สนธิสัญญาทรียานง

สนธิสัญญาทรียานง (ฝรั่งเศส: Traité de Trianon; ฮังการี: Trianoni békeszerződés; อิตาลี: Trattato del Trianon; โรมาเนีย: Tratatul de la Trianon; อังกฤษ: Treaty of Trianon) บางครั้งมีการเรียกว่า คำสั่งสันติภาพทรียานง (อังกฤษ: Peace Dictate of Trianon) หรือที่ในฮังการีเรียกว่า คำสั่งแห่งทรียานง (อังกฤษ: Dictate of Trianon) เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นในการประชุมสันติภาพปารีสและลงนาม ณ พระราชวังกร็องทรียานง ที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.

1919–1920)">การประชุมสันติภาพปารีสและลงนาม ณ พระราชวังกร็องทรียานง ที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการ ระหว่างประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ และราชอาณาจักรฮังการี นักการทูตฝ่ายฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญา โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งพันธมิตรของฝรั่งเศสในรัฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ สนธิสัญญาทรียานงควบคุมสถานะของราชอาณาจักรฮังการี และได้กำหนดพรมแดนโดยรวมของประเทศตามแนวสงบศึกที่สร้างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1918 ทั้งยังทำให้ฮังการีกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% ของพื้นที่เดิมของราชอาณาจักรฮังการีก่อนสงคราม ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) ราชอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกนี้มีประชากรเพียง 7.6 ล้านคน คิดเป็น 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน แม้ว่าพื้นที่ที่จัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้ว ประชากรจะไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ในชาวฮังการีราว 3.3 ล้านคน (31%) ถูกทอดทิ้งอยู่นอกเขตแดนของฮังการีและกลายเป็นชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้ สนธิสัญญายังได้จำกัดขนาดกองทัพฮังการีไว้ที่ 35,000 นาย และยุติบทบาทของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีลง ซึ่งการตัดสินใจและผลลัพธ์ภายหลังเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขุ่นเคืองอย่างสุดซึ้งในฮังการีตั้งแต่นั้นมา

สนธิสัญญาทรียานง
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมหาพันธมิตรและประเทศที่เข้าร่วมกับฮังการี
สนธิสัญญาทรียานง
การมาถึงของผู้ลงนามทั้งสองบุคคล อาโกชต์ แบนาร์ด (Ágost Benárd) และอ็อลเฟรด ดร็อชแช-ลาซาร์ (Alfréd Drasche-Lázár) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ณ พระราชวังกร็องทรียานง เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
วันลงนาม4 มิถุนายน ค.ศ. 1920
ที่ลงนามแวร์ซาย ฝรั่งเศส
วันมีผล26 กรกฎาคม ค.ศ. 1921
ภาคี1. ฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศที่เกี่ยวข้อง
สนธิสัญญาทรียานง ฝรั่งเศส
สนธิสัญญาทรียานง สหราชอาณาจักร
สนธิสัญญาทรียานง อิตาลี
สนธิสัญญาทรียานง ญี่ปุ่น
ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
สนธิสัญญาทรียานง จีน
คิวบา คิวบา
สนธิสัญญาทรียานง เชโกสโลวาเกีย
สนธิสัญญาทรียานง กรีซ
สนธิสัญญาทรียานง ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ธงของประเทศนิการากัว นิการากัว
ธงของประเทศปานามา ปานามา
สนธิสัญญาทรียานง โปแลนด์
โปรตุเกส โปรตุเกส
สนธิสัญญาทรียานง โรมาเนีย
สนธิสัญญาทรียานง สยาม
2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
สนธิสัญญาทรียานง ราชอาณาจักรฮังการี
ผู้เก็บรักษารัฐบาลฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี
สนธิสัญญาทรียานง Treaty of Trianon ที่ วิกิซอร์ซ
ประธานาธิบดีมิฮาย กาโรยี กล่าวสุนทรพจน์หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ภาพยนตร์: การกล่าวปราศรัยอย่างสันติของเบ-ลอ ลินแดร์ ต่อนายทหาร และการประกาศปลดอาวุธตนเองของฮังการีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ภาพยนตร์ข่าวเกี่ยวกับการลงนามสนธิสัญญาทรียานง ค.ศ. 1920
สนธิสัญญาทรียานง
สถิติประชากรของดินแดนฮังการีใน ค.ศ. 1910

ประเทศผู้ได้รับผลประโยชน์หลัก ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย, สาธารณรัฐเชโกสโลวัก, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ยูโกสลาเวียในภายหลัง), และสาธารณรัฐออสเตรีย หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ เรื่องแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่ชาวฮังการี มีรัฐชาติและความเป็นอิสรภาพของตนเอง อีกทั้งฮังการียังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กำหนดมากกว่าการเจรจาร่วมกับฮังการี และฮังการีก็ไม่มีทางเลือกอันใด นอกเสียจากยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา คณะผู้แทนฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม) และไม่นานหลังจากการลงนาม ความโกลาหลเพื่อการแก้ไขสนธิสัญญาจึงเริ่มต้นทันที

สำหรับพรมแดนของฮังการีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เหมือนกับพรมแดนที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาทรียานง แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยระหว่างพรมแดนฮังการี-ออสเตรีย ใน ค.ศ. 1924 และการโอนย้ายหมู่บ้านสามแห่งไปยังเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1947

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จะมีแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" โดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็อนุญาตให้มีการลงประชามติเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ภายหลังรู้จักกันในชื่อการลงประชามติโชโปรน) เพื่อยุติพรมแดนที่มีข้อพิพาทบนดินแดนเดิมของราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งเป็นการพิพาทดินแดนขนาดเล็กระหว่างสาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 และราชอาณาจักรฮังการี เนื่องจากเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ กองกำลัง Rongyos Gárda กระทำการโจมตีอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับไล่กองกำลังออสเตรียที่เข้ามาในพื้นที่ ระหว่างการลงประชามติเมื่อปลาย ค.ศ. 1921 หน่วยคะแนนเสียงได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร

หมายเหตุ

อ้างอิง

Tags:

การประชุมสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1919–1920)ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษภาษาอิตาลีภาษาฮังการีภาษาโรมาเนียราชอาณาจักรฮังการีสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3แวร์ซาย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่จังหวัดกระบี่สมณศักดิ์บรรดาศักดิ์อังกฤษณเดชน์ คูกิมิยะปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ฟาโรห์โซเบกเนเฟรูจ้าว ลี่อิ่งสาธารณรัฐจีนแบล็กพิงก์แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)จังหวัดสระบุรีกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39ยอดนักสืบจิ๋วโคนันเมลดา สุศรีพฤษภาคมรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูทวีปยุโรปเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวการบัญชีพระโคตมพุทธเจ้าโรคอัลไซเมอร์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมรรคมีองค์แปดสุรยุทธ์ จุลานนท์อสุภตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพริสตีนาเมแทบอลิซึม1ปีนักษัตรหอแต๋วแตกเก็จมณี วรรธนะสินซูเปอร์แมนชนาธิป สรงกระสินธ์จังหวัดเลยเรโทรสเปกต์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์โป๊กเกอร์โลจิสติกส์ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์อัมสเตอร์ดัมรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรท่าอากาศยานดอนเมืองเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์จังหวัดของประเทศไทยสิงคโปร์แอร์ไลน์ICD-10โซคูลธนาคารกรุงไทยเจตริน วรรธนะสินบาสเกตบอลเมทัลลิกากูเกิล แผนที่พชร จิราธิวัฒน์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยเบอร์ลินกกปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)สุธิตา ชนะชัยสุวรรณสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีฟิลิปปินส์การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ประเทศเกาหลีเหนือขอบตาแพะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผีกะต่อศักดิ์ สุขวิมลนริลญา กุลมงคลเพชรยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบแบ่งกลุ่มมณฑลของประเทศจีนเทรเชอร์🡆 More