อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.

2566 ได้เกิดอุทกภัยอย่างต่อเนื่องทั้งในและรอบเมืองโบโลญญา, เชเซนา, ฟอร์ลิ, ราเวนนา และรีมีนีในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ประเทศอิตาลี ระลอกแรกเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ถึง 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 และคร่าชีวิตผู้คนไป 2 คน ส่วนระลอกที่สองเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน และคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 14 คน ทั้งยังส่งผลให้อีก 50,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย

อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566
อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566
สะพานข้ามแม่น้ำอีดีเชใกล้เมืองโบโลญญาพังทลายลง
วันที่2–3 พฤษภาคม
16 พฤษภาคม – ปัจจุบัน
ที่ตั้งโบโลญญา, เชเซนา, ฟอร์ลิ, ราเวนนา, รีมีนี
เสียชีวิต16 คน
ทรัพย์สินเสียหาย5 พันล้านยูโร

ฝนปริมาณเท่ากับที่ตกภายในเวลา 7 เดือนได้ตกลงมาภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ทำให้น้ำในแม่น้ำลำธาร 23 สายทั่วแคว้นเอ่อท้นตลิ่ง ในขณะที่บางพื้นที่ได้รับน้ำฝนปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณเฉลี่ยต่อปีภายในเวลาเพียง 36 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังเกิดเหตุดินถล่มประมาณ 300 ครั้งในพื้นที่ และเมือง 43 เมืองถูกน้ำท่วม มีการประเมินมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นไว้ที่อย่างน้อย 5 พันล้านยูโร (5.4 ดอลลาร์สหรัฐ)

ประวัติ

หลังจากที่แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาประสบกับภาวะแล้งมาหลายเดือน ฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 2 ถึง 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะในจังหวัดโบโลญญาและจังหวัดราเวนนา น้ำในแม่น้ำบางสายเอ่อท้นฝั่งในภูมิภาคโรมัญญา ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในพื้นที่ราบและคร่าชีวิตผู้คนไป 2 คน ในวันที่ 12 พฤษภาคม เกิดฝนกระโชกที่จังหวัดโบโลญญา ทำให้เกิดอุทกภัยเล็กน้อย

ภัยแล้งที่กินเวลานานและสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบทำให้ดินไม่สามารถระบายน้ำได้ เมื่อถึงวันที่ 16 พฤษภาคม พายุอีกลูกหนึ่ง (ซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่ามิเนอร์วา) ได้พัดกระหน่ำพื้นที่และทำให้มีฝนตกหนักติดต่อกันเกือบ 2 วัน น้ำในแม่น้ำลำธาร 23 ทั่วแคว้นไหลทะลักตลิ่ง มีผู้เสียชีวิต 14 คนระหว่างเกิดเหตุอุทกภัย 7 คนในจำนวนนี้เสียชีวิตที่จังหวัดฟอร์ลิ-เชเซนา ในขณะที่ 6 คนเสียชีวิตที่จังหวัดราเวนนา และอีก 1 คนเสียชีวิตที่จังหวัดโบโลญญา นอกจากนี้ยังเกิดความเสียหายขึ้นในแถบเทือกเขาแอเพนไนน์ โดยนับเหตุดินถล่มได้กว่า 300 ครั้งในพื้นที่ 4 จังหวัด ประชาชนจำนวนกว่า 50,000 คนต้องอพยพออกจากพื้นที่ โดยกว่า 4,800 คนในจำนวนนี้ต้องใช้โรงแรมและโรงฝึกพลศึกษาที่หน่วยงานท้องถิ่นกำหนดไว้ให้เป็นที่พักพิงชั่วคราว

พายุสลายตัวไปในช่วงบ่ายของวันที่ 17 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดเหตุอุทกภัยอื่น ๆ ขึ้นในวันถัดมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมืองลูโก (ใกล้กับเมืองราเวนนา) ถูกน้ำไหลเข้าท่วมทั้งเมืองในช่วงเช้าของวันที่ 18 พฤษภาคม ส่วนประชาชนในเมืองรุสซีซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันต้องอพยพออกไปในวันที่ 19 พฤษภาคม เนื่องจากน้ำที่เอ่อล้นคลองชลประทานเอมีเลีย-โรมัญญา ในขณะเดียวกัน ฝนเริ่มตกอีกครั้งในวันที่ 19 พฤษภาคม และวันที่ 20 พฤษภาคม การเตือนภัยในพื้นที่ราเวนนายังคงอยู่ในระดับสูง โดยมีการอพยพประชาชน 36,000 คนออกจากพื้นที่ไปแล้ว

ผลกระทบ

อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 
พายุมิเนอร์วาเหนืออิตาลีในวันที่ 16 พฤษภาคม

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม สเตฟาโน โบนัชชีนี ประธานแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แถลงว่า "ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกลงมามากกว่า 300 มิลลิเมตร" และระบุว่าอุทกภัยครั้งนี้เป็น "ภัยพิบัติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" ในเวลาต่อมาโบนัชชีนียังเปรียบเทียบผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้กับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555 โดยระบุว่าถึงแม้ความเสียหายจากอุทกภัยอาจจะน้อยกว่า แต่ก็ยังคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านยูโร

ลูกา แมร์กัลลี ประธานสมาคมอุตุนิยมวิทยาอิตาลี ระบุว่า "สถิติ 2 รายการได้ถูกทำลายในเวลา 15 วันในแคว้นเดียวกัน เหตุการณ์แบบที่เกิดในวันที่ 2 พฤษภาคม อาจเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบศตวรรษ แต่กลายเป็นว่าเหตุการณ์แบบเดียวกันนั้นได้เกิดขึ้นอีกในพื้นที่เดียวกันในอีก 15 วันให้หลัง" ระหว่างการให้สัมภาษณ์ทางไรราดีโอ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จิลแบร์โต ปีเกตโต ฟราติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม กล่าวว่ารัฐบาลอิตาลีจะประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม เป็นต้นไป การตัดสินใจซึ่งรอการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเกษตรครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้แรงงานในไร่นาเข้าถึงการเยียวยาและมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น จากการให้สัมภาษณ์คราวเดียวกัน ปีเกตโต ฟราติน ประกาศใช้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจแห่งชาติซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที โดยระงับการชำระภาษีและสัญญาเงินกู้สำหรับประชาชนและธุรกิจทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย นอกจากนี้เขายังเกริ่นถึงการใช้แผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชาติ โดยยอมรับถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความถี่ที่เพิ่มขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติในอิตาลีและทั่วโลก

งานกิจกรรมหลายงานในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาถูกยกเลิกหรือเลื่อนการจัดออกไปเนื่องจากเหตุอุทกภัย ในเขตมหานครโบโลญญา ถนนหลายสายถูกปิดหรือใช้การไม่ได้ กิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมทางวัฒนธรรมทั้งหมดถูกยกเลิกโดยประชาชนได้รับการสนับสนุนให้ทำงานจากที่บ้าน เทศกาลวิ่งเพื่อการกุศล "สตราโบโลญญา" ประจำปีของเมืองก็ถูกเลื่อนออกไปเช่นกัน

ปฏิกิริยา

อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 
ภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซต 8 แสดงให้เห็นตะกอนน้ำท่วมที่ไหลลงสู่ทะเลเอเดรียติกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาม

ในช่วงเย็นของวันที่ 16 พฤษภาคม มัตเตโอ ซัลวีนี รองนายกรัฐมนตรีอิตาลีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง โพสต์ทวีตเชื่อมโยงผลกระทบอันน่าสลดใจของอุทกภัยกับความพ่ายแพ้ของเอซี มิลาน (ทีมที่เขาสนับสนุน) ต่ออินเตอร์มิลานในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบรองชนะเลิศ โดยเขียนว่า "ขออุทิศหัวใจและความมุ่งมั่นแด่ชาวเอมีเลีย-โรมัญญาที่กำลังสู้กับน้ำและโคลน ส่วนเอซี มิลาน ที่ไม่มีใจ ไม่มีความมุ่งมั่น และไม่มีหัวคิดนั้นไม่คู่ควรแม้แต่การนึกถึง" ภายหลังซัลวีนี (ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการเหตุฉุกเฉินเนื่องจากตำแหน่งทางการเมืองของเขา) ได้ลบทวีตดังกล่าว แต่ก็ยังถูกวิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากความไร้รสนิยมและการขาดความเห็นอกเห็นใจอย่างเห็นได้ชัดของเขา

สมาชิกบางคนของพรรคชั้นนำของประเทศในเวลานั้นอย่างพรรคพี่น้องอิตาลี รวมถึงหนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาอย่าง ลีเบโร และ ลาเวรีตะ กล่าวหาว่ารัฐบาลแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปไตยนั้นมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุอุทกภัย เนื่องจากจัดการบำรุงรักษาตลิ่งลำน้ำเพื่อบรรเทาความเสี่ยงได้ไม่ดีพอ

มีเกเล เด ปัสกาเล นายกเทศมนตรีเมืองราเวนนา ระบุว่าอุทกภัยครั้งนี้เป็น "ภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดในรอบศตวรรษ" และระบุว่าคืนระหว่างวันที่ 16 ต่อวันที่ 17 พฤษภาคม เป็น "คืนที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์โรมัญญา"

โจร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ออกจากการประชุมสุดยอดของกลุ่ม 7 ในญี่ปุ่นก่อนกำหนดเพื่อกลับมายังอิตาลีและช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก่อนออกเดินทาง เมโลนีกล่าวขอบคุณผู้นำคนอื่น ๆ ของกลุ่ม 7 ที่เสนอความช่วยเหลือในพื้นที่ประสบอุทกภัย เธอมีแผนจะไปเยี่ยมพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยหนักที่สุดเมื่อกลับมาถึง

ความพยายามด้านมนุษยธรรม

อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 
หน่วยกู้ภัยกำลังขุดดินถล่มใกล้เมืองโบโลญญา

ผู้เข้าร่วมปฏิบัติการฉุกเฉินทั่วแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาประกอบด้วยทรัพยากรบุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยคุ้มครองพลเรือนอิตาลี กาชาดอิตาลี ตลอดจนกองกำลังทหารและตำรวจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ การาบีนีเอรี[ต้องการอ้างอิง] เอเนล บริษัทพลังงานของรัฐ ได้จัดตั้งทีมงานที่จะร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นในการซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบจ่ายไฟฟ้าที่เสียหายจากน้ำท่วม มัตเตโอ เลโปเร นายกเทศมนตรีเมืองโบโลญญา แชร์กูเกิลฟอร์มสาธารณะทางสื่อสังคมโดยมุ่งเป้าไปที่อาสาสมัครพลเรือนทุกคนที่ต้องการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการเหล่านี้ ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของสโมสรฟุตบอลเชเซนาอาสาช่วยเหลือประชาชนในหลายพื้นที่ของเมืองซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัย

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สภาแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาได้เปิดบัญชีธนาคารสาธารณะอย่างเป็นทางการเพื่อระดมทุนสำหรับเหตุฉุกเฉินจากทั่วประเทศอิตาลี (ผ่านรหัสไอแบน) และจากต่างประเทศ (ผ่านสวิฟต์) ผู้บริจาคให้แก่บัญชีการกุศลนี้มีสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างโบโลญญา เกรโมเนเซ ปาร์มา และโมเดนาเป็นต้น กาชาดอิตาลี และหน่วยงานท้องถิ่นหลายแห่ง (เช่น สภาเมืองโมเดนา ฟาเอนซา อีโมลา และฟอร์ลิ) ยังจัดการรณรงค์ระดมทุนเพื่อการกุศล ส่วนมูลนิธิกระจกอิตาลีซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่สังกัดกลุ่มสื่อเกดี และมอนริฟ ได้ริเริ่มการรณรงค์อื่น ๆ ขนานกันไป

หมายเหตุ

อ้างอิง

Tags:

อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 ประวัติอุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 ผลกระทบอุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 ปฏิกิริยาอุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 ความพยายามด้านมนุษยธรรมอุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 หมายเหตุอุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 อ้างอิงอุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566น้ำท่วมประเทศอิตาลีฟอร์ลิราเวนนารีมีนีเชเซนาแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาโบโลญญา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดของประเทศไทยแอนน์ แฮททาเวย์เหี้ยจังหวัดอุตรดิตถ์เนื้อคู่ประตูถัดไปบาร์เซโลนาพงษ์สิทธิ์ คำภีร์บึงละหานวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยรหัสมอร์สองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยกวนอิม10 พฤษภาคมการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายชื่อธนาคารในประเทศไทยศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาคัง ซึล-กีภูมิธรรม เวชยชัยสโมสรฟุตบอลชลบุรีหม่ำ จ๊กมกบรรดาศักดิ์ไทยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งบัณฑวิช ตระกูลพานิชย์พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล4 KINGS อาชีวะ ยุค 90หญิงรักร่วมเพศอุดม แต้พานิชสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540อิสราภรณ์ จันทรโสภาคย์ช่อง 3 เอชดีสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชลิซ่า (แร็ปเปอร์)วรินทร ปัญหกาญจน์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ต่าย อรทัยอัมรินทร์ นิติพนติ๊กต็อกภาคกลาง (ประเทศไทย)จังหวัดศรีสะเกษราชินีแห่งน้ำตามหาเวทย์ผนึกมารรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)ทวีปเอเชียรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยก็อตซิลลาแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)จังหวัดระยองสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวัดไชยธารารามสตรอว์เบอร์รีอัสนี โชติกุลสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)พีซออฟมีจังหวัดชลบุรีลานีญาสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศออสเตรียจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพิษณุโลกทัศนาวลัย ศรสงครามพันทิป.คอมมหาวิทยาลัยมหิดลภูธเนศ หงษ์มานพเดือนเล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการฮารุ สุประกอบปีย์ชนิตถ์ อ้นอารีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีประเทศออสเตรเลียธี่หยดการทำฝนเทียม🡆 More