มัวริส วิลค์ส

เซอร์ มัวริส วิลค์ส (Sir Maurice Wilkes) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.

2456">พ.ศ. 2456 - died 29th november 2553 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี-เอก ด้านฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทำงานในมหาวิทยาลัยในสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณ ต่อมาถูกเรียกตัวเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองในงานเกี่ยวกับเรดาร์ พอสงครามสงบก็กลับมาทำงานในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ดังเดิม

มัวริส วิลค์ส
Maurice V. Wilkes

พ.ศ. 2488 มัวริสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางด้านคำนวณ (Mathemetical Laboratory) ซึ่งต่อมาภายหลังสถาบันนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น คณะคอมพิวเตอร์ (Computer Laboratory) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่แรกในโลกที่เริ่มทำการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ สาเหตุที่คณะคอมพิวเตอร์เป็นอิสระออกมาได้ เพราะสมัยที่เป็นสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณนั้น เป็นแหล่งกำเนิดพื้นฐานของคอมพิวเตอร์พอสมควร (เช่น ทฤษฎีทัวริ่ง, เครื่อง Differential Analyser ของแบบเบจ หรือ ภาษาเครื่องของเอดา) อีกทั้งในยุคของมัวริส สามารถนำทฤษฎีเหล่านี้มาประยุกต์สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (stored program computer) คือมีหน่วยความจำ (memory) สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลกชื่อ EDSAC ในปี พ.ศ. 2492

พ.ศ. 2494 มัวริสนำเสนอชุดข้อมูลขนาดเล็ก (microprogram) ให้หน่วยประมวลผลกลาง สามารถนำชุดข้อมูลในหน่วยความจำแบบรอมออกมาให้เรียกใช้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นใน EDSAC II และถัดมาก็นำเสนอเครื่อง Titan ซึ่งมีระบบปฏิบัติการแบบแบ่งเวลา (time-sharing) ซึ่งสามารถจำรหัสของผู้ใช้แต่ละคนได้ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานของการเข้ารหัสในระบบ UNIX (Multi-users Operating System) นอกจากนี้ มัวริสยังมีส่วนในโครงสร้างพื้นฐานของภาษาโปรแกรมระดับสูง เช่นนำเสนอหลักการใช้สัญลักษณ์, Macro, Subroutines และ Libraries ในหนังสือ "Preparation of Programs for Electronic Digital Computers"

พ.ศ. 2499 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของราชบัณฑิตยสถาน (Royal Society)

พ.ศ. 2510 ได้รับรางวัลทัวริ่ง (Turing Award)

พ.ศ. 2522 นำเสนอ A Swiss data network ซึ่งเป็นการวางระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology network) เพื่อการแชร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และเริ่มนำออกเผยแพร่ทั่วประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2523 เกษียณอายุการทำงานในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีคณะคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

พ.ศ. 2543 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน (Knight)

พ.ศ. 2545 ได้รับเชิญให้กลับมาเป็นศาสตราจารย์พิเศษ (Emeritus Professor) ให้คณะคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

Tags:

26 มิถุนายนชาวอังกฤษนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2456ฟิสิกส์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์สงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรดาร์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บรูนู ฟือร์นังดึชไทยรัฐรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยราณี แคมเปนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพต้นตะวัน ตันติเวชกุลมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเปป กวาร์ดิโอลาสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ซอร์ซมิวสิกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กพัชรวาท วงษ์สุวรรณประเทศอิสราเอลเศรษฐา ทวีสินจังหวัดตรังกันต์ กันตถาวรมธุรสโลกันตร์เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีสราลี ประสิทธิ์ดำรงการฆ่าตัวตายซินดี้ บิชอพสโมสรฟุตบอลเชลซีอวตาร (ภาพยนตร์)จังหวัดศรีสะเกษสุทัตตา อุดมศิลป์ฟุตซอลโลก 2021รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจังหวัดนครพนมหีประเทศรัสเซียคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งจังหวัดอุดรธานีพฤษภาคมประเทศสวิตเซอร์แลนด์มหาวิทยาลัยรามคำแหงธนาคารกรุงไทยจุลจักร จักรพงษ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)เด่นคุณ งามเนตรสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันลุค อิชิกาวะ พลาวเดนรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครแคพิบาราวัดพระศรีรัตนศาสดารามสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสประเทศญี่ปุ่นสกีบีดีทอยเล็ตมรรคมีองค์แปดสีประจำวันในประเทศไทยชาบี อาลอนโซจังหวัดลำปางศุกลวัฒน์ คณารศณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลจังหวัดลพบุรีรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15คอมพิวเตอร์คู่เวรวันพีซยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจังหวัดสุโขทัยสุภาพบุรุษชาวดินประเทศปากีสถานกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)อนิเมะจังหวัดนครปฐมบัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี)จังหวัดเพชรบุรีระบบอสมทวอลเลย์บอลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร🡆 More