลานานคอยดูเหยื่อ เช่น แมลง แมงมุม แมงป่อง และกิ้งก่าขนาดเล็กบนพื้น และเมื่อจะบินมักโยกสั่นตัวไปมา และร้องเสียงดังตลอดเวลา ตั้งแต่จากยอดไม้จนร่อนลงมาสู่พื้นดิน

การผสมพันธุ์

เป็นนกหวงถิ่น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะบินไล่นกตะขาบอื่น ๆ เหยี่ยวขนาดเล็ก และกา ดูเหมือนว่านกตะขาบม่วงเป็นนกที่ผสมพันธุ์ตามโอกาสที่อาจมีความเชื่อมโยงกับฝน เนื่องจากฤดูผสมพันธุ์ที่แตกต่างกันของประชากรในแต่ละภูมิภาค

ทำรังในโพรงตามธรรมชาติบนต้นไม้ ใช้รูเก่าของนกหัวขวาน ในซอกผา ริมฝั่งแม่น้ำ ท่อ หรือโพรงในอิฐ มักจะวางไข่ 3 ฟอง มีสีขาว ลูกนกถูกเลี้ยและฟักโดยพ่อแม่ร่วมกัน

การกระจายพันธุ์

เขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา ทางใต้ของภูมิภาคทะเลทรายสะฮารา ได้แก่ แองโกลา, เบนิน, บอตสวานา, บูร์กินาฟาโซ, แคเมอรูน, สาธารณรัฐอัฟริกากลาง, ชาด, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, โกตดิวัวร์, เอริเทรีย, เอสวาตินี, เอธิโอเปีย, แกมเบีย, กานา, กินี, กินี-บิสเซา, เคนยา, ไลบีเรีย, มาลาวี, มาลี, มอริเตเนีย, โมซัมบิก, นามิเบีย, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, เซเนกัล, โซมาเลีย, แอฟริกาใต้, ซูดาน, แทนซาเนีย, ยูกันดา, แซมเบีย และซิมบับเว ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,300 เมตร

อ้างอิง

Tags:

นกตะขาบม่วง อนุกรมวิธานนกตะขาบม่วง ลักษณะนกตะขาบม่วง พฤติกรรมและนิเวศวิทยานกตะขาบม่วง การกระจายพันธุ์นกตะขาบม่วง อ้างอิงนกตะขาบม่วงชื่อวิทยาศาสตร์ทะเลทรายซะฮาราภาษาอังกฤษวงศ์นกตะขาบ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ภาษาไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพขันธ์พระพรหมประเทศเกาหลีเหนือเดนิส เจลีลชา คัปปุนรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรจังหวัดภูเก็ตพิชิตรัก พิทักษ์โลกหลวงปู่ทวดนริลญา กุลมงคลเพชรวิธวัฒน์ สิงห์ลำพองรัมมี่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลรายพระนามพระพุทธเจ้ายอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์ญาณี จงวิสุทธิ์สมณศักดิ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถเศรษฐา ทวีสินฟุตบอลทีมชาติไทยประเทศอิตาลีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยกองทัพภาคที่ 1กระทรวงในประเทศไทยจังหวัดสมุทรปราการสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ศาสนาพุทธปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ยากูซ่าจังหวัดตรังลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลภักดีหาญส์ หิมะทองคำนิวจีนส์จักรพรรดิยงเจิ้งสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา2ปานปรีย์ พหิทธานุกรโรงเรียนนายร้อยตำรวจสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์รามาวดี นาคฉัตรีย์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารนามสกุลพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณสงครามยุทธหัตถีทักษิณ ชินวัตรดวงจันทร์จีรนันท์ มะโนแจ่มกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์พระพุทธเจ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลิโอเนล เมสซิภาษาญี่ปุ่นราชินีแห่งน้ำตาป๊อกเด้งการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรหัสมอร์สหม่ำ จ๊กมกกาจบัณฑิต ใจดีดวงอาทิตย์รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาปวีณ พงศ์สิรินทร์จังหวัดปราจีนบุรีรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสืบ นาคะเสถียรลาลิกาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร🡆 More