สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (12 พฤศจิกายน พ.ศ.

2428 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระยามานวราชเสวี
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ก่อนหน้าพระสุธรรมวินิจฉัย
พระยานลราชสุวัจน์
สงวน จูฑะเตมีย์
ถัดไปคณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2492
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าคณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ประธานอภิรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2492
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระองค์เอง
พระยามานวราชเสวี
ถัดไปพระองค์เอง
ประสูติ12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์7 มีนาคม พ.ศ. 2494 (65 ปี)
วังถนนวิทยุจังหวัดพระนคร ประเทศไทย
หม่อมหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา
พระบุตร
ราชสกุลรังสิต
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5
ลายพระอภิไธยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2469
พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494
ชั้นยศพลเอก

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 หลังประสูติได้ 11 วัน พระมารดาก็ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์มาพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับตรัสว่า"...ให้มาเป็นลูกแม่กลาง..." สมเด็จพระบรมราชเทวีก็ทรงรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พร้อมทั้งพระเชษฐภคินี คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ไว้ในอุปการะ โดยทรงเลี้ยงดูพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีพระชันษาใกล้เคียงกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่ประสูติปี พ.ศ 2421 เหมือนกับพระราชโอรสของพระองค์เอง

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2442 จากนั้นทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก โดยมีพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบิดา ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นการส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร" เมื่อ พ.ศ. 2457 ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2458 ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดยหมอตำแยกันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของศิริราชพยาบาล ให้สนใจศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2465 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร

พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่เรือนจำกองมหันตโทษ รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์ แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2487 ในสมัยรัฐบาลของพันตรีควง อภัยวงศ์

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุดและมีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ์ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

เสกสมรส

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสกสมรสกับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์; ชื่อภาษาอังกฤษ: Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ทรงเป็นองค์ต้นราชสกุลรังสิต มีพระโอรส 2 องค์ และพระธิดา 1 องค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ
    • หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต สมรสกับมิทเชล แอลแลนด์

ต่อมาทรงหย่ากันและเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี; ปัจจุบันคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) มีพระธิดาร่วมกัน 2 คน ได้แก่

    • หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต สมรสครั้งแรกกับสวนิต คงสิริ มีบุตร 2 คน ได้แก่
      • ปินิตา คงสิริ
      • นิตินันท์ คงสิริ

ต่อมาสมรสใหม่กับวิลเลียม บี.บูธ มีบุตร 1 คน คือ

ต่อมาสมรสใหม่กับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล

และมีหม่อม 1 คน คือหม่อมพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงฤทธิ์) มีโอรสร่วมกัน 1 คน คือ

    • หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต
  • หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับอามีเลีย มอนตอลติ (ไม่มีบุตรด้วยกัน) และเสกสมรสใหม่กับหม่อมนาลินี รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขนิล) มีบุตรด้วยกัน 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พงษ์สนิธ รังสิต สมรสกับสมใจ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม เลิศสุวรรณ)
    • หม่อมราชวงศ์จารุวรรณ รังสิต สมรสกับอเล็กซานเดอร์ ซูรซก มีบุตร 2 คน ได้แก่
      • อเล็กซานเดอร์ คิม ซูรซก
      • แคทเธอรีน ไอช่า ซูรซก
    • หม่อมราชวงศ์สายสนิธ รังสิต สมรสกับปิยะลักษณ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม เป้าเปรมบุตร)
    • หม่อมราชวงศ์วลัยลักษณ์ รังสิต สมรสกับไบรอัน คริสโตเฟอร์ โกเดต์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
      • เอมี มาริสสา โกเดต์
      • แองเจลา กัลยาณี โกเดต์
  • ท่านผู้หญิงจารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์ (พระนามเดิม หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต) กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับเฉลิม บูรณะนนท์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
    • จามิกร บูรณะนนท์ สมรสกับเจน แอนโดรส มีบุตรสองคน ได้แก่
      • กัลยาณี แคทรีน บูรณะนนท์
      • ชัยยา คริสโตเฟอร์ บูรณะนนท์
    • ฉันทกะ บูรณะนนท์ สมรสกับซิลเวีย ซีสนิส มีบุตร 1 คน คือ
      • ฉันทกะ บูรณะนนท์ Jr.

พระกรณียกิจ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 พระองค์ได้รับการเชิดชูพระเกียรติเป็นพระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย

ลำดับการดำรงตำแหน่ง

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร 
ธงประจำพระอิสริยยศ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482)
  • นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา (ถอดพระอิสริยยศ; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - 20 กันยายน พ.ศ. 2487)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (คืนพระอิสริยยศ; 20 กันยายน พ.ศ. 2487 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 28 มกราคม พ.ศ. 2495) โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร” สิงหนาม ทรงศักดินา 15000 ตามอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง

“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร”

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระสมัญญานาม

  • พระบิดาแห่งเภสัชกรรมไทย

พระยศ

พระยศทหาร

  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2454: นายร้อยโทพิเศษ
  • นายพันตรี
  • นายพันโทพิเศษ ประจำกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2493: พลเอก นายทหารพิเศษประจำกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

พระยศพลเรือน

  • 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2460: มหาอำมาตย์โท

พระยศเสือป่า

  • 17 มกราคม พ.ศ. 2458: นายหมวดโท
  • นายกองตรี
  • 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460: นายกองโท

ราชตระกูล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ถัดไป
ปรีดี พนมยงค์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร 
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2493 , 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 — 7 มีนาคม พ.ศ. 2494)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร  พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

Tags:

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสกสมรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระเกียรติยศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ราชตระกูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อ้างอิงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร แหล่งข้อมูลอื่นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวองคมนตรีเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วัดพระศรีรัตนศาสดารามประเทศจีนจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นสุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์ณัฐฐชาช์ บุญประชมเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีทวิตเตอร์ท้องที่ตำรวจประเทศออสเตรียอุณหภูมิสงครามเย็นขอบตาแพะสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งสารัช อยู่เย็นเกริกพล มัสยวาณิชจังหวัดนนทบุรีปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)ศาสนาพุทธอินเจนูอิตีมินนี่ (นักร้อง)ช้อปปี้จังหวัดน่านจริยา แอนโฟเน่สุพิศาล ภักดีนฤนาถธีรเทพ วิโนทัยสายัณห์ สัญญาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังซน ฮึง-มินอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งกองทัพบกไทยหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินชีอะฮ์สุภาพร วงษ์ถ้วยทองรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดอี อารึมประเทศอินเดียนิโคลัส มิคเกลสันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรป2สโมสรฟุตบอลโอเดนเซรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันเมษายนสถิตย์พงษ์ สุขวิมลนพเก้า เดชาพัฒนคุณหัวใจไม่มีปลอมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามหาเวทย์ผนึกมารสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรพ.ศ. 2566ดวงใจเทวพรหมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อสมทพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดร้อยเอ็ดฟุตบอลทีมชาติอังกฤษประเทศเกาหลีใต้จังหวัดตรังเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์อิทธิบาท 4อันดับของขนาด (มวล)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2567ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)กูเกิลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวช่อง 3 เอชดีปัญญา นิรันดร์กุลโทโยโตมิ ฮิเดโยชิรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามอวตาร (ภาพยนตร์)วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่วศิน อัศวนฤนาทคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)กีลียาน อึมบาเป🡆 More