ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน เป็นทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ (Theoretical linguistics) ที่ถือว่าภาษาศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์สชาติกะ (Universal grammar) หรือที่มีโดยกำเนิดซึ่งถูกสมมุติฐานขึ้นมาทฤษฎีนี้เป็นการดัดแปลงทฤษฎีภาษาศาสตร์แบบโครงสร้างนิยมอันก่อนหน้า กล่าวคือกลอสเซแมติกส์ (glossematics) ไปในทางชีววิทยา หรือแบบนิยัตินิยมทางชีววิทยา (Biological determinism) ภาษาศาสตร์เพิ่มพูนถือว่าไวยากรณ์เป็นระบบของกฏที่ผลิตการจัดหมู่ของคำศัพท์แล้วได้ผลออกมาเหมือนกับประโยคที่ถูกต้องทางไวยากรณ์ในภาษาหนึ่ง ว่าเป็นระบบของกฎที่ชัดเจนที่สามารถถูกใช้ซ้ำหลายครั้งเพื่อผลิตประโยคออกมาจำนวนนับไม่ถ้วนและมีความยาวเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ สิ่งที่แตกต่างจากตัวแบบของภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างและภาษาศาสตร์เชิงหน้าที่คือ ในภาษาศาสตร์เพิ่มพูนกรรมนั้นถูกผลิตโดยหน่วยคำหลัก (base-generated) อยู่ภายในกริยาวลี (verb phrase) โครงสร้างทางปริชานที่ถูกอ้างนี้ถูกคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์สากล ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของมนุษย์

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน
ต้นไม้แจงส่วน (parse tree) ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน: ประโยคถูกแยกออกเป็นนามวลี (N) และกริยาวลี (VP) ซึ่งรวมถึงกรรมด้วย นี่แตกต่างจากภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างและเชิงหน้าที่ซึ่งถือประธานและกรรมเป็นองค์ประกอบที่เหมือนกัน

นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนได้สร้างทฤษฎีมากมายเพื่อทำให้สามารถเคราะห์นามวลี (NP) และกริยาวลี (VP) ได้ในการวรรณนาภาษาธรรมชาติ นั่นคือให้ประธานและกริยาวลีปรากฏเป็นองค์ประกอบอิสระและให้กรรมอยู่ในกริยาวลี จุดหลักที่สนใจอยู่ในวิธีการวิเคราะห์การย้ายคำปฤจฉาได้อย่างเหมาะสม และในกรณีอื่น ๆ ที่ประธานปรากฏเสมือนแยกกริยาออกจากกรรม ถึงแม้นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนจะอ้างว่าเป็นโครงสร้างที่มีตัวตนจริงในทางปริชาน แต่ประสาทวิทยาศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานสนับสนุน พูดได้ว่าไวยากรณ์เพิ่มพูนนั้นครอบคลุมตัวแบบของการรับรู้ทางภาษาศาสตร์ แต่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่บอกว่าถูกต้อง

ขอบเขต

มีแนวทางต่อภาษาศาสตร์เพิ่มพูนอยู่หลากหลายแนวทาง และทั้งหมดพยายามหากฎหรือหลักการชุดหนึ่งซึ่งนิยามสมาชิกของเซตของข้อความในภาษาธรรมชาติที่จัดรูปดีอย่างรูปนัย คำว่า ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน สัมพันธ์กับสำนักภาษาศาสตร์อย่างน้อยดังต่อไปนี้:

  • ไวยากรณ์ปริวรรต (Transformational grammar, TG)
    • ทฤษฎีมาตรฐาน (Standard theory, ST)
    • ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยาย (Extended standard theory, EST)
    • ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ (Revised extended standard theory, REST)
    • ทฤษฎีหลักการและตัวแปร (Principles and Parameters, P&P)
      • ทฤษฎีกำกับและผูกยึด (Government and binding theory, GB)
      • โปรแกรมจุลนิยม (Minimalist program, MP)
  • ไวยากรณ์ชั้นเดียว (หรือ ไม่ปริวรรต) (Monostratal (or non-transformational) grammars)
    • ไวยากรณ์สัมพันธ์ (Relational grammar, RG)
    • ไวยากรณ์ศัพทหน้าที่ (Lexical Functional Grammar, LFG)
    • ไวยากรณ์โครงสร้างวลีทั่วไป (Generalized phrase structure grammar, GPSG)
    • ไวยากรณ์โครงสร้างวลีเน้นส่วนหลัก (Head-driven phrase structure grammar, HPSG)
    • ไวยากรณ์ปทารถะ (Categorical grammar)
    • ไวยากรณ์ต้นไม้ติดกัน (Tree-adjoining grammar)
    • ทฤษฎีอุตมผล (Optimality Theory, OT)

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของตัวแบบของไวยากรณ์ปริวรรต

แม้เลนาร์ด บลูมฟิลด์ (Leonard Bloomfield) ผู้ที่งานของเขาถูกปฏิเสธโดยชอมสกี มองว่านักไวยากรณ์ชาวอินเดียสมัยโบราณปาณินิเป็นบรรพบทของแนวคิดโครงสร้างนิยม ชอมสกีได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานรับรางวัลที่อิเดียในปี ค.ศ. 2001 และกล่าวว่า "ไวยากรณ์เพิ่มพูนอันแรกในนิยามร่วมสมัยคือไวยากรณ์ของปาณินิ"

มีการพัฒนาไวยากรณ์เพิ่มพูนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 และมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของกฏและตัวแทนที่ใช้คาดการณ์ความถูกต้องทางไวยากรณ์ การพูดถึงระยะต่าง ๆ ของการพัฒนาทฤษฎีจะเป็นประโยชน์ในการตามรอยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแนวคิดในภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

ทฤษฎีมาตรฐาน (ค.ศ. 1957–1965)

ทฤษฎีมาตรฐานที่ว่านี้สอดคล้องกับตัวแบบต้นฉบับของไวยากรณ์เพิ่มพูนที่วางไว้โดยชอมสกีในปี ค.ศ. 1965

แง่มุมหลักของทฤษฎีมาตรฐานคือการจำแนกการแทนของประโยคเป็นสองรูปแบบ ซึ่งเรียกว่าโครงสร้างลึก (deep structure) และโครงสร้างผิว (surface structure) การแทนสองแบบนี้เชื่อมต่อกันด้วยไวยากรณ์ปริวรรต

ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยาย (ค.ศ. 1965–1973)

ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยายที่ว่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาในปลายช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึงต้นช่วงปี ค.ศ. 1970 ส่วนประกอบคือ:

  • ข้อบังคับวากยสัมพันธ์ (syntactic constraints)
  • โครงสร้างวลีทั่วไป (ทฤษฎีเอ็กซ์บาร์, X-bar theory)

ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ (ค.ศ. 1973–1976)

ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ที่ว่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาระหว่างปี ค.ศ. 1973 และ 1976 ส่วนประกอบคือ:

  • ข้อจำกัดบนทฤษฎีเอ็กซ์บาร์ (Jackendoff (1977)).
  • ความเชื่อพื้นฐานของตำแหน่งคำบ่งส่วนเติมเต็ม (complementizer)
  • กฎการย้ายคำใด ๆ (Move α)

ไวยากรณ์สัมพันธ์ (ประมาณปี ค.ศ. 1975–1990)

ตัวแบบทางเลือกของวากยสัมพันธ์ที่อยู่บนแนวคิดว่าแนวคิดเช่น ประธาน กรรมตรง และกรรมรอง มีบทบาทหลักในไวยากรณ์

ทฤษฎีหลักการและตัวแปร/กำกับและผูกยึด (ค.ศ. 1981–1990)

Lectures on Government and Binding (1981) และ Barriers (1986) ของชอมสกี

โปรแกรมจุลนิยม (ค.ศ. 1990–ปัจจุบัน)

โปรแกรมจุลนิยมเป็นลำดับของการสอบสวนที่สมมุติฐานว่าโมดูลภาษาของมนุษย์ดีที่สุดแล้ว โดยประกอบด้วยแค่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการตอบสนองความต้องการทางกายภาพและการสื่อสาร และแสวงหาที่จะระบุคุณสมบัติที่จำเป็นของระบบแบบนั้น ชอมสกีได้เสนอโปรแกรมนี้ในปี ค.ศ. 1993

ไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท

(อังกฤษ: Context-free grammar) เราสามารถอธิบายและเปรียบเทียบภาษาศาสตร์เพิ่มพูนได้ด้วยความช่วยเหลือของลำดับชั้นของชอมสกี (Chomsky hierarchy) (ซึ่งชอมสกีได้เสนอในสมัยปี ค.ศ. 1950) นี่ให้กำเนิดลำดับของชนิดของไวยากรณ์รูปนัยที่มีพลังในการแสดงออกมากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในชนิดที่ง่ายที่สุดคือไวยากรณ์ปรกติ (regular grammar) (ชนิด 3) ชอมสกีอ้างว่านี่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแบบสำหรับภาษามนุษย์เพราะการอนุญาตการฝังตรงกลาง (center-embedding) ของสายอักขระไว้ในสายอักขระในภาษามนุษย์ธรรมชาติ

ที่ระดับความซับซ้อนที่สูงขึ้นคือไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท (ชนิด 2) อนุพันธ์ของประโยคโดยไวยากรณ์เช่นนี้สามารถนำมาวาดเป็นอนุพันธ์ของแผนภาพต้นไม้ (tree structure) นักภาษาศาสตร์ที่ทำงานในภาษาศษสตร์เพิ่มพูนมักจะมองต้นไม้เช่นนั้นว่าเป็นวัตถุหลักในการศึกษา จากมุมมองนี้ ประโยคหนึ่งประโยคไม่ได้เป็นเพียงเส้นสายของคำเรียงติดกัน แต่ทว่าคำที่อยู่ติดกันถูกรวมเป็น หน่วยประกอบ ซึ่งสามารถรวมเพิ่มเติมกับคำหรือหน่วยประกอบอื่นเพื่อสร้างแผนภาพต้นไม้ลำดับชั้น

อนุพันธ์ของโครงสร้างต้นไม้ง่าย ๆ ของประโยคในภาษาอังกฤษ "the dog ate the bone" เป็นไปดังต่อไปนี้: ตัวกำหนด (determiner) the และนาม dog รวมกันเพื่อสร้างนามวลี the dog นามวลีที่สอง the bone ก็สร้างขึ้นด้วยตัวกำหนด the และนาม bone กริยา ate รวมกับนามวลีที่สอง the bone เพื่อสร้างกริยาวลี ate the bone สุดท้าย นามวลีแรก the dog รวมกับกริยาวลี ate the bone เพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์เป็น the dog ate the bone แผนภาพต้นไม้ดังต่อไปแสดงให้เห็นอนุพันธ์นี้และโครงสร้างที่เป็นผล:

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน 

แผนภาพต้นไม้เช่นนี้ก็สามารถเรียกว่าตัวกำหนดวลี (phrase marker) ซึ่งนำมาแทนอยู่ในรูปตัวหนังสือได้ (แต่ผลคือจะอ่านยากกว่า) ในรูปแบบนี้ประโยคด้านบนจะถูกนำมาแสดงเป็น:
[S [NP [D The ] [N dog ] ] [VP [V ate ] [NP [D the ] [N bone ] ] ] ]

ในภาษาไทยเราอาจแทนตัวกำหนดเป็นคำนิยม (อ่านว่า นิ-ยะ-มะ, demonstrative) ห่างหรือเคียง และลักษณนาม (classifier) เช่น หมาตัวนั้นกินกระดูกซี่นี้ เป็น:
[S [NP [N หมา ] [CL ตัว ] [D นั้น] ] [VP [V กิน ] [NP [N กระดูก ] [CL ซี่ ][D นี้ ] ] ] ]

ชอมสกีได้กล่าวอ้างว่าไวยากรณ์โครงสร้างวลีก็ไม่เหมาะสมสำหรับการวรรณนาภาษาธรรมชาติ และได้กำหนดระบบไวยากรณ์ปริวรรตที่ซับซ้อนขึ้น

คำวิจารณ์

การขาดหลักฐาน

โนม ชอมสกีผู้ก่อตั้งไวยากรณ์เพิ่มพูนเชื่อว่าได้พบหลักฐานทางภาษาศาสตร์ว่าโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ไม่ได้ถูกเรียนรู้แต่ตัวเด็ก ‘ได้มา’ จากไวยากรณ์สากล นี่นำไปสู่การก่อตั้งข้ออ้างความไม่สมบูรณ์ของสิ่งเร้า (poverty of the stimulus) แต่ได้ค้นพบทีหลังว่าการวิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์ของชอมสกีนั้นไม่เหมาะสมและเพียงพอ

ไม่มีหลักฐานที่ว่าโครงสร้างวากยสัมพันธ์นั้นมีโดยกำเนิด แม้ว่าจะมีความหวังขึ้นหน่อยเมื่อมีการค้นพบยีน FOXP2 ก็ยังมีข้อสนับสนุนเพียงพอต่อแนวคิดที่ว่ายีนนี้เป็น 'ยีนไวยากรณ์' หรือว่ามีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับการอุบัติของการพูดเชิงวากยสัมพันธ์หรือภาษาพูดเมื่อซึ่งพึ่งมีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

การศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์โดยการใช้ ERPs หรือศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ต่อข้ออ้างว่าสมองมนุษย์ประมวลวัตถุทางไวยากรณ์เสมือนว่าวัตถุถูกวางใว้ในกริยาวลี ผลคือไวยากรณ์เพิ่มพูนไม่ใช่ตัวแบบที่เป็นประโยชน์สำหรับภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา

นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนอ้างว่าภาษานั้นมีส่วนจำเพาะของจิต (Modularity of mind) เป็นของตัวเอง และไม่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างการประมวลภาษาแม่กับการประมวลสารสนเทศชนิดอื่น ๆ อาทิคณิตศาสตร์ คำกล่าวอ้างนี้ไม่ได้อยู่บนฐานของการวิจัยหรือความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปว่าสมองทำงานอย่างไร

ชอมสกีได้ตอบกลับคำวิจารณ์โดยการเน้นว่าทฤษฎีของเขาความจริงแล้วขัดแย้งกับหลักฐาน เขาหากแต่เชื่อว่าจะเป็นกรณีที่คุณค่าจริงของงานวิจัยจะถูกเข้าใจในภายหลัง เหมือนกับกาลิเลโอ กาลิเลอี

ดนตรี

ไวยากรณ์เพิ่มพูนได้ถูกใช้ในขนาดที่จำกัดในทฤษฎีดนตรี (music theory) และการวิเคราะห์ดนตรี (musical analysis) ตั้งแต่สมัยปี ค.ศ. 1980 แนวทางที่เป็นที่รู้จักที่สุดถูกพัฒนาโดยมาร์ก สตีดแมน (Mark Steedman) รวมถึงเฟร็ด เลอร์ดาห์ล (Fred Lerdahl) และเรย์ แจ็คเคนดอฟฟ์ (Ray Jackendoff) ผู้ที่กำหนดรูปแบบและขยายแนวคิดจากการวิเคราะห์แบบเชงเกอร์ (Schenkerian analysis) และเร็ว ๆ มานี้แนวทางเพิ่มพูนแรก ๆ ต่อดนตรีก็ได้ถูกพัฒนาต่อเพิ่มและขยายโดยนักวิชาการหลายคน

ดูเพิ่ม

  • ภาษาศาสตร์ปริชาน
  • การปฏิวัติประชาน (Cognitive revolution)
  • วิยุตอนันต์ (Digital infinity)
  • ไวยากรณ์รูปนัย (Formal grammar)
  • ภาษาศาสตร์หน้าที่ (Functional linguistics)
  • คลังศัพท์เพิ่มพูน (Generative lexicon)
  • มาตราศาสตร์เพิ่มพูน (Generative metrics)
  • หลักการเพิ่มพูน (Generative principle)
  • อรรถศาสตร์เพิ่มพูน (Generative semantics)
  • สมรรถนะทางภาษา (Linguistic competence)
  • การแจงส่วน (Parsing)
  • กฎโครงสร้างวลี (Phrase structure rules)
  • ระบบเพิ่มพูน (Generative systems)

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ขอบเขตภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบทภาษาศาสตร์เพิ่มพูน คำวิจารณ์ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ดนตรีภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ดูเพิ่มภาษาศาสตร์เพิ่มพูน หมายเหตุภาษาศาสตร์เพิ่มพูน อ้างอิงภาษาศาสตร์เพิ่มพูน แหล่งข้อมูลอื่นภาษาศาสตร์เพิ่มพูนการกลายพันธุ์ชีววิทยาภาษาศาสตร์โครงสร้างนิยมไวยากรณ์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ข่าวช่อง 7HDนลินี ทวีสินกระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)บุพเพสันนิวาสสโมสรฟุตบอลบาเลนเซียรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนตระกูลเจียรวนนท์ตารางธาตุสโมสรฟุตบอลเพรสตันนอร์ทเอนด์สนุกเกอร์แวมไพร์ ทไวไลท์ประเทศลาวหญิงรักร่วมเพศระบบสารสนเทศสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกเผ่าภูมิ โรจนสกุลศาสนา1 พฤษภาคมผ่าพิภพไททันธนาคารทหารไทยธนชาตจังหวัดราชบุรีอี จู-บินอรัชพร โภคินภากรICD-10ไทยลีกรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยเอกซ์เจแปนประเทศอิหร่านรัชชานนท์ สุประกอบพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567จังหวัดเชียงรายสโมสรฟุตบอลเชลซีจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาอแมนด้า ออบดัมรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยสราลี ประสิทธิ์ดำรงหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยลีกเอิงกูเกิล แผนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารไลแคน (บอยแบนด์)สโมสรคริกเกตและฟุตบอลเจนัวพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีจังหวัดนครราชสีมาวันมูหะมัดนอร์ มะทาสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีมหาวิทยาลัยมหาสารคามพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตรัตนวดี วงศ์ทองจังหวัดพิษณุโลกประเทศอุซเบกิสถานพระโคตมพุทธเจ้าหม่ำ จ๊กมกกองอาสารักษาดินแดนปรีชญา พงษ์ธนานิกรสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาอาณาจักรล้านนาจังหวัดปราจีนบุรีประเทศเนเธอร์แลนด์ธนดล ช้างเสวกพระยศเจ้านายไทยก็อตซิลลาเมษายนมาริลิน เคท การ์ดเนอร์แอน อรดีกรมสรรพากรอนิเมะสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์มูฮัมหมัด อุสมานมูซา🡆 More