ดาวหางแฮลลีย์: ดาวหาง

ดาวหางแฮลลีย์ (อังกฤษ: Halley's Comet หรือ Comet Halley) คนไทยเรียก ดาวหางฮัลเลย์ มีชื่ออย่างเป็นทางการตามระบบดาวหางว่า 1P/Halley เป็นดาวหางคาบสั้นที่สามารถมองเห็นได้จากโลกในทุก 75–79 ปี แฮลลีย์เป็นดาวหางคาบสั้นเพียงดวงเดียวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกเป็นประจำ และยังเป็นดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงดวงเดียว ที่ปรากฏให้เห็นได้ถึงสองครั้งในช่วงชีวิตของมนุษย์ ครั้งสุดท้ายที่ปรากฎให้เห็นในระบบสุริยะชั้นในคือปี พ.ศ.

2529 และจะปรากฏครั้งถัดไปในช่วงกลางปี พ.ศ. 2604

ดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley)
ดาวหางแฮลลีย์: ดาวหาง
ดาวหางแฮลลีย์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2529
การค้นพบ
ค้นพบโดย:ก่อนประวัติศาสตร์ (สังเกตการณ์)
เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (ผู้พบคาบการโคจร)
ค้นพบเมื่อ:ค.ศ. 1758 (โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ตามการคาดการณ์เป็นครั้งแรก) อาจได้รับการมองเห็นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1066 ก่อนยุทธการที่เฮสติงส์
ลักษณะของวงโคจร
ต้นยุคอ้างอิง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2604 (2474040.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
35.14 au
(ต่อไป: 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
0.59278 au
(ล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529)
(ต่อไป: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2604)
กึ่งแกนเอก:17.737 au
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.96658
คาบการโคจร:74.7 yr
75 ป. 5 ด. 19 ว. (จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดถึงจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด)
มุมกวาดเฉลี่ย:0.07323°
ความเอียง:161.96°
Time of periastron:28 กรกฎาคม พ.ศ. 2604
≈27 มีนาคม พ.ศ. 2677
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย:11 km
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
15 km × 8 km
ปริมาตร:0.6 g/cm3 (average)
0.2–1.5 g/cm3 (est.)
มวล:2.2×1014 kg
ความเร็วหลุดพ้น:~0.002 km/s
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
2.2 วัน (52.8 ชม.) (?)
อัตราส่วนสะท้อน:0.04
โชติมาตรปรากฏ:28.2 (in 2003)

การโคจรกลับมาในระบบสุริยะชั้นในอย่างเป็นคาบของดาวหางแฮลลีย์ ได้รับการสังเกตและบันทึกไว้โดยนักดาราศาสตร์ทั่วโลกมาตั้งแต่ 240 ปีก่อนคริสตกาลเป็นอย่างน้อย กระทั่งในปี ค.ศ. 1705 เอ็ดมันด์ แฮลลีย์นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้เข้าใจว่าการกลับมาในทุกครั้งของดาวหางดวงที่สังเกตได้นั้นเป็นดาวหางดวงเดิม จากการค้นพบดังกล่าวนี้ทำให้ดวงหางดวงนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเอ็ดมันด์ แฮลลีย์

ในช่วงการกลับมายังระบบสุริยะชั้นในของแฮลลีย์ในปี พ.ศ. 2529 มีการสังเกตรายละเอียดของดาวหางจากยานอวกาศ โดยนับเป็นครั้งแรกที่มีการสังเกตในลักษณะนี้ ทำให้ทราบได้ถึงข้อมูลโครงสร้างจากการสังเกตของนิวเคลียสดาวหาง กลไกของโคมาและการเกิดหางเป็นครั้งแรก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนสมมติฐานที่มีมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับโครงสร้างของดาวหาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลอง "บอลหิมะสกปรก" (dirty snowball) ของเฟรด วิปเปิล ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ได้อย่างถูกต้องว่าดาวหางแฮลลีย์นั้นประกอบไปด้วยน้ำแข็งระเหยที่ผสมกัน เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และฝุ่น ภารกิจดังกล่าวยังให้ข้อมูลซึ่งเป็นการปฏิรูปความเข้าใจและกำหนดแนวคิดขึ้นใหม่อย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับดาวหางด้วย เช่น ความเข้าใจใหม่ที่ว่าพื้นผิวของดาวหางแฮลลีย์นั้นประกอบด้วยฝุ่นที่ไม่ระเหยเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่เป็นน้ำแข็ง

การอ่านชื่อ

ในยุคที่เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ยังมีชีวิตอยู่ นามสกุลของเขาเขียนหลายแบบ มีทั้ง Hailey, Haley, Hayley, Halley, Hawley, และ Hawly ทำให้ไม่อาจกำหนดได้ว่า นามสกุลนี้อ่านออกเสียงอย่างไรในยุคนั้น แต่ในปัจจุบัน ผู้ใช้นามสกุลนี้นิยมอ่านนามสกุลตนเองว่า "แฮลลีย์" ส่วนชื่อดาวหางนั้น ปัจจุบันนิยมออกเสียงว่า "แฮลลีย์" หรือ "เฮลลีย์"

คนไทยมักเรียกชื่อดาวหางนี้ว่า "ฮัลเลย์" บ้างเขียน "ฮัลเล่ย์"

อ้างอิง

Tags:

ดาวหางภาษาอังกฤษระบบสุริยะ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เศรษฐา ทวีสินสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี1รัฐฉานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลการรถไฟแห่งประเทศไทยอีเอฟแอลคัพเมืองพัทยาภาวะโลกร้อนสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีธนาคารทหารไทยธนชาตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เฟซบุ๊กพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์บุพเพสันนิวาสสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15ไทยรัฐภาพอาถรรพณ์เว็บไซต์พรรษา วอสเบียนกองบัญชาการตำรวจนครบาลจังหวัดนครปฐมประเทศอิตาลีบาท (สกุลเงิน)ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนยากูซ่าญาณี จงวิสุทธิ์ระบบสำราญ นวลมาท้าวสุรนารีX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)ภรภัทร ศรีขจรเดชาบางกอกอารีนาการ์ตูนข่าวช่อง 7HDเปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)วันชนะ สวัสดีโหราศาสตร์ไทยผู้หญิง 5 บาปพัชราภา ไชยเชื้อจังหวัดนครพนมรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยไค ฮาเวิทซ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารภาษาในประเทศไทยทุเรียนชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชปรียาดา สิทธาไชยประเทศพม่าเทศน์ เฮนรี ไมรอนรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาสหภาพโซเวียตรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยมณฑลของประเทศจีนกองทัพบกไทยจุลจักร จักรพงษ์ใบแดงประเทศสวิตเซอร์แลนด์ฟุตซอลโลกหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยสงครามยุทธหัตถีเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีประเทศไต้หวันปริญ สุภารัตน์วัลลภ เจียรวนนท์แวมไพร์ ทไวไลท์มหาวิทยาลัยบูรพาอรรถกร ศิริลัทธยากรนริลญา กุลมงคลเพชรกัญญาวีร์ สองเมืองผ่าพิภพไททันอดอล์ฟ ฮิตเลอร์หนุมานหีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพ่อขุนรามคำแหงมหาราชพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร🡆 More