เรือประจัญบานยามาโตะ

เรือประจัญบานยามาโตะ (ญี่ปุ่น: 大和; โรมาจิ: Yamato) เป็นเรือประจัญบานขนาดยักษ์ ตั้งตามชื่อแคว้นยามาโตะ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญบานชั้นยามาโตะลำแรกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800 ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18 นิ้ว) เรือทั้งสองลำจมลงในระหว่างสงคราม

A large warship with a tall, pagoda-like superstructure, single funnel and multiple gun turrets, steaming in the open ocean.ยามาโตะขณะทำการแล่นเรือทดสอบ ค.ศ. 1941
ยามาโตะขณะทำการแล่นเรือทดสอบ ค.ศ. 1941
ประวัติ
A flag bearing a stylised red sunburst symbol on a white background.จักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่อยามาโตะ
ตั้งชื่อตามแคว้นยามาโตะ
Orderedมีนาคม ค.ศ. 1937
อู่เรืออู่ทหารเรือคุเระ
ปล่อยเรือ4 พฤษภาคม ค.ศ 1937 ref name=J38/>
เดินเรือแรก8 สิงหาคม ค.ศ. 1940
เข้าประจำการ16 ธันวาคม ค.ศ. 1941
Stricken31 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ความเป็นไปอับปางลงในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1945 ห่างออกไปทางเหนือของเกาะโอกินาวะ
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: ยามาโตะ
ประเภท: เรือประจัญบาน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 65,027 ตัน มาตราฐาน (71,659 ตัน)
ความยาว: 862 ฟุต 10 นิ้ว (263 เมตร)
ความกว้าง: 127 ฟุต 7 นิ้ว (38.9 เมตร)
กินน้ำลึก: 35 ฟุต 8 นิ้ว (10.86 เมตร)
ระบบพลังงาน: 150,000 แรงม้า
ระบบขับเคลื่อน: • หม้อน้ำแบบคัมปง (Kampon) 12 หม้อ, ขับเคลื่อนด้วยใบจักรไอน้ำ 4 ใบ
• ใบจักร 3 ใบพัด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ม.
ความเร็ว: 27 นอต
พิสัยเชื้อเพลิง: 7,200 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต
อัตราเต็มที่: 2,500–2,800 นาย
เกราะ: • หน้าป้อมปืนหลัก 650 มม. (26 นิ้ว)
• ด้านข้าง 410 มม. (16 นิ้ว)
• กลางดาดฟ้าเรือ 200 มม. (7.9 นิ้ว) (75%)
• ขอบดาดฟ้าเรือ 226.5 มม. (8.92 นิ้ว) (25%)
อากาศยาน: 7
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: เครื่องดีด 2 เครื่อง

เรือรบลำนี้มีความหมายอันยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสัญลักษณ์ด้านนาวิกานุภาพของชาติ (คำว่า "ยามาโตะ บางครั้งก็หมายถึงประเทศญี่ปุ่น) และถูกเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันจมช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปฏิบัติการฆ่าตัวตายเท็งโง ซึ่งการจมของเรือรบยามาโตะ บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นด้วย[ต้องการอ้างอิง]

การออกแบบและการสร้าง

เรือประจัญบานยามาโตะ 
ยามาโตะ' ขณะใกล้เสร็จสิ้นการเตรียมเรือประจำการ 20 กันยายน ค.ศ. 1941

ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปลี่ยนไปสู่ความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มข้นด้วยทรรศนะสู่จักรวรรดิญี่ปุ่นอันยิ่งใหญ่ ญี่ปุ่นได้ถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติในปี ค.ศ. 1934 และยกเลิกสนธิสัญญาที่เคยทำไว้ทั้งหมด หลังถอนตัวจากสนธิสัญญารัฐนาวีวอชิงตันซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่จำกัดขนาดเรือและอำนาจการยิงของเรือหลวง กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มออกแบบเรือประจัญบานหนักชั้นใหม่ คือ ชั้นยามาโตะ การออกแบบเรือได้เสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1937 เมื่อเริ่มวางกระดูกงู ญี่ปุ่นได้พยายามอย่างยิ่งที่จะปกปิดเป็นความลับไม่ให้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของอเมริการู้ถึงการดำรงอยู่และข้อมูลลักษณะของเรือ ญี่ปุ่นได้กล่าวอ้างว่าปืนใหญ่หลักของเรือมีขนาดเพียง 16 นิ้ว จากความพยายามนี้เองทำให้จวบจนเกือบสิ้นสุดสงครามจึงได้ทราบถึงระวางขับน้ำและขนาดลำกล้องปืนใหญ่หลักที่แท้จริง ยามาโตะเป็นเรือลำแรกในชั้น เหล่าเสนาธิการยอมรับว่าญี่ปุ่นนั้นไม่สามารถแข่งขันทางผลผลิตของอู่ต่อเรือกองทัพกับสหรัฐอเมริกาได้ ดังนั้นเรือชั้นยามาโตะต้องสามารถต่อสู้กับเรือประจัญบานฝ่ายศัตรูได้พร้อมกันทีละหลายลำ เรือแต่ละลำมีระวางขับน้ำมากกว่า 70,000 ตัน และหวังว่าอำนาจการยิงของเรือจะชดเชยส่วนต่างของความสามารถในการต่อเรือเมื่อเทียบกับสหรัฐ

ยามาโตะได้รับการวางกระดูกงูที่นครฮิโรชิมะ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 ต้องมีการดัดแปลงอู่เรือให้สามารถรองรับลำเรือที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารได้ อู่ลึก 1 เมตร มีการติดตั้งเครนขา (gantry crane) ที่ยกของที่มีน้ำหนักได้ถึง 350 ตัน ด้วยความหวาดกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะรู้ในลักษณะของเรือ ญี่ปุ่นจึงสร้างกระโจมคลุมเหนือช่องว่างระหว่างท่าเทียบเพื่อป้องกันการพบเห็น ยามาโตะถูกปล่อยลงน้ำในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โดยมีนาวาเอก (ภายหลังได้เลื่อนยศเป็นพลเรือโท) มิยาซาโตะ ชุโตกุ (Miyazato Shutoku) เป็นผู้บังคับการ

อาวุธยุทธภัณฑ์

หมู่ปืนหลักของยามาโตะประกอบไปด้วยปืนเรือขนาด 46 ซม. (18.1 นิ้ว, 40 ซม./45 แบบ 94) ซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยติดตั้งในเรือรบ แม้กระสุนปืนจะเบากว่าปืนเรือ 18 นิ้วของสหราชอาณาจักร (ปืนเรือ บีแอล 18 นิ้ว เอ็มเค 1) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนแต่ละกระบอกยาว 21.13 เมตร (69.3 ฟุต) หนัก 147.3 เมตริกตัน สามารถยิงกระสุนระเบิดแรงสูงหรือกระสุนเจาะเกราะได้ไกลถึง 42 กม. (26 ไมล์) หมู่ปืนรองประกอบด้วย ปืนขนาด 155 มม. (6.1 นิ้ว) 12 กระบอก ติดตั้งป้อมปืนละ 3 กระบอก จำนวน 4 ป้อม (หัวเรือ 1 ป้อม ท้ายเรือ 1 ป้อม และกลางลำ 2 ป้อม) และปืนขนาด 127 มม. (5.0 นิ้ว) 12 กระบอก ติดตั้งป้อมปืนละ 2 กระบอก จำนวน 6 ป้อม (กลางลำเรือฝั่งละ 3 ป้อม) นอกจากนี้ ยามาโตะยังติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยาน 25 มม. (0.98 นิ้ว) 24 กระบอก ติดตั้งกลางลำเรือ เมื่อมีการปรับปรุงเรือในปี ค.ศ. 1944 และ ค.ศ. 1945 สำหรับการสู้รบในแปซิฟิกใต้ หมู่ปืนรองได้เปลี่ยนเป็นปืนขนาด 155 มม. 6 กระบอก ปืน 127 มม. 24 กระบอก และปืนต่อต้านอากาศยาน 125 มม. เพิ่มขึ้นเป็น 162 กระบอก

การออกปฏิบัติการ

การทดสอบเรือและปฏิบัติการช่วงแรก

ระหว่างเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ยามาโตะได้ทำการทดสอบเรือในทะเล เรือสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 27.4 นอต (50.7 กม./ชม., 31.5 ไมล์/ชม.) ด้วยเงาของสงครามได้เลือนลางอยู่เบื้องหน้า การก่อสร้างทางทหารจึงกลายเป็นความสำคัญอันดับแรกและถูกเร่งการสร้างให้เร็วขึ้น วันที่ 16 ธันวาคม หนึ่งเดือนก่อนกำหนดการ เรือได้ขึ้นระวางประจำการอย่างเป็นทางการที่คูเร (Kure) พิธีการมีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดกว่าปกติเพราะญี่ปุ่นยังคงต้องการปกปิดลักษณะของเรือเป็นความลับ มีนาวาเอก (ภายหลังได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเรือโท) กีฮาชิ ทากายานางิ (Gihachi Takayanagi) เป็นผู้บังคับการเรือ เรือสังกัดกองพลเรือประจัญบานที่ 1 ร่วมกับเรือประจัญบานนากาโต้ (Nagato) และเรือประจัญบานมุสึ (Mutsu)

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ยามาโตะได้ขึ้นเป็นเรือธงของกองเรือผสมของพลเรือเอกอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ ยะมะโมะโตะได้วางแผนรบขั้นเด็ดขาดกับกองทัพเรือสหรัฐที่หมู่เกาะมิดเวย์ ดังนั้นหลังเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจการรบเสมือนจริง ยามาโตะได้ออกจากอ่าวฮิโระชิมะในวันที่ 27 พฤษภาคม เพื่อทำหน้าที่ในกลุ่มเรือประจัญบานหลักของยามาโมโต้ ยามาโมโต้ได้ใช้สะพานเดินเรือของเรือยามาโตะป็นศูนย์สำหรับออกคำสั่งทั้งหมดในปฏิบัติการ โดยแผนการรบของเขานั้นคือกระจายกองกำลังออกไปเพื่อลวงให้สหรัฐติดกับ แต่กลุ่มเรือประจัญบานกลับอยู่ไกลเกินกว่าจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสู้รบ โชคร้ายที่ฝ่ายถอดรหัสของสหรัฐได้ล่วงรู้ถึงแผนที่แท้จริงของยะมะโมะโตะ ทำให้กองเรือบรรทุกอากาศยานของญี่ปุ่นประสบกับหายนะในยุทธนาวีมิดเวย์ กองเรือบรรทุกเครื่องบิน 4 กองและเครื่องบิน 332 ลำถูกทำลาย ในวันที่ 5 มิถุนายน ยามาโมโต้ออกคำสั่งให้เรือรบที่เหลือหันกลับไปยังญี่ปุ่น ดังนั้นเรือยามาโตะและกองเรือประจัญบานหลักจึงล่าถอยไปยังเกาะฮาชิราจิม่า (Hashirajima) ก่อนที่เรือจะเปลี่ยนเส้นทางกลับไปยังเมืองคุเระ

ยามาโตะออกเดินทางจากคุระไปยังทรูก (Truk) ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1942 หลังจาก 11 วันในทะเล เรือถูกพบเห็นโดยเรือดำน้ำสหรัฐ ยูเอสเอส ไฟล์อิง ฟิช (USS Flying Fish) เรือดำน้ำโจมตีเรือยามาโตะด้วยตอร์ปิโด 4 ลูก แต่ไม่มีลูกไหนยิงโดนเรือ ยามาโตะเดินทางถึงทรูกอย่างปลอดภัยหลังจากนั้น เรือจอดอยู่ที่นี่ตลอดทั้งการทัพกัวดาลคาแนลเพราะอาวุธขนาด 460 มม. ไม่เหมาะสมสำหรับระดมยิงชายฝั่ง ความไม่คุ้นเคยกับทะเลรอบๆ กัวดาลคาแนล และการที่เรือมีปริมาณการบริโภคเชื้อเพลิงสูง ก่อนสิ้นสุดปี นาวาเอก (ภายหลังได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเรือตรี) ชิอากิ มะสึดะ (Chiaki Matsuda) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชาเรือยามาโตะ

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 เรือมูซาชิได้เป็นเรือธงของกองเรือผสมแทนที่เรือยามาโตะ เรือได้รับการขนานนามว่า "โรงแรมยามาโตะ" โดยลูกเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นที่ประจำการในแปซิฟิกใต้ มีเพียงแค่วันเดียวเท่านั้นที่เรือไม่ได้จอดเทียบท่าที่ทรูกตั้งแต่ที่เรือเดินทางมาถึงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 จนกระทั่งออกเดินทางในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 ในวันนั้น เรือตั้งเส้นทางเดินเรือไปยังเมืองโยโกซูกะและเดินทางต่อไปยังเมืองคุเระ โดยเดินทางไปถึงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม เรือใช้เวลา 9 วันในอู่แห้งเพื่อทำการตรวจสอบและซ่อมแซมทั่วไป และหลังจากเดินเรือไปยังทะเลในทางตะวันตกของญี่ปุ่น เรือได้เข้าอู่แห้งอีกครั้งในปลายเดือนกรกฎาคมเพื่อซ่อมบำรุงและปรับปรุงเรือ ซึ่งประกอบไปด้วยการปรับปรุงเกราะของป้อมปืนรองและระบบควบคุมหางเสือ และย้ายปืนกราบเรือขนาด 155 มม. ออกเปลี่ยนเป็นอาวุธต่อสู้อากาศยานที่ดีกว่า นั่นคือปืน 25 มม. และระบบเรดาร์ค้นหาสองระนาบ ในวันที่ 16 สิงหาคม เรือยามาโตะได้ออกเดินทางกลับไปยังทรูกเพื่อเข้าร่วมกองเรือเฉพาะกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านการโจมตีของอเมริกาในเกาะทาราว่าและเกาะมาคิน (Makin) เรือได้โจมตีฝ่าวงล้อมจากการสกัดกั้นของกองเรือเฉพาะกิจที่ 15 ของสหรัฐในปลายเดือนกันยายน ร่วมกับเรือนะกะโตะ (Nagato) เรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำ และเรือรบขนาดเล็ก และได้โจมตีฝ่าวงล้อมอีกครั้งในอีกหนึ่งเดือนให้หลัง โดยร่วมกับเรือประจัญบาน 6 ลำ เรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำ และเรือลาดตระเวน 11 ลำ หน่วยข่าวกรองรายงานว่าฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเรือเพิวร์ลแทบจะว่างเปล่า มีเรือเหลืออยู่เพียงไม่กี่ลำ ญี่ปุ่นจึงเข้าใจว่ากองกำลังของอเมริกาจะเข้าโจมตีเกาะเวก แต่เรดาร์ไม่มีการตรวจจับความเคลื่อนไหวได้เป็นเวลาถึงหกวัน กองเรือจึงเดินทางกลับไปยังทรูก โดยเดินทางถึงเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม

ยามาโตะได้ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันในปฏิบัติการขนส่ง บีโอ-1 (Transport Operation BO-1) จากทรูกไปยังโยโกซูกะระหว่างวันที่ 12–17 ธันวาคม ต่อมา เนื่องจากความจุของเรือที่มีความจุมากและเกราะที่หนา ทำให้ยามาโตะและมูซาชิจำต้องทำหน้าที่เป็นเรือขนส่งแทน วันที่ 25 ธันวาคม ขณะที่ทำการขนส่งทหารและยุทธภัณฑ์โยโกซูกะไปทรูก เพื่อเป็นกำลังเสริมแก่กองทหารรักษาการณ์ที่เมืองคาเวียง (Kavieng) และหมู่เกาะแอดมิแรลที (Admiralty Islands) ยามาโตะและกองเรือถูกสกัดกั้นโดยเรือดำน้ำอเมริกัน สเก็ต ขณะออกทะเลมาได้ประมาณ 290 กม. (180 ไมล์) สเก็ตยิงตอร์ปิโดสี่ลูกไปยังยามาโตะ โดยยิงแบบแผ่กว้าง มีลูกหนึ่งยิงโดนเรือประจัญบานที่กราบขวาค่อนไปยังท้ายเรือ ทำให้เกิดรูวัดจากส่วนบนของเกราะต่อต้านตอร์ปิโด (anti-torpedo bulge) ลงมา 5 เมตร (16 ฟุต) และเกิดรอยฉีกที่ตัวเรือวัดได้ 25 เมตร (82 ฟุต) และรอยเชื่อมระหว่างเกราะข้างด้านบนและเกราะข้างด้านล่างแตกทำให้ห้องเก็บกระสุนด้านบนของป้อมปืนด้านหลังเกิดน้ำท่วม มีน้ำท่วมเข้าในยามาโตะถึง 3,000 ตัน แต่ก็สามารถเดินทางไปถึงทรูกได้หลังจากวันนั้น การซ่อมแซมชั่วคราวบนเรือประจัญบานของเรือซ่อมบำรุงอากาชิ (Akashi) นั้นส่งผลอย่างมาก ยามาโตะออกเดินทางจากทรูกได้ในวันที่ 10 มกราคม

เรือประจัญบานยามาโตะ 
ภาพวาดของยามาโตะตามที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1944–1945 (โดยเฉพาะโครงร่างภายนอกจากวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1945)

การถูกโจมตี

เรือประจัญบานยามาโตะ 
สงครามในทะเลซิบูยัน 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะถูกโจมตีในทะเลซิบูยัน ได้รับความเสียหายเล็กน้อย

เรือประจัญบานยามาโตะ เคยถูกฝูงบินโจมตีของสหรัฐฯ เข้าโจมตี เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในระหว่างการเดินทางไปเกาะนิวบริเตน โดยได้บรรทุกทหารบก จำนวน 1,000 นายไปด้วย เพื่อไปส่งที่ฐานทัพราบาวบนเกาะนิวบริเตน ต่อมาเมื่อเดินทางออกจากฐานทัพเรือหน้าวงปะการังตรุกในหมู่เกาะคาโรไลน์ ได้ถูกเรือดำน้ำ สเคท (SS-305) ยิงด้วยตอร์ปิโดถูกที่บริเวณยุ้งโซ่สมอ ทำให้ทหารที่กำลังเรียงโซ่สมอเสียชีวิตไป 6 นาย แต่เรือไม่ได้รับความเสียหาย ยังสามารถทำความเร็วได้ถึง 27 นอต เป็นปกติ นับเป็นครั้งแรกที่ถูกโจมตีจากเรือดำน้ำสหรัฐฯ และในยุทธการ "โช" ขณะเดินทางผ่านทะเลซิบูยันร่วมกับเรือมุซาชิ ในกำลังรบส่วนกลาง ก็ถูกเครื่องบินจากกำลังรบที่ 38 ของสหรัฐ ฯ โจมตีเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะได้รับความเสียหายเล็กน้อย

ผลงานการทำลายเรือรบของสหรัฐฯ

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ในยุทธการ "โช" (ชัยชนะ) ระหว่างการเดินทางไปเพื่อเข้าทำลายเรือลำเลียงและกำลังรบของ สหรัฐ ฯ ที่ยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต ก็ได้ปะทะกับกำลังรบของสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรร ทุกเครื่องบินคุ้มกัน (TG 77.4) ที่บริเวณนอกเกาะ ซามาร์ และเป็นครั้งแรกที่เรือประจัญบาน ยามาโตะได้ใช้ปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ทำการยิงเรือพิฆาต โฮเอล (DD-533) ของ สหรัฐ ฯ ในระยะยิง 33,000 เมตร จนจมและทำความเสียหายแก่เรือพิฆาต จอนห์ส์ตัน (DD-557) จนต้องถอนตัวออกจากการรบ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตญี่ปุ่น โจมตีจนจม) นอกจากนี้ยังทำความเสียหายแก่เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน แกมเบียร์ เบย์ (CVE-73) จนไม่ สามารถใช้ดาดฟ้าบินได้ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นยิงจมเช่นกัน)

ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์

ต้นเดือนมิถุนายนเรือยามาโตะและเรือมูซาชิได้รับคำร้องให้ทำการขนส่งกองทหารอีกครั้ง เพื่อเสริมกำลังให้กับกองทหารรักษาการณ์และกองกำลังป้องกันทางเรือของเกาะในเบียค (Biak) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการคง (Operation Kon) ปฏิบัติการถูกยกเลิกเมือข่าวเรือบรรทุกอากาศยานของสหรัฐอเมริกาเข้าโจมตีหมู่เกาะมาเรียนามาถึงกองบัญชาการของโอะซะวะ

ยุทธนาวีอ่าวเลย์เต

หลังจากวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ผ่านไป ญี่ปุ่นสูญเสีย เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือลาดตระเวน 9 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ รวมทั้งหมด 24 ลำ ส่วนเรือที่รอดมุ่งออกจากเลเตสู่ทะเลฟิลิบปินส์ซึ่งในวันที่ 25 ตุลาคม กำลังหลักที่ออกสู่ทะเลฟิลิปปินส์พบกองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ในครั้งนี้เรือประจัญบานยามาโตะได้ใช้กระสุนของป้อมปืนใหญ่ ซึ่งมีขนาดน้ำหนักเกือบ 2 ตันซึ่งใช้ยิง 6 กระบอกป้อมละ 3 กระบอกรวม 6 กระบอกยิงใส่เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐจนจม หลังจากสหรัฐยึดครองฟิลิบปินส์เรือประจัญบานยามาโตะเดินทางกลับไปยังญี่ปุ่นเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

การออกรบที่โอกินาว่า

เรือประจัญบานยามาโตะ 
วาระสุดท้ายของเรือประจัญบานยามาโตะ

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 กองทัพสหรัฐมีการพิจารณาให้ใช้เรือทั้งหมด 10 ลำเข้าบุกเกาะโอกินาว่า เรือยามาโตะได้รับคำสั่งจากกองทัพญี่ปุ่นให้เข้าปฏิบัติการที่เรียกว่า KIKUSUI โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจากน่านน้ำโอกินาวา เปิดโอกาสให้ฝูงบินคามิคาเซ่ของญี่ปุ่นบินฝ่าด่านป้องกันของฝูงบินอเมริกา เพื่อเข้าโจมตีกองทัพเรือและปกป้องไม่ให้กองทัพสหรัฐยึดเกาะโอกินาวาได้ แต่ในปฏิบัติการนี้เรือยามาโตะมีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงแค่เที่ยวเดียวเท่านั้น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือลำอื่นถูกตรวจพบในเวลาหลังเริ่มปฏิบัติการ 12.35 นาที จึงถูกเครื่องบินสหรัฐ 3 หน่วยกิจเข้าโจมตีซึ่งแต่ละหน่วยกิจมีเครื่องบินหน่วยละ 360 ลำต่อหน่วย เรือประจัญบานยามาโตะโดนโจมตีทางอากาศอย่างหนักตั้งแต่ 12.35 น. - 14.23 น. จนทำความเสียหายแก่เรือมากดังนั้นเรือจึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จากการตรวจสอบ เรือประจัญบานยามาโตะถูกตอร์ปิโดทั้งหมด 13 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาด 250กก. - 500กก. ทั้งหมด 6 ลูก ลูกระเบิดขนาดกลางอีกมากกว่า 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดเล็กอีกมากกว่า 120 ลูก

เรือประจัญบานยามาโตะลำเดียว มีกำลังพลทั้งสิ้น 3,332 นาย ได้รับการช่วยเหลือจากเรือพิฆาตเพียง 276 นาย อีก 3,056 นาย เสียชีวิต และสูญหาย

มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ฟุยุสึกิ ยุคิคาเซะ และ ฮัดสึชิโมะ เพียง 4 ลำเท่านั้น ที่ได้เห็นวาระสุดท้าย ของเรือประจัญบานยามาโตะ และรอดกลับมาได้ทุกลำ มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ได้รับความเสียหายหนัก ถูกลูกระเบิดขนาด 500 กิโลกรัมที่หัวเรือ ทำให้ส่วนหัวเรือ หน้าสะพานเดินเรือขาดหายไป จึงต้องแล่นถอยหลังกลับถึงฐานทัพซาเซโบ้ได้

ปฏิบัติการเท็งโง

เรือประจัญบานยามาโตะ 
ยามาโตะภายใต้การโจมตีนอกฝั่งของคุระ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1945
เรือประจัญบานยามาโตะ 
นายทหารอาวุโสในเรือยามาโตะก่อนปฏิบัติการเท็งโง

เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1945 เรือยามาโตะ ฮารูนะ (Haruna) และ นางาโต้ (Nagato) ได้โอนย้ายไปยังกองพลเรือประจัญบานที่ 1 ซึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่อีกครั้ง ยามาโตะออกจากอู่แห้งสองวันหลังจากนั้นเพื่อแล่นไปทะเลในของญี่ปุ่น การโอนย้ายนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ กองพลเรือประจัญบานที่ 1 ถูกยุบหน่วยอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ และยามาโตะถูกแบ่งไปสังกัดกองพลเรือบรรทุกอากาศยานที่ 1 ในวันที่ 19 มีนาคม เครื่องบินอเมริกันจากเรือบรรทุกอากาศยานเอนเทอร์ไพรซ์ (Enterprise) ยอร์คทาวน์ (Yorktown) และอินเทรพพิด (Intrepid) เข้าโจมตีคุเระ แม้ว่าจะมีเรือรบเสียหายถึง 16 ลำ แต่ยามาโตะกลับได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยจากระเบิดด้านและระเบิดลูกหนึ่งที่ทิ้งโดนสะพานเดินเรือ การแทรกแซงของฝูงบินขับไล่คะวะนิชิ เอ็น1เค1 "ชิเด็น" (Kawanishi N1K1 "Shiden", หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า "จอร์จ (George)") ที่บินโดยครูฝึกบินเครื่องขับไล่ที่มากประสบการณ์ช่วยป้องกันการโจมตีดังกล่าว ทำให้ฐานทัพและเรือที่จอดทอดสมออยู่ไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรง ขณะการซ้อมรบที่ช่องแคบนะซะมิ (Nasami) ของเรือยามาโตะก็ได้แสดงผลออกมา

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกโอะกินะวะในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มแผนโจมตีแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ตอบโต้โดยการจัดตั้งภารกิจชื่อรหัสปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกองกำลังเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ ยามาโตะและเรือคุ้มกันอีกเก้าลำ (เรือลาดตระเวนยะฮะงิ และเรือพิฆาตอีก 8 ลำ) เดินเรือสู่โอะกินะวะเพื่อโจมตีกองกำลังสัมพันธมิตรที่รวมตัวกันบนเกาะและรอบเกาะโอะกินะวะและกำลังสู้พัวพันกับ คามิกาเซะ และหน่วยทหารของฐานทัพบนโอะกินะวะ ยามาโตะจะเข้าเกยหาดและทำหน้าที่เสมือนเป็นป้อมปืนใหญ่ชายฝั่งและต่อสู้จนกระทั่งเรือถูกทำลาย ในการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ ยามาโตะได้รับบรรจุอาวุธเต็มอัตราในวันที่ 29 มีนาคม ตามแผนของญี่ปุ่น เรือจะได้รับการเติมเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทางเที่ยวเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เรือได้รับเชื้อเพลิงถึงร้อยละ 60 ของความจุด้วยคำสั่งของผู้บังคับบัญชาฐานทัพ ภายใต้ชื่อ "กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำ (Surface Special Attack Force)" กองเรือได้ออกจากเมืองโทะกุยะมะ (Tokuyama) เมื่อเวลา 15:20 ในวันที่ 6 เมษายน

แต่น่าเสียดาย สัมพันธมิตรดักฟังและถอดรหัสสัญญาณวิทยุของญี่ปุ่นได้ ทำให้ทราบถึงรายละเอียดของปฏิบัติการเท็งโง นอกจากนี้ เมื่อเวลา 20:00 น. เรือดำน้ำฝ่ายสหรัฐ ยูเอสเอส เทรดฟิน (USS Threadfin) และ ยูเอสเอส แฮกเคิลแบ็ก (USS Hackleback) พบเห็นกองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเดินเรือผ่านช่องแคบบังโงะ (Bungo Suido) เป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ของญี่ปุ่น เรือดำน้ำทั้งสองรายงานตำแหน่งของยามาโตะต่อกองกำลังจู่โจมเรือบรรทุกอากาศยานของอเมริกาทราบ แต่เรือทั้งสองก็ไม่สามารถโจมตีได้เพราะความเร็วกองเรืออยู่ที่ 22 นอต (41 กม./ชม.) และเดินเรือเป็นรูปฟันปลา

กองกำลังสัมพันธมิตรรอบโอะกินะวะเริ่มรวมตัวเพื่อโจมตี พลเรือเอก เรย์มอนด์ สพรัวนซ์ (Raymond Spruance) สั่งให้เรือประจัญบาน 6 ลำที่กำลังระดมยิงชายฝั่งเตรียมพร้อมสำหรับการปะทะกับเรือยามาโตะ แต่คำสั่งนี้ถูกยกเลิกเพราะเห็นด้วยกับการโจมตีทางอากาศจากเรือบรรทุกอากาศยานของพลเรือเอก มาร์ก มิตส์เชอร์ (Marc Mitscher) แต่เพื่อความมั่นใจ เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน 7 ลำ และเรือพิฆาต 21 ลำถูกส่งไปยับยั้งกองเรือญี่ปุ่นก่อนที่กองเรือจะสามารถเข้าถึงเรือขนส่งและเรือยกพลขึ้นบกซึ่งถูกทำลายได้ง่าย

เรือประจัญบานยามาโตะ 
ยามาโตะคัดท้ายเลี้ยวหลบระเบิดและตอร์ปิโดระหว่างปฏิบัติการเท็งโง

ลูกเรือยามาโตะเข้าประจำสถานีรบและพร้อมสำหรับการต่อต้านอากาศยานเมื่อรุ่งเช้าวันที่ 7 เมษายน เครื่องบินของสัมพันธมิตรพบเห็นกองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเมื่อเวลา 08.23 น. เรือบินสองลำเดินทางมาถึงทันทีหลังจากนั้น อีกห้าชั่วโมงต่อมายามาโตะยิงกระสุนร่วมแบบ 3 หรือกระสุนรวมแบบรวงผึ้ง (3 Shiki tsûjôdan, 3 ชิกิ สึโงดัน) ไปที่เรือบิน แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการสอดแนมได้ เรดาร์ของยามาโตะจับสัญญาณของเครื่องบินได้เมื่อเวลา 10.00 น. หนึ่งชั่วโมงต่อมาฝูงเครื่องบินขับไล่ เอฟ6เอฟ เฮลแคท (F6F Hellcat) ของอเมริกันก็ปรากฏขึ้นเหนือน่านฟ้าเพื่อต่อสู้กับเครื่องบินญี่ปุ่นที่อาจปรากฏขึ้น แต่กลับไม่พบ

เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดจำนวน 280 ลำเดินทางมาถึงกองเรือญี่ปุ่น เรือพิฆาตอะซะชิโมะ (Asashimo) ต้องออกจากรูปขบวนไปก่อนเพราะเกิดปัญหาเครื่องยนต์ และถูกโจมตีจนอับปางโดยหน่วยบินของเรือยูเอสเอส แซนจาซินโท (USS San Jacinto) กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเพิ่มความเร็วเป็น 24 นอต (44 กม./ชม.) และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเพื่อต่อต้านอากาศยานของญี่ปุ่น คือเรือพิฆาตตั้งขบวนล้อมเรือยามาโตะ เครื่องบินเริ่มโจมตีระลอกแรกเมื่อเวลา 12.37 น. เรือยะฮะงิเลี้ยวกลับและเพิ่มความเร็วเป็น 35 นอต (64.8 กม./ชม.) เพื่อพยายามดึงเครื่องบินที่โจมตีให้ไล่ตาม แม้กลยุทธ์นี้จะประสบความสำเร็จแต่เครื่องบินที่ติดตามไปนั้นมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ยามาโตะหลบการโจมตีได้ถึง 4 นาทีจนกระทั่งเวลา 12:41 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดสองเครื่องได้ทำลายแท่นปืนต่อต้านอากาศยานปากกระบอกแฝดสามขนาด 25 มม. สองแท่นและสร้างรูขึ้นบนดาดฟ้าเรือ เครื่องบินทิ้งระเบิดลำที่สามได้ทำลายห้องเรดาห์และแท่นปืน 127 มม. ที่กราบขวาด้านท้ายของเรือ เมื่อเวลา 12.46 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดอีกสองลำได้โจมตีด้านกราบซ้ายของเรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อยบริเวณด้านหน้าป้อมปืนขนาด 155 มม. ที่ติดตั้งตรงกลางท้ายเรือ และบริเวณด้านบนของป้อมปืนขวาด้านท้ายเรือ เหตุเหล่านี้ ได้สร้างความเสียหายต่อป้อมปืนและห้องเก็บกระสุนเป็นอันมาก มีลูกเรือเพียงคนเดียวที่ปีนหนีออกมาได้ เมื่อเวลา 12:45 มีตอร์ปิโดหนึ่งลูกโจมตีโดนยามาโตะเข้าที่ด้านหน้ากราบซ้ายของเรือ ส่งผลให้เกิดแรงกระแทกที่รุนแรงตลอดทั้งเรือ แต่เพราะผู้รอดชีวิตจากการโจมตี ภายหลังกลับเสียชีวิตจากยิงกราดจากเครื่องบินและติดอยู่ภายในเรือเมื่อยามาโตะอับปาง ทำให้รายละเอียดไม่มีความแน่นอน แต่ผู้แต่งการ์ซคีและดับบลินบันทึกว่าเป็นความเสียหายเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นไม่นาน มีตอร์ปิโดอีกสามลูกยิงโดนยามาโตะ มีสองลูกยิงเข้าที่กราบซ้ายใกล้ห้องเครื่องยนต์ และหนึ่งลูกที่ห้องหม้อน้ำที่ได้รับการยืนยัน ตอร์ปิโดลูกที่สามนั้นยังคงเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ แต่การ์ซคีและดับบลินพิจารณาว่าอาจเป็นไปได้ เพราะมันจึงอธิบายถึงรายงานน้ำท่วมห้องหางเสือช่วยของยามาโตะได้ การโจมตีสิ้นสุดลงในเวลาประมาณ 12:47 น. เรือเอียงถาวร 5–6° ไปทางกราบซ้าย มีการต่อต้านน้ำท่วม ปล่อยน้ำท่วมห้องอย่างจงใจในอีกด้านของเรือ ทำให้ลดการเอียงได้ 1° ห้องหม้อน้ำหนึ่งห้องใช้การไม่ได้ ส่งผลให้ความเร็วสูงสุดของยามาโตะลดลงเล็กน้อย และการยิงกราดจากเครื่องบินทำให้พลปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 25 มม. จำนวนมากบาดเจ็บล้มตายไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ลดทอนประสิทธิผลลง

เรือประจัญบานยามาโตะ 
รูปยามาโตะระหว่างยุทธนาวี ถ่ายโดยเครื่องบินจาก ยูเอสเอส ยอร์กทาวน์ (USS Yorktown) เรือประจัญบานเกิดไฟไหม้และมองเห็นว่าเรือเอียงทางกราบซ้าย

การโจมตีระลอกที่สองเริ่มขึ้นก่อนเวลา 13:00 น. ในการโจมตีประสาน เครื่องบินดำทิ้งระเบิดบินสูงเหนือหัวก่อนเริ่มโจมตี ขณะที่เครื่องบินบรรทุกตอร์ปิโดเข้าโจมตีจากทุกทิศทางสูงเพียงเหนือระดับน้ำทะเล แม้จะท่วมท้นไปด้วยเป้าหมาย แต่ปืนต่อต้านอากาศยานของเรือประจัญบานกลับได้ผลเพียงเล็กน้อย ญี่ปุ่นได้พยายามใช้มาตรการรุนแรงเพื่อหยุดการโจมตี ปืนหลักของยามาโตะได้ยิงกระสุนรวมแบบรวงผึ้ง ซึ่งจะระเบิดออกหลังยิงหนึ่งวินาที ที่ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) จากเรือ แต่ได้ผลเพียงเล็กน้อย ตอร์ปิโดสี่หรือห้าลูกยิงโดนเรือ สามหรือสี่ลูกที่กราบซ้ายและหนึ่งลูกที่กราบขวา สามลูกที่ยิงโดนบริเวณใกล้กันที่กราบซ้ายได้รับการยืนยัน ลูกแรกยิงโดนที่ห้องหม้อน้ำ อีกลูกยิงโดนที่ห้องหม้อน้ำอีกห้อง ลูกที่สามยิงโดนตัวเรือที่ติดกับห้องเครื่องยนต์ที่ตั้งอยู่นอกลำตัวเรือซึ่งได้รับความเสียหายก่อนหน้า ทำให้น้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น และไหลไปสู่พื้นที่ว่าง อีกทั้งอาจเป็นเหตุให้น้ำท่วมพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณนั้น ลูกที่สี่ (ไม่ได้รับการยืนยัน) อาจโจมตีโดนท้ายเรือ การ์ซคีและดับบลินเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะอธิบายถึงการที่น้ำท่วมอย่างฉับพลันที่มีการรายงานในบริเวณนั้นได้ การโจมตีนี้ทำให้ยามาโตะตกอยู่ในอันตราย เรือเอียงถาวร 15–18° ไปทางกราบซ้าย การต่อต้านน้ำท่วมทั้งหมดที่เหลืออยู่ทางกราบขวาถูกใช้จนหมด ซึ่งช่วยให้เรือเอียงเหลือเพียง 10° แต่การแก้ไขที่เพิ่มขึ้นมาต้องการการซ่อมแซมหรือไม่ก็ปล่อยน้ำท่วมห้องเครื่องยนต์และห้องหม้อน้ำ ถึงแม้ว่า ตอนนี้เรือยังไม่ถึงกับจมลง แต่การเอียงถาวรทำให้หมู่ปืนหลักใช้การไม่ได้ และความเร็วสูงสุดของเรือถูกจำกัดอยู่ที่ 18 นอต (33 กม./ชม.)

เวลา 14:05 น. ยามาโตะก็หยุดลงอย่างสิ้นเชิงและเรือเริ่มเอียงตัว พลเรือโท อิโต และกัปตันเรือปฏิเสธที่จะสละเรือหนีไปพร้อมกับลูกเรือที่รอดชีวิต เวลา 14:20 น. ยามาโตะได้พลิกคว่ำและเริ่มจมลง (30°22′N 128°04′E) เวลา 14:23 น. เรือเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ตามรายงานที่ได้รับสามารถมองเห็นและได้ยินไกลถึงเมืองคะโงะชิมะซึ่งห่างออกไป 200 กม. และก่อให้เกิดเมฆรูปเห็ดสูง 20,000 ฟุตกลางอากาศ มีการกล่าวอ้างว่าแรงระเบิดของเรือทำให้เครื่องบินสหรัฐที่สังเกตการอยู่ในขณะนั้นตกหลายลำ เชื่อกันว่าการระเบิดเกิดจากไฟของระเบิดที่โดนเข้าบริเวณคลังแสงหลักของเรือ


การค้นพบซากเรือ

เนื่องจากเหตุการณ์ที่สับสนและข้อมูลเกี่ยวกับการอับปางของเรือที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ซากเรือรบของญี่ปุ่นสองสามลำที่มีการค้นพบถูกระบุว่าเป็นเรือประจัญบานยามาโตะ แต่ด้วยภาพวาดบันทึกเหตุการณ์รบของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1982 จึงมีการค้นพบซากเรือที่คาดว่าจะเป็นเรือยามาโตะในบริเวณทะเลจีนใต้แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด สองปีให้หลัง คณะสำรวจคณะที่สองได้หวนกลับไปสำรวจยังจุดเดิม และด้วยภาพถ่ายและวิดีโอที่คณะสำรวจบันทึกไว้ ซากเรือได้รับการยืนยันว่าเป็นเรือยามาโตะโดยหนึ่งในผู้ออกแบบเรือ ชิเงะรุ มะกิโนะ (Shigeru Makino) ซากเรืออยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ 290 กม. (180 ไมล์) จากเกาะคีวชู ในน้ำลึก 340 ม. (1,120 ฟุต) ซากเรือฉีกออกจากกันเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ประกอบด้วย ส่วนหัวเรือที่ยาวถึงสองในสามของเรือ และส่วนท้ายเรือ

อิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรม

ภาพยนตร์

มีการนำเรื่องราวของเรือรบยามาโตะมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี 2548 โดยใช้ชื่อว่า 男たちの大和 (Otoko-tachi no Yamato) หรือในประเทศไทยใช้ชื่อว่า ยามาโตะ พิฆาตยุทธการ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามของเรือรบยามาโตะและชีวิตของลูกเรือระหว่างสงคราม และภาพยนตร์เรื่องล่าสุดคือ 2199 ยามาโตะกู้จักรวาล (Space Battleship Yamato) กำกับโดย ทาคาชิ ยามาซากิ และนำแสดงโดย ทาคุยะ คิมูระ เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

การ์ตูน,เกมส์

เรือรบยามาโตะ เป็นต้นแบบให้เกิดภาพยนตร์ไซไฟ การ์ตูน ชื่อ เรือรบอวกาศยามาโตะ (Space Battleship Yamato - 宇宙戦艦ヤマト, Uchū Senkan Yamato) กำกับโดยเรอิจิ มัสสึโมโต้ ฉายทางโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 3 ภาค ในปี พ.ศ. 2517 2521 2523 จำนวน 127 ตอน นำไปตัดต่อใหม่ พากย์เสียงภาษาอังกฤษ ฉายในสหรัฐอเมริกาในชื่อว่า Space Cruiser Yamato (ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Star Blazers) ระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2525 จำนวน 137 ตอน และสร้างเป็นภาพยนตร์ฉายในโรง จำนวน 5 ภาค ระหว่างปี พ.ศ. 2520 - 2526 ล่าสุดในเกมส์ kantai collection กับ anime ซีรีส์ประกอบเกมส์ ได้นำเสนอภาพลักษณ์ของเรือยามาโตะในรูปแบบของสาวน้อยเรือรบสุดน่ารักเป็นที่นิยมจำนวนมากอีกด้วย(2558) และมีการปรากฏตัวของยามาโตะในเกม World of Warships โดยจะเป็นเรือประจัญบาน ลำสุดท้ายของผังวิทยาการของเรือประจัญบานญี่ปุ่น

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

เรือประจัญบานยามาโตะ การออกแบบและการสร้างเรือประจัญบานยามาโตะ การออกปฏิบัติการเรือประจัญบานยามาโตะ การค้นพบซากเรือเรือประจัญบานยามาโตะ อิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมเรือประจัญบานยามาโตะ ดูเพิ่มเรือประจัญบานยามาโตะ เชิงอรรถเรือประจัญบานยามาโตะ อ้างอิงเรือประจัญบานยามาโตะ บรรณานุกรมเรือประจัญบานยามาโตะ แหล่งข้อมูลอื่นเรือประจัญบานยามาโตะกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นปืนใหญ่ภาษาญี่ปุ่นเรือประจัญบานเรือประจัญบานชั้นยามาโตะเรือประจัญบานมุซาชิแคว้นยามาโตะโรมาจิ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชาดา ไทยเศรษฐ์อาณาจักรสุโขทัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยฟุตบอลทีมชาติอังกฤษหมากรุกไทยหอแต๋วแตกอีสเตอร์สุจาริณี วิวัชรวงศ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโรงเรียนบรรจงรัตน์คลิปวิดีโอปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์แทททูคัลเลอร์ศุภชัย ใจเด็ดมรรคมีองค์แปดพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)สุลักษณ์ ศิวรักษ์วอลเลย์บอลฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพระพุทธเจ้าธงประจำพระองค์จังหวัดมหาสารคามแฟกทอเรียลเครยอนชินจังเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์คิม โก-อึนพระยศเจ้านายไทยจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุรินทร์กฤษดา สุโกศล แคลปป์ไวยาวัจกรจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสังคหวัตถุ 4ระบบสุริยะยูทูบต่อศักดิ์ สุขวิมลกรงกรรมจังหวัดหนองบัวลำภูโยอาโซบิชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมลิซ่า (แร็ปเปอร์)การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)ออลเทอร์นาทิฟร็อกโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้านกกะรางหัวขวานสภาผู้แทนราษฎรไทยX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)รายชื่อภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลขุนพันธ์พิศณุ นิลกลัดอินเทอร์เน็ตสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดโลจิสติกส์ฟุตบอลโลก 2026สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาสินจัย เปล่งพานิชสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ธิษะณา ชุณหะวัณทิน โชคกมลกิจเจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์มหาวิทยาลัยมหาสารคามมัสเกตเทียส์หมากรุกธนพล จารุจิตรานนท์ภาวะโลกร้อน🡆 More