การบูชาเทวรูป

การบูชาเทวรูป (อังกฤษ: idolatry) เป็นการบูชารูปเสมือนพระเป็นเจ้า ศาสนาอับราฮัม (ศาสนายูดาห์ ศาสนาสะมาริตัน ศาสนาคริสต์ ศาสนาบาไฮและศาสนาอิสลาม) อธิบายการบูชาเทวรูปว่าเป็นการเคารพบางสิ่งในฐานะพระเป็นเจ้า นอกเหนือจากพระเป็นเจ้าสูงสุดในศาสนานั้น ศาสนาเอกเทวนิยมเหล่านี้ถือว่าการบูชาเทวรูปเป็น การนับถือพระเทียมเท็จ และถูกสั่งห้ามในคัมภีร์อย่างบัญญัติ 10 ประการ ศาสนาเอกเทวนิยมอื่น ๆ มีหลักปฏิบัติที่คล้ายกันนี้

การบูชาเทวรูป
ภาพวาด "โมเสสเกรี้ยวโกรธวัวทองคำ" โดยวิลเลียม เบลก (ค.ศ. 1799–1800)

ทั้งนี้พระเทียมเท็จเป็นคำเชิงตำหนิที่ศาสนาอับราฮัมใช้หมายถึงเทวรูปหรือเทพในลัทธินอกศาสนา รวมถึงวัตถุเคารพนอกศาสนาอับราฮัม ในทางกลับกัน วิญญาณนิยมและพหุเทวนิยมอาจถือว่าเทพของเอกเทวนิยมเป็นเทพเทียมเท็จเช่นกัน เนื่องจากผู้นับถือความเชื่อนี้ไม่เชื่อว่ามีเทพที่มีคุณสมบัติเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ด้านอเทวนิยมเลี่ยงการใช้คำว่าเทพเทียมเท็จ แม้จะไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าก็ตาม ดังนั้นคำว่าพระเทียมเท็จจึงมักจำกัดในหมู่เทวนิยมผู้เลือกนับถือเทพบางองค์

ศาสนาแบบอินเดีย (ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธและศาสนาเชน) มองว่าเทวรูปหรือมูรติเป็นสัญลักษณ์ของความสัมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ รูปเคารพทางจิตวิญญาณ หรือการแปลงรูปของพระเป็นเจ้า มูรติใช้เป็นสิ่งมุ่งเน้นถึงการแสวงหาและบูชาของศาสนิกชน (ภักติ) ขณะที่ศาสนาดั้งเดิมของอียิปต์โบราณ กรีซโบราณ โรมโบราณ แอฟริกา เอเชียและอเมริกามีการเคารพเทวรูปมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเทวรูปจะมีความหมายและความสำคัญแตกต่างกันไป

แนวคิดตรงข้ามกับการบูชาเทวรูปคือ การงดบูชารูปเคารพ (aniconism) คตินี้สามารถพัฒนาเป็นลัทธิทำลายรูปเคารพ (iconoclasm) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางศาสนาระหว่างผู้ที่มีมุมมองต่อรูปเคารพต่างกัน นิยามของการบูชาเทวรูปเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงในหมู่ศาสนาอับราฮัมด้วยกัน ตัวอย่างเช่นชาวมุสลิมและชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ประณามการบูชารูปเคารพพระนางมารีย์พรหมจารีของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

การบูชาเทวรูปยังเกี่ยวข้องกับการยอมรับความต่างทางศาสนา เดวิด ฮูม นักปรัชญายุคเรืองปัญญาชาวสกอตบันทึกว่าการบูชาเทพหลายองค์ของลัทธินอกศาสนาเป็นสิ่งยืนยันความเป็นพหุนิยมทางศาสนาและการยอมรับความต่าง ขณะที่ศาสนาอับราฮัมไม่ยอมรับความต่าง และพยายามละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกด้วยการบังคับเปลี่ยนศาสนา ขณะที่เรจินา ชวาตซ์ นักวิชาการด้านวรรณคดีอังกฤษและศาสนาแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นกล่าวว่าการกล่าวหาว่ารูปเคารพเป็นพระเทียมเท็จ ตามด้วยการทำลายรูปเคารพไม่ต่างอะไรกับการไม่ทนความต่างทางศาสนา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

บัญญัติ 10 ประการพระเทียมเท็จพระเป็นเจ้าภาษาอังกฤษศาสนาคริสต์ศาสนาบาไฮศาสนายูดาห์ศาสนาสะมาริตันศาสนาอับราฮัมศาสนาอิสลามเทวรูปเอกเทวนิยม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มิถุนายนเขตพื้นที่การศึกษาระบบสุริยะกฤษดา วงษ์แก้วนริลญา กุลมงคลเพชรลุค อิชิกาวะ พลาวเดนยงวรี อนิลบลจังหวัดชลบุรีเซลล์ (ชีววิทยา)วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารกองทัพ พีคเซเว่น อีเลฟเว่นอุณหภูมิบีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)พอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกประวัติศาสนาคริสต์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยประเทศไต้หวันสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)งูกะปะหญิงรักร่วมเพศเคลียร์เยือร์เกิน คล็อพคอมพิวเตอร์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)โอลิมปิกฤดูร้อน 2024ลำไย ไหทองคำฟุตซอลโลกพรรคชาติพัฒนากล้าเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารจังหวัดบึงกาฬรามาวดี นาคฉัตรีย์มิตร ชัยบัญชาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลภาพอาถรรพณ์จ้าว ลู่ซือกองทัพภาคที่ 1ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)โรงพยาบาลในประเทศไทยเพลงพิชญ์นาฏ สาขากรพรหมวิหาร 4ประเทศอินโดนีเซียดาวิกา โฮร์เน่ลองของจังหวัดของประเทศไทยปีเตอร์ เดนแมนรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาเผ่า ศรียานนท์เดือนภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสจุลจักร จักรพงษ์อาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชมหาวิทยาลัยสวนดุสิตจังหวัดนครศรีธรรมราชซินดี้ บิชอพอีเอฟแอลแชมเปียนชิปวรันธร เปานิลกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินปีนักษัตรเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)ภัทร เอกแสงกุลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรสถิตย์พงษ์ สุขวิมลทวิตเตอร์รายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานจักรราศีลิซ่า (แร็ปเปอร์)สมศักดิ์ เทพสุทินองศาเซลเซียสจังหวัดเลย🡆 More