แอนแวร์ ฮอจา

แอนแวร์ ฮาลีล ฮอจา (อักษรโรมัน: Enver Halil Hoxha; /ˈhɒdʒə/ hoj-ə, ภาษาแอลเบเนีย:  ( ฟังเสียง); 16 ตุลาคม ค.ศ.

1908 – 11 เมษายน ค.ศ. 1985) เป็นนักการเมืองคอมมิวนิสต์ชาวแอลเบเนีย เลขาธิการลำดับที่หนึ่งของพรรคแรงงานแอลเบเนีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1941 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1985 และสมาชิกโปลิตบูโรพรรคแรงงานแอลเบเนีย, ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยแอลเบเนีย และผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพแอลเบเนีย เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแอลเบเนียคนที่ 22 ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ. 1954 และยังดำรงตำแหน่งควบเป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย

แอนแวร์ ฮอจา
แอนแวร์ ฮอจา
ฮอจาเมื่อ ค.ศ. 1971
เลขาธิการลำดับที่หนึ่งพรรคแรงงานแอลเบเนีย
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 – 11 เมษายน ค.ศ. 1985
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปรามิซ อาลียา
นายกรัฐมนตรีแอลเบเนียคนที่ 22
ดำรงตำแหน่ง
23 ตุลาคม ค.ศ. 1944 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1954
ประธานาธิบดีโอเมร์ นีชานี
ฮาจี เลชี
รองมืสลีม เปซา
โคชี โฮเฮ
เมห์เมด เชฮู
ก่อนหน้าอีบราฮิม บีชาสชู
ถัดไปเมห์เมด เชอู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Enver Halil Hoxha

16 ตุลาคม ค.ศ. 1908(1908-10-16)
ญีโรคัสแตร์ ยานีนาวีลาเยต จักรวรรดิออตโตมัน
เสียชีวิต11 เมษายน ค.ศ. 1985(1985-04-11) (76 ปี)
ติรานา แอลเบเนีย
ที่ไว้ศพสุสานประชาชน ติรานา
พรรคการเมืองพรรคแรงงานแอลเบเนีย (ค.ศ. 1941–1985)
คู่สมรสเนจมีเย ฮอจา (สมรส 1945)
บุตร
  • อีลีร์
  • Sokol
  • Pranvera
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมองต์เปลลีเยร์
มหาวิทยาลัยเปิดบรัสเซเลส์
รางวัลวีรชนแห่งมวลชน
เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
เครื่องอิสริยาภรณ์สกันเดอร์แบก
เครื่องอิสริยาภรณ์วีรชนแห่งผองชน
เครื่องอิสริยาภรณ์ซูโวรอฟ
วีรชนแรงงานสังคมนิยม
ศาสนาอเทวนิยม
(รัฐไร้ศาสนา)
อิสลาม
(อดีต; นิกายเบ็กตาชี)
ลายมือชื่อแอนแวร์ ฮอจา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ (ค.ศ. 1941–1945)
สาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย (1944–1985)
สังกัดขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ (ค.ศ. 1941–1945)
กองทัพประชาชนแอลเบเนีย (ค.ศ. 1944–1985)
ประจำการค.ศ. 1941–1985
ยศพลเอกทหารบก
บังคับบัญชาขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ
กองทัพประชาชนแอลเบเนีย (ผู้บังคับบัญชาสูงสุด)
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

ฮอจาเกิดที่ญีรอคัสแตร์ใน ค.ศ. 1908 และประกอบอาชีพเป็นครูโรงเรียนตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ต่อมาเมื่ออิตาลีรุกรานแอลเบเนีย เขาเข้าร่วมพรรคแรงงานแอลเบเนียเป็นรุ่นแรก เมื่อพรรคก่อตั้งใน ค.ศ. 1941 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการลำดับที่หนึ่งใน ค.ศ. 1943 ด้วยวัย 34 ปีในเวลาไม่ถึงสองวันหลังปลดแอกแอลเบเนียสำเร็จ สถาบันกษัตริย์ซึ่งดำรงโดยกษัตริย์ซ็อกที่หนึ่งได้ถูกโค่นล้มอย่างเป็นทางการ และฮอจาได้ขึ้นมาเป็นประมุขแห่งรัฐในทางสัญลักษณ์แทน

ตลอดระยะเวลา 41 ปีที่ปกครองแอลเบเนีย เขาได้สร้างแอลเบเนียขึ้นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากแอลเบเนียได้ถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาสร้างทางรถไฟสายแรกของแอลเบเนีย, เพิ่มอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ในแอลเบเนียจาก 5% เป็นมากกว่า 90%, กำจัดโรคระบาด, ติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เช้าถึงได้ทั่วประเทศ และนำแอลเบเนียสู่การเป็นรัฐเกษตรกรรมที่พึ่งพาตนเองได้ กระนั้น เขาเป็นผู้ออกกฎหมายให้ศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย, ห้ามไม่ให้พลเมืองเดินทางออกนอกประเทศ, ยึดคืนและห้ามพลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอกชน รวมถึงยังยึดคืนศาสนสถานทั่วประเทศมาใช้งานในทางฆราวาสแทน ในสมัยของเขา ผู้ที่ต่อต้านระบบของฮอจาถูกประหารชีวิตไปหลายพันคน และอีกหลายหมื่นคนที่ถูกคุมขังในค่ายแรงงาน รัฐบาลของฮอจามีลักษณะเด่นด้วยการประกาศยึดมั่นอย่างแน่วแน่ต่อการต่อต้านลัทธิแก้ลัทธิมากซ์–เลนินนั่นคือ ลัทธิสตาลินตั้งแต่กลาง/ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา หลังจากที่เขาแตกแยกกับลัทธิเหมาในช่วง ค.ศ. 1976-1978 พรรคลัทธิเหมาจำนวนมากทั่วโลกประกาศตนว่าเป็นลัทธิฮอจา การประชุมนานาชาติของพรรคและองค์กรลัทธิมากซ์–เลนิน (เอกภาพและการต่อสู้) เป็นสมาคมที่รู้จักกันดีที่สุดของพรรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ด้วยลักษณะของรัฐบาลฮอจาที่เน้นการปิดประเทศและพึ่งพาตนเอง ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเทศแอลเบเนียได้รับการเรียกขานว่าเป็น "เกาหลีเหนือแห่งทวีปยุโรป"

ในยุคปลายของฮอจา เขาได้สั่งให้มีการสร้างหลุมหลบภัยทั่วประเทศเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจมาจากต่างชาติโดยรอบ ข้อมูลจาก ค.ศ. 1983 รายงานว่ามีหลุมหลบภัยคอนกรีตเช่นนี้มากกว่า 173,000 จุดทั่วประเทศ

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

Tags:

Sq-Enver Hoxha.oggคอมมิวนิสต์พรรคแรงงานแอลเบเนียสัทอักษรสากลสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนียอักษรโรมันไฟล์:Sq-Enver Hoxha.ogg

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สุรสีห์ ผาธรรมทวิตเตอร์จักรทิพย์ ชัยจินดาอินสตาแกรมซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ลุค อิชิกาวะ พลาวเดนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ศุภณัฏฐ์ เหมือนตารายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2รามาวดี นาคฉัตรีย์แอทลาสสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีอนันต์นฤมล พงษ์สุภาพแอน ทองประสมโรงเรียนชลกันยานุกูลประเทศตุรกีรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยกอล์ฟ-ไมค์คิม จี-ว็อน (นักแสดง)ถนนพระรามที่ 2องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเมืองพัทยาแปลก พิบูลสงครามวัชรเรศร วิวัชรวงศ์บีบีซี เวิลด์นิวส์ณฐพร เตมีรักษ์ประเทศกัมพูชาหลานม่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกสฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือกรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39พัชราภา ไชยเชื้อพระพุทธเจ้าประเทศรัสเซียเจษฎ์ โทณะวณิกเครยอนชินจังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ. 2565จังหวัดนครศรีธรรมราชไตรลักษณ์คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางสุจาริณี วิวัชรวงศ์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรบิลลี ไอลิชภาคเหนือ (ประเทศไทย)ประเทศไทยอริยสัจ 4หนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์ศุภนันท์ บุรีรัตน์มหาวิทยาลัยกรุงเทพนามสกุลพระราชทานบรรดาศักดิ์ไทยฟุตบอลทีมชาติสเปนสหราชอาณาจักรค็อบบี ไมนูเมตาชาดา ไทยเศรษฐ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ยูทูบพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลเด่นคุณ งามเนตรประเทศเกาหลีใต้ลิขิตกามเทพแฮร์รี่ พอตเตอร์เบบี้เมทัลอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ดนุพร ปุณณกันต์🡆 More