โรงเรียนสตรีจุลนาค

โรงเรียนสตรีจุลนาค โรงเรียนสหศึกษาระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ ก่อตั้ง พ.ศ.

2469">พ.ศ. 2469 ตั้งอยู่ที่เลขที่ 77 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนสตรีจุลนาค
Chulanak Girl School
ตราประจำโรงเรียนสตรีจุลนาค
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.จ. (S.C.)
ประเภท- โรงเรียนราษฎร์
คำขวัญเรียนเลิศ เทิดคุณธรรม กิจกรรมเด่น
สถาปนาพ.ศ. 2469
ผู้ก่อตั้งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และนางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยธยา
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อำนวยการนางยาหยี เสาวนายน
(ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 6 สหศึกษา
สี-
เพลง-
เว็บไซต์http://chulanag.net

ประวัติ

โรงเรียนสตรีจุลนาค 
โรงเรียนสตรีจุลนาค(ขวามือในรูป)และบ้านพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(ซ้าย)

หลังจากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ถวายบังคมลาออกจากราชการ รับพระราชทานบำนาญ นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้ดำริเปิดโรงเรียนขึ้นในบ้านเพื่อให้บิดามีงานอดิเรก ท่านบิดาจึงยกบ้านที่ให้เช่าเลขที่ 77 ถนนหลานหลวงให้ใช้เป็นสถานที่เพื่อทำการสอน โดยเปิดสอนเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2469 โดยตั้งชื่อว่า “โรงเรียนสตรีจุลนาค” เนื่องจากเคยมี “คลองจุลนาค” ที่เชื่อมระหว่างคลองมหานาคกับคลองเปรมประชากรตัดผ่าน “หมู่บ้านจุลนาค” ที่เป็นที่ตั้งโรงเรียน

ในแรกเปิดเรียนมีหม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ เป็นครูใหญ่ นางสาวไฉไลฯ เป็นเจ้าของและผู้จัดการและครูอีกคนหนึ่ง โดยเปิดสอนเพียงชั้นประถม 1, มัธยม 1, และมัธยม 2 ละมีนักเรียนรวม 22 คน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้เข้ามาช่วยสอนชั้นประถม 1 ตั้งแต่แรก โดยนำวิธีการสอนแบบใหม่มาทดลองให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้และบวกลบเลขได้ภายใน 3 เดือน มีการสอนให้เด็กเริ่มเรียน อ่าน เขียนภาษาอังกฤษไปพร้อมในขณะเดียวกันกับการเน้นการอบรมศีลธรรมและมรรยาท ปรากฏว่าได้ผลดี

รายชื่อครูใหญ่

1. หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ (พ.ศ. 2469พ.ศ. 2474)

2. นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พ.ศ. - )

3. ?

4. ?

5. นางยาหยี เสาวนายน (----------)

6. นายจารึก นามสกุล--

7. นางวรรณพร ชาวมอญ

การขยายและดำเนินกิจการ

พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2519

ในปีรุ่งขึ้นได้รับนักเรียนใหม่ชั้นประถมปีที่ 1 และมัธยมปีที่ 1 และรับเพิ่มในปีต่อๆ มาจนมีชั้นเรียนตลอดตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยม 8 มีครูผู้สอนเพิ่มจำนวนมากรวมทั้งนายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยาซึ่งต่อมาได้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาช่วยสอน ในด้านสถานที่ก็ได้รับอุปการคุณจากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีต่อมาโดยท่านได้ยกบ้านให้อีก 3 หลังเป็นห้องเรียนและสร้างให้ใหม่อีก 1 หลังโดยไม่คิดมูลค่า

การเปิดสอนชั้นมัธยม 8 ดำเนินไปได้ 3 ปีคือ พ.ศ. 2475, พ.ศ. 2476 และ พ.ศ. 2477 โดยได้ส่งนักเรียนเข้าสมทบสอบไล่กับโรงเรียนรัฐบาลและสอบได้ครบ 100% แต่เนื่องจากฐานะทางการเงินขาดแคลนและค่าใช้จ่ายในการสอนชั้นมัธยม 7-8 สูงจึงลดเหลือเพียงชั้นมัธยม 6 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ก็ได้ตัดชั้นลดลงเหลือเพียงถึงชั้นมัธยมปี 3 โรงเรียนสตรีจุลนาคได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการให้เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2492 และในปีเดียวกันได้เปิดทดลองรับนักเรียนชั้นอนุบาลเริ่มด้วยจำนวนนักเรียน 15 คน หลังจากการทดลองได้ผลดีได้รับความนิยมจากผู้ปกครองจึ้งเปิดรับปีละ 60 คนโดยแบ่งเป็น 3 ชั้นเรียนและเพิ่มเป็น 120 คน ในเวลาต่อมา

การดำเนินกิจการด้านการสอนเป็นไปด้วยดี มีการเปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยม 8 เดิมอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2506 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนเป็นชั้น ม.ศ. 5 นับถึง พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนมีอายุครบ 50 ปี นั้นโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1,665 คนจากชั้นอนุบาลถึง ม.ศ. 5 เป็นนักเรียนหญิง 1,226 คน นักเรียนชาย 439 คนและมีห้องเรียน จำนวน 44 ห้อง มีครูประจำ 68 คน ครูพิเศษ 7 คน

พ.ศ. 2419 - ปัจจุบัน

อาคารสถานที่

ด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนสตรีจุลนาคยังคงตั้งอยู่ที่เดิมคือหลานหลวง มีการขยายพื้นที่จากบริเวณบ้านเพียงหลังเดียวบนเนื้อที่ไม่ถึง 200 ตารางวาเมื่อ พ.ศ. 2469 มาเป็นเนื้อที่ 3 ไร่เศษในเวลา 82 ปีต่อมา (พ.ศ. 2551) โดยมีอาคารใหญ่เพิ่มอีก 2 หลังคือ “ตึกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี” (2506) และ “ตึกธรรมถวิล” (2516) รวมกับอาคารอื่นเป็น 8 หลัง

มูลนิธิเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

พ.ศ. 2509 นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา บุตรีคนโตของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ เจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนได้พิจารณาเห็นควรจัดตั้งมูลนิธิขึ้นรองรับและเป็นเจ้าของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนมีความมั่นคงในระยะยาว อีกทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จึงได้ดำเนินการขอจดทะเบียนมูลนิธิเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2510 โดยบ่งไว้ในตราสารมูลนิธิว่าหากเลิกกิจการมูลนิธิเมื่อใด ให้ยกกิจการและทรัพย์สินของมูลนิให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีมีส่วนร่วมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2457 ในอีก 2 ปีต่อมานางสาวไฉไลจึงได้โอนกิจการโรงเรียนและทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมดแก่มูลนิธิฯ

มูลนิธิมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชน ให้ทุนการศึกษา ช่วยสวัสดิการครูและร่วมกับทางการและองค์การต่างๆ ในการส่งเสริมการศึกษา

ครูและศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ครู

  1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
  2. นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  3. นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  4. นาง กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ ปี 2529 สาขา วรรณศิลป์ (นวนิยาย)
  5. ส. ธรรมยศ นักเขียน
  6. นางยาหยี เสาวนายน (เทพหัสดินฯ)

ศิษย์เก่า

  1. ศาสตราจารย์ระพี สาคริก
  2. นางปรียา ฉิมโฉม (เทพหัสดินฯ) เลขประจำตัว 2 2469
  3. นางสายสวาท รัตนทัศนีย์
  4. นางสังวรณ์ ไกรฤกษ์
  5. นางสุภาว์ เทวกุล
  6. ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
  7. นางบุญเหลือ อ่วมมา 2484 (ชื่อเดิม บุญเหลือ จักรพันธ์)
  8. นางฐะปะนีย์ นาครทรรพ 2487
  9. รองศาสตราจารย์ ดร. ศลักษณ์ ทรรพนันทน์
  10. ศาสตราจารย์ ดร. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์
  11. นางพนิดา ชอบวณิชชา
  12. นายวิธิต อุตสาหจิต บรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น
  13. นพ.สันทิต บุณยะส่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • ยาหยี เสานายน, ประวัติโรงเรียนสตรีจุลนาค หนังสือวรรณกรรมรำลึก คำรบ 50 ปีโรงเรียนสตรีจุลนาค กรุงเทพฯ 2519

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

โรงเรียนสตรีจุลนาค ประวัติโรงเรียนสตรีจุลนาค อาคารสถานที่โรงเรียนสตรีจุลนาค มูลนิธิเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีโรงเรียนสตรีจุลนาค ครูและศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงโรงเรียนสตรีจุลนาค ดูเพิ่มโรงเรียนสตรีจุลนาค อ้างอิงโรงเรียนสตรีจุลนาค แหล่งข้อมูลอื่นโรงเรียนสตรีจุลนาคกระทรวงศึกษาธิการกรุงเทพมหานครถนนหลานหลวงประถมศึกษาพ.ศ. 2469มัธยมศึกษาเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายแขวงวัดโสมนัส

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เจนนี คิมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)รายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากกรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุอาภา ภาวิไลหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญเขตพื้นที่การศึกษาพัชรพร จันทรประดิษฐ์ธนินท์ เจียรวนนท์โรนัลโดรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยพระศิวะจังหวัดนครสวรรค์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562ประเทศจีนพานทองแท้ ชินวัตรสล็อตแมชชีนเดือนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือนามสกุลพระราชทานพระยศเจ้านายไทยเซเรียอาวัน อยู่บำรุงประเทศเวียดนามปารีณา ไกรคุปต์สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจจังหวัดตราดพิชญา อุทารธรรมพงศกร โตสุวรรณหลัว ยฺหวินซีวัดไชยวัฒนารามสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใต้เงาตะวันรายชื่อนักแสดงชายไทยไทยลีกนายกรัฐมนตรีไทยจตุพร พรหมพันธุ์บีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ซีเกมส์ 2025ณเดชน์ คูกิมิยะมิสยูไนเต็ดคอนติเนนท์สโมสรกีฬาฟุตบอลนาโปลีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษเรือประจัญบานบิสมาร์คสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)รายชื่อตอนในโปเกมอนสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีพรรคไทยรักษาชาติอินสตาแกรมวาโลแรนต์จังหวัดภูเก็ตพฤษภาทมิฬเซลีน ดิออนศิธา ทิวารีกรุงเทพมหานครเศรษฐศาสตร์แซมมี่ เคาวเวลล์สมคิด พุ่มพวงอิรฟาน ดอเลาะสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแปซิฟิค ริม สงครามอสูรเหล็กสโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ดพรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแคพิบาราป๊อกเด้งดราก้อนบอลณภัทร เสียงสมบุญค่อม ชวนชื่นบาท (สกุลเงิน)ประเทศอาเซอร์ไบจานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยกันต์พิมุกต์ ภูวกุลไพ่แคงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2🡆 More