การปฏิวัติยุคหินใหม่

การปฏิวัติยุคหินใหม่ หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนผ่านอย่างกว้างขวางของวัฒนธรรมมนุษย์ในยุคหินใหม่จากสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ (สังคมแบบยังชีพ) สู่สังคมเกษตรกรรม และสังคมเมือง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวทำให้มนุษย์มีโอกาสสังเกตและทดลองพันธุ์พืช นำไปสู่ความรู้ในการปรับปรุงไม้ป่าเป็นไม้เลี้ยง แนวคิดการปฏิวัติยุคหินใหม่นี้คิดค้นโดย วี.

กอร์ดอน ไชลด์ นักโบราณคดีชาวออสเตรเลียในหนังสือ Man Makes Himself

การปฏิวัติยุคหินใหม่
แผนที่โลกแสดงศูนย์กลางการริเริ่มเกษตรกรรมและการแผ่กระจายในยุคก่อนประวัติศาสตร์: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (11,000 BP), ลุ่มน้ำแยงซีและหวง (9,000 BP) และที่สูงนิวกินี (9,000–6,000 BP), เม็กซิโกตอนกลาง (5,000–4,000 BP), อเมริกาใต้ตอนเหนือ (5,000–4,000 BP), แอฟริกาใต้สะฮารา (5,000–4,000 BP, ยังไม่ทราบที่ตั้งแน่ชัด), อเมริกาเหนือทางตะวันออก (4,000–3,000 BP), BP แทนหน่วยเวลา "ก่อนปัจจุบัน" (Before Present)
การปฏิวัติยุคหินใหม่
วิวัฒนาการของอุณหภูมิในภายหลังยุคน้ำแข็ง นับจากการขยายสูงสุดของแผ่นน้ำแข็งครั้งล่าสุด (Last Glacial Maximum - LGM) อ้างอิงจากการขุดสำรวจแกนน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ การเกิดขึ้นของการเกษตรกรรมสอดคล้องกับช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงสิ้นสุดของช่วงหนาวเย็นของยุคดรายส์ (Younger Dryas) ต่อกับช่วงเริ่มต้นของช่วงเวลาที่อบอุ่นยาวนานของสมัยโฮโลซีน ซึ่งสันนิษฐานว่า เขตร้อนและเขตกึ่งเขตร้อนได้ขยายตัวออกไปมาก ซึ่งสภาพภูมิอากาศแบบนี้ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การทำกสิกรรมแบบง่ายในช่วงเริ่มต้น

การปฏิวัติยุคหินใหม่ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่แค่เพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตอาหาร แต่เป็นการเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตร่อนเร่ไปสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านและเมือง มีการชลประทานและถางป่าเพื่อทำการเพาะปลูก รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำเครื่องปั้นดินเผา การปรับปรุงเครื่องมือหิน และการสร้างบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ของการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านทางประชากรยุคหินใหม่

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นแยกกันในหลายแห่งทั่วโลก เริ่มในสมัยโฮโลซีนเมื่อ 11,700 ปีก่อน ช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เริ่มจากบริเวณพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ราว 10,000–8,000 ปีก่อนคริสตกาล ตามด้วยลุ่มแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหวงราว 7,000 ปีก่อนคริสตกาล และที่สูงนิวกินีราว 7,000–3,000 ปีก่อนคริสตกาล มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนมาทำการเกษตร เช่น พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ การใช้เกษตรกรรมเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจ ปัจจัยด้านประชากร การปรับตัวของมนุษย์และพืช สภาพอากาศคงที่หลังยุคน้ำแข็ง และการสูญพันธุ์ของสัตว์ใหญ่ (megafauna) มีหลักฐานการเพาะปลูกธัญพืช 8 ชนิดเป็นครั้งแรกในลิแวนต์ช่วงราว 9,500 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่การเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นโดยสัตว์กลุ่มแรก ๆ ที่มนุษย์นำมาเลี้ยงได้แก่ สุนัข (13,000 ปีก่อนคริสตกาล) แพะ (10,000 ปีก่อนคริสตกาล) สุกร (9,000 ปีก่อนคริสตกาล) แกะ (9,000–8,500 ปีก่อนคริสตกาล) และวัว (8,000 ปีก่อนคริสตกาล)

มุมมองดั้งเดิมของการปฏิวัติยุคหินใหม่คือการเกษตรมีส่วนสนับสนุนประชากรที่มากขึ้น ทำให้ชุมชนยิ่งแผ่ขยาย ขณะเดียวกันก็เกิดแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป ทำให้ผู้คนมีหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม และเมื่อสังคมซับซ้อนขึ้นก็เกิดชนชั้นนำผู้ทำหน้าที่ปกครองชุมชน พัฒนาการดังกล่าวหรือบางครั้งเรียกว่า การรวมกลุ่มยุคหินใหม่ (Neolithic package) เอื้อให้เกิดรากฐานโครงสร้างทางการเมือง การปกครองแบบรวมอำนาจ อุดมการณ์แบบลำดับชั้น การกระจายงาน และการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาการเขียน ศิลปะ และสถาปัตยกรรม นำไปสู่อารยธรรมแรกสุดอย่างซูเมอร์ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย (ราว 6500 BP) อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสัมฤทธิ์

ถึงแม้ว่าการปฏิวัติยุคหินใหม่จะนำพาความก้าวหน้าต่าง ๆ แต่งานศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยาและโบราณคดีหลายชิ้นพบว่าการที่มนุษย์เปลี่ยนมากินอาหารจากธัญพืชมากขึ้นทำให้การคาดหมายคงชีพลดลง การเสียชีวิตในทารกเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของโรคติดเชื้อและโรคเสื่อม การเพาะปลูกกลับเป็นการจำกัดความหลากหลายของอาหาร ทำให้มนุษย์ขาดวิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้จาเรด ไดมอนด์ นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันยังเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคมและความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพ

อ้างอิง

Tags:

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงคนเก็บของป่าล่าสัตว์มนุษย์ยุคหินใหม่วัฒนธรรมเกษตรกรรม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศเอราวัณ การ์นิเยร์ไอคอนสยามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถช่อง 8การฆ่าตัวตายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโอดะ โนบูนางะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566มุกดา นรินทร์รักษ์จังหวัดนครพนมพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศเกาหลีเหนือพระโคตมพุทธเจ้าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)วรนิษฐ์ ถาวรวงศ์กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)การรถไฟแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566เพลงชาติไทยปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปรียาดา สิทธาไชยวันพีซอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขจร เจียรวนนท์แมคาเดเมียกวนอิมทวี ไกรคุปต์กองทัพอากาศไทยเมตาญาณี จงวิสุทธิ์ปานปรีย์ พหิทธานุกรเพลงอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนกฤษณภูมิ พิบูลสงครามอินเทอร์เน็ตอาณาจักรล้านนาเศรษฐา ทวีสินสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชสถิตย์พงษ์ สุขวิมลวัดไร่ขิงปิยวดี มาลีนนท์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ภาษาเกาหลีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรธนาคารกสิกรไทยจังหวัดกระบี่อูราวะ เรดไดมอนส์ไทยลีกสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกเจนนีคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ดเผ่า ศรียานนท์เจมี วาร์ดีวันแอนแซกพิธา ลิ้มเจริญรัตน์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตจังหวัดปราจีนบุรีภาษาไทยประเทศอินเดียก็อตซิลลาสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)ประเทศคาซัคสถานภาคตะวันออก (ประเทศไทย)นาฬิกาหกชั่วโมงจิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรประเทศเวียดนามมัตติน เออเดอโกร์ปีเตอร์ เดนแมนสโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซศรีรัศมิ์ สุวะดี🡆 More