กระรอก

กระรอก (ภาษาไทยถิ่นเหนือ, อีสาน: กระฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae

กระรอก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน—ปัจจุบัน
กระรอก
กระรอกสามสี (Callosciurus prevosti) เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่มีสีสวย
กระรอก
พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) กระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเมื่อโตขึ้นมาแล้วขนาดลำตัวและน้ำหนักพอ ๆ กับแมวบ้านเลยทีเดียว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Sciuridae
Fischer von Waldheim, 1817
วงศ์ย่อย:
สกุล
มากมาย

สายพันธุ์

กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน และ กระรอกบิน

วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน, ชิพมังค์ ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเป็น 5 (ดูในตาราง)

ลักษณะ

กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ กระรอกต้นไม้มักมีนิสัยชอบสะสมอาหาร และออกหากินในรัศมีห่างจากรังโดยประมาณ 100-300m เป็นสัตว์ที่จดจำถิ่นที่พักเดิมและมีนิสัยดุเมื่อฤดูผสมพันธ์

กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย

ด้วยความน่ารักของกระรอก ทำให้กระรอกหลายชนิดนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพื่อความเพลิดเพลิน

กระรอกที่พบในประเทศไทย

กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (R. affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย

จำแนกได้ทั้งหมด 30 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 10 ชนิด

กลุ่มกระรอกต้นไม้ ทั้งหมด 13 ชนิด

กลุ่มกระรอกดิน มี 4 ชนิด

กลุ่มกระรอกบิน มี 13 ชนิด

  • พญากระรอกบินหูขาว (Petaurista alborufus) -สัตว์ป่าคุ้มครอง
  • พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans)
  • พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista)
  • พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis)
  • พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
  • กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei) -สัตว์ป่าคุ้มครอง
  • กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger) -สัตว์ป่าคุ้มครอง
  • กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus) -สัตว์ป่าคุ้มครอง
  • กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus) -สัตว์ป่าคุ้มครอง
  • กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus)
  • กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni)
  • กระรอกบินเท้าขน (Trogopterus pearsoni)
  • กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus) -สัตว์ป่าคุ้มครอง

อย่างไรก็ตามการจำแนกชนิดของกระรอกบินนั้นทำได้ยาก เนื่องจากวงศ์ย่อยนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก แม้แต่ในกลุ่มนักวิชาการเองก็ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้

คล้ายกัน

นอกจากนี้แล้วยังมีสัตว์อีก 3 ชนิด ที่มีรูปร่างและลักษณะใกล้เคียงกับกระรอก จนอาจทำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นกระรอกชนิดหนึ่งด้วย แต่ความจริงแล้ว ทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสัตว์คนละอันดับกับกระรอกเลย ได้แก่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

กระรอก สายพันธุ์กระรอก ลักษณะกระรอก ที่พบในประเทศไทยกระรอก คล้ายกันกระรอก อ้างอิงกระรอก แหล่งข้อมูลอื่นกระรอกภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นเหนือสัตว์ฟันแทะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ซามูไรธฤษณุ สรนันท์ต่อศักดิ์ สุขวิมลอนุทิน ชาญวีรกูลรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีพระยศเจ้านายไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDเมืองพัทยาเจริญ สิริวัฒนภักดีแฮร์รี่ พอตเตอร์ก็อตซิลลากกองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจิรภพ ภูริเดชโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)ท่าอากาศยานดอนเมืองหนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์อิงฟ้า วราหะผีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพรรคประชาธิปัตย์โรงเรียนชลราษฎรอำรุงหัวใจไม่มีปลอมทวีปยุโรปICD-10สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพาทิศ พิสิฐกุลมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์บัลลังก์ลูกทุ่งแอริน ยุกตะทัตไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยสุธิตา ชนะชัยสุวรรณปฏิจจสมุปบาทราชินีแห่งน้ำตาเอ็งดรีกี เฟลีปีปิยวดี มาลีนนท์วรกมล ชาเตอร์สาปซ่อนรักมาซาตาดะ อิชิอินิชคุณ ขจรบริรักษ์นวลพรรณ ล่ำซำธนาคารไทยพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์สงกรานต์ในประเทศไทยฟุตบอลทีมชาติบราซิลกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)วิทยุเสียงอเมริกาณเดชน์ คูกิมิยะวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์โรงพยาบาลในประเทศไทยบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567นกกะรางหัวขวานจังหวัดภูเก็ตทวีปแอฟริกาสหประชาชาติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากรงกรรมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงครามเวียดนามสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์รามาวดี นาคฉัตรีย์28 มีนาคมเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพศรุต วิจิตรานนท์จังหวัดพิจิตรแจร์ดัน ชาชีรีรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดสโมสรฟุตบอลโอเดนเซฉลาดเกมส์โกงน้ำอสุจิจังหวัดสุราษฎร์ธานีรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครมหาเวทย์ผนึกมารศาสนาอิสลาม🡆 More