จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย (พระนามเต็ม: แฟร์ดีนันท์ คาร์ล เลโอพ็อลท์ โยเซ็ฟ ฟรันทซ์ มาร์เซอลิน, ภาษาเยอรมัน: Ferdinand Karl Leopold Joseph Franz Marcelin von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรียองค์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิออสเตรีย ต่อจากจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1ผู้เป็นพระราชบิดา และทรงเป็นกษัตริย์แห่งฮังการีอีกด้วย พระองค์ทรงสละราชสมบัติให้กับจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซฟ ผู้เป็นพระราชภาติยะ หลังจากมีการประท้วงการครองราชย์ที่ไร้ประสิทธิภาพของพระองค์

แฟร์ดีนันท์ที่ 1 และ 5
จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย
พระบรมสาทิสลักษณ์
โดย เอดูอาร์ท เอ็ดลิงเคอร์ (1843)
จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
กษัตริย์แห่งฮังการี, โครเอเชีย, โบฮีเมีย และ ลอมบาร์เดีย-เวนิส
ครองราชย์2 มีนาคม 1835 – 2 ธันวาคม 1848
ราชาภิเษก
  • 28 กันยายน 1830, บราติสลาวา
    (ฮังการีและโครเอเชีย)
  • 7 กันยายน 1836, ปราก
    (โบฮีเมีย)
  • 6 กันยายน 1838, มิลาน
    (ลอมบาร์เดีย-เวนิส)
ก่อนหน้าฟรันทซ์ที่ 1
ถัดไปฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
องค์ประธานแห่งสมาพันธรัฐเยอรมัน
ในตำแหน่ง2 มีนาคม 1835 - 12 กรกฎาคม 1848
ก่อนหน้าฟรันทซ์ที่ 1
ถัดไปฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
พระราชสมภพ19 เมษายน ค.ศ. 1793(1793-04-19)
เวียนนา อาร์ชดัชชีออสเตรีย จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สวรรคต29 มิถุนายน ค.ศ. 1875(1875-06-29) (82 ปี)
ปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ฝังพระศพวิหารฮาพส์บวร์ค
คู่อภิเษกมารีอา อันนาแห่งซาวอย
พระนามเต็ม
แฟร์ดีนันท์ คาร์ล เลโอพ็อลท์ โยเซ็ฟ ฟรันทซ์ มาร์เซอลิน
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
พระราชบิดาฟรันทซ์ที่ 2 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดามาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลี
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธยจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย

พระราชประวัติ

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1793 เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กับ มาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลี เมื่อพระองค์ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1835 ซึ่งขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุ 42 พรรษา ทำให้เกิดปัญหาใหญ่สำหรับองคมนตรี และพระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรียหลายพระองค์ เพราะเนื่องจากพระองค์มีพระวรกายไม่แข็งแรง อีกทั้งพระองค์ทรงเป็นโรคลมบ้าหมู และสมองไม่กระเตื้อง ทำให้พระองค์ทรงอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือที่เรียกว่า โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์ที่พระองค์ทรงเขียนเป็นประจำทุกวัน ก็ยังต้องมีข้าราชบริพารและราชเลขานุการมาช่วยในการทรงพระอักษรด้วย นอกจากนี้ ในรัชกาลของพระองค์ยังมีการก่ออาชญากรรมมาก อีกทั้งพระองค์ทรงไม่สามารถช่วยเหลือสังคมและพระราชกรณียกิจต่างๆ อย่างที่องค์พระประมุขทรงทำเป็นพระราชกรณียกิจได้ ดังนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรีย อาร์ชดยุกและอาร์ชดัชเชสทั้งหลายจึงทรงคิดที่จะร่วมมือกันโค่นอำนาจพระองค์ และมองพระราชบัลลังก์ให้แก่ผู้ที่เหมาะสมในการครองราชย์อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับจักรพรรดิเอง พระองค์กลับไม่ทรงประกาศแก่ประชาชนว่าพระองค์ไม่สามารถปกครองจักรวรรดินี้ได้ สภาองคมนตรี รวมทั้งเจ้าชายคลีเมนส์ เว็นเซิล แห่งเม็ทเตอร์นิช สมุหนายกแห่งออสเตรีย มีการประชุมเกี่ยวกับการครองราชย์ที่ไร้ประสิทธิภาพของพระองค์ ส่งผลให้มีการปฏิวัติการปกครองในออสเตรียใน ค.ศ. 1848 โดยมีการประท้วงและตำหนิการปกครองของพระองค์จากประชาชนชาวออสเตรีย พระองค์ทรงขอคำแนะนำจากเจ้าชายเม็ทเตอร์นิชและเจ้าชายเฟลิกซ์แห่งชวาร์เซนเบิร์ก นายกรัฐมนตรี ทั้งสองแนะนำให้พระองค์สละราชสมบัติเพื่อรักษาสมดุลของราชบัลลังก์และพระราชวงศ์อิมพีเรียล

พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติให้กับพระราชอนุชาของพระองค์ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ล แต่อาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ลทรงสละตำแหน่งให้กับพระโอรสของพระองค์ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ โยเซ็ฟ เพื่อที่จะให้พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ โดยอาร์ชดยุกฟรันทซ์ โยเซฟได้เป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรียต่อจากจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ โดยทรงครองราชย์นานที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป คือ 68 ปี

หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระชายาทรงประทับอยู่ที่ปราสาทปราก (Prague Castle) ในโบฮีเมีย (ปัจจุบันคือ รัฐโบฮีเมีย สาธารณรัฐเช็ก) พระองค์ทรงประทับอยู่ที่นั่นจนถึงช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ โดยพระองค์ได้รับสมญาพระนามจากชาวโบฮีเมียว่า Ferdinand V, the Good (Ferdinand Dobrotivý) และจากชาวออสเตรียว่า Ferdinand der Gütige (Ferdinand the Benign) แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า แฟร์ดีนันท์ผู้ใจดี เพราะหลังจากพระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์มีพระทัยดี ชอบช่วยเหลือประชาชนและทรงเป็นมิตรภาพต่อพสกนิกรด้วย

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1875 รวมพระชนมพรรษาได้ 82 พรรษา พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ที่วิหารฮาพส์บวร์ค กรุงเวียนนา

พระราชอิสริยยศ

พระราชอิสริยยศเต็มของจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย คือ

ภาษาอังกฤษ: By the grace of God, Ferdinand Karl Leopold Joseph Franz Marcelin von Habsburg-Lorraine, Ferdinand the First, Emperor of Austria; Apostolic King of Hungary, Bohemia, Jerusalem, Dalmatia, Croatia, Slovenia, Galicia and Lodomeria; Archduke of Austria; Duke of Lorraine, Salzburg, Würzburg, Franconia, Styria, Carinthia and Carniola; Grand Duke of Cracow; Grand Prince of Transylvania; Margrave of Moravia; Duke of Sandomir, Masovia, Lublin, Upper and Lower Silesia, Auschwitz and Zator, Teschen and Friule; Prince of Berchtesgaden and Mergentheim; Princely Count of Habsburg, Gorizia and Gradisca and of the Tyrol; and Margrave of Upper and Lower Lusatia and in Istria".

ภาษาไทย: ด้วยอำนาจแห่งพระผู้เป็นเจ้า แฟร์ดีนันท์ คาร์ล เลโอพ็อลท์ โยเซ็ฟ ฟรันทซ์ มาร์เซอลิน, แฟร์ดีนันท์ที่ 1 จักรพรรดิแห่งออสเตรีย กษัตริย์แห่งฮังการี ผู้ทรงเปรียบเสมือนอัครสาวกเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย เยรูซาเลม ดาลมาเทีย โครเอเชีย สโลวีเนีย กาลิเซีย และโลโดมีเรีย อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย ดยุกแห่งลอร์เรน ซาล์สบูร์ก วืร์ซบูร์ก ฟรานโซเนีย สตีเรีย คารินเธีย และคาร์นิโอล่า แกรนด์ดยุกแห่งคราโคว์ แกรนด์พรินซ์แห่งทรานซิลวาเนีย มาร์เกรฟแห่งโมราเวีย ดยุกแห่งซานโดเมียร์ โมซาเวีย ลูบลิน อัปเปอร์และโลเวอร์ซิลิเซีย ออชวิตส์ และเซเตอร์ เทสเชน และฟริวลี เจ้าชายแห่งเบิร์ชเท็สกาเดน และเมอร์เจ็นเธิม เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค การิเซีย กราดิสก้า และทีรอล มาร์เกรฟแห่งอัปเปอร์ และโลเวอร์ ลูซาเทีย และอิสเตรีย

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย
จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย (กษัตริย์แฟร์ดีนันท์ที่ 5 แห่งฮังการี) พระชนก:
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย)
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
มาเรีย ลุยซา แห่งสเปน
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงมารี อามาเลียแห่งซัคเซิน
พระชนนี:
มาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลี
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
กษัตริย์แฟร์ดีนันโดที่ 1 แห่งซิซิลีทั้งสอง
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงมารี อามาเลียแห่งซัคเซิน
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
อาร์ชดัชเชสมารี คาโรลีเนอ แห่งออสเตรีย
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา

พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์เป็นพระญาติกัน และจะเห็นว่าพระปัยกาและพระปัยยิกา ทั้งฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ก็เป็นพระองค์เดียวกันอีกด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย ถัดไป
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย
2 มีนาคม ค.ศ. 1835 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
ฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  กษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย
2 มีนาคม ค.ศ. 1835 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
ฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  กษัตริย์แห่งโครเอเชีย ดาลมาเทีย และ สโลเวเนีย
2 มีนาคม ค.ศ. 1835 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
ฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ดยุกแห่งคาร์นิโอลา
2 มีนาคม ค.ศ. 1835 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
ฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  กษัตริย์แห่งกาลิเซีย
2 มีนาคม ค.ศ. 1835 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
ฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  กษัตริย์แห่งโลโดเมเรียและอีลีเรีย
2 มีนาคม ค.ศ. 1835 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
ฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  องค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน
ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย  ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย

Tags:

จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย พระราชประวัติจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย พระราชอิสริยยศจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย ราชตระกูลจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย อ้างอิงจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย แหล่งข้อมูลอื่นจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรียจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิแห่งออสเตรียจักรวรรดิออสเตรียภาษาเยอรมันรายพระนามกษัตริย์แห่งฮังการี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลจังหวัดหนองคายจังหวัดพิจิตรแฮร์รี่ พอตเตอร์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีคิม โก-อึนแคพิบาราจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรโทรสเปกต์สุรสีห์ ผาธรรมอดอล์ฟ ฮิตเลอร์4 KINGS อาชีวะ ยุค 90รายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากเปรม ติณสูลานนท์ช่อง 3 เอชดีเมืองพัทยาลิซ่า (แร็ปเปอร์)ภรภัทร ศรีขจรเดชาพรรคเพื่อไทยสกีบีดีทอยเล็ตเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วชาดา ไทยเศรษฐ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสงครามเย็นฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์ประเทศฝรั่งเศสโชกุนจังหวัดนครปฐมกฤษฏ์ อำนวยเดชกรนิษฐา คูหาเปรมกิจตัวเลขโรมันจุดทิศหลักดอลลาร์สหรัฐณรัชต์ เศวตนันทน์กูเกิล แปลภาษาเกรซ มหาดำรงค์กุลรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่ชิตพล ลี้ชัยพรกุลสฤษดิ์ ธนะรัชต์แบตเตอรี่ตี๋ เหรินเจี๋ยราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนประเทศจีนรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แอน ทองประสมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โปเตโต้ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ศรุต วิจิตรานนท์มุฮัมมัดสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาจังหวัดอุบลราชธานีมหาวิทยาลัยรามคำแหงนิภาภรณ์ ฐิติธนการผีฉัตรชัย เปล่งพานิชค็อบบี ไมนูจังหวัดเลยบัวขาว บัญชาเมฆเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยพระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)ราชกิจจานุเบกษามัสเกตเทียส์พชร จิราธิวัฒน์รัฐแมริแลนด์พิชชาภา พันธุมจินดากรุงเทพมหานครและปริมณฑลจังหวัดสกลนครสุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์ปภาวดี ชาญสมอนราชมังคลากีฬาสถานพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ประวัติศาสตร์สืบคดีปริศนา หมอยาตำรับโคมแดงลุค อิชิกาวะ พลาวเดนรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรวอลเลย์บอล🡆 More