อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (อังกฤษ: King Rama IX Memorial Park) เป็นสวนสาธารณะระดับย่านที่กำลังก่อสร้างในบริเวณแยกนางเลิ้งและถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมคือสนามม้านางเลิ้ง ที่ได้ถูกรื้อถอนไปหลังหมดสัญญากับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เมื่อปี พ.ศ.

2561

อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประตูทางเข้าอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ฝั่งถนนศรีอยุธยา
ประตูทางเข้าอุทยานฝั่งถนนศรีอยุธยา (ประตูใหญ่) ในคราวเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
ประเภทสวนสาธารณะระดับย่าน
คำขวัญสวนแห่งความสุขและความยั่งยืน
ที่ตั้งถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
พิกัดภูมิศาสตร์13°45′46″N 100°31′03″E / 13.762850°N 100.517451°E / 13.762850; 100.517451
พื้นที่279 ไร่
เปิดตัวประมาณ พ.ศ. 2567
ผู้ออกแบบวรรณพร พรประภา, คณะทำงานออกแบบฯ
ที่มาของชื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระบรมราชานุสาวรีย์, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
เจ้าของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ดำเนินการสำนักพระราชวัง
สถานะกำลังก่อสร้าง
Terrainป่า
แหล่งน้ำสระน้ำรูปเลข ๙ ไทย พื้นที่ 47 ไร่
พืชมากกว่า 4,500 ต้น จาก 55 พันธุ์ พื้นที่ 104 ไร่
Collectionsพันธุ์ไม้ทรงปลูก 6 พันธุ์
ที่จอดรถ700 คัน (รถยนต์)
9 คัน (รถบัส)
ขนส่งมวลชนสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ ป้ายหยุดรถไฟยมราช, ป้ายหยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี
สายตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เกิดขึ้นจากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงพระราชทานพื้นที่เขตพระราชฐานให้เป็นสวนสาธารณะที่ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมตามแบบอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์และศึกษาพระราชกรณียกิจของทั้ง 2 พระองค์ ผ่านองค์ความรู้เรื่องน้ำและป่า

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีจุดหลักคือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งประดิษฐานบริเวณศูนย์กลางของอุทยาน และเริ่มต้นการก่อสร้างอุทยานจากส่วนนี้เป็นส่วนแรก โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ภายในอุทยาน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2567

ประวัติ

อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
ทิวทัศน์ภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2567

พื้นที่ของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ นั้น เดิมเป็นที่ตั้งของราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง ซึ่งเดิมให้บริการการแข่งม้าสำหรับคนไทย และกิจการที่เกี่ยวข้องกับม้า แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องการพนันและการกำหนดผลการแข่งขันขึ้น หลังจากสนามม้าแห่งนี้หมดสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เมื่อปี พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่าการพนันจะส่งผลเสียต่อวงกว้าง ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งอาจกระทบไปถึงครอบครัวของผู้เล่น และทรงให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงพระราชทานพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็นเขตพระราชฐาน และถูกเรียกว่า "901 แลนด์" ให้เป็นสวนสาธารณะและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาพระราชกรณียกิจ และใช้ประโยชน์จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ และป่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

อย่างไรก็ตาม หลังจากการปิดสนามม้านางเลิ้งไปไม่นาน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ระบุข่าวลือออกมาผ่านสื่อสังคมของตนว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ต้องการสร้างกลุ่มพระราชวังส่วนพระองค์บนพื้นที่ของสนามม้านางเลิ้งเดิม ซึ่งสิ่งที่สมศักดิ์ระบุไว้มิได้เป็นเช่นนั้นแต่อย่างใด

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มมีการออกแบบและพัฒนาแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2564 โดยพลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ในฐานะหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการจำกัดความเร็วและห้ามใช้เสียงในบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน 901 แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ต่อมาสำนักพระราชวังเผยแพร่วีดิทัศน์เปิดตัวอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ผ่านช่องทางสื่อสังคมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน และเริ่มต้นการก่อสร้างอย่างเป็นทางการด้วยพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และปลูกต้นไม้ 55 พันธุ์ จำนวน 109 ต้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2567

ภาพรวม

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีพื้นที่ทั้งหมด 279 ไร่ ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของกรุงเทพมหานครชั้นใน รองจากสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ โดยมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงตั้งพระราชหฤทัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงมีพระบรมราโชบายในการออกแบบอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ไปยังคณะทำงานออกแบบซึ่งนำโดยวรรณพร พรประภา ให้ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมตามแบบอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านองค์ความรู้เรื่องน้ำ และป่า ซึ่งนำมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสวนสาธารณะ คือ "น้ำคือชีวิต จากนภา ผ่านภูผา สู่นที" เพื่อแสดงถึงความผูกพัน และความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สะท้อนถึงความสำคัญของมนุษย์กับธรรมชาติ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงใช้เป็นแก้มลิงเก็บน้ำในฤดูฝน เป็นสถานที่ศึกษาพระราชกรณียกิจของทั้ง 2 พระองค์ในด้านสิ่งแวดล้อมของเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป และทรงอุทิศให้เป็นปอดแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดประโยชน์และเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน โดยมีพื้นที่หลักที่มีความเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดังนี้

  • ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ถือเป็นจุดหลักสำคัญและจุดศูนย์กลางของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีลักษณะเป็นลานพื้นที่รูปไข่ เป็นจุดที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำหรับให้ประชาชนขึ้นไปถวายสักการะ
  • สระน้ำรูปเลข ๙ มีจำนวน 47 ไร่ เป็นพื้นที่สำคัญในการศึกษาการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ "ต้นน้ำ" เช่น ฝายชะลอน้ำ, ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, หญ้าแฝก, "กลางน้ำ" เช่น พืชชุ่มน้ำ, กังหันน้ำชัยพัฒนา, บ่อปลานิล, เกษตรทฤษฎีใหม่ และ "ปลายน้ำ" เช่น พืชกรองน้ำ, พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น รวมถึงสามารถใช้เป็นแก้มลิงเชื่อมระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร และคลองสามเสน โดยการกักเก็บน้ำทางผิวดินกลางสระน้ำและใต้ดินที่เชื่อมกับคลอง ซึ่งมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาช่วยในการออกแบบ เพื่อแก้ไขและรองรับปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนได้อีกด้วย
  • สะพานรูปเลข ๙ เป็นสะพานและทางเดินภายในสวน เชื่อมต่อจากทางเข้าฝั่งถนนพิษณุโลกติดกับแยกนางเลิ้ง ซึ่งเป็นทางเข้าสนามม้านางเลิ้งเก่า เข้าสู่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ทางด้านหลัง
  • สะพานหยดน้ำพระทัย มีการออกแบบอย่างสวยงาม โดยเมื่อสะท้อนเงาจากน้ำจะเห็นเป็นรูปหยดน้ำ สื่อให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยพระองค์ที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์
  • สะพานไม้เจาะบากง เป็นการจำลองสะพานไม้เจาะบากง จังหวัดนราธิวาส ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงงาน บริเวณโดยรอบมีท่าน้ำ น้ำตก และลำธารจำลอง ตามแบบป่าฝนเขตร้อน
  • สวนป่าธรรมชาติ มีการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ 55 พันธุ์ จำนวนมากกว่า 4,500 ต้น บนพื้นที่สีเขียวจำนวน 105 ไร่ โดยเน้นปลูกต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่น มีความหมาย และมีประโยชน์ ตามแนวพระราชดำริ "ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง" และสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในเมืองขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ PM2.5 และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เช่น ต้นไม้โตเร็วเพื่อสร้างร่มเงา, ต้นไม้ประจำจังหวัดต่าง ๆ, ต้นไม้หายาก, ต้นไม้กรองฝุ่น รวมถึงพืชกันเสียงบางชนิด และยังมีการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อให้ผู้มาใช้อุทยานได้รับความรู้ในหลากหลายด้าน

นอกจากนี้ การออกแบบอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ยังมีการประยุกต์ใช้แนวคิดของสวนสมัยใหม่ (Modern Park) เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการออกกำลังกาย ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เช่น ทางจักรยาน, ทางวิ่ง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้, สนามเด็กเล่น, ลานกิจกรรมสำหรับเล่นสเกตบอร์ด บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ รวมถึงการออกกำลังกายสำหรับบุคคลวัยกลางคนและผู้สูงอายุ เช่น โยคะ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ออกกำลังกายอื่น ๆ รวมถึงร้านอาหาร ร้านกาแฟ พื้นที่ริมน้ำ ท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับทั้งของประชาชนและคนพิการ ที่สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนได้ในทุกรูปแบบ

พระบรมราชานุสาวรีย์

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
พระบรมราชานุสาวรีย์หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิด เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ที่ตั้งอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ผู้ออกแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ประเภทพระบรมราชานุสาวรีย์
วัสดุสัมฤทธิ์, หินอ่อน
ความสูง
  • พระบรมรูป: 7.70 เมตร (25.3 ฟุต)
  • รวมฐาน: 19.45 เมตร (63.8 ฟุต)
เริ่มก่อสร้าง5 ธันวาคม 2564 (2564-12-05)
สร้างเสร็จ10 ตุลาคม 2565 (2565-10-10)
การเปิด13 ตุลาคม 2565 (2565-10-13)
อุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นอนุสาวรีย์ที่เป็นหัวใจสำคัญของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่บนลานรูปไข่ บริเวณจุดศูนย์กลางของอุทยาน ซึ่งมีพื้นที่ 2,173 ตารางเมตร บนเนินสูง 7 เมตร โอบล้อมด้วยป่าผสมผสาน มีช่องเปิดเพื่อเป็นร่องลมและเป็นแกนนำสายตาจำนวน 9 แกน ทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบอุทยานสามารถมองเห็นพระบรมราชานุสาวรีย์ได้ทั้งหมด

รายละเอียด

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการปั้นต้นแบบพระบรมรูป หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ มีความสูง 7.70 เมตร คิดเป็น 4 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเต็มยศของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระคทาจอมทัพภูมิพล พระหัตถ์ซ้ายทรงถือกระบี่และสายยงยศจอมทัพไทย หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นที่ประทับถาวรเมื่อครั้งทรงพระชนม์ของพระองค์ ประดิษฐานเหนือแท่นหินอ่อนแกะสลักฐานเป็นรูปบัวทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม มีตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประดิษฐานด้านหน้าแท่น รองรับด้วยฐานหินอ่อนประเภทผังแปดเหลี่ยม ตามคติของพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แสดงความหมายว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระบรมเดชานุภาพ มีผู้แทนประชาชนชาวไทยทั้ง 8 ทิศต่างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแผ่นดินด้วยความจงรักภักดี

แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์มีความสูงทั้งหมด 9.05 เมตร บริเวณด้านหน้าฐานทั้ง 8 ด้าน ยังประดับแผ่นคำจารึกหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์จำนวน 8 แผ่น เรียงลำดับแบบทวนเข็มนาฬิกา จารึกพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ประกอบด้วย 8 หัวข้อ ได้แก่ พระราชประวัติ, พระราชาผู้ทรงธรรม, กลางใจราษฎร์, ปราชญ์ของแผ่นดิน, พระภูมินทร์บริบาล, นวมินทร์โลกกล่าวขาน, สืบสาน รักษา และต่อยอด และ บรมราชสดุดี รวมถึงมีแท่นหินอ่อนวางพานพุ่มหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประดับเป็นเครื่องสักการะประกอบทั้ง 4 ทิศ

ฐานชั้นที่ 2 มีความสูง 1.50 เมตร เป็นฐานหินอ่อนสี่เหลี่ยมย่อมุม มีขอบกั้นเป็นรั้ว เปิดทางขึ้นลง 2 ด้าน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และฐานชั้นที่ 1 มีความสูง 1.20 เมตร เป็นฐานหินอ่อน รูปทรงวงรี มีขอบกั้นเป็นรั้ว เปิดทางขึ้นลง 2 ด้าน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาภายในอุทยานจากทั้งทางเข้าฝั่งถนนศรีอยุธยาและฝั่งถนนพิษณุโลกได้ขึ้นไปสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ได้โดยสะดวก พร้อมอ่างน้ำพุหินอ่อนทรงกลมประดับไว้ทั้ง 4 มุม รวมความสูงของพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้งหมด 19.45 เมตร แสดงความหมายว่า 19 คือ 1 + 9 = 10 หมายถึง รัชกาลที่ 10 และ 0.45 คือ 4 + 5 = 9 หมายถึง รัชกาลที่ 9

การก่อสร้างและพิธีเปิด

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ในโอกาสนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี โดยเสด็จในการนี้ด้วย

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่วนพระเศียร ซึ่งจะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16.33 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปยังอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17.53 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยเสด็จฯ ด้วย

หลังจากนั้น สำนักพระราชวังได้เปิดอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และหลังจากนั้นจึงกลับมาปิดอุทยานเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สมพระเกียรติ ก่อนจะกลับมาเปิดอีกครั้งตามกำหนดการเปิดอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นทางการที่วางไว้เดิมต่อไป

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาและวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะในวันที่ 13 ตุลาคม และ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต (วันนวมินทรมหาราช) และวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ (วันพ่อแห่งชาติ) ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามลำดับ

พันธุ์ไม้ภายในอุทยาน

พันธุ์ไม้ที่นำมาเพาะปลูกในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีทั้งหมด 55 พันธุ์ แบ่งเป็นพันธุ์ไม้ทรงปลูก 6 พันธุ์ และพันธุ์ไม้อื่น ๆ อีก 49 พันธุ์ ดังนี้

พันธุ์ไม้ทรงปลูก

พันธุ์ไม้ทรงปลูกในปัจจุบันมีจำนวน 6 พันธุ์ โดย 5 พันธุ์แรก ทรงปลูกโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทอดพระเนตรนิทรรศการอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ และภายหลังทรงปลูกเพิ่มอีก 1 พันธุ์โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ภายหลังทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขึ้นประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พันธุ์ไม้อื่น ๆ

สถานที่ใกล้เคียง

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′46″N 100°31′03″E / 13.762850°N 100.517451°E / 13.762850; 100.517451

Tags:

อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประวัติอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ภาพรวมอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบรมราชานุสาวรีย์อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พันธุ์ไม้ภายในอุทยานอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สถานที่ใกล้เคียงอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดูเพิ่มอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หมายเหตุอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อ้างอิงอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แหล่งข้อมูลอื่นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกรุงเทพมหานครถนนศรีอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรภาษาอังกฤษราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สวนสาธารณะสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เขตดุสิตแขวงสวนจิตรลดาแยกนางเลิ้ง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พ.ศ. 2567สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันคณะรัฐมนตรีไทยยากูซ่าสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์คิม จี-ว็อน (นักแสดง)ณเดชน์ คูกิมิยะกรภัทร์ เกิดพันธุ์กัญญาวีร์ สองเมืองเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24สุรยุทธ์ จุลานนท์ยูทูบไฟเยอโนร์ดสุภาพบุรุษจุฑาเทพพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์จังหวัดอุบลราชธานีบุพเพสันนิวาสยศทหารและตำรวจไทยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสมณะโพธิรักษ์พิจักขณา วงศารัตนศิลป์Fหนุมานเทย์เลอร์ สวิฟต์จังหวัดนครปฐมแอน อรดีคริสเตียโน โรนัลโดบิลลี ไอลิชนิภาภรณ์ ฐิติธนการ1รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ประเทศแคนาดาพชร จิราธิวัฒน์ประเทศสิงคโปร์พระพุทธเจ้าสล็อตแมชชีนกกธนาคารทหารไทยธนชาตสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)นิพัทธ์ ทองเล็กสุทัตตา อุดมศิลป์สฤษดิ์ ธนะรัชต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกชวลิต ยงใจยุทธจังหวัดชลบุรีX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)จังหวัดสกลนครรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยารายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวชาวมอญอนิเมะเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีประเทศคาซัคสถานประเทศเกาหลีเหนือแอน ทองประสมณัฐภัสสร สิมะเสถียรหลานม่าเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนฟุตบอลทีมชาติไทยวิดีโอตะวัน วิหครัตน์เอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)โอมเนื้อหนังมังผีสล็อตแมชชีน (วงดนตรี)ฟุตซอลโลก 2016จิรายุ ตั้งศรีสุขมธุรสโลกันตร์รหัสมอร์สกรงกรรมนภคปภา นาคประสิทธิ์🡆 More