การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก

{{Infobox event |image = 2014 ebola virus epidemic in West Africa simplified.svg |image_size = 300px |caption = ภาพจำลองการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก |date = ธันวาคม ค.ศ.2013 – มิถุนายน ค.ศ.2016 |casualties1=

  • Note: current estimates suggest that between 17 percent and 70 percent of Ebola cases were unreported.

{{aligned table|class=wikitable table-responsive |fullwidth=y|cols=4 | row1header = yes|col2style=text-align:right|col3style=text-align:right | ประเทศ | ติดเชื้อ | เสียชีวิต | ล่าสุด
ในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.2016 โดย WHO | [[Ebola virus epidemic in Liberia|ไลบีเรีย | 10,675 | 4,809 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.2016

| [[Ebola virus epidemic in Sierra Leone|เซียร์ราลีโอน | 14,124 | 3,956 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.2016

| [[Ebola virus epidemic in Guinea|กินี | 3,811 | 2,543 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.2016

| [[Ebola virus disease in Nigeria|ไนจีเรีย | 20 | 8 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.2014

| [[Ebola virus disease in Mali|มาลี | 8 | 6 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.2015

| [[Ebola virus cases in the United States|สหรัฐ | 4 | 1 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.2014

| อิตาลี | 1 | 0 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.2015

| [[Ebola virus disease in the United Kingdom|สหราชอาณาจักร | 1 | 0 | การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.2015

| เซเนกัล | 1 | 0 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.2014

| [[Ebola virus disease cases in Spain|สเปน | 1 | 0 |การระบาดของโรคสิ้นสุดลงในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.2014

| row12style=font-weight:bold; background-color:#f0f0f0 | รวม | 28,646 | 11,323 | ข้อมูลเมื่อ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (2016 -05-08) }} }} การระบาดกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ของโรคไวรัสอีโบลา เริ่มในประเทศกินีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 และยังมีการเสียชีวิตอย่างสำคัญเรื่อยมาเป็นเวลาสองปี จนกำลังมีการประกาศว่ายุติในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โรคระบาดกระจุกอยู่ในหลายประเทศแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ ประเทศไลบีเรีย กินีและเซียร์ราลีโอน โดยมีการระบาดขนาดเล็กที่อื่น โรคมีอัตราตายสำคัญ โดยอัตราป่วยตายที่รายงานถึง 70% และโดยเฉพาะ 57–59% ของผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล มีการอธิบายโรคไวรัสอีโบลาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ในการระบาดพร้อมกันสองครั้งในซูดานใต้และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แต่ครั้งนี้เป็นการระบาดของอีโบลาครั้งแรกในอนุทวีปแอฟริกาตะวันตก การระบาดเริ่มในกินีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 แล้วลามไปไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน เกิดการระบาดเล็กในประเทศไนจีเรียและมาลี และมีผู้ป่วยเดี่ยวในประเทศเซเนกัล สหราชอาณาจักรและซาร์ดีเนีย ผู้ป่วยจากนอกประเทศในสหรัฐอเมริกาและสเปนนำสู่การติดเชื้อทุติยภูมิของบุคลากรทางการแพทย์ แต่มิได้แพร่ไปอีก วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยรวม 28,638 คน และเสียชีวิต 11,315 คน แม้องค์การอนามัยโลก เชื่อว่าตัวเลขนี้ประเมินขนาดของการระบาดครั้งนี้ต่ำกว่าจริงมากพอควร องค์การอนามัยโลกยังเตือนว่าอาจเกิดการระบาดเล็กอีกในอนาคต และควรระมัดระวังต่อไป

ครั้งนี้เป็นการระบาดของอีโบลาครั้งแรกที่แตะสัดส่วนโรคระบาด การระบาดครั้งก่อน ๆ สามารถควบคุมได้ในไม่กี่สัปดาห์ ความยากจนสุดขั้ว ระบบสาธารณสุขที่ทำหน้าที่บกพร่อง ข้าราชการที่ไม่ไว้วางใจหลังการขัดกันด้วยอาวุธนานหลายปี และความล่าช้าในการสนองตอบการระบาดเป็นเวลาหลายเดือนทั้งหมดล้วนส่งเสริมให้การควบคุมโรคระบาดล้มเหลว ปัจจัยอื่นมีขนบธรรมเนียมฝังศพของท้องถิ่นที่ชำระศพหลังเสียชีวิตและการแพร่ไปนครที่มีประชากรอยู่หนาแน่น เมื่อโรคระบาดแพร่กระจาย หลายโรงพยาบาลซึ่งขาดแคลนเจ้าหน้าที่และเวชภัณฑ์ ไม่สามารถแบกรับภาระไหวและปิด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขบางคนแถลงว่า ความไร้สามารถรักษาความต้องการทางการแพทย์อื่นอาจทำให้ "ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่ม[ซึ่ง]เป็นไปได้ว่าอาจสูงกว่าโรคระบาดเอง" เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลซึ่งทำงานใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งที่ติดต่อทางสัมผัสของผู้เป็นโรค เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นพิเศษต่อการรับเชื้อ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 องค์การอนามัยโลก รายงานว่า ร้อยละ 10 ของผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 มีการประมาณว่า ขีดความสามารถของประเทศสำหรับการรักษาผู้ป่วยอีโบลานั้นขาดเทียบเท่า 2,122 เตียง ในเดือนธันวาคม มีจำนวนเตียงเพียงพอรักษาและแยกผู้ป่วยอีโบลาที่มีรายงานทั้งหมด แม้การกระจายของผู้ป่วยที่ไม่สม่ำเสมอส่งผลให้มีการขาดแคลนอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานว่า เป็นครั้งแรกนับแต่สัปดาห์ที่ 29 มิถุนายน 2557 ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยยืนยันใหม่น้อยกว่า 100 คนในสามประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากนั้นการสนองตอบโรคระบาดเคลื่อนไประยะที่สอง เมื่อความสนใจเปลี่ยนจากการชะลอการแพร่เชื้อเป็นการหยุดโรคระบาด วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานว่ามีผู้ป่วยยืนยันรวมเพียง 30 คน และการปรับรายสัปดาห์ของวันที่ 29 กรกฎาคมรายงานผู้ป่วยเพียง 7 คน วันที่ 7 ตุลาคม 2558 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดทั้งสามประเทศบันทึกว่าไม่มีผู้ป่วยใหม่ในสัปดาห์นั้นเป็นครั้งแรก ทว่า เมื่อปลายปี 2558 แม้การระบาดขนาดใหญ่จะยุติลงแล้ว แต่ยังมีผู้ป่วยใหม่เกิดห่าง ๆ เกิดอยู่ ซึ่งขัดขวางความหวังที่จะสามารถประกาศว่าโรคระบาดสิ้นสุดลงแล้ว

วันที่ 8 สิงหาคม 2557 องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ WHO ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าลงมือปฏิบัติล่าช้าเพื่อจัดการกับโรคระบาดนี้ เดือนกันยายน 2557 แพทย์ไร้พรมแดน องค์การนอกภาครัฐซึ่งมีเจ้าหน้าที่มากที่สุดที่ทำงานในประเทศที่ได้รับผลกระทบ วิจารณ์การสนองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน ประธานแพทย์ไร้พรมแดนกล่าวถึงการขาดความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ว่า "หกเดือนกับโรคระบาดอีโบลาที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ โลกกำลังพ่ายการต่อสู้เพื่อจำกัดมัน" ในถ้อยแถลงเมื่อวันที่ 26 กันยายน องค์การอนามัยโลกแถลงว่า "โรคระบาดอีโบลาซึ่งกำลังผลาญแอฟริกาตะวันตกบางส่วนเป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขเฉียบพลันที่รุนแรงที่สุดที่พบในสมัยใหม่" และผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก มาร์กาเรต ชาน เรียกโรคระบาดนี้ว่า "ใหญ่สุด ซับซ้อนที่สุด และรุนแรงที่สุดเท่าที่เราเคยเห็น" ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มพัฒนาสหประชาชาติรายงานว่า เนื่องจากการลดการค้า การปิดพรมแดน การยกเลิกเที่ยวบินและการลงทุนต่างชาติและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดจากความเสื่อมเสีย โรคระบาดนี้ได้ส่งผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจใหญ่หลวงทั้งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในแอฟริกาตะวันตกและแม้แต่ในชาติแอฟริกาอื่นที่ไม่มีผู้ป่วยอีโบลา

วันที่ 31 กรกฎาคม 2558 WHO ประกาศ "การพัฒนาที่มีความหวังอย่างยิ่ง" ในการแสวงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคอีโบลา ขณะที่วัคซีนนี้แสดงประสิทธิพลัง 100% ในปัจเจกบุคคล แต่จำเป็นต้องมีหลักฐานที่สรุปได้มากกว่านี้ถึงขีดความสามารถในการป้องกันประชากรผ่านภูมิคุ้มกันหมู่ก่อน

ในเดือนสิงหาคม 2558 หลังมีความคืบหน้าพอควรในการลดขนาดของโรคระบาด WHO จัดการประชุมเพื่อดำเนิน "แผนการดูแลครอบคลุมสำหรับผู้รอดชีวิตอีโบลา" และระบุการวิจัยที่ต้องการทำให้การดูแลเชิงคลินิกและความเป็นอยู่ดีทางสังคมให้เหมาะที่สุด ปัญหาพิเศษ คือ การวิจัยล่าสุดที่แสดงว่าผู้รอดชีวิตจากอีโบลาบางคนประสบสิ่งที่เรียก กลุ่มอาการหลังอีโบลา ซึ่งมีอาการรุนแรงจนผู้นั้นอาจต้องดูแลรรักษาทางการแพทย์เป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายปี เมื่อโรคระบาดใกล้สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2558 สหประชาชาติประกาศว่า มีเด็กกำพร้า 22,000 คนจากการเสียบิดาหรือมารดาหรือทั้งสองเนื่องจากอีโบลา

ตาราง

Major Ebola virus outbreaks by country and by date – 13 Sept 2015 to most recent WHO / Gov update- 6 Jan 2016
Note: Cases include confirmed, probable and suspected per the WHO, numbers are the cumulative figures as published on the given date, and due to retrospective revisions differences between successive weekly totals are not necessarily the number of new cases that week.
Date Total Guinea Liberia Sierra Leone Sources
Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths
6 Jan 2016 28,542 11,299 3,806 2,535 10,675 4,809 14,061 3,955
23 Dec 2015 28,542 11,299 3,806 2,535 10,676 4,809 14,061 3,955
9 Dec 2015 28,542 11,299 3,806 2,535 10,675 4,809 14,061 3,955
25 Nov 2015 28,539 11,298 3,806 2,535 10,672 4,808 14,061 3,955
11 Nov 2015 28,539 11,298 3,806 2,535 10,672 4,808 14,061 3,955
25 Oct 2015 28,539 11,298 3,800 2,534 10,672 4,808 14,061 3,955
11 Oct 2015 28,454 11,297 3,800 2,534 10,672 4,808 13,982 3,955
Minor Ebola virus outbreaks by country and by date – 30 July 2014 to most recent WHO / Gov update 30 Aug 2015
Date Total Nigeria Senegal United States Spain Mali United Kingdom Italy Refs
Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths Cases Deaths
30 Aug 2015 36 15 20 8 1 0 4 1 1 0 8 6 1 0 1 0
29 Dec 2014 35 15 20 8 1 0 4 1 1 0 8 6 1 0
14 Dec 2014 32 15 20 8 1 0 4 1 1 0 6 6
2 Nov 2014 27 10 20 8 1 0 4 1 1 0 1 1
12 Oct 2014 23 8 20 8 1 0 1 0 1 0 -
28 Sep 2014 22 8 20 8 1 0 1 0 - -
30 Jul 2014 3 1 3 1 -

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


This article uses material from the Wikipedia ไทย article การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก ตารางการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก เชิงอรรถการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก อ้างอิงการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก แหล่งข้อมูลอื่นการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567กรรชัย กำเนิดพลอยแอนยา เทย์เลอร์-จอยวัดโสธรวรารามวรวิหารวรกมล ชาเตอร์ต้นตะวัน ตันติเวชกุลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จุดทิศหลักหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ทศศีลสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชพันทิป.คอมไทใหญ่ชาบี อาลอนโซแมนสรวงจังหวัดชัยนาท69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เซเรียอา ฤดูกาล 2023–24พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดราก้อนบอลสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยางูกะปะอิษยา ฮอสุวรรณมหาวิทยาลัยศรีปทุมหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรกูเกิล แผนที่คันนะ ฮาชิโมโตะจิรวัฒน์ สอนวิเชียรคาราบาวคณะรัฐมนตรีไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์สีประจำวันในประเทศไทยเปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)วอลเลย์บอลฮ่องกงโอมเนื้อหนังมังผีพิชัย ชุณหวชิรข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวศรีรัศมิ์ สุวะดีIรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยเศรษฐา ทวีสินจังหวัดตราดคริสเตียโน โรนัลโดวัดพระศรีรัตนศาสดารามจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)ประเทศอังกฤษจังหวัดอุตรดิตถ์เมษายนมัณฑนา หิมะทองคำเครื่องคิดเลขสูตรลับตำรับดันเจียนอริยบุคคลรายชื่ออำเภอของประเทศไทยจังหวัดภูเก็ตหีรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยขันธ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจภาวะโลกร้อนผู้หญิง 5 บาปอินสตาแกรมไค ฮาเวิทซ์วรินทร ปัญหกาญจน์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารญาณี จงวิสุทธิ์ไทโอยูเรีย🡆 More