การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต

การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต บทความนี้ กล่าวถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถใช้หลีกเลี่ยงเทคนิกระงับการเชื่อมต่อกับระบบบริการ เช่น เว็บไซต์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ถูกตรวจพิจารณาคือถูกเซ็นเซอร์ ให้สังเกตว่า ระบบที่ช่วยหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์และระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้ระบุผู้ใช้ (คือระบบนิรนาม) เป็นคนละเรื่องกัน ระบบนิรนามช่วยป้องกันทั้งระบบบริการ (รวมบุคคล/องค์กรอื่น ๆ) และระบบนิรนามเอง ไม่ให้ระบุผู้ใช้ได้ แม้ระบบนิรนามอาจช่วยหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ได้ แต่ก็ไม่ได้ออกแบบเพื่อการนี้โดยเฉพาะและสามารถถูกบล็อกได้ง่าย ส่วนระบบหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์แม้ที่โฆษณาว่าให้สภาพนิรนาม บ่อยครั้งก็ไม่ได้ป้องกันข้อมูลระบุผู้ใช้จากผู้ให้บริการหลีกเลี่ยงเอง ซึ่งในบางกรณีอาจถูกบังคับโดยกฎหมายให้เปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้ใช้ที่ต้องการสภาพนิรนามจำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียดเพิ่มขึ้นเรื่องวิธีการเพื่อให้ได้สภาพนิรนามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้อยู่ในพิสัยของบทความนี้

การหลีกเลี่ยงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ต้องการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต เพราะการกรองหรือการบล็อก ไม่ได้กำจัดข้อมูลไปจากอินเทอร์เน็ต และดังนั้น ถ้ายังมีระบบที่ไม่ได้เซ็นเซอร์ที่เข้าถึงได้อย่างน้อยหนึ่งระบบ ผู้ใช้บ่อยครั้งก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เซ็นเซอร์[ต้องการอ้างอิง] แต่วิธีการหลีกเลี่ยงก็อาจไม่ค่อยมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ชำนาญทางเทคนิค ดังนั้น โดยปี 2011 การบล็อกหรือการกรองข้อมูลก็จึงยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

มีเทคนิคและทรัพยากรต่าง ๆ ที่สามารถใช้เลี่ยงการเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งแคชเว็บเพจ เว็บไซต์สำเนา อาร์ไคฟ์เว็บเพจ ระบบบริการดีเอ็นเอสต่างหาก เว็บไซต์ที่เป็นพร็อกซี เครือข่ายส่วนตัวเสมือน การส่งข้อมูลจากบุคคลไปยังบุคคล และซอฟต์แวร์หลีกเลี่ยงอื่น ๆ โดยแต่ละอย่างจะใช้ง่าย เร็ว ปลอดภัย หรือเสี่ยงในระดับต่าง ๆ กัน แต่โดยมากเป็นการให้เข้าถึงการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้กรอง บ่อยครั้งผ่านระบบบริการในเขตการปกครองอื่น ๆ ที่ไม่มีกฎหมายตรวจพิจารณาเช่นเดียวกัน เหล่านี้เป็นเทคนิคที่สามารถใช้หลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ตในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน ไม่มีเทคโนโลยีเดียวที่เหมาะสมกับผู้ใช้และกับสถานการณ์ทั้งหมด ดังนั้น คู่มือการหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ปี 2007 จึงแนะนำให้พิจารณาว่าเป็นชุดอุปกรณ์ที่ดึงออกมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน สำหรับผู้ใช้ที่มีสมรรถภาพต่าง ๆ กัน

ให้สังเกตว่า การใช้ซอฟต์แวร์หรือวิธีอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตอาจมีความเสี่ยง ในบางประเทศ บุคคลที่เข้าถึงข้อมูลที่จำกัดอาจกำลังทำผิดกฎหมายหรือกฎข้อบังคับ และถ้าถูกจับได้ก็อาจถูกไล่ออกจากสถานศึกษา ไล่ออกจากงาน ถูกจำคุก ถูกลงโทษโดยประการต่าง ๆ หรือถูกห้ามไม่ให้ใช้เน็ต

ตามบริษัท GlobalWebIndex ที่เก็บข้อมูลลักษณะเฉพาะของผู้ใช้ คนเกิน 400 ล้านคนทั่วโลกใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือนเพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์หรือเพิ่มระดับความเป็นส่วนตัว

การหลีกเลี่ยง สภาวะนิรนาม ความเสี่ยง และความเชื่อใจ

การหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์และสภาพนิรนามเป็นคนละเรื่องกัน เพราะเทคนิคการหลีกเลี่ยงช่วยให้เข้าถึงบริการต่าง ๆ รวมทั้งเว็บไซต์ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการระบุที่อยู่ในเครือข่าย (คือที่อยู่ไอพี) หรือการระบุบุคคลได้ ส่วนระบบนิรนามใช้ในการป้องกันระบุบุคคลเริ่มตั้งแต่การระบุที่อยู่ไอพี ซึ่งแม้จะช่วยหลีกเลี่ยงการบล็อกบริการได้ แต่ก็ยังไม่ใช่หน้าที่หลัก ควรจะเข้าใจว่า บริการพร็อกซีที่เข้าถึงได้โดยสาธารณะจะไม่ป้องกันสภาวะนิรนาม และระบบอาจตรวจดูและบันทึกตำแหน่งที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการและของระบบบริการที่ใช้

บุคคลและสถานการณ์ต่าง ๆ จะมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เช่น บุคคลที่พยายามเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเซ็นเซอร์ เทียบกับบุคคลที่ตีพิมพ์ข้อมูลที่ถูกเซ็นเซอร์ และดังนั้น ต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยของวิธีที่ใช้ต่าง ๆ กัน การต่อกับเน็ตจากบ้านหรือจากที่สาธารณะเช่นบริการให้ใช้เน็ตหรือไวไฟ ก็มีความเสี่ยงต่าง ๆ กันด้วย เช่น ผู้ใช้อาจต้องให้ข้อมูลระบุบุคคลแก่ผู้ให้บริการ หรือผู้ให้บริการบันทึกข้อมูลการใช้ซึ่งอาจตรวจสอบได้ในภายหลัง ผู้ใช้อาจมีความจำเป็นไม่เหมือนกัน บางคนเพียงแต่ต้องการใช้เบราว์เซอร์ดูเว็บ บางคนอาจต้องใช้แอ็ปที่ต่อเน็ตอื่น ๆ รวมทั้งอีเมล (เอสเอ็มทีพี/ไอแมป) การรับส่งไฟล์ (เอฟทีพี) ซึ่งอาจต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นเพื่อทำการหลีกเลี่ยง และอาจเป็นความเสี่ยงถ้าคอมพิวเตอร์ถูกยึดหรือถูกตรวจสอบ ดังนั้น ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องเข้าใจความจำกัดและความเสี่ยงของเทคโนโลยี และทำสิ่งที่สมควรเพื่อให้ได้ความปลอดภัย

ในเขตการปกครองหลายเขต การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกบล็อกจัดเป็นอาชญากรรมหนัก โดยเฉพาะที่จัดเป็นอันตรายต่อความมั่นคงแห่งชาติ เป็นสื่อลามกอนาจารเด็ก หรือเป็นการยุยงให้ใช้ความรุนแรง ดังนั้น จึงสำคัญที่จะเข้าใจเทคโนโลยีการเลี่ยงการเซ็นเซอร์ สิ่งที่มันทำได้หรือไม่ได้ แล้วใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสมในสถานการณ์นั้น ๆ ควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีในการติดตั้ง ตั้งค่า และใช้อุปกรณ์หลีกเลี่ยงเซ็นเซอร์ให้เหมาะสม บุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง ผู้คัดค้านทางการเมือง ผู้ชุมนุมประท้วง หรือกลุ่มที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการระบุบุคคลออนไลน์ คือควรใช้วิธีการที่รักษาสภาพนิรนามได้ดีที่สุด

เว็บไซต์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการหลีกเลี่ยงควรให้บริการโดยบุคคลที่สามซึ่งไว้ใจได้ อยู่นอกเขตปกครองที่ทำการเซ็นเซอร์ ไม่รวบรวมข้อมูลระบุบุคคลและข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ที่ดีที่สุดก็คือ ครอบครัวและเพื่อนที่ไว้ใจได้ที่รู้จัก แต่ถ้าไม่มี ก็อาจต้องใช้เว็บไซต์และอุปกรณ์ที่ให้บริการโดยบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ที่รู้โดยเพียงแต่ชื่อเสียงหรือโดยคำแนะนำและคำรองรับ บริการหลีกเลี่ยงที่ทำเป็นการค้าอาจให้สภาวะนิรนามเมื่อกำลังเยี่ยมชมอินเทอร์เน็ต แต่ก็อาจถูกบังคับโดยกฎหมายให้แสดงบันทึกและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แก่เจ้าหน้าที่

ผู้ใช้ยิ่งมีความชำนาญทางเทคนิคเท่าไร ก็มีทางเลือกหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์มากขึ้นเท่านั้น เทคโนโลยีบางอย่างอาจติดตั้งยาก ตั้งค่าให้ถูกต้องได้ยาก หรือใช้ให้ปลอดภัยได้ยาก แม้ผู้ใช้จะสามารถเรียนรู้เพื่อใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่ผู้ใช้ควรระมัดระวังว่า ถ้าติดตั้งไม่ถูกต้อง ตั้งค่าไม่ถูกต้อง หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง เทคโนโลยีที่ควรทำให้ปลอดภัยจริง ๆ กลับสร้างความเสี่ยงให้แก่ผู้ใช้

วิธีต่าง ๆ

มีวิธีต่าง ๆ หลายอย่างที่อาจช่วยให้หลีกเลี่ยงการกรองข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เริ่มตั้งแต่จากง่าย ๆ จนถึงซับซ้อน ซึ่งผู้พัฒนาอาจทำให้เกิดผลโดยใช้เวลาเล็กน้อย จนถึงยาก วิธีการแต่ละอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะเลี่ยงวิธีการถูกตรวจพิจารณาได้ทุกอย่าง และแม้ตัวอุปกรณ์หรือเว็บไซต์ที่ช่วยการหลีกเลี่ยงเอง ก็อาจถูกเซ็นเซอร์หรือตรวจเฝ้าดู

การหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ที่ใช้พร็อกซี อาจช่วยให้เข้าถึงข้อมูลต่างประเทศได้ แต่ก็ไม่แก้ปัญหาการเซ็นเซอร์ภายในประเทศ คือไม่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่โฮสต์ภายในประเทศได้ และไม่ได้ช่วยป้องกันการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการหรือการโจมตีประเภทอื่น ๆ ที่ตั้งเป้าที่ผู้ตีพิมพ์ข้อมูล

แคชเว็บเพจ

เสิร์ชเอนจินบางอย่างเก็บแคชเว็บเพจ ซึ่งก็คือก๊อปปี้ของเว็บเพจที่เข้าดรรชนี และการเข้าถึงแคชเว็บเพจอาจไม่ถูกบล็อกในบางประเทศ ซึ่งสามารถเปิดดูได้โดยตามลิงก์ที่มีป้ายว่า "cached" (แคช) ในรายการที่เป็นผลการเสิร์ช

กูเกิลยังให้เข้าถึงแคชเว็บเพจโดยพิมพ์ "cache:ยูอาร์แอลที่บล็อก" เป็นวลีเสิร์ช ข้อดีสุดของการใช้ระบบกูเกิลก็คือมีใช้ทั่วโลกโดยไม่ต้องดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรม

เว็บเพจแปลภาษา

มีบริการแปลภาษาทางอินเทอร์เน็ตหลายแห่ง บ่อยครั้งโดยเสิร์ชเอนจิน เมื่อให้เว็บเพจแปลยูอาร์แอลให้ ระบบบริการจะเป็นผู้เข้าถึงข้อมูลซึ่งไม่ถูกบล็อก และทำให้ผู้ใช้สามารถดูเนื้อหาที่ถูกเซ็นเซอร์โดยไม่ต้องเข้าถึงเว็บเพจที่ต้องการโดยตรง ข้อดีสุดก็คือมีใช้ทั่วโลกโดยไม่ต้องดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรม ตัวอย่างระบบบริการรวมทั้ง Bing Translator และ translate.google.com

กูเกิล แปลภาษาสามารถใช้เปิดดูยูอาร์แอลที่ถูกบล็อก คือให้ใส่ยูอาร์แอลในช่องที่จะให้แปล ตั้งภาษาเป้าหมายให้เป็นภาษาเดิมของยูอาร์แอล แล้วกูเกิลก็จะแสดงเนื้อความโดยไม่ได้แปล

เว็บไซต์สำเนาหรืออาร์ไคฟ์

ก๊อปปี้ของเว็บไซต์หรือเว็บเพจอาจมีในสำเนาเว็บไซต์ (mirror) และอาร์ไคฟ์ (archive) เช่น อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ โดยที่ไซต์เหล่านี้ไม่ถูกบล็อก ส่วน InterPlanetary File System เป็นเทคโนโลยีเก็บและแชร์ไฟล์แบบโอเพนซอร์ซ ไร้ศูนย์ ที่ทนทานฟื้นสภาพได้ เป็นระบบที่ใช้โดยนักปฏิบัติการในเหตุการณ์บล็อกวิกีพีเดียในประเทศตุรกีปี 2017

บริการเว็บเป็นอีเมล

บริการเว็บเป็นอีเมล (web-to-e-mail) จะส่งข้อความจากเว็บเพจเป็นข้อความอีเมล ไม่ว่าจะเป็นแบบรวมภาพหรือไม่รวม และการเข้าถึงเช่นนี้อาจไม่ถูกบล็อก

ฟีดรีดเดอร์หรือ RSS aggregator

ฟีดรีดเดอร์ของ Feedly, Digg Reader, และ บล็อกไลนส์ (Bloglines) เป็นต้น อาจสามารถรับและส่งต่อฟีดข้อมูล (RSS) ที่จะถูกบล็อกถ้าเข้าถึงเว็บไซต์โดยตรง เพราะเป็นระบบบริการที่เข้าถึงเว็บไซต์ ไม่ใช้ผู้ใช้ที่ถูกบล็อก ฟีดรีดเดอร์อาจเป็นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดแล้วติดตั้งบนระบบผู้ใช้ หรืออาจเป็นเว็บแอปที่เข้าถึงผ่านเว็บไซต์นั้น ๆ ได้

การเปลี่ยนยูอาร์แอล

HTTPS (เอชทีทีพีเอส) อาจไม่ถูกบล็อก ดังนั้น ลองเปลี่ยนยูอาร์แอลที่ขึ้นต้นด้วย HTTP:// ให้เป็น HTTPS:// ก็อาจหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ได้ นี่จะช่วยในกรณีที่เป็นการเซ็นเซอร์แบบกรองเนื้อหาโดยเฉพาะ ๆ เพราะการเชื่อมต่อด้วยเอชทีทีพีเอสจะทำให้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ไม่สามารถรู้ถึงหน้าหรือคำสำคัญที่ผู้ใช้ส่งขอไปยังระบบบริการได้ (แต่ก็ยังเห็นชื่อโดเมนของยูอาร์แอลได้ เช่น เห็นว่า ผู้ใช้กำลังดู th.wikipedia.org อยู่แต่จะไม่สามารถเห็นหน้าที่ดูโดยเฉพาะ ๆ) จึงสามารถเข้าถึงเนื้อหาด้วย HTTPS ที่อาจเข้าถึงไม่ได้เมื่อใช้เอชทีทีพีธรรมดา ๆ

ชื่อโดเมนอื่นอาจไม่ถูกบล็อก ตัวอย่างเช่น ชื่อโดเมนต่อไปนี้เป็นเว็บไซต์เดียวกัน คือ http://wikimedia.org, http://www.wikimedia.org, https://web.archive.org/web/20120224022641/http://text.wikimedia.org/, และ https://web.archive.org/web/20120224030658/http://text.pmtpa.wikimedia.org/ หรือเช่น http://twitter.com และ http://m.twitter.com

อนึ่ง ยูอาร์แอลอื่น ๆ อาจไม่ถูกบล็อก เช่น www.open.com เทียบกับ www.open.com/, blocked.com, open.com/, www.open.com/index.htm, และ www.open.com/index.html.

การใช้ที่อยู่ไอพีโดยตรงแทนที่ชื่อโดเมน เช่น http://208.80.152.2 เก็บถาวร ตุลาคม 4, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หรือใช้ชื่อโดเมนแทนที่อยู่ไอพีโดยตรง เช่น http://wikimedia.org บางครั้งอาจทำให้เข้าถึงเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกได้

การใส่ที่อยู่ไอพีโดยเลขที่ไม่ใช่ฐาน 10 อาจเลี่ยงตัวกรองบางประเภทได้ ยกตัวอย่างเช่น ยูอาร์แอลต่อไปนี้ล้วนเข้าถึงเว็บไซต์เดียวกัน แม้บราวเซอร์อาจจะไม่รู้จักทุกรูปแบบ รวมทั้ง http://208.80.152.2 เก็บถาวร ตุลาคม 4, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เลขฐานสิบแบบมีจุด), http://3494942722 เก็บถาวร 2012-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เลขฐานสิบ), http://0320.0120.0230.02 เก็บถาวร 2012-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เลขฐานแปดแบบมีจุด), http://0xd0509802[ลิงก์เสีย] (เลขฐานสิบหก), และ http://0xd0.0x50.0x98.0x2[ลิงก์เสีย] (เลขฐานสิบหกแบบมีจุด)

การใช้ระบบบริการดีเอ็นเอสอื่น ๆ

การใช้ระบบบริการดีเอ็นเอสอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ให้โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจเลี่ยงเทคนิกการบล็อกโดยดีเอ็นเอส ดูรายการระบบบริการดีเอ็นเอสที่เข้าถึงได้ฟรี OpenDNS และ กูเกิล ให้บริการดีเอ็นเอสฟรี ที่อยู่ไอพีของระบบบริการดีเอ็นเอสของกูเกิลรวมทั้ง

  • (IPv4) 8.8.8.8 และ 8.8.4.4
  • (IPv6) 2001:4860:4860::8888 และ 2001:4860:4860::8844
เลขที่อยู่ไอพีของ OpenDNS
เลขที่อยู่ IPv4 เลขที่อยู่ IPv6
ธรรมดา
  • 208.67.222.222 (resolver1.opendns.com)
  • 208.67.220.220 (resolver2.opendns.com)
  • 208.67.222.220 (resolver3.opendns.com)
  • 208.67.220.222 (resolver4.opendns.com)
  • 2620:0:ccc::2
  • 2620:0:ccd::2
กันเด็ก
  • 208.67.222.123 (resolverl-fs.opendns.com)
  • 208.67.220.123 (resolver2-fs.opendns.com)

เว็บไซต์ที่ให้บริการเป็นพร็อกซี

เว็บไซต์ที่ให้บริการเป็นพร็อกซี (หรือเรียกว่า เว็บพร็อกซี) บ่อยครั้งเป็นวิธีที่ง่ายสุดเร็วสุดในการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ถูกบล็อก เว็บไซต์เช่นนี้ใช้ได้ก็เพราะตัวเองไม่ถูกบล็อก แต่สามารถแสดงข้อมูลที่ถูกบล็อกได้ ซึ่งปกติทำโดยใส่ยูอาร์แอลที่หน้าเว็บเพจซึ่งบริการจะนำมาแสดงให้ดู โดยแนะนำให้ต่อกับบริการแบบเอชทีทีพีเอสเพราะข้อมูลจะเข้ารหัสลับและยากกว่าที่จะบล็อก

ด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้ไม่ได้สื่อสารเชื่อมต่อกับเว็บเพจที่ต้องการดูโดยตรง แต่สื่อสารผ่านผู้บริการ ความปลอดภัยของระบบสามารถเชื่อใจได้เท่ากับที่เชื่อใจผู้ดำเนินการระบบบริการได้ เป็นวิธีที่ดีเนื่องจากไม่ต้องติดตั้งอะไร แต่เนื่องจากที่อยู่ของระบบบริการเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่รู้กันอย่างกว้างขวาง ระบบกรองข้อมูลก็อาจจะบล็อกเว็บไซต์เหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ ที่เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในระดับชาติปกติก็จะห้ามไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ด้วย เทคนิกนี้ไม่ต้องเปลี่ยนค่าตั้งของบราวเซอร์หรือระบบผู้ใช้ แต่ผู้ใช้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าต่อประสาน/หน้าเว็บของระบบพร็อกซีนอกเหนือจากหน้าเว็บของระบบปลายทาง ซึ่งอาจสร้างความสับสน ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือเนื้อหาแบบแอ็กถีฟ เช่น อะโดบี แฟลชเป็นต้น จะทำงานไม่ได้ดีหรือไม่ได้ อนึ่ง อาจเป็นวิธีการที่ไม่ดีถ้าผู้ใช้เสี่ยงต่อการถูกเฝ้าสังเกตการใช้เน็ตและผู้ให้บริการก็สามารถบันทึกกิจกรรมออน์ไลน์ของผู้ใช้ทุกอย่าง ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงในเรื่องความเป็นส่วนตัว

รายการเว็บไซต์ที่ให้บริการเป็นพร็อกซีหาได้จากเว็บไซต์เช่น proxy.org เก็บถาวร สิงหาคม 15, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งติดตามเว็บพร็อกซี 50,824 ไซต์และอัปเดตทุก ๆ 10 นาที หรือจาก DMOZ เก็บถาวร สิงหาคม 19, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หรือหาได้จากเสิร์ชเอนจินโดยคำว่า "free web proxy" อนึ่ง เว็บบราวเซอร์อาจมีค่าตั้งให้ใช้พร็อกซี หรือมีโปรแกรมเสริมให้ใช้พร็อกซีโดยอัตโนมัติ

บราวเซอร์โอเปร่ามินิที่มีให้ใช้ในโทรศัพท์มือถือ ใช้เทคนิคดาวน์โหลดผ่านพร็อกซีที่เข้ารหัสลับและบีบอัดข้อมูลเพื่อให้เร็วขึ้น แต่ผลข้างเคียงก็คือ สามารถหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตได้หลายอย่าง ในปี 2009 รัฐบาลจีนได้ห้ามโอเปร่าทุกรุ่นยกเว้นรุ่นที่ทำเป็นพิเศษเพื่อใช้ในจีน

พร็อกซีกลับหน้า (Reverse proxy)

พร็อกซีกลับหน้า (reverse proxy) เป็นพร็อกซีรับหน้ากับอินเทอร์เน็ตที่ใช้เพื่อควบคุมและป้องกันการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายส่วนตัว และบ่อยครั้งทำหน้าที่อื่น ๆ รวมทั้งการกระจายงาน (load balancing) การพิสูจน์ตัวจริง (authentication) การถอดรหัสลับ หรือการแคช แต่เว็บไซต์ก็สามารถใช้พร็อกซีกลับหน้าสำหรับส่งต่อการสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์

เครือข่ายส่วนตัวเสมือน

ผู้ใช้ที่ถูกเซ็นเซอร์อาจสร้างการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยกับคอมพิวเตอร์ในประเทศที่มีกฎหมายอ่อนกว่าผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (วีพีเอ็น) แล้วชมดูอินเทอร์เน็ตเหมือนกับอยู่ในประเทศนั้น บริการบางแห่งมีค่าใช้จ่ายประจำเดือน บางแห่งฟรีแต่มีโฆษณา

ตามเว็บไซต์เกี่ยวกับ วีพีเอ็น แห่งหนึ่ง "กล่าวอย่างง่ายที่สุดคือ มันสร้างการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและเข้ารหัสลับ เป็นการเชื่อมต่อที่พิจารณาได้ว่าเป็นอุโมงค์ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับเซิร์ฟเวอร์ที่ดำเนินงานโดยผู้ให้บริการวีพีเอ็น" มันช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตป้องกันการสื่อสารไร้สาย หลีกเลี่ยงการจำกัดผู้ใช้โดยภูมิภาคหรือการเซ็นเซอร์เนื้อความ หรือเป็นเหมือนการใช้พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เพื่อป้องกันการระบุที่อยู่ของผู้ใช้ได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ดี ระบบบริการอินเทอร์เน็ตบางอย่างอาจจำกัดการให้บริการต่อผู้ที่สื่อสารผ่านระบบวีพีเอ็นที่รู้จัก เพื่อไม่ให้สามารถหลีกเลี่ยงการจำกัดให้บริการโดยภูมิภาคของระบบได้

เครือข่ายส่วนตัวเสมือนมีการส่งต่อการสื่อสารตามโพรโทคอลต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวีพีเอ็นสำหรับอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (ไอพี) เช่น IPSec มันก็จะส่งต่อการสื่อสารแบบไอพีทั้งหมดของระบบผู้ใช้ไปยังระบบบริการ วีพีเอ็น ซึ่งให้ความปลอดภัยโดยมีการพิสูจน์ตัวจริง ป้องกันบูรณภาพของข้อมูล และเข้ารหัสลับ เมื่อข้อมูลไปถึงระบบบริการแล้ว มันก็จะส่งข้อมูลดั้งเดิมคือถอดรหัสลับแล้วต่อไปยังระบบปลายทาง ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบปลายทางได้เป็นปกติ ระบบบริการปลายทางเช่น เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อาจถูกบล็อกถ้าพยายามเข้าถึงโดยตรง

ให้สังเกตว่า วีพีเอ็นอาจช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่นแอบฟังการสื่อสารเฉพาะที่ (เช่น ในเครือข่ายไร้สาย) ได้ แต่ผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นแบบเพื่อการค้า เพื่อการกุศล หรือแบบดำเนินงานเป็นส่วนบุคคล/องค์กร ก็ยังสามารถบันทึกการใช้อินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ของผู้ใช้ได้ หรือแม้อาจให้ผู้อื่นดูบันทึกของผู้ใช้ (เช่น เพื่อขายข้อมูล) ดังนั้น เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ยังสามารถบังคับให้ผู้บริการแสดงบันทึกการใช้หรือข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ใช้ได้ ดังนั้น ผู้ใช้จำต้องสืบหาบริการเครือข่ายส่วนตัวที่ตนสามารถเชื่อใจได้จริง ๆ เพราะแม้แต่ผู้ให้บริการที่โฆษณานโยบายความเป็นส่วนตัวที่ยอดเยี่ยม ก็ยังอาจเป็นคน/องค์กรที่ไว้ใจไม่ได้

อุโมงค์ผ่าน SSH

โดยการตั้งอุโมงค์ (tunneling) ผ่าน SSH ผู้ใช้สามารถสื่อสารผ่านช่องที่เข้ารหัสลับ ซึ่งทั้งคำขอดูเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกและคำตอบจากเว็บไซต์ไม่สามารถรู้ได้โดยผู้อื่น เพราะการสื่อสารจะปรากฏเป็นข้อความเข้ารหัสลับแบบ SSH ที่ตรวจดูไม่ได้ ในการนี้ ผู้ใช้จะต้องสามารถติดต่อเพื่อตั้งอุโมงค์กับระบบบริการได้ เช่น ตั้งให้ระบบผู้ใช้ตั้งอุโมงค์กับระบบริการ SSH เพื่อส่งการสื่อสารจากช่องทาง 80 ไปยังระบบปลายทางที่ช่องทาง 80 ดังนั้น เมื่อผู้ใช้บอกเบราว์เซอร์ให้ต่อกับ http://localhost ระบบผู้ใช้ก็จะส่งข้อมูลผ่านอุโมงค์ SSH ไปยังระบบบริการ ซึ่งส่งต่อข้อมูลไปยังระบบปลายทางที่ช่องทาง 80 ต่อไป

การส่งข้อมูลจากบุคคลไปยังบุคคล (Sneakernets)

sneakernet เป็นการถ่ายโอนข้อมูลอิเล็กทรอนิก โดยเฉพาะไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยส่งด้วยมือผ่านหน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำได้ไม่ว่าจะจำกัดการเข้าถึงเครือข่ายไม่ว่าจะอย่างไร เพราะไม่ได้ใช้เครือข่ายโดยประการทั้งปวง

การหลีกเลี่ยงแบบผสม

วิธีการหลีกเลี่ยงต่าง ๆ ยังสามารถรวมใช้ด้วยกันอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น smart DNS proxy server เป็นวิธีการผสม ที่ใช้ระบบริการดีเอ็นเอสต่างหากร่วมกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน บ่อยครั้งเพื่อใช้หลีกเลี่ยงการบล็อกที่อยู่ไอพีโดยภูมิประเทศ (geo-blocking)

ซอฟต์แวร์

    ประเภท

CGI proxies (พร็อกซีซีจีไอ) ใช้สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำหน้าที่เป็นพร็อกซี คือ ผู้ใช้บริการพร็อกซีซีจีไอ จะส่งยูอาร์แอลที่ต้องการภายในส่วนข้อมูลของคำขอเอชทีทีพีไปยังระบบบริการ ระบบบริการก็จะดึงเอาตัวระบุปลายทางที่ต้องการจากส่วนข้อมูลของคำขอ และส่งคำขอเอชทีทีพีเองไปยังระบบปลายทาง แล้วจึงส่งต่อข้อมูลที่ได้ให้กับผู้ใช้ เป็นระบบที่เหมือนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการเป็นพร็อกซีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ความปลอดภัยของระบบนี้สามารถเชื่อใจได้เท่ากับที่เชื่อใจผู้ดำเนินการระบบบริการได้ เทคนิกนี้ไม่ต้องเปลี่ยนค่าตั้งของบราวเซอร์หรือระบบผู้ใช้ แต่ผู้ใช้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าต่อประสาน/หน้าเว็บของระบบพร็อกซีนอกเหนือจากหน้าเว็บของระบบปลายทาง ซึ่งอาจสร้างความสับสน ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือเนื้อหาแบบแอ็กถีฟ เช่น อะโดบี แฟลชเป็นต้น จะทำงานไม่ได้ดีหรือไม่ได้

HTTP proxies (พร็อกซีเอชทีทีพี) ส่งคำขอเอชทีทีพีผ่านไปยังระบบพร็อกซีในระหว่าง โดยผู้ใช้จะส่งคำขอเอชทีทีพีไปยังระบบพร็อกซีเหมือนกับคำขอที่ส่งไปยังระบบปลายทางที่ต้องการ ระบบพร็อกซีจะตรวจดูคำขอเอชทีทีพี และส่งคำขอเอชทีทีพีเองไปยังระบบปลายทาง แล้วจึงส่งต่อคำตอบกลับไปยังผู้ใช้ ความปลอดภัยของระบบนี้สามารถเชื่อใจได้เท่ากับที่เชื่อใจผู้ดำเนินการระบบบริการได้ เทคนิกนี้จะต้องตั้งค่าบราวเซอร์ของผู้ใช้หรือมีซอฟต์แวร์ที่ตั้งค่าให้โดยอัตโนมัติ เมื่อตั้งแล้ว เทคนิกนี้ทำให้สามารถใช้บราวเซอร์ทำการกับหน้าเว็บของระบบปลายทางได้เหมือนปกติ

Application proxies (พร็อกซีแอ็ป) คล้ายกับพร็อกซีเอชทีทีพีรวมทั้งข้อดีข้อเสีย แต่สนับสนุนโปรแกรมออนไลน์ต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ใช้โพรโทคอลเอชทีทีพีหรือเอชทีทีพีเอส คือสามารถใช้โปรแกรมอื่น ๆ นอกเหนือจากเว็บเบราว์เซอร์ เช่นใช้โปรแกรมอีเมลคือมอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ดเป็นต้น

วีพีเอ็น (เครือข่ายส่วนตัวเสมือน) เหมือนเครือข่ายส่วนตัวเสมือนดังที่กล่าวมาก่อน แต่ซอฟต์แวร์อาจช่วยตั้งค่าระบบให้โดยอัตโนมัติและอาจมีการเชื่อมต่อกับเซิฟเวอร์วีพีเอ็นต่าง ๆ โดยสุ่มหรือโดยผัดเปลี่ยน เพื่อหลี่กเลี่ยงการถูกบล็อกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ระบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-peer) จะเก็บข้อมูลกระจายไปตามเซิร์ฟเวอร์ของอาสาสมัคร โดยร่วมใช้กับเทคนิคอื่น ๆ รวมทั้งการจัดเส้นทางส่งข้อมูลเพื่อลดความเชื่อใจที่ต้องให้กับเซิร์ฟเวอร์อาสาสมัครหรือกับเครือข่ายสังคม เป็นการสร้างความเชื่อใจระหว่างผู้ใช้และระบบบริการ ระบบเพียร์ทูเพียร์สามารถเชื่อใจเท่าที่จะเชื่ออาสาสมัครผู้ดำเนินการเซิร์ฟเวอร์โดยรวม ๆ หรือเท่าที่สถาปัตยกรรมของระบบจะจำกัดจำนวนข้อมูลที่เก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ใดเซิร์ฟเวอร์หนึ่งโดยเดี่ยว ๆ บวกกับความเชื่อใจว่า ผู้ดำเนินการจะไม่ร่วมมือกันรวบรวมข้อมูลที่ตนมี

ระบบเปลี่ยนทางส่งข้อมูล (Re-routing) จะส่งรับข้อมูลผ่านลำดับพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ โดยเข้ารหัสลับที่ทุก ๆ พร็อกซี ทำให้พร็อกซีแต่ละตัวรู้อย่างมากว่า การสื่อสารเริ่มต้นมาจากใครหรือส่งไปหาใคร แต่ไม่สามารถรู้ข้อมูลทั้งสอง ซึ่งทำให้สามารถลดความเชื่อใจต่อพร็อกซีแต่ละตัว ๆ

alkasir

ซอฟต์แวร์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจพิจารณา
ชื่อ
ประเภท
ผู้พัฒนา
ค่าใช้จ่าย
เว็บไซต์
alkasir HTTP proxy นักสื่อข่าวชาวเยเมน Walid al-Saqaf ฟรี www.alkasir.com เก็บถาวร พฤษภาคม 5, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หมายเหตุ - ใช้ "การแบ่งช่องอุโมงค์" (split-tunneling) เพื่อจัดส่งคำขอไปยังพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เมื่อพบการบล็อก ไม่ใช่อุปกรณ์หลีกเลี่ยงที่ใช้ได้โดยทั่วไปคือช่วยให้เข้าถึงเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกบางแห่งได้เท่านั้น โดยเฉพาะก็คือ มันไม่อนุญาตให้เข้าถึงสื่อลามกอนาจาร รูปเปลือย หรือสื่ออื่นที่คล้าย ๆ กัน
Anonymizer วีพีเอ็น Anonymizer, Inc. มีค่าใช้จ่าย www.anonymizer.com/
หมายเหตุ - ส่งการสื่อสารผ่านอุโมงค์เครือข่ายส่วนตัวเสมือนที่สร้างโดยซอฟต์แวร์ โดยต่อกับที่อยู่ไอพีซึ่งสร้างขึ้นโดยสุ่ม แทนที่จะต่อกับที่อยู่ของระบบเป้าหมายจริง ๆ

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษรายงานว่า การสื่อสารไม่มีการเก็บบันทึกไว้ในระบบ และผู้ก่อตั้งบริษัทได้อ้างกับสื่อข่าวในปี 2001 ว่า ไม่มีการเก็บข้อมูลทั้งในการสื่อสารและผู้ใช้ จึงไม่สามารถถูกเรียกตรวจโดยหมายศาลได้

CGIProxy HTTP proxy James Marshall ฟรี www.jmarshall.com/
หมายเหตุ - ซอฟต์แวร์สำหรับระบบให้บริการที่ใช้มากที่สุดอย่างหนึ่ง จะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกเซ็นเซอร์ให้เป็นพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวที่เข้ารหัสลับ ซึ่งให้ผู้ใช้บริการเรียกดูเว็บเพจได้ ผู้ให้บริการสามารถสร้างเครือข่ายผู้ใช้บริการผ่านความสัมพันธ์ส่วนตัวโดยติดต่อเป็นการส่วนตัว ทำให้การตรวจพิจารณาและบล็อกทำได้ยาก
Flash proxy HTTP proxy มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ฟรี crypto.stanford.edu/flashproxy/
หมายเหตุ - เป็นโปรแกรมเสริมสำหรับบราวเซอร์เพื่อทั้งส่งข้อมูลผ่านพร็อกซีและให้บริการเป็นพร็อกซีส่งต่อ โดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายนิรนามคือทอร์ผ่านพร็อกซีส่งต่อที่ดำเนินงานในบราวเซอร์ซึ่งมีอยู่อย่างมากมายและดำเนินงานเพียงระยะสั้น ๆ ซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนเลขที่อยู่ไอพีที่เชื่อมต่อได้เร็วกว่าที่องค์กรตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตจะสามารถบล็อกที่อยู่ได้

แม้จะช่วยให้เลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ แต่ให้สังเกตว่า โปรเจ็กต์ทอร์เองไม่แนะนำให้ใช้บราวเซอร์อื่น ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ เพราะจะไม่ได้การป้องกันสภาพนิรนามเหมือนกับที่ใช้ทอร์บราวเซอร์

ฟรีเกต Application proxy บริษัทไดนามิกอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี ฟรี www.dit-inc.us
หมายเหตุ - ใช้กลุ่มพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายต่อต้านการเซ็นเซอร์ไดนาเว็บของบริษัท ฟรีเกตติดตั้งพร็อกซีเฉพาะที่ซึ่งรองรับ SOCKS v5 เพื่อใช้ต่อกับพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายผ่านอุโมงค์แบบ HTTP HTTPS และ SSL โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เปิดเผยเพื่อไม่ให้ถูกบล็อก พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทโดยมากอยู่ในประเทศไต้หวันซึ่งมีอยู่จำกัด เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายโดยไม่ต้องติดตั้ง คือเมื่อดาวน์โหลดได้แล้วก็ใช้ดำเนินการได้เลย เป็นโปรแกรมเสียตรงที่ว่าหาข้อมูลได้น้อย รวมทั้งเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ และผู้พัฒนา

เป็นโปรแกรมที่ช้าถ้าเว็บไซต์มีภาพมาก แต่ใช้ได้เมื่อมากไปด้วยข้อความ บริษัทมีตัวกรองข้อมูลที่กันไม่ให้ดูเว็บไซต์ที่ผู้พัฒนาไม่เห็นด้วย เช่น สื่อลามกอนาจาร คู่มือหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ปี 2007 ให้ความเห็นว่า เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ชำนาญการคอมพิวเตอร์ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์มากกว่าความปลอดภัย เชื่อใจในบริษัท และต้องการเที่ยวชมเว็บอย่างเร็วพอควร เป็นโปรแกรมที่ทำงานคล้ายอัลตราเซิรฟ์

ไดนาเว็บ CGI proxy บริษัทไดนามิกอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี ฟรี www.dit-inc.us
หมายเหตุ - เป็นกลุ่มเว็บเพจที่อาศัยกลุ่มพร็อกซีในเครือข่ายต่อต้านการเซ็นเซอร์ของบริษัท พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทโดยมากอยู่ในประเทศไต้หวัน เนื่องจากเป็นเว็บพร็อกซี จึงเป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายโดยไม่ต้องติดตั้ง ผู้ใช้ในประเทศจีนบางพวกชมว่า เป็นเว็บเพจที่ใช้ได้เร็ว เว็บไซต์ไม่ได้ให้เข้าถึงเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ทุกอย่างเพราะบริษัทมีตัวกรองไม่ให้เข้าถึงข้อมูลที่บริษัทไม่เห็นด้วย เช่น สื่อลามกอนาจารเป็นต้น ข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทมุ่งผู้ใช้ในประเทศจีนโดยมาก

ผู้ใช้สามารถได้ยูอาร์แอลเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์จากบริษัทและจากแหล่งอื่น ๆ ยูอาร์แอลเช่น http://us.dongtaiwang.com/do/Qa_k/tttLwwxLx0LbC/ ซึ่งแม้จะใช้ในรูปแบบ HTTPS ได้ แต่ใบรับรอง SSL ที่ใช้ก็ไม่ได้เซ็นชื่อโดยองค์กรที่เชื่อถือได้ ทำให้ผู้โจมตีสามารถปลอมตัวเป็นเว็บไซต์ของบริษัทได้ง่าย บริษัทมีบัญชีอีเมลและระบบส่งข้อความทันทีต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สามารถส่งข้อความเพื่อรับเอายูอาร์แอลเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ที่ยังไม่ถูกบล็อกได้

ฟรีเน็ต เพียร์ทูเพียร์ Ian Clarke ฟรี freenetproject.org
หมายเหตุ - เป็นระบบเก็บข้อมูลแบบกระจายและไร้ศูนย์ ที่ใช้แบนด์วิดท์และหน่วยเก็บข้อมูลที่อนุญาตให้ใช้โดยสมาชิก เป็นระบบที่ป้องกันสภาพนิรนามได้ แต่ก็มีเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ได้อ้างว่า ได้แทรกซึมส่วน opennet ของระบบเพื่อทำลายสภาพนิรนามคือระบุผู้ใช้ได้ ซึ่งอาจเป็นข่าวลอยเพราะไม่ได้แสดงเทคนิกที่ใช้ในปฏิบัติการเช่นนี้ โดยมีรายงานในสื่อด้วยว่า "การสืบคดีสื่อลามกอนาจารเด็กได้เพ่งเล็งที่...[ผู้ต้องสงสัย] เมื่อเจ้าหน้าที่กำลังเฝ้าสังเกตเครือข่ายออน์ไลน์คือฟรีเน็ตอยู่"
I2P

(ดั้งเดิม Invisible Internet Project)

เปลี่ยนทางส่งข้อมูล, Application proxies I2P Project ฟรี geti2p.net
หมายเหตุ - ใช้เครือข่ายซ้อนทับอินเทอร์เน็ตเพื่อให้สามารถเยี่ยมดูเว็บ เพื่อสนทนา เพื่อถ่ายโอนไฟล์ ในบรรดาลูกเล่นต่าง ๆ อย่างนิรนามได้ ระบบสามารถใช้กับวินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ คู่มือหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ปี 2007 แนะนำว่า เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ชำนาญทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสภาพนิรนาม โดยหลักเพื่อส่งกระจายข้อมูลหรือเอกสาร และเพื่อใช้หลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์แบบไม่ต้องเร็วมาก เนื่องจากต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ จึงอาจไม่ควรใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงได้โดยสาธารณะหรือในคอมพิวเตอร์ที่เสี่ยงต่อการถูกยึด
Java Anon Proxy

(หรือ JAP/JonDonym)

เปลี่ยนทางส่งข้อมูล (เป็นทางตายตัว) Jondos GmbH ฟรีหรือจ่าย geti2p.net
หมายเหตุ - เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ซเขียนด้วยภาษาจาวา ใช้ระบบพร็อกซีต่อเป็นลำดับซึ่งผู้ใช้เลือกได้ โดยพร็อกซีจะผสมการสื่อสารจากบุคคลต่าง ๆ และเข้ารหัสลับ เพื่อให้สภาพนิรนามแก่ผู้ใช้ แต่สามารถทำลายสภาพนิรนามได้ถ้าพร็อกซีในระหว่าง ๆ เก็บบันทึกข้อมูลการใช้แล้วมีผู้นำข้อมูลมาสัมพันธ์กันได้ ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีอันเป็นแหล่งต้นตอของซอฟต์แวร์เพราะเหตุที่เริ่มจากคำสั่งศาล ต่อมาเครือข่ายพร็อกซีจึงขยายไปยังประเทศอื่น ๆ มากขึ้น เพราะการใช้พร็อกซีต่อ ๆ กันที่อยู่ในเขตปกครองต่าง ๆ จะทำให้ประเทศหลายประเทศต้องร่วมมือกันเพื่อเปิดโปงผู้ใช้

ซอฟต์แวร์ในระบบผู้ใช้จะติดตั้งพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เฉพาะที่สำหรับ HTTP และ SOCKS สามารถติดตั้งเป็นโปรแกรมที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย/ใช้ได้หลายระบบ (portable) เป็นโปรแกรมที่น่าเชื่อถือเพราะรหัสต้นฉบับเปิดให้ตรวจดูได้และผู้พัฒนามาจากมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีชื่อเสียง จุดเสียของระบบก็คือพร็อกซีที่ให้ใช้ฟรีมีจำกัด และผู้ใช้มองว่า เป็นระบบที่ช้า

คู่มือหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ปี 2007 ให้ความเห็นว่า เหมาะกับผู้ใช้ที่ชำนาญเรื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการบริการที่ให้สภาวะนิรนามพร้อมกับการหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์โดยเร็วพอสมควร แม้รายงานปี 2007 จะบ่งว่า ความเร็วแย่ทั้งในการชมเว็บไซต์ที่มีภาพมากและมีภาพน้อย และพร็อกซีในระหว่างที่ต่อ ๆ กันมีค่าติดตั้งที่ทำให้ไม่ปลอดภัย ซึ่งทำให้รายงานแนะนำสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการสภาพนิรนาม

ไซฟอน วีพีเอ็น

Application proxy

บริษัทไซฟอน ฟรีเมื่อใช้ส่วนตัว psiphon.ca
หมายเหตุ - ระบบหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้ง่าย มีคนใช้อย่างกว้างขวาง โดยมีโครงสร้างพื้นฐานแบบกลุ่มเมฆที่ให้บริการคนเป็นล้าน ๆ และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ปลอดภัยและทำให้คลุมเครือรวมทั้งเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (วีพีเอ็น), Secure Shell (เอสเอสเอช), และ HTTP/SOCKS Proxy ไซฟอนจะต่อกับเครือข่ายพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เป็นพัน ๆ ที่กระจายไปทั่วโลกและจัดการบริหารแบบรวมศูนย์ แม้จะสื่อสารผ่านพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวเพื่อความรวดเร็ว

โปรแกรมผู้ใช้เป็นไฟล์ ๆ เดียว จึงไม่มีการติดตั้งและไม่ต้องถอนการติดตั้ง ผู้ใช้สามารถลบไฟล์ที่ดาวน์โหลดออกได้เลย โปรแกรมผู้ใช้จะเรียนรู้เลขที่อยู่ไอพีของเซิร์ฟเวอร์ภายในเครือข่ายใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการถูกบล็อกไม่ให้เข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่อาจถูกเซ็นเซอร์ แม้การสื่อสารจะเข้ารหัสลับและมีการพิสูจน์ตัวจริงของเซิฟเวอร์ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวออนไลน์ และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย

ทอร์ เปลี่ยนทางส่งข้อมูล (เลือกทางโดยสุ่ม), Application proxies โปรเจ็กต์ทอร์ ฟรี www.torproject.org
หมายเหตุ - เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ด้วยการจัดส่งการสื่อสารผ่านสถานีส่งต่อตามลำดับ ๆ ที่เลือกโดยสุ่มและเข้ารหัสลับเป็นชั้น ๆ (คล้ายหัวหอม) เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายทั่วโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี

ทอร์มุ่งป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร กล่าวอีกอย่างก็คือ ทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ"

แม้ทอร์โดยทั่วไปจะตั้งให้ป้องกันโปรแกรมที่ส่งการสื่อสารแบบทีซีพีผ่านส่วนต่อประสานแบบ SOCKS ได้ แต่โปรเจ็กต์ทอร์เองไม่แนะนำให้ใช้บราวเซอร์อื่น ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพราะจะไม่ได้การป้องกันสภาพนิรนามเหมือนกับที่ใช้ทอร์บราวเซอร์ และระบุว่า แม้จะมีโปรแกรมที่ออกแบบให้ใช้ทอร์ โปรเจ็กต์ก็ไม่ได้สำรวจโปรแกรมเหล่านั้นเพียงพอว่า เพื่อแนะนำค่าตั้งที่ปลอดภัย

ผลิตภัณฑ์หลักของโปรเจ็กต์ก็คือ ทอร์บราวเซอร์ซึ่งเป็นมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์พร้อมกับโปรแกรมเสริมและทอร์พร็อกซี เมื่อผู้ใช้เริ่มใช้ทอร์บราวเซอร์ มันก็จะเริ่มกระบวนการพื้นหลังโดยอัตโนมัติ แล้วจัดเส้นทางส่งการสื่อสารผ่านเครือข่ายทอร์ เมื่อยุติการใช้ บราวเซอร์จะลบข้อมูลส่วนตัว เช่น เอชทีทีพีคุกกี้และประวัติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ผู้ใช้สามารถใช้ทอร์บราวเซอร์จากสื่อบันทึกที่เอาออกได้ โดยมีรุ่นสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์

ข้อดีของทอร์ก็คือ เป็นระบบซึ่งก้าวหน้าที่สุดทางเทคนิกอย่างหนึ่งในการป้องกันการวิเคราะห์การสื่อสาร โปรเจ็กต์บอกอย่างชัดเจนว่าซอฟต์แวร์ช่วยป้องกันอะไรได้และป้องกันอะไรไม่ได้ และมีซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ส่วนข้อเสียก็คือ ผู้ใช้มีประสบการณ์ว่าเครือข่ายช้า ทำงานได้ไม่ดีเมื่ออินเทอร์เน็ตมีจราจรแออัด คู่มือหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ปี 2007 ให้ความเห็นว่า เป็นทางเลือกชั้นยอดสำหรับผู้ต้องการสภาพนิรนามเพราะการเฝ้าตรวจดูการสื่อสารผ่านเครือข่ายทอร์ทำได้ยากมาก และสำหรับผู้ใช้ที่ชำนาญทางคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีสภาพนิรนามในบริการหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์สำหรับโปรแกรมต่าง ๆ ที่ไม่ต้องเร็วมาก

อัลตราเซิรฟ์ HTTP proxy อัลตรารีช ฟรี www.ultrasurf.us/
หมายเหตุ - อัลตราเซิรฟ์ เป็นฟรีแวร์เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์สำหรับเอชทีทีพี/เอชทีทีพีเอส และใช้การเข้ารหัสลับเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัว ซอฟต์แวร์ที่สามารถดำเนินการโดยไม่ต้องติดตั้งในระบบผู้ใช้จะสร้างอุโมงค์ไปยังพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายโดยใช้เทคนิกต่าง ๆ เพื่อหาที่อยู่ที่ไม่ถูกบล็อก โดยสามารถใช้ได้กับบราวเซอร์คืออินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์หรือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ได้เลย

ข้อดีคือซอฟต์แวร์มีขนาดเล็ก ซ่อนง่าย ไม่กระโตกกระตากเมื่อกำลังใช้ เร็ว ไม่ต้องติดตั้ง ไม่เปลี่ยนค่าในหน่วยเก็บทะเบียนของวินโดวส์ และสามารถลบร่องรอยโดยเพียงแค่ลบไฟล์ออก ข้อเสียก็คือซอฟต์แวร์มีประวัติถูกจับว่าเป็นม้าโทรจันและไวรัสเพราะมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย แต่ก็ยังไม่เคยมีข้อพิสูจน์ว่าทำการไม่ชอบ อนึ่ง บริษัทไม่เปิดเผยว่าใช้โครงสร้างพื้นฐานอะไรเพื่อให้บริการและไม่แสดงข้อมูลชี้แจงวิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ คู่มือหลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ปี 2007 แนะนำว่าเป็นทางเลือกชั้นยอดสำหรับผู้ไม่ชำนาญทางคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อใจผู้ให้บริการ และต้องการเที่ยวชมเว็บอย่างเร็วพอควร

งานศึกษาปี 2007 ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้เรียกมันว่าเป็นอุปกรณ์หลีกเลี่ยงที่เร็วสุด เป็นอุปกรณ์หลีกเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์เดียวที่ใช้ได้เร็วสำหรับเว็บไซต์ที่มากด้วยภาพ แต่ระบบเองก็เซ็นเซอร์เว็บไซต์บางแห่งตามเกณฑ์ของผู้บริการ งานยังแนะนำผู้ใช้ที่กังวลเรื่องสภาพนิรนามให้ตั้งค่าบราวเซอร์ไม่ให้รับเนื้อหาแบบแอ็กถีฟ (เช่น แฟลช)

การจัดลำดับซอฟต์แวร์ตามงานของฟรีดอมเฮาส์ (FH) ปี 2011
วัดค่าตามความใช้ง่าย ความเร็ว การสนับสนุนบวกความปลอดภัย
ชื่อ ลำดับ
(ค่าวัดแล็บ)
ลำดับ
(แล็บ+ความเห็นผู้ใช้)
เหมาะสมเพื่อ
กูเกิล 5 1 ชมเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่ไม่ต้องเป็นส่วนตัวสูง
ไซฟอน 1 2 ส่งหรือกระจายข้อมูลที่ไม่ต้องปลอดภัยแต่ต้องเร็ว
ส่งหรือกระจายข้อมูลอย่างปลอดภัยและเร็ว
วีพีเอ็น 5 4 ส่งหรือกระจายข้อมูลอย่างปลอดภัยและเร็ว
อัลตราเซิรฟ์ 4 5 ชมเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องเป็นส่วนตัวสูง
ส่งหรือกระจายข้อมูลที่ไม่ต้องปลอดภัยหรือเร็วมาก
ทอร์ 3 6 ชมเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องเป็นส่วนตัวสูง
ส่งหรือกระจายข้อมูลอย่างปลอดภัยแต่ไม่ต้องเร็วมาก
พร็อกซี 10 7
ไดนาเว็บ 8 8
ฟรีเกต 12 11 ชมเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่ไม่ต้องเป็นส่วนตัวสูง
JonDonym/JAP 9 12 ชมเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องเป็นส่วนตัวสูง
ส่งหรือกระจายข้อมูลอย่างปลอดภัยมากแต่ไม่ต้องเร็วมาก
ฟรีเน็ต 13

ดูเพิ่ม

  • การสอดส่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  • ความเป็นส่วนตัวทางอินเทอร์เน็ต

เชิงอรรถและอ้างอิง

อ้างอิงอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต การหลีกเลี่ยง สภาวะนิรนาม ความเสี่ยง และความเชื่อใจการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต วิธีต่าง ๆการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต ดูเพิ่มการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต เชิงอรรถและอ้างอิงการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต อ้างอิงอื่น ๆการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต แหล่งข้อมูลอื่นการหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตกฎหมายการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตตรวจพิจารณาองค์กรอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

โอดะ โนบูนางะธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญประเทศเนเธอร์แลนด์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่สยาม ศิริมงคลวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารเด่นคุณ งามเนตรหม่ำ จ๊กมกประเทศนิวซีแลนด์กรุงเทพมหานครและปริมณฑลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาราชกิจจานุเบกษากีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39บรูโน มาส์ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสมุทรปราการเหตุการณ์ 14 ตุลาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลจริยา แอนโฟเน่พระพุทธชินราชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขร็อดดี ไพเพอร์ธงประจำพระองค์ไททานิค (ภาพยนตร์)แจ๊ส ชวนชื่นเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ฟุตบอลทีมชาติจีนฟุตบอลทีมชาติสเปนรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)จ้าว ลี่อิ่งร่างทรง (ภาพยนตร์)สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)ตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาจังหวัดสกลนครประเทศคาซัคสถานศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์ชิตพล ลี้ชัยพรกุลเต่าปูลูสารัช อยู่เย็นสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลอี อารึมภาคเหนือ (ประเทศไทย)ออลเทอร์นาทิฟร็อกปฏิจจสมุปบาทสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาวรินทร ปัญหกาญจน์บอดี้สแลมเจริญ สิริวัฒนภักดีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์แทททูคัลเลอร์งูเขียวพระอินทร์ทวีปอเมริกาเหนือแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)อักษรไทยโลจิสติกส์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีมัสเกตเทียส์ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)จีเอ็มเอ็มทีวีมหาวิทยาลัยขอนแก่นชนาธิป สรงกระสินธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฟุตบอลทีมชาติไทยมาซาตาดะ อิชิอิอาลิง โฮลัน🡆 More