กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute respiratory distress syndrome) หรือ ARDS เดิมเรียกว่า กลุ่มอาการหายใจลำบาก (อังกฤษ: respiratory distress syndrome, RDS) , กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่ (อังกฤษ: adult respiratory distress syndrome) หรือ shock lung เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีการอักเสบทั่วไปในเนื้อปอดอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว และตัวเขียวได้ ผู้รอดชีวิตบางรายจะมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอยลง

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
(Acute respiratory distress syndrome)
ชื่ออื่นRespiratory distress syndrome (RDS), adult respiratory distress syndrome, shock lung
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
ภาพเอกซเรย์ปอดของผู้ป่วย ARDS แสดงให้เห็นรอยทึบแบบกระจกฝ้ากระจายทั่วปอดทั้งสองข้าง
สาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤติ
อาการหายใจลำบาก, หายใจเร็ว, ตัวเขียวคล้ำ
การตั้งต้นภายใน 1 สัปดาห์
วิธีวินิจฉัยสำหรับผู้ใหญ่: PaO2/FiO2 ratio of less than 300 mm Hg
สำหรับเด็ก: oxygenation index > 4
โรคอื่นที่คล้ายกันหัวใจวายเลือดคั่ง
การรักษาการใช้เครื่องช่วยหายใจ, การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด
พยากรณ์โรคโอกาสเสียชวิต 35 - 50 %
ความชุกปีละ 3 ล้านคน

สาเหตุของภาวะนี้มีหลายอย่าง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอ่อนอักเสบ การบาดเจ็บ ปอดอักเสบ และการสูดสำลัก กลไกเบื้องหลังการเจ็บป่วยคือการเกิดการบาดเจ็บต่อเซลล์ปอดส่วนที่กั้นแบ่งถุงลม การทำงานผิดปกติของสารลดแรงตึงผิวในถุงลม การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกินปกติ และภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผลจากกลไกเหล่านี้ทำให้เนื้อปอดมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ (ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์) ลดลง การวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ใหญ่อาศัยอัตราส่วน PaO2/FiO2 (อัตราส่วนระหว่างความดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงเทียบกับอัตราส่วนออกซิเจนในอากาศที่หายใจ) ที่น้อยกว่า 300 mmHg เมื่อตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจให้ PEEP สูงกว่า 5 cmH2O แล้ว นอกจากนี้ต้องตรวจว่าไม่ใช่ภาวะอื่นที่คล้ายกันคืออาการปอดบวมน้ำที่มีสาเหตุจากหัวใจ

การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการใช้เครื่องช่วยหายใจและรักษาภาวะอื่นที่เป็นสาเหตุของ ARDS แนวทางช่วยหายใจที่เป็นที่แนะนำคือการใช้ปริมาตรหายใจต่ำ และความดันอากาศต่ำ หากยังไม่เพียงพอสามารถใช้การระดมถุงลม (lung recruitment maneuver) และการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิดยับยั้งสารสื่อประสาทกับกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent) หากยังไม่เพียงพออีกอาจใช้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนนอกร่างกาย (ECMO) เป็นทางเลือกได้ ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอัตราตายสูง อยู่ที่ 35-50%

ทั่วโลกมีผู้ป่วย ARDS ประมาณ 3 ล้านรายต่อปี ภาวะนี้ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1967 เดิมถูกเรียกชื่อว่า "adult respiratory distress syndrome" (กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่) เพื่อแยกจากกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด ("infant respiratory distress syndrome") ปัจจุบันที่ประชุมนานาชาติได้มีมติให้เรียกโรคนี้ว่า "acute respiratory distress syndrome" เนื่องจากภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้จะแตกต่างออกไปจากเกณฑ์ข้างต้น หากต้องการวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ป่วยในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด

การวินิจฉัย

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน 
A chest x-ray of transfusion-related acute lung injury (left) which led to ARDS. Right is a normal X-ray before the injury.

เกณฑ์การวินิจฉัย

เกณฑ์การวินิจฉัย ARDS มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่องตามองค์ความรู้ในพยาธิสรีรวิทยาของโรคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ มติที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นฉบับล่าสุด ได้ออก "นิยามเบอร์ลิน" เพื่อประกอบการวินิจฉัย ARDS มีการเปลี่ยนแปลงคือ ขยายผู้ป่วยเข้านิยามให้กว้างขึ้น ไม่สนับสนุนให้ใช้คำว่า "ปอดเสียหายเฉียบพลัน" (acute lung injury) และนิยามระดับความรุนแรงของ ARDS ตามความรุนแรงของการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือด

นิยามของ ARDS ในผู้ใหญ่ ตามนิยามเบอร์ลิน ค.ศ. 2012 มีดังนี้

  • การบาดเจ็บของปอดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภายใน 1 สัปดาห์ หลังเหตุกระตุ้น และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแย่ลงของอาการระบบหายใจ
  • รอยทึบแบบเป็นทั้งสองข้าง (bilateral opacities) ที่เห็นจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (เอกซเรย์ หรือ ซีที) ที่ไม่มีคำอธิบายอื่น (คำอธิบายอื่น เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแฟบ, หรือจุดเนื้อ เป็นต้น)
  • การหายใจล้มเหลวที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยภาวะหัวใจวายหรือสารน้ำเกิน
  • อัตราส่วนความดันออกซิเจนในเลือดแดง ต่อความเข้มข้นออกซิเจนที่ใช้หายใจ (PaO
    2
    /FiO
    2
    ) ลดลง (ถ้าสัดส่วนนี้ลดลง อาจแปลว่า แม้ในอากาศที่หายใจจะมีออกซิเจนมาก แต่ออกซิเจนในเลือดกลับมีน้อย)
    • ARDS ระดับเล็กน้อย: 201-200 mmHg
    • ARDS ระดับปานกลาง: 101-200 mmHg
    • ARDS ระดับรุนแรง ≤ 100 mmHg
    • โปรดสังเกตว่าการใช้ PaO
      2
      /FiO
      2
      มาเป็นนิยามของ ARDS ตามนิยามเบอร์ลิน มีข้อกำหนดว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการให้การช่วยหายใจที่มี PEEP อย่างน้อย 5 cmH
      2
      O
      โดยอาจเป็นการให้แบบไม่รุกล้ำ เช่น ให้ผ่าน CPAP ก็สามารถวินิจฉัย ARDS ได้

ทั้งนี้ นิยามเบอร์ลินฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นการดัดแปลงเพิ่มเติมจากนิยามตามมติที่ประชุมฯ เมื่อ ค.ศ. 1994

พยากรณ์โรค

โดยภาพรวมแล้วผู้ป่วย ARDS มีพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนัก โดยมีอัตราตายสูงถึง 40% แม้ในผู้ที่รอดชีวิตก็อาจมีผลตามมาได้หลายอย่าง เช่น ออกกำลังกายได้ลดลง ผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตลดลง เป็นต้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Tags:

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน การวินิจฉัยกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน พยากรณ์โรคกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน อ้างอิงกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน แหล่งข้อมูลอื่นกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลันการหายใจล้มเหลวการอักเสบตัวเขียวภาษาอังกฤษหายใจลำบากหายใจเร็ว

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ทิโมธี ชาลาเมต์โป๊กเกอร์รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)แมวปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)จังหวัดราชบุรีประวัติศาสนาคริสต์โดราเอมอนจังหวัดเชียงรายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สโมสรฟุตบอลเชลซีต่อศักดิ์ สุขวิมลพิธา ลิ้มเจริญรัตน์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้จังหวัดนครปฐมประเทศสิงคโปร์สุภาพบุรุษชาวดินเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาชลน่าน ศรีแก้วประเทศอิสราเอลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ปีนักษัตรสโมสรกีฬาลัตซีโยรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)ประเทศบังกลาเทศเครื่องคิดเลขแบมแบมศุภวุฒิ เถื่อนกลางการฆ่าตัวตายสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์วันชนะ สวัสดีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกำแพงเมืองจีนสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือการบินไทยสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนตะวัน วิหครัตน์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ18สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิตระกูลเจียรวนนท์สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระศิวะรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15ธนัท ฉิมท้วมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์เปรม ติณสูลานนท์จีเอ็มเอ็มทีวีรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรไฮบ์คอร์ปอเรชันสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สุจาริณี วิวัชรวงศ์เปรียญธรรม 9 ประโยคสะดุดรักยัยแฟนเช่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพประเทศตุรกีไค ฮาเวิทซ์จิรายุ ตั้งศรีสุขหม่ำ จ๊กมกคณะองคมนตรีไทยกวนอิมเผ่า ศรียานนท์กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)ไทยรัฐ🡆 More