ขบวนการอุทยานนคร

ขบวนการอุทยานนคร (อังกฤษ: garden city movement) เป็นแนวคิดทางด้านการวางผังชุมชนเมือง ที่คิดขึ้นในสหราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ.

2441">พ.ศ. 2441 โดย เอเบเนเซอร์ เฮาเวิร์ด อุทยานนครคือเมืองที่วางแผนให้เป็นชุมชนสมบูรณ์ในตัวที่ล้อมรอบไปด้วย “แถบสีเขียว” และจัดให้มีบริเวณต่างๆ ที่วางไว้อย่างรอบคอบ ได้แก่บริเวณที่พักอาศัย บริเวณอุตสาหกรรมพื้นที่เกษตรกรรม เฮาเวิร์ดได้รับแรงดลใจจากนวนิยาย “สังคมในจินตนาการ” หรือสังคมแบบยูโทเปียเรื่อง “มองย้อนหลัง” (en:Looking Backward) เฮาเวิร์ดได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “วันพรุ่งนี้: วิถีทางสันติสู่การปฏิรูปที่แท้จริง” (To-morrow: a Peaceful Path to Reform) เมื่อ พ.ศ. 2441 และได้ก่อตั้ง “สมาคมอุทยานนคร” (Garden City Association) ในปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2445 เฮาเวิร์ด ได้ตีพิมพ์ใหม่หนังสือเล่มนี้ใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานนครในวันพรุ่งนี้” (Garden Cities of Tomorrow)

ขบวนการอุทยานนคร
แผนภูมิ 3 แม่เหล็กของเอเบเนสเซอร์ เฮาเวิร์ดที่แสดงการตอบคำถามที่ว่า "คนจะไปอยู่ที่ใหน?" ทางเลือกคือ เมือง, ชนบท, หรือ เมือง-ชนบท

เฮาเวิร์ดได้วางรากฐานเมืองใหม่ในอังกฤษไว้ 2 เมืองคือ อุทยานนครเลทช์เวิร์ท (en:Letchworth Garden City) ในปี พ.ศ. 2446 และอุทยานนครเวลวีน (en:Welwyn Garden City) ในปี พ.ศ. 2463 การวางผังออกแบบทั้งสองเมืองนี้นับว่าประสบความสำเร็จได้ยาวนานและเป็นชุมชนที่สมบูรณ์แม้จะไม่บรรลุอุดมคติทั้งหมดของเฮาเวิร์ดก็ตาม

ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอุทยานนครต่อจากเฮาเวิร์ดคือ เซอร์ เฟรเดอริก ออสบอร์น (en:Frederic Osborn) ผู้ต่อยอดขบวนการอุทยานนครมาเป็น “การวางแผนภาค

แนวคิดอุทยานนครมีอิทธิพลสูงมากต่อการผังเมืองในสหรัฐอเมริกา (ดังปรากฏในผังของชุมชนเมืองต่างๆ เช่นเมืองนิวพอร์ทนิวส์ ในเวอร์จิเนีย หมู่บ้านฮิลตัน หมู่บ้านแชทแทมในพิทส์เบิร์ก ซันนีไซต์ในควีนส์ แรดเบิร์นในนิวเจอร์ซีย์ แจกสันไฮท์ในควีนส์ หมู่บ้านวูดเบิร์นในบอสตัน การ์เดนซิตีในนิวยอร์ก และหมู่บ้านบอลด์วินฮิลล์ในลอสแอนเจลิส) ในแคนาดา (คาปูสกาซิง และวอล์กเกอร์วิลล์ในออนทาริโอ) เมืองอุทยานนครแรกของเยอรมันคือเฮลเลรู ในชานเมืองเดรสเดน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2452 แนวคิดอุทยานนครได้รับการทำเป็นแผนสำหรับโครงการเคหะของเยอรมันในยุคไวมาร์ และในอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2พ.ร.บ.เมืองใหม่” ได้จุดประกายให้การพัฒนาชุมชนใหม่อีกหลายแห่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์แห่งความเท่าเทียมในสังคมของอิเบเนเซอร์ เฮาเวิร์ด ขบวนการอุทยานนครยังมีอิทธิพลต่อนักผังเมืองชางสก็อตชื่อ เซอร์ แพททริก เก็ดดิส (Sir Patric Geddes) ในงานวางผังเมืองเทล-อาวิฟในอิสราเอลของเขา แนวคิดการวางผังเมือง “วิทยาการปรับปรุงเมืองแบบใหม่” (en:New Urbanism) ก็ดี หรือ “หลักการปรับปรุงเมืองแบบอัจริยะ” (en:Principles of Intelligent Urbanism) ก็ดี ล้วนมีพื้นฐานแนวคิดเดิมจากขบวนการอุทยานนคร ปัจจุบันมีอุทยานนครจำนวนมากในโลก แต่เกือบทั้งหมดมีสถานะอยู่ได้เพียงการเป็น “หอพักชานเมือง” (en:dormitory town) ซึ่งล้วนต่างจากแนวคิดที่เฮาเวิร์ดวาดฝันไว้

อ้างอิง

Tags:

en:Looking Backwardการวางผังชุมชนเมืองพ.ศ. 2441พ.ศ. 2445ภาษาอังกฤษสหราชอาณาจักรอุตสาหกรรมเกษตรกรรม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สหประชาชาติบาท (สกุลเงิน)วัชรเรศร วิวัชรวงศ์โยฮัน ไกรฟฟ์มิถุนายนฟุตซอลโลก 2024เซี่ยงไฮ้ปานปรีย์ พหิทธานุกรรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาเดนิส เจลีลชา คัปปุนฟุตซอลทีมชาติไทยแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ชา อึน-อูฟุตซอลสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีสุจาริณี วิวัชรวงศ์สะดุดรักยัยแฟนเช่ารัฐฉานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ทวิตเตอร์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจังหวัดนครพนมรหัสมอร์สจังหวัดร้อยเอ็ดชาบี อาลอนโซจังหวัดสกลนครวันมูหะมัดนอร์ มะทาพิชิตรัก พิทักษ์โลกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดชุมพรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยราชินีแห่งน้ำตาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารฉัตรชัย เปล่งพานิชปณิธาน บุตรแก้วกูเกิล แผนที่รายชื่อธนาคารในประเทศไทยดวงอาทิตย์ภาษาเกาหลีเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตภาวะโลกร้อนอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์เฌอปราง อารีย์กุลลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลประเทศบังกลาเทศข้าราชการส่วนท้องถิ่นยูฟ่ายูโรปาลีกหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ดาวิกา โฮร์เน่จังหวัดภูเก็ตความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยจังหวัดชัยภูมิรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยพระโคตมพุทธเจ้าป๊อกเด้งพงษ์สิทธิ์ คำภีร์สามก๊กทายาทไหทองคำแวมไพร์ ทไวไลท์รัตนวดี วงศ์ทองกระทรวงในประเทศไทยมหาวิทยาลัยขอนแก่นฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เคลียร์กังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)ตระกูลบุนนาควันพีซจังหวัดจันทบุรีประเทศจอร์เจียกฤษฏ์ อำนวยเดชกรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ไค ฮาเวิทซ์ไคลี เจนเนอร์🡆 More