รถไฟใต้ดินปักกิ่ง

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง (จีนตัวย่อ: 北京地铁; จีนตัวเต็ม: 北京地鐵) เป็นเครือข่ายรางรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเชื่อมต่อเขตเมืองและชานเมืองของมหานครปักกิ่ง ประเทศจีน

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง
โลโก้รถไฟใต้ดินปักกิ่ง
โลโก้รถไฟใต้ดินปักกิ่ง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อพื้นเมือง
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ北京地铁
อักษรจีนตัวเต็ม北京地鐵
เจ้าของBeijing Municipal Government
ที่ตั้งปักกิ่ง และ หลางฟาง, มณฑลเหอเป่ย์
ประเภทระบบขนส่งมวลชนเร็ว
จำนวนสาย27
จำนวนสถานี490
ผู้โดยสารต่อวัน10.544 ล้าน (2018 เฉลี่ยต่อวัน)
13.7538 ล้าน (สถิติ 12 ก.ค. 2019)
ผู้โดยสารต่อปี3.8484 พันล้าน (2018)
เว็บไซต์bjsubway.com
mtr.bj.cn
bjmoa.cn
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน15 มกราคม 1971; 53 ปีก่อน (1971-01-15)
ผู้ดำเนินงาน
  • Beijing Mass Transit Railway Operation Corp., Ltd.
  • Beijing MTR Corp., Ltd.
  • Beijing Metro Operation Administration (BJMOA) Corp., Ltd. [zh]
  • Beijing Public Transit Tramway Co., Ltd.
  • Beijing Capital Metro Corp., Ltd. [zh]
ลักษณะใต้ดิน ระดับดิน และยกระดับ
จำนวนขบวน6,173 (2019)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง836 km (519 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
การจ่ายไฟฟ้า
  • 1,500 V DC เหนือหัว (สาย 6, 11, 14, 16, 17 and 19) หรือ รางที่สาม (สาย 7)
  • 25 kV 50 Hz เหนือหัว (รถไฟท่าอากาศยานต้าซิง)
  • 750 V DC เหนือหัว (Xijiao line) หรือ รางที่สาม (สายอื่น)
ผังเส้นทาง

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง

การเปิดใช้งาน

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง 
ภาพเคลื่อนไหวแสดงลำดับการเปิดให้บริการ แบ่งตามปี

รถไฟใต้ดินสายแรกเปิดทำการใน พ.ศ. 2514 จนกระทั่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 13 เส้นทาง มีจำนวนทั้งสิ้น 172 สถานี และมีรางรถไฟทำการกว่า 336 กิโลเมตร รถไฟใต้ดินปักกิ่งเป็นรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ มีความยาวและมีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 รถไฟใต้ดินดังกล่าวทำสถิติรับส่งผู้โดยสารกว่า 6.4 ล้านคน เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สาย 15, สายชางผิง, สายฟางซาน, สายอี้จวง, และสายตาซิง ได้เปิดให้บริการ แต่ถึงแม้ว่าจะมีการขยายรถไฟใต้ดินดังกล่าว เครือข่ายที่มีอยู่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการระบบขนส่งมวลชนของนครและแผนการขยายรถไฟใต้ดินอย่างกว้างขวางอีกมากกว่า 700 กิโลเมตร มีกำหนดเสร็จสิ้นภายใน พ.ศ. 2558 และอีก 1,000 กิโลเมตร ภายใน พ.ศ. 2563 แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนของรัฐบาลจีนได้เร่งให้เกิดการก่อสร้างรถไฟใต้ดินดังกล่าว เครือข่ายรถไฟใต้ดินมีกำหนดจะถึง 420 กิโลเมตร ภายใน พ.ศ. 2555

ค่าโดยสาร

ค่าโดยสารของรถไฟใต้ดินปักกิ่งคิดอัตราเดียวตลอดทาง คือ 2 หยวน โดยไม่จำกัดการเปลี่ยนสาย ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกสายยกเว้นรถไฟด่วนสายสนามบิน ซึ่งคิดค่าโดยสาร 25 หยวน เด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 1.2 เมตร สามารถโดยสารไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้ใหญ่ที่จ่ายเงินแล้ว

วิธีการจำหน่ายตั๋ว

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง 
บัตรโดยสารเที่ยวเดียว

รถไฟใต้ดินทุกสายเก็บค่าโดยสารผ่านเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (AFC) ซึ่งยอมรับตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวและอี้ข่าทง ซึ่งเป็นรูปแบบสมาร์ตการ์ดที่สามารถสะสมเครดิตในการโดยสารหลายเที่ยวได้ ผู้โดยสารสามารถซื้อบัตรและเพิ่มเครดิตให้กับอี้ข่าทง ณ จุดจำหน่ายตั๋วและเครื่องจำหน่ายตั๋วในทุกสถานี อี้ข่าทงยังได้รับการยอมรับในรถโดยสารประจำทางปักกิ่งส่วนใหญ่ และสามารถใช้เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ

การใช้ตั๋วที่ได้รับการตรวจด้วยมือของเสมียนถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ก่อนหน้าการคิดค่าโดยสารอัตราเดียวตลอดทางเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ค่าโดยสารอยู่ระหว่าง 3-7 หยวน ขึ้นอยู่กับเส้นทางและจำนวนการเปลี่ยนสาย

เส้นทางในปัจจุบัน

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง 
เส้นทาง สถานีปลายทาง
(เขต)
เปิดให้บริการ ส่วนต่อขยาย ระยะทาง
กิโลเมตร
จำนวนสถานี
(ในวงเล็บ สถานียกระดับ)
01 1  ผิงกว่อหยวน
(Shijingshan)
ซื่อฮุ่ยตะวันออก
(Chaoyang)
1969 1999 30.4 23 (2)
02 2 
วงกลม
ซีจื๋อเหมิน
(Xicheng)
สถานีรถไฟปักกิ่ง (Dongcheng) 1971 1987 23.1 18
04 4  อันเหอเฉียวเป่ย
(Haidian)
กงยี่ซีเฉียว
(Fengtai)
2009 2010 28.2 24 (1)
05 5  เทียนทงหยวนเหนือ
(Changping)
ซ่งเจียจวง
(Fengtai)
2007 27.6 23 (7)
06 6  ไห่เตี้ยน อู่ลู่จวี
(Haidian)
ลู่เฉิง
(Tongzhou)
2012 30.4 20
07 7  สถานีรถไฟปักกิ่งตะวันตก
(Fengtai)
เจียวฮว่าฉั่ง
(Chaoyang)
2014 23.7 21
08 8  หุยหลงก่วนตงต้าเจี๋ย
(Changping)
กู่โหลวต้าเจี๋ย
(Dongcheng/Xicheng)
2008 2012 22.0 12
09 9  หอสมุดแห่งชาติ
(Haidian)
กวอกงจวง
(Fengtai)
2011 2012 16.5 12
10 10 
วงกลม
ซีจวี๋
(Fengtai)
โส่วจิงเม่า
(Fengtai)
2008 2013 57.1 45
13 13  ซีจื๋อเหมิน
(Xicheng)
ตงจื๋อเหมิน
(Dongcheng)
2002 2003 40.9 16 (15)
14 14  จางกวอจวง
(Fengtai)
ซีจวี๋
(Fengtai)
2013 12.4 06 (2)
15 15  วั่งจิงตะวันตก
(Chaoyang)
เฟิ่งปั๋ว
(Shunyi)
2010 2011 30.2 12 (4)
BT สายบาตง  ซื่อฮุ่ย
(Chaoyang)
ถู่เฉียว
(Tongzhou)
2003 18.9 13 (13)
CP สายชางปิง  ชางผิงซีซานโข่ว
(Changping)
ซีเอ้อร์ฉี
(Haidian)
2010 21.24 077 (6)
DX สายดาซิง  กงยี่ซีเฉียว
(Fengtai)
เทียนกงเยวี่ยน
(Daxing)
2010 21.7 12 (1)
FS สายฝังซาน  กวอกงจวง
(Fengtai)
ซวีจวง
(Fangshan)
2010 2011 24.79 11 (9)
YZ สายยีจวง  ซ่งเจียจวง
(Fengtai)
ชื่อฉฺวี
(Tongzhou)
2010 23.3 13 (8)
AE AE  ตงจื๋อเหมิน
(Dongcheng)
เทอร์มินัล 2 (Chaoyang)
เทอร์มินัล 3 (Shunyi)
2008 28.1 04 (1)
ทั้งหมด 457 270

เวลาในการให้บริการ

รถไฟฟ้าจะปิดบริการหลังเที่ยงคืน รถไฟฟ้าจะให้บริการตั้งแต่เวลา 5.00-23.00 น. (ยกเว้นสายแอร์พอร์ตที่จะให้บริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา)

ระบบรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าทุกขบวนวิ่งบนราง 1,435 มิลลิเมตร (56.5 นิ้ว) และรับกระแสไฟฟ้า 750 โวลต์ โดยใช้รางที่สาม ยกเว้นสาย 6 และ 14 ที่ใช้ลวดเหนือหัว รถไฟฟ้าทุกสายให้บริการ 6 คันต่อขบวน ความเร็วเฉลี่ย 80 km/h (50 mph) ยกเว้นสาย 6 ที่ใช้ 8 คันต่อขบวน และสายแอร์พอร์ตที่ใช้ 4 คันต่อขบวน ซึ่งทำความเร็วได้ 100 km/h (62 mph) และ 110 km/h (68 mph) ตามลำดับ

รถไฟฟ้าส่วนใหญ่ รับไฟฟ้าจากรางที่สาม
รถไฟฟ้าสาย 6 และ 14 รับไฟฟ้าจากลวดเหนือหัว
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสาย 6

รถไฟชานเมืองปักกิ่ง

รถไฟชานเมืองปักกิ่ง สายที่ให้บริการในปัจจุบันคือ สายเอส 2 เปิดให้บริการ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2008

สวนรถไฟฟ้า

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง 
รถไฟฟ้าสาย 1 ที่ปลดประจำการ ถูกตั้งเป็นอนุสรณ์ที่สวนรถไฟฟ้า

สวนรถไฟฟ้าในเขตต้าซิง เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2010 เพื่อเป็นอนุสรณ์ของรถไฟใต้ดินปักกิ่ง โดยสวนแห่งนี้สามารถเข้าชมได้โดไม่เสียค่าใช้จ่าย

อ้างอิง


Tags:

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง การเปิดใช้งานรถไฟใต้ดินปักกิ่ง ค่าโดยสารรถไฟใต้ดินปักกิ่ง เส้นทางในปัจจุบันรถไฟใต้ดินปักกิ่ง เวลาในการให้บริการรถไฟใต้ดินปักกิ่ง ระบบรถไฟฟ้ารถไฟใต้ดินปักกิ่ง รถไฟชานเมืองปักกิ่งรถไฟใต้ดินปักกิ่ง สวนรถไฟฟ้ารถไฟใต้ดินปักกิ่ง อ้างอิงรถไฟใต้ดินปักกิ่งประเทศจีนปักกิ่งรถไฟฟ้าใต้ดินอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็ม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ราชสกุลพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรต่าย อรทัยอะพอลโล 13จังหวัดสงขลาไฮบ์คอร์ปอเรชันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตซิลลี่ ฟูลส์จังหวัดนครปฐมประเทศออสเตรียมธุรสโลกันตร์จังหวัดนครศรีธรรมราชสุทิน คลังแสงแอน ทองประสมพรหมวิหาร 4มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีประเทศแคนาดารัมมี่ไค ฮาเวิทซ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเงินตราธงประจำพระองค์พระศรีอริยเมตไตรยป๊อกเด้งพระเจ้าบุเรงนองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารอีเอฟแอลแชมเปียนชิปประเทศสิงคโปร์อำเภอธนาคารกสิกรไทยวอลเลย์บอลจุดทิศหลักFBเรวัช กลิ่นเกษรบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างมุกดา นรินทร์รักษ์พระสุริโยทัยการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดบางกอกอารีนาพิธา ลิ้มเจริญรัตน์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567วัดพระศรีรัตนศาสดารามพิศวาสฆาตเกมส์อาณาจักรสุโขทัยเพลงรัสมุส ฮอยลุนด์รถถัง จิตรเมืองนนท์พล ตัณฑเสถียรจีเฟรนด์เพลิงพรางเทียนจนกว่าจะได้รักกันการฆ่าตัวตายจังหวัดร้อยเอ็ดสุภาพบุรุษจุฑาเทพมหาวิทยาลัยมหาสารคามภูมิภาคของประเทศไทยเผ่า ศรียานนท์ไทยลีกรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยประวัติศาสตร์วีรยุทธ จันทร์สุขสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครเข็มอัปสร สิริสุขะผู้หญิง 5 บาปปีนักษัตรวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยางูกะปะวินทร์ เลียววาริณนายกรัฐมนตรีไทยท้าวสุรนารีเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร🡆 More