ประเทศไทย พ.ศ. 2516 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.

2516 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - 25 มกราคม พ.ศ. 2518) เป็นสภานิติบัญญัติแต่งตั้งขึ้นในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลชุดที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อมาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกชุดใหม่ก่อนที่จะมีการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเด็ดขาดลงไป ทำให้เหลือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียง 11 คน ไม่เพียงพอที่จะเป็นองค์ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ราชอาณาจักรไทย
ประเทศไทย พ.ศ. 2516 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธาน
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
(24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517)
ประภาศน์ อวยชัย
(17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 25 มกราคม พ.ศ. 2518)
รองประธานคนที่ 1
พลเอก สำราญ แพทยกุล
(29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517)
บุญชนะ อัตถากร
(17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 - 25 มกราคม พ.ศ. 2518)
รองประธานคนที่ 2
ประภาศน์ อวยชัย
(29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2517)
สมาชิกไม่เกิน 299 คน
กลุ่มการเมือง
สรรหาโดยสมัชชาแห่งชาติ
ที่ประชุม
อาคารรัฐสภา

กระทั่งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 2,347 คน เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกตั้งกันเองให้เหลือ 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 โดยข้าราชการพลเรือนเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด และพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมติสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

สภานิติบัญญัติชุดนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "สภาสนามม้า" เนื่องจากมีการเลือกกันที่สนามม้านางเลิ้ง หรือราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มี 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานสภาคนแรก ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ต่อจากนั้นหม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช ลาออก และเลือกประธานกันใหม่มี นายประภาศน์ อวยชัย เป็นประธานสภา ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518

รายนามสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา 6 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 จำนวน 299 คน ดังนี้

ผู้ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง

Tags:

ถนอม กิตติขจรสัญญา ธรรมศักดิ์เหตุการณ์ 14 ตุลา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดอีเอฟแอลแชมเปียนชิปธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐราชินีแห่งน้ำตาสุภาพบุรุษจุฑาเทพหน้าหลักนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ดวงจันทร์วัลลภ เจียรวนนท์มหัพภาคภาพอาถรรพณ์รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยเครื่องคิดเลขสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ข้าราชการไทยบริษัทกกดอน ปรมัตถ์วินัยรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร18พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยราชสกุลท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจังหวัดยะลายิ่งลักษณ์ ชินวัตรจังหวัดชลบุรีกรมศุลกากรฟุตบอลโลกเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์สีประจำวันในประเทศไทยศาสนาพุทธรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครหน้าไพ่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยวชิรวิชญ์ ชีวอารีAเรวัช กลิ่นเกษรหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญอมีนา พินิจรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอาณาจักรล้านนาสถาบันพระบรมราชชนกลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลโทกูงาวะ อิเอยาซุศาสนาฮินดูมรรคมีองค์แปดหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากรแปลก พิบูลสงครามกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)ข้ามเวลามาเซฟเมนอริยสัจ 4ประเทศอิหร่านสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ประวัติศาสตร์ไทยฟุตซอลทีมชาติไทยอาณาจักรอยุธยาประเทศมาเลเซียราชกิจจานุเบกษาจังหวัดกระบี่อาเลฆันโดร การ์นาโชก็อตซิลลาเสกสรรค์ ศุขพิมายเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาหีจังหวัดเชียงใหม่สุรยุทธ์ จุลานนท์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยวอยซ์ทีวีไอเดิลชียากู ซิลวาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจังหวัดกำแพงเพชรพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค🡆 More