ควอเทอร์เนียน

ในคณิตศาสตร์ ควอเทอร์เนียน (อังกฤษ: Quaternion) เป็นระบบจำนวนที่เพิ่มเติมออกมาจากจำนวนเชิงซ้อน เป็นจำนวนที่เขียนได้ในรูป w + i x + j y + k z โดยที่ w , x , y และ z เป็นจำนวนจริง และ i 2 = j 2 = k 2 = − 1 , i j = k = − j i =j^=k^=-1,ij=k=-ji} ซึ่งแสดงว่าควอเทอร์เนียนไม่มีสมบัติการสลับที่

ควอเทอร์เนียนมีบทบาททั้งในคณิตศาสตร์ทฤษฎีและคณิตศาสตร์ประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคำนวณที่มีการหมุนในสามมิติ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟฟิกสามมิติ ในการใช้ประโยชน์เชิงปฏิบัติ ควอเทอร์เนียนสามารถใช้ควบคู่กับวิธีอื่นๆ เช่น มุมออยเลอร์ และเมทริกซ์การหมุน หรือใช้แทนไปเลยโดยขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์

พีชคณิตควอเทอร์เนียนมักใช้ตัวอักษร H (จากชื่อ Hamilton) หรือ ℍ (Unicode U+210D)

ความเป็นมา

ควอเทอร์เนียน ถูกสร้างขึ้นโดย วิลเลียม โรวัน แฮมิลตัน (Sir William Rowan Hamilton) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี ค.ศ. 1805-1865 นักคณิตศาสตร์ชาวไอร์แลนด์ มีผลงานในด้านพีชคณิต ดาราศาสตร์ และฟิสิกส์

วันที่ 16 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1843 แฮมิลตันได้สร้างจำนวนชนิดใหม่ขึ้นเรียกว่า ควอเทอร์เนียน ระหว่างทางที่เขากำลังเดินทางไปยัง Royal Irish Academy แฮมิลตันตื่นเต้นมากจนถึงขั้นสลักสมการต่อไปนี้ของควอเทอร์เนียนเอาไว้

ควอเทอร์เนียน 

นิยาม

ควอเทอร์เนียน H คือเซตที่เท่ากับปริภูมิเวกเตอร์ 4 มิติของจำนวนจริง (R4) การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ในควอเทอร์เนียนมี 3 แบบคือ การบวก, การคูณด้วยปริมาณสเกลาร์ และการคูณด้วยควอเทอร์เนียน ผลรวมระหว่างจำนวนควอเทอร์เนียนสองจำนวนจะมีค่าเท่ากับการรวมของจำนวนสองจำนวนในปริภูมิ R4 และเช่นเดียวกัน การคูณควอเทอร์เนียนด้วยจำนวนจริงจะใช้นิยามเดียวกันกับการคูณเวกเตอร์ใน R4 ด้วยจำนวนจริง สำหรับการคูณระหว่างจำนวนควอเทอร์เนียนสองจำนวนนั้น ก่อนอื่นจะต้องนิยามฐานหลัก (basis) ของ R4 ก่อน โดยปกติพื้นฐาน ฐานหลักที่นิยมใช้ก็คือ 1, i, j และ k ดังนั้นสมาชิกใดๆก็ตามใน H ย่อมสามารถเขียนให้อยู่ในรูปผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของฐานหลักเหล่านั้นได้เสมอโดยไม่ซ้ำแบบกัน ยกตัวอย่างเช่น ควอเทอร์เนียน a1 + bi + cj + dk เป็นการเขียนในรูปฐานหลัก โดยที่ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริง และมี 1, i, j และ k เป็นฐานหลัก เป็นต้น ควอเทอร์เนียนมีเอกลักษณ์การคูณ คือ 1 ดังนั้นการคูณควอเทอร์เนียนด้วย 1 จึงไม่เปลี่ยนแปลงควอเทอร์เนียน ด้วยเหตุนี้จำนวนควอเทอร์เนียนใดๆ มักเขียนในรูป a + bi + cj + dk ดังนั้นนิยามการคูณระหว่างจำนวนควอเทอร์เนียนสองจำนวนจึงประกอบไปด้วยการคูณกันระหว่างสมาชิก และการใช้กฎการแจกแจง

การคูณระหว่างฐานหลัก

ฐานหลักของควอเทอร์เนียนมีสมบัติ คือ ควอเทอร์เนียน  โดย i, j และ k เป็นจำนวนจินตภาพ เราสามารถหาผลคูณระหว่างฐานหลักแต่ละคู่ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการแสดงว่า ควอเทอร์เนียน  สามารถทำได้โดยเริ่มจากพิจารณาสมการ

ควอเทอร์เนียน 

จากนั้นคูณทั้งสองด้านของสมการด้วย k จะได้

ควอเทอร์เนียน 

สำหรับผลคูณระหว่างฐานหลักคู่อื่นๆสามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการเดียวกัน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ ดังนี้

    ควอเทอร์เนียน 

ผลคูณฮามิลตัน (Hamilton product)

สำหรับจำนวนควอเทอร์เนียนสองจำนวน a1 + b1i + c1j + d1k และ a2 + b2i + c2j + d2k ผลคูณฮามิลตัน (a1 + b1i + c1j + d1k)(a2 + b2i + c2j + d2k) สามารถหาได้โดยการใช้สมบัติการแจกแจง จากนั้นหาผลรวมระหว่างผลคูณของฐานหลักแต่ละคู่ ดังต่อไปนี้

    ควอเทอร์เนียน 

เมื่อจัดหมู่ ผลลัพธ์ที่ได้คือ

    ควอเทอร์เนียน 

Tags:

ควอเทอร์เนียน ความเป็นมาควอเทอร์เนียน นิยามควอเทอร์เนียนจำนวนจำนวนเชิงซ้อนภาษาอังกฤษสมบัติการสลับที่

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

โรงเรียนชลกันยานุกูลปภาวดี ชาญสมอนอสมทอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์พรีเมียร์ลีกกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรมราชเลขานุการในพระองค์โฟร์อีฟสุภาพบุรุษจุฑาเทพตารางธาตุสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินปัญญา นิรันดร์กุลเกาะกูดร่มเกล้า ธุวธรรมจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นเด่นคุณ งามเนตรสถิตย์พงษ์ สุขวิมลพฤษภาคมข้อมูลคลิปวิดีโอรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดพิศณุ นิลกลัดไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เกิดชาตินี้พี่ต้องเทพสถาบันพระบรมราชชนกอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)สงครามโลกครั้งที่สองการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475เลขประจำตัวประชาชนไทยศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาหนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์โช กยู-ซ็องหลวงปู่ทวดอุปสงค์และอุปทานนิษฐา คูหาเปรมกิจรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่ทิน โชคกมลกิจพันทิป.คอมจูด เบลลิงงัมซิลลี่ ฟูลส์อนันต์รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยรณิดา เตชสิทธิ์.comชาคริต แย้มนามเอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์ราชวงศ์ชิงประวัติศาสตร์ไทยประเทศอินเดียไทยสุภัคชญา ชาวคูเวียงสโมสรฟุตบอลโอเดนเซมัสเกตเทียส์เปรม ติณสูลานนท์ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาจ้าว ลู่ซืออันดับของขนาด (มวล)สล็อตแมชชีนเข็มอัปสร สิริสุขะสมณศักดิ์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ฟุตบอลโลกสภาผู้แทนราษฎรไทยประชาธิปไตยยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบแบ่งกลุ่มณฐพร เตมีรักษ์บรรดาศักดิ์ไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)กังฟูแพนด้า 4สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีรายการรหัสไปรษณีย์ไทยพาทิศ พิสิฐกุล🡆 More