สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เป็นสะพานถนนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เก่าที่สุดของประเทศไทย เชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
เส้นทางถนนตรีเพชร, ถนนประชาธิปก
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร
แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี
ชื่อทางการสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
ตั้งชื่อตามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
สถานะเปิดใช้งาน
รหัสส.003
เหนือน้ำอุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
ท้ายน้ำสะพานพระปกเกล้า
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทชนิดเปิด - ปิดได้ (เปิดเป็นครั้งคราวเมื่อมีเรือหลวงผ่าน)
วัสดุโครงเหล็กตลอด
ความยาว229.76 เมตร
ความกว้าง10.00 เมตร
ความสูง7.30 เมตร
ทางเดิน2
จำนวนตอม่อ2
ประวัติ
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันเริ่มสร้าง3 ธันวาคม พ.ศ. 2472
วันเปิด6 เมษายน พ.ศ. 2475
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานพระพุทธยอดฟ้า
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005610

ประวัติ

สะพานพระพุทธยอดฟ้า 
สะพานพุทธขณะเปิดให้เรือผ่าน ภาพถ่ายจาก พ.ศ. 2497

สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อปี พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจากสะพานพระราม 6 ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่เนื่องจากสะพานพระราม 6 ปัจจุบันมีสถานะเป็นสะพานรถไฟเท่านั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าจึงถือเป็นสะพานถนนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เก่าที่สุดของประเทศไทย

โครงการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (ต่อมาเป็นกรมพระยา) อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปกรรมคิดแบบอย่างเป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์เสด็จประทับเหนือพระราชบัลลังก์และหล่อด้วยทองสำริด ขนาดสูงตั้งแต่ฐานถึงยอด 4.60 เมตร ฐานกว้าง 2.30 เมตร ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน) เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง ซึ่งทรงรับสั่งให้กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง เป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง แสดงทางขึ้นลงทั้ง ๒ ข้างและตัวสะพาน พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเปิดประมูลจากบริษัทต่างๆ โดยได้เลือกแบบของบริษัทดอรแมนลอง ประเทศอังกฤษ และสร้างเป็นสะพานเหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร และอาจยกตอนกลางขึ้นด้วยแรงไฟฟ้า เปิดช่องกว้าง 60 เมตรเพื่อให้เรือใหญ่ผ่านได้สะดวก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2472 และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า

รัฐบาลได้ประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ไว้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง รัฐบาลส่วนหนึ่ง ส่วนอีกจำนวนหนึ่งนั้นทรงพระราชดำริว่าควรบอกบุญเรี่ยไรประชาชน เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานพระพุทธยอดฟ้าถูกระเบิดทำลายจนขาด อันเนื่องจากเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ บริเวณใกล้เคียงอย่างวัดราชบุรณราชวรวิหารและโรงไฟฟ้าวัดเลียบก็ถูกทำลาย

ปัจจุบัน

สะพานพระพุทธยอดฟ้า 
ถนนสะพานพุทธ เป็นถนนที่อยู่ด้านล่างสะพานล้อมรอบสะพาน เป็นถนนที่เชื่อมไปยังถนนจักรวรรดิ, ถนนตรีเพชร และปากคลองตลาด จากภาพมองเห็นสภาพของปากคลองตลาดบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ในปัจจุบัน นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าจะเป็นที่ประดิษฐานปฐมบรมราชานุสรณ์แล้ว ยังมีลานสาธารณะให้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นลานกีฬาของเด็กนักเรียนในย่านนั้นด้วย ทั้งฟุตบอลและสเกตบอร์ด ก็จะมีให้เห็นทุกวันในช่วงเย็นหลังโรงเรียนเลิก

นอกจากนี้ ในยามค่ำคืนพื้นที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้าจนถึงใต้สะพานพระปกเกล้าในปัจจุบัน ในยามค่ำประมาณ 18 นาฬิกาเป็นต้นไปจนถึงเวลา 01.00 โดยประมาณ จะเป็นตลาดนัดยามค่ำคืน ที่มีสินค้าแฟชั่นหลากหลาย​ทั้งอุปกรณ์​ตกแต่งมือถือเคส​ ฟิล์ม​ ซีดี​และสินค้ามือสอง อาทิ เสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ อีกทั้งยังมีศิลปินอิสระ ส่วนมากเป็นนักศึกษาเพาะช่าง มารับวาดภาพและขายภาพวาดด้วย เนื่องจากสินค้ามีราคาถูก ประกอบกับรูปแบบที่กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่น ทำให้ตลาดสะพานพุทธในปัจจุบันคลาคล่ำด้วยวัยรุ่นจำนวนมาก

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′21″N 100°29′51″E / 13.739207°N 100.497564°E / 13.739207; 100.497564

จุดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สะพานพระพุทธยอดฟ้า 
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
สะพานพระพุทธยอดฟ้า 
ท้ายน้ำ
สะพานพระปกเกล้า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า 

Tags:

สะพานพระพุทธยอดฟ้า ประวัติสะพานพระพุทธยอดฟ้า ปัจจุบันสะพานพระพุทธยอดฟ้า อ้างอิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ดูเพิ่มสะพานพระพุทธยอดฟ้า แหล่งข้อมูลอื่นสะพานพระพุทธยอดฟ้ากรมทางหลวงชนบทกรุงเทพมหานครถนนตรีเพชรถนนประชาธิปกฝั่งธนบุรีฝั่งพระนครสะพานถนนเขตธนบุรีเขตพระนครแขวงวังบูรพาภิรมย์แขวงวัดกัลยาณ์แม่น้ำเจ้าพระยา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดสมุทรปราการมิสอีโคอินเตอร์เนชันแนลเอกรัตน์ วงศ์ฉลาดระบบสุริยะจังหวัดสุพรรณบุรีกูเกิลแบตเตอรี่กรมการปกครองลัดดาแลนด์ (ภาพยนตร์)กว่างโจวระบบสารสนเทศอารยา เอ ฮาร์เก็ตข้อมูลคินน์พอร์ชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว0มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์จัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)จักรพรรดินโปเลียนที่ 1พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขหลานม่าศรีรัศมิ์ สุวะดีโป๊กเกอร์กัญญาวีร์ สองเมืองศุภชัย เจียรวนนท์ประเทศอินเดียสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยนาโปลีงูกะปะภาคกลาง (ประเทศไทย)1สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยประวัติศาสตร์จีนเทเลทับบี้ส์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติภาษาเกาหลีหิรัญกฤษฎิ์ ช่างคำณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลดวงใจเทวพรหมการบินไทยหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)ประยุทธ์ จันทร์โอชาเจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ มกุฎราชกุมารแห่งบรูไนจังหวัดเพชรบูรณ์พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีเว็บไซต์Aวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024อักษรไทยสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)ฟุตซอลโลก 2021ประเทศตุรกีรัชชานนท์ สุประกอบจังหวัดสงขลาจิรภพ ภูริเดชไทยลีก 3Fมหาวิทยาลัยกรุงเทพอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อาณาจักรล้านนาธนนท์ จำเริญกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)นริลญา กุลมงคลเพชรนาฬิกาหกชั่วโมงสิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรจังหวัดบึงกาฬเรวัช กลิ่นเกษรราชินีแห่งน้ำตาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล🡆 More