กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857

กบฏอินเดีย ค.ศ.

1857 เป็นการกบฏเพื่อต่อต้านการปกครองอินเดียของบริษัทอินเดียตะวันออกระหว่างค.ศ. 1857–1858 การกบฏเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1857 เมื่อซีปอย หรือทหารราบอินเดียที่ใช้ปืนเล็กยาวเป็นอาวุธที่บริษัทอินเดียตะวันออกเกณฑ์มาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์และช่วยในการรบลุกฮือขึ้นที่เมืองเมรฐะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเดลี (ปัจจุบันคือโอลด์เดลี) ก่อนจะเกิดการกบฏอื่น ๆ โดยทหารและประชาชนตามมาในพื้นที่ลุ่มคงคาและอินเดียกลาง การกบฏจบลงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1858 การกบฏครั้งนี้รู้จักในชื่ออื่น ๆ เช่น กบฏซีปอย (Sepoy Mutiny), การจลาจลอินเดีย (Indian Insurrection) และสงครามประกาศเอกราชครั้งที่หนึ่ง (First War of Independence)

กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857
กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857
แผนที่ปี ค.ศ. 1912 แสดงศูนย์กลางของการกบฏ
วันที่10 พฤษภาคม ค.ศ. 1857 (1857-05-10)1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1858 (1858-11-01)
(1 ปี 6 เดือน)
สถานที่
ผล

บริติชชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สถาปนาบริติชราชเพื่อปกครองดินแดนของบริษัทอินเดียตะวันออกเดิม
คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
  • จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์
  • บัคต์ ข่าน 
  • นานา ซาฮิบ
  • ลอร์ดแคนนิง
  • จอร์จ แอนสัน
  • แพทริก แกรนต์
ความสูญเสีย
ชาวยุโรป 6,000 คนถูกฆ่า, ชาวอินเดียกว่า 800,000 คนได้รับผลกระทบจากกบฏ ทุพภิกขภัย และโรคระบาด

บริษัทอินเดียตะวันออกเป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษที่มีจุดประสงค์เพื่อทำการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก จัดตั้งในปี ค.ศ. 1600 บริษัทเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดียและจัดตั้งสถานีการค้าในปี ค.ศ. 1612 การเข้ามามีบทบาทในอินเดียทำให้บริษัทขัดแย้งกับเจ้าพื้นเมืองและบริษัทของชาติมหาอำนาจอื่น ๆ จนในปี ค.ศ. 1757 บริษัทอินเดียตะวันออกรบกับจักรวรรดิโมกุลและประสบชัยชนะในยุทธการที่ปลาศี ทำให้ได้ครอบครองเบงกอล หลังจากนั้นบริษัททำสงครามกับราชอาณาจักรไมซอร์และจักรวรรดิมราฐา ทำให้ครอบครองดินแดนในอนุทวีปอินเดียมากขึ้น นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าการกบฏครั้งนี้มีที่มาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านความเชื่อ การปกครองและพัฒนาอินเดียให้เป็นตะวันตกจนเกินไปของบริติช และการขูดรีดภาษี อีกหนึ่งปัจจัยที่มักถูกพูดถึงคือข่าวลือเรื่องไขมันที่ชโลมปลอกกระสุนปืนเล็กยาวเอนฟิลด์ พี-53 ที่เป็นอาวุธประจำกายทหารซีปอยนั้นทำมาจากไขมันวัวและหมู ซึ่งวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูและหมูเป็นสัตว์ต้องห้ามของชาวมุสลิม

วันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1857 มงคล ปาณเฑย (Mangal Pandey) ทหารซีปอยผู้ไม่พอใจบริษัทอินเดียตะวันออกใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาชาวบริติชก่อนจะถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต การประหารชีวิต Pandey ทำให้ทหารบางส่วนไม่พอใจจนในวันที่ 10 พฤษภาคม เกิดเหตุจลาจลในเมืองเมรฐะ อาคารต่าง ๆ ถูกเผาและมีประชาชนถูกฆ่า ทหารซีปอยบางส่วนที่ก่อการกำเริบเดินทางไปยังเดลีอันเป็นที่ประทับของจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์แห่งโมกุล และเรียกร้องขอการสนับสนุนซึ่งพระองค์ตอบรับ การจลาจลที่เดลีทำให้ทหารซีปอยหน่วยอื่น ๆ ลุกฮือตาม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่เข้าร่วมฝ่ายกบฏ ในขณะที่ชาวซิกข์และปาทานสนับสนุนฝ่ายบริติช ฝ่ายกบฏสามารถยึดเมืองสำคัญของรัฐพิหาร หรยาณา มัธยประเทศ มหาราษฏระ และอุตตรประเทศ ก่อนจะถูกทหารฝ่ายบริติชที่ได้กำลังเสริมมาจากเปอร์เซียและจีนตีโต้ วันที่ 21 กันยายน ฝ่ายบริติชยึดเมืองเดลีคืนจากฝ่ายกบฏได้สำเร็จและเนรเทศจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์และพระญาติไปที่ย่างกุ้ง ปลายปี ค.ศ. 1857 ฝ่ายบริติชก็เริ่มยึดดินแดนสำคัญคืนได้และตีทัพฝ่ายกบฏในอินเดียกลางจนแตกพ่ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1858 ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ตามมาด้วยการล้างแค้นกบฏที่ก่อเหตุสังหารหมู่ชาวบริติชในการล้อมเมืองกานปุระและลัคเนาด้วยการแขวนคอหรือยิงด้วยปืนใหญ่ การกบฏจบลงในวันที่ 1 พฤศจิกายน เมื่อทางบริติชประกาศนิรโทษกรรมกบฏที่ไม่ก่อเหตุฆาตกรรม ก่อนจะประกาศว่าการกบฏจบลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1859

กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลที่ดำรงอยู่นานกว่า 300 ปีต้องล่มสลาย ด้านรัฐสภาสหราชอาณาจักรออกพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกสิ้นสภาพในการปกครองอินเดียและถ่ายโอนอำนาจการปกครองไปยังราชสำนักอังกฤษโดยตรง ส่วนกองทหารซีปอยถูกรวมเข้ากับกองทัพอินเดียที่จัดตั้งใหม่ภายใต้บัญชาการของราชสำนักอังกฤษ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

การปกครองของบริษัทในอินเดียบริษัทอินเดียตะวันออกปืนเล็กยาวเมรฐะ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีประเทศจอร์เจียพิชัย ชุณหวชิรกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์หลิว เจียหลิงกฤษดา วงษ์แก้วฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาประเทศอิหร่านดราก้อนบอลเรวัช กลิ่นเกษรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถบีบีซี เวิลด์นิวส์เทพมรณะสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรปริญ สุภารัตน์จิรายุ ตั้งศรีสุขรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์พัชราภา ไชยเชื้ออชิรญา นิติพนลองของอาลิง โฮลันชลน่าน ศรีแก้วจักรราศีจ้าว ลู่ซือสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเอเรอดีวีซีอรรถกร ศิริลัทธยากรจังหวัดเลยคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลในประเทศไทยเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรหลานม่าประเทศอุซเบกิสถานธนัท ฉิมท้วมรางวัลนาฏราชชานน สันตินธรกุลไคลี เจนเนอร์ลมเล่นไฟพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์เมืองพัทยาจ๊ะ นงผณีเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสมหาวิทยาลัยนเรศวรปฏิจจสมุปบาทพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกาจบัณฑิต ใจดีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเพลงเครื่องคิดเลขรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยปรียาดา สิทธาไชยวิทยุเสียงอเมริการายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครจังหวัดพิษณุโลกภาษาในประเทศไทยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ซิลลี่ ฟูลส์กระทรวงในประเทศไทยจุดทิศหลักเคลียร์คาร์บอนไดออกไซด์สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดสฤษดิ์ ธนะรัชต์มิลลิ (แร็ปเปอร์)ราชวงศ์ชิงเมตาภาคกลาง (ประเทศไทย)มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)สมเด็จพระเอกาทศรถตะวัน วิหครัตน์สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช🡆 More