ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3

อเมเนมเฮตที่ 3 (อียิปต์โบราณ: Ỉmn-m-hꜣt) หรือที่รู้จักในพระนาม อเมเนมฮัตที่ 3 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่หกจากราชวงศ์ที่สิบสองในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง โดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ได้ครองพระราชบัลลังก์ในฐานะผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์เป็นระยะเวลายี่สิบปี ในรัชสมัยของพระองค์ พระราชอาณาจักรอียิปต์ได้รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดทางด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3
รูปสลักจากพิพิธภัณฑ์ของสะสมอียิปต์โบราณเฮอร์มิเทจ

พระราโชบายทางการทหารและการภายในพระราชอาณาจักรที่ที่เข้มงวดรุนแรงของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ซึ่งได้ปราบปรามในดินแดนนิวเบียอีกครั้งและแย่งชิงอำนาจจากบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น ซึ่งส่งต่อให้ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ขึ้นปกครองอียิปต์ในช่วงที่มีเสถียรภาพและสงบสุข พระองค์ได้ทรงนำความพยายามของพระองค์ไปสู่แผนการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ โดยเน้นที่โอเอซิสแห่งไฟยุมโดยเฉพาะ ที่นี่พระองค์ได้ทรงอุทิศวิหารแด่กับเทพโซเบค และวิหารน้อยถวายแด่เทพีเรเนนูเทต ทรงโปรดให้สร้างรูปสลักขนาดมหึมาสองรูปของพระองค์ในเบียห์มู และทรงมีส่วนสนับสนุนในการขุดทะเลสาบโมเอริส พระองค์โปรดให้สร้างสร้างพีระมิดสองแห่งของพระองค์ที่ดาห์ชูร์และฮาวารา พระองค์จึงกลายเป็นฟาโรห์พระองค์แรกตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์สเนฟรูจากราชวงศ์ที่สี่ที่ได้ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดมากกว่าหนึ่งแห่ง ใกล้กับพีระมิดในฮาวาราของพระองค์คือ พีระมิดแห่งเนเฟรูพทาห์ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระองค์ และการได้มาซึ่งทรัพยากรสำหรับแผนการก่อสร้าง พระองค์ได้ใช้ประโยชน์จากเหมืองหินในอียิปต์ อัญมณีเทอร์ควอยซ์และแร่ทองแดงจากคาบสมุทรไซนาย เหมืองที่ยังใช้ประโยชน์อื่น ๆ รวมถึงเหมืองหินชีสต์ที่วาดิ ฮัมมามัต แร่อเมทิสต์จากเหมืองในวาดิ เอล-ฮูดิ หินปูนชั้นดีจากเหมืองในทูรา หินอลาบาสเตอร์จากเหมืองในฮัตนุบ หินแกรนิตสีแดงจากเหมืองในอัสวาน และหินไดโอไรต์จากเหมืองในนิวเบีย คลังจารึกขนาดใหญ่เป็นหลักฐานยืนยันถึงการทำกิจกรรมที่สถานที่เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เซราบิต เอล-คาดิม มีหลักฐานการเคลื่อนไหวทางทหารเพียงเล็กน้อยในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่คุมมาในปีที่ 9 ของพระองค์ พระองค์ยังส่งคณะเดินทางไปยังดินแดนพุนต์อีกจำนวนหนึ่ง

โดยสรุปแล้ว ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ทรงครองราชย์เป็นเวลาอย่างน้อย 45 ปี ถึงแม้ว่าบันทึกปาปิรุสที่กล่าวถึงปีที่ 46 ก็น่าจะเป็นของรัชสมัยของพระองค์เช่นกัน ในช่วงสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงแต่งตั้งฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการร่วม ตามที่บันทึกไว้ในจารึกจากเซมนาในนิวเบีย ซึ่งปีที่ 1 ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 เท่ากับปีที่ 44 หรือปีที่ 46–48 ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 เวลาต่อมาฟาโรห์โซเบคเนเฟรูได้ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์อเมนเนมเฮตที่ 4 ในฐานะผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

พระราชวงศ์

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
สร้อยประดับพระอุราของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 จากสุสานของเจ้าหญิงเมเรเรต หนึ่งในพระภคินีหรือพระขนิษฐา

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ พระองค์มีพระภคินีและพระขนิษฐาหลายพระองค์คือ เจ้าหญิงเมเนต, เจ้าหญิงเมเรเรต, เจ้าหญิงเซเนตเซเนบติซิ, เจ้าหญิงซิตฮาธอร์ และเจ้าหญิงคเนเมต- ที่ทราบพระนามเพียงบางส่วน พระองค์มีพระมเหสีสองพระองค์ที่เป็นที่ทราบ คือ พระนางอาอัต และพระนางเคเนเมตเฟอร์เฮดเจต ซึ่งทั้งสองพระองค์ถูกฝังอยู่ในพีระมิดแห่งอเมเนมเฮตที่ 3 ที่ดาห์ชูร์ เฮเทปติ ซึ่งเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ซึ่งอาจจะเป็นพระมเหสีอีกหนึ่งพระองค์ พระองค์มีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์พระนามว่า เนเฟรูพทาห์ ซึ่งดูเหมือนจะทรงถูกเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีในฐานะองค์รัชทายาท เนื่องจากพระนามของพระองค์ถูกใส่ไว้ในคาร์ทูช เดิมทีพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พีระมิดแห่งที่สองของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ในฮาวารา แต่ในที่สุดก็พระศพก็ถูกย้ายไปที่พีระมิดของพระองค์เอง พระราชโอรส-ธิดาทั้งสองพระองค์ในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ซึ่งก็ทรงได้ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ คือ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ผู้เป็นพระราชโอรส และฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ผู้เป็นพระราชธิดา แต่ก็มีความเห็นที่ว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 อาจจะเป็นพระราชนัดดาแทน หลักฐานการฝังพระศพของเจ้าหญิงอีกสามพระองค์คือ เจ้าหญิงฮาธอร์โฮเทป, เจ้าหญิงนับโฮเทป และเจ้าหญิงซิตฮาธอร์ ที่ในพีระมิดแห่งดาห์ชูร์ แต่ไม่แน่ชัดว่าเจ้าหญิงเหล่านี้เป็นพระราชธิดาในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 หรือไม่ เนื่องจากพีระมิดแห่งนี้ใช้สำหรับฝังพระศพของเชื้อพระวงศ์ตลอดราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์

รัชสมัย

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
สฟิงซ์นอนราบของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า "lสฟิงซ์ฮิกซอส"

ในปีที่ 20 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 พระองค์ทรงได้แต่งตั้งฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ผู้เป็นพระราชโอรส ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการร่วม และดูเหมือนว่าการสำเร็จราชการร่วมครั้งนี้จะมีขึ้นจากตัวชี้วัดหลายประการ ถึงแม้ว่านักวิชาการบางคนจะไม่เห็นด้วยและบางคน กลับโต้แย้งในการครองราชย์เพียงพระองค์เดียวสำหรับฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ ในอีกยี่สิบปีต่อมา ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ได้ครองพระราชบัลลังก์ร่วมกัน โดยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เช่นกัน ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 เข้ามามีบทบาทหลักในปีที่ 19 ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และเป็นปีที่ 1 ของ พระองค์ การครองราชย์ของพระองค์เป็นเวลาอย่างน้อย 45 ปี แม้ว่าจะมีเศษบันทึกปาปิรัสจากเอล-ลาฮูนที่กล่าวถึง 'ปีที่ 46 เดือน 1 แห่งอาเคต วันที่ 22' ซึ่งน่าจะเป็นวันที่พระองค์ยังปกครองอยู่เช่นกัน และภายในชามจากเกาะแอลเลเฟนไทน์ที่ได้บันทึกว่า ปีที่ 46 เดือนสามแห่งเพเรต ซึ่งเป็นระยะเวลาสูงสุดเท่าที่ทราบ คอร์เนลิอุส ฟอน พิลกริม นักไอยคุปต์วิทยาได้สนับสนุน แต่ถูกปฏิเสธโดยนักไอยคุปย์วิทยา โวลแฟรม กราเจ็ตสกี ซึ่งจัดให้อยู่ช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางตอนต้น ในรัชสมัยที่ 30 ของพระองค์ พระองค์ทรงเฉลิมฉลองเทศกาลเซดตามที่กล่าวไว้ในจารึกหลายฉบับ รัชสมัยของพระองค์ได้สิ้นสุดลงหลังจากการสำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ผู้เป็นพระราชโอรสเพียงระยะเวลาสั้น ๆ มีหลักฐานสนับสนุนในส่วนนี้มาจากจารึกที่เซมนา ซึ่งปีที่ 1 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 เท่ากับปีที่ 44 หรือบางทีอาจจะปีที่ 46–48 ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3

ฟาโรห์ทั้งพระองค์ได้ทรงปกครองอียิปต์ในช่วงเวลายุคทองของสมัยราชอาณาจักรกลาง ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ได้ทรงดำเนินการปฏิบัติการทางทหารเชิงรุก เพื่อยับยั้งการบุกรุกจากชนเผ่าในนิวเบีย การดำเนินการทางทหารนี้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีและสร้างความรุนแรงต่อชนพื้นเมือง รวมถึงการสังหารบุรุษ การกดขี่สตรีและเด็ก และการเผาไร่นา นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งคณะเดินทางทางทหารไปยังซีเรีย-ปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นศัตรูของอียิปต์ตั้งแต่รัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 พระราโชบายภายในของพระองค์มุ่งเป้าไปที่การเพิ่มอำนาจของผู้ปกครองระดับท้องถิ่น โดยถ่ายโอนอำนาจกลับไปยังฟาโรห์ และเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า พระองค์รงรื้อระบบการปกครองแบบมีผู้ปกครองท้องถิ่นหรือไม่ นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นต้นแบบของตัวละครในตำนาน เซซอสทริส ที่รจนาขึ้นโดย มาเนโท และเฮโรโดตัส จากผลของพระราโชบายการบริหารและการทหารของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ส่งผลให้ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ทรงได้ขึ้นปกครองพระราชอาณาจักรอียิปต์ที่สงบสุขและมั่นคง

พระราชอาณาจักรกลางได้เจริญรุ่งเรืองที่ขีดสุดทางด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจภายใต้ปกครองของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 การใช้ประโยชน์จากเหมืองหินในอียิปต์และอัญมณีเทอร์ควอยซ์และแร่ทองแดงในคาบสมุทรไซนายถึงจุดสูงสุดในช่วงรัชสมัยของพระองค์ จารึกข้อความมากกว่า 50 ฉบับถูกจารึกไว้ที่เซราบิต เอล-คาดิม, วาดิ มักฮารา และวาดิ นาสบ์ ซึ่งได้มีการตั้งถิ่นฐานใกล้ถาวรก่อตัวขึ้นรอบตัวเหมืองหินเหล่านั้น เหมืองหินที่วาดิ ฮัมมามัต (หินซีสต์), วาดิ เอล-ฮูดิ (แร่อเมทิสต์), ทูรา (หินปูน), ฮัตนุบ (หินอลาบาสเตอร์), อัสวาน (หินแกรนิตสีแดง) และนิวเบีย (หินไดโอไรต์) ทั้งหมดก็ได้ถูกประโยชน์เช่นกัน ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการมีแผนการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาในไฟยุม แผนการก่อสร้างของพระองค์รวมถึงพระบรมราชานุเสาวรีย์ในคาตานา, เทล เอล-ยาฮูดัยยา, บูบาสติส การขยายวิหารแห่งเทพีฮาธอร์ที่เซราบิต เอล-คาดิม และวิหารแห่งเทพพทาห์ในเมมฟิส การก่อสร้างวิหารในกูบัน (Quban) และการเสริมกำลังป้อมปราการที่เซมนา จากเกาะแอลเลเฟนไทน์มีชิ้นส่วนของจารึกอาคารซึ่งมีอายุย้อนไปถึงถึงปีที่ 44 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ พบจารึกที่คล้ายกันที่เมืองเอลกับ การค้นพบอีกอย่างหนึ่งที่เกาะแอลเลเฟนไทน์คือทับหลังประตูจากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งที่นั่นฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ได้เพิ่มคำจารึกลงช่วงปีที่ 34 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีพื้นที่ใดที่ได้รับความสนใจมากเท่ากับโอเอซิสแห่งไฟยุม ซึ่งฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด

ในโอเอซิสแห่งไฟยุม พระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างวิหารขนาดใหญ่ที่อุทิศให้แด่เทพโซเบคที่คิมาน-ฟาราส พระองค์โปรดให้สร้างวิหารน้อยเพื่ออุทิศให้แด่เทพีเรเนนูเทตที่เมดิเนต มาดิ ในเบียห์มู พระองค์ทรงโปรดให้สร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ด้วยรูปสลักพระองค์หินควอตซ์ขนาดมหึมาสูง 12 ม. (39 ฟุต) สองรูป และทะเลสาบโมเอริส ซึ่งพระองค์ได้รับยืนยันว่าพระองค์เป็นผู้ทรงโปรดให้ขุดขึ้น ถึงแม้ว่าฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 จะทรงเป็นผู้ดำเนินการการก่อสร้างนี้มากน้อยเพียงใดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ได้ทรงเฝ้าจับตาดูระดับน้ำท่วมของแม่น้ำไนล์อย่างใกล้ชิด ดังแสดงให้เห็นโดยจารึกที่คุมมาและเซมนา โดยระดับแม่น้ำไนล์สูงสุดอยู่ในปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ที่ 5.1 ม. (17 ฟุต) แต่ตามมาด้วยการลดลงอย่างมากจนวัดได้ 0.5 ม. (1.6 ฟุต) ในปีที่ 40 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ผลงานที่ยืนยงที่สุดของพระองค์คือ พีระมิดสองแห่งที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระองค์เอง ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์สเนฟรูจากราชวงศ์ที่สี่ที่สร้างพีระมิดมากกว่าหนึ่งแห่ง พีระมิดของพระองค์ตั้งอยู่ที่ดาห์ชูร์และฮาวารา

พีระมิด

พีระมิดแห่งดาห์ชูร์

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
พีระมิดดำแห่งอเมเนมเฮตที่ 3

งานก่อสร้างพีระมิดที่ดาห์ชูร์ หรือ 'พีระมิดดำ' (อียิปต์โบราณ: Sḫm Ỉmn-m-hꜣt 'อเมเนมเฮต ผู้ทรงแข็งแกร่ง' หรือ Nfr Ỉmn-m-hꜣt 'อเมเนมเฮต ผู้ทรงสิริโฉม'/'สมบูรณ์พร้อมแห่งอเมเนมเฮต') ได้เริ่มขึ้นในปีแรกแห่งรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 แกนพีระมิดสร้างด้วยอิฐโคลนทั้งหมดและทำให้มั่นคงแข็งแรงผ่านการสร้างแกนขั้นบันไดแทนที่จะเป็นโครงหิน โครงสร้างดังกล่าวถูกหุ้มด้วยหินปูนจากทูราสีขาวละเอียดหนา 5 ม. (16 ฟุต; 9.5 ลูกบาศก์) โดยยึดเข้าด้วยกันด้วยหมุดไม้ พีระมิดมีความยาวฐาน 105 เมตร (344 ฟุต; 200 ลูกบาศก์) ซึ่งเอียงไปทางยอดที่ระหว่าง 54°30′ ถึง 57°15′50″ ถึงความสูง 75 เมตร (246 ฟุต; 143 ลูกบาศก์) มีปริมาตรรวม 274,625 ลบ.ม. (9,698,300 ลบ.ฟุต) จุดสุดยอดของโครงสร้างได้รับการสวมมงกุฎพีระมิดด้วยหินแกรนิตสีเทาสูง 1.3 ม. (4.3 ฟุต) ปัจจุบันนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร หมายเลข เจอี 35133 พีระมิดมีแถบข้อความอักษรอียิปต์โบราณอยู่ทั้งสี่ด้าน การที่พระนามของเทพอามุนถูกลบออกไปแล้วนั้นเป็นผลจากฟาโรห์อาเคนอาเตน เมื่อครั้งตอนที่พระองค์ทรงปฏิรูปศาสนาอียิปต์โบราณ

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
มงกุฎพีระมิดของพีระมิดดำ

ด้านหน้าของพีระมิดมีวิหารฝังพระศพที่มีการออกแบบเรียบง่ายประกอบด้วยโถงถวายและลานเสาแบบเปิด รอบ ๆ มีกำแพงอิฐโคลนสองด้านล้อมรอบ จากวัดฝังพระศพมีทางเดินเปิดที่มีกำแพงอิฐโคลนนำไปสู่วิหารอีกแห่งหนึ่ง ด้านล่างพีระมิดได้มีกาีสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีทางเดินและห้องต่างๆ ที่สลับซับซ้อน โดยมีห้องฝังพระศพสำหรับฟาโรห์และพระราชินีสองพระองค์ พระราชินีทั้งสองพระองค์คือ พระนางอาอัต และพระราชินีไม่ทราบพระนามถูกฝังไว้ที่นี่ และส่วนที่เหลือก็ถูกนำออกจากห้องฝังพระศพแล้ว แต่พระศพฟาโรห์ไม่ได้ถูกฝังที่นี่ ไม่นานหลังจากที่โครงสร้างเสริมพีระมิดสร้างเสร็จราวปีที่ 15 ของรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานเริ่มที่จะหักโดยมีรอยแตกปรากฏขึ้นภายใน อันเป็นผลมาจากการซึมของน้ำใต้ดิน มีความพยายามอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการพังทลายของโครงสร้าง ซึ่งประสบความสำเร็จ แต่ในขณะที่ฟาโรห์สเนเฟรูตัดสินใจที่จะโปรดให้สร้างพีระมิดโค้งงอของพระองค์ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ก็ทรงเลือกที่จะโปรดให้สร้างพีระมิดหลังใหม่เช่นกัน

พีระมิดแห่งฮาวารา

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
พีระมิดแห่งอเมเนมเฮตที่ 3 ในฮาวารา

พีระมิดแห่งที่สองตั้งอยู่ฮาวารา (อียิปต์โบราณ: ไม่แน่ชัด, อาจจะเป็น ꜥnḫ Ỉmn-m-hꜣt 'อเมเนมเฮต ผู้ทรงมีพระชนม์ชีพ') ในโอเอซิสแห่งไฟยุม พีระมิดมีแกนที่สร้างด้วยอิฐโคลนทั้งหมดหุ้มด้วยหินปูนจากทูราสีขาวละเอียด พีระมิดมีความยาวฐานระหว่าง 102 ม. (335 ฟุต; 195 ลูกบาศก์) และ 105 ม. (344 ฟุต; 200 ลูกบาศก์) โดยมีความเอียงที่ตื้นกว่าระหว่าง 48° ถึง 52° จนถึงความสูงสูงสุด 58 ม. (190 ฟุต; 111 ลูกบาศก์) มีปริมาตรรวม 200,158 ลบ.ม. (7,068,500 ลูกบาศก์ฟุต) มุมเอียงที่ตื้นขึ้นเป็นขั้นตอนหนึ่งเพื่อป้องกันการถล่มและหลีกเลี่ยงการเกิดความล้มเหลวซ้ำเหมือนที่ดาห์ชูร์ ภายในโครงสร้างย่อย ช่างก่อสร้างได้ใช้มาตรการป้องกันเพิ่มเติม เช่น ปูหลุมในห้องด้วยหินปูน ห้องฝังพระศพถูกสกัดจากบล็อกหินควอตซ์บล็อกเดียวขนาด 7 ม. (23 ฟุต) x 2.5 ม. (8.2 ฟุต) x 1.83 ม. (6.0 ฟุต) และหนักกว่า 100 ตัน (ราว 110 ตัน)

ก่อนที่พีระมิดจะวางวิหารฝังพระศพ ซึ่งได้รับการระบุว่าเป็น 'เขาวงกต' ซึ่งนักเดินทาง อย่างเช่น เฮโรโดตัสและสตราโบ ได้กล่าวถึงและเป็นรากฐานสำหรับ 'เขาวงกตแห่งไมนอส' วิหารได้ถูกทำลายในสมัยโบราณและสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แผนผังอาคารครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 28,000 ตร.ม. (300,000 ตารางฟุต) ตามบันทึกของสตราโบ วิหารนี้มีห้องมากเท่ากับเขตปกครองในอียิปต์ ขณะที่เฮโรโดตัสเขียนเกี่ยวกับการนำ 'จากลานสนามไปสู่ห้องต่างๆ รูปสลักหินปูนของเททพโซเบคและเทพีฮาธอร์อีกรูปก็ถูกค้นพบที่นี่ เช่นเดียวกับศาลเทพเจ้าที่ทำจากหินแกรนิตสองแห่งซึ่งแต่ละแห่งมีรูปสลักของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 จำนวนสองรูป กำแพงล้อมรอบทิศเหนือ-ทิศใต้ล้อมรอบพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งวัดได้ 385 ม. (1,263 ฟุต) x 158 ม. (518 ฟุต) ทางเดินหลวงได้รับการระบุอยู่ใกล้กับมุมตะวันตกเฉียงใต้ของพีระมิด แต่ยังไม่ได้มีการตรวจสอบทั้งวิหารและทางเดินหลวง

เนเฟรูพทาห์

พีระมิดแห่งเนเฟรูพทาห์ถูกสร้างขึ้น 2 กม. (1.2 ไมล์) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพีระมิดแห่งฮาวาราของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 พีระมิดแห่งนี้ถูกขุดค้นโดยนากิบ ฟารัก และซากี อิสกันเดอร์ ในปี ค.ศ. 1956 โครงสร้างส่วนบนของพีระมิดใกล้จะสูญหายไปโดยสิ้นเชิง และพบว่าโครงสร้างพื้นฐานเต็มไปด้วยน้ำใต้ดิน แต่การฝังพระศพของพระองค์ก็ไม่ถูกรื้อค้น รวมทั้งโลงพระศพและอุปกรณ์ในพิธีพระศพของพระองค์

การจัดคณะเดินทางไปต่างแดน

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
เหมืองไซนาย
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
ทูรา
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
เกเบล เซอิต
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
ฮัตนุบ
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
วาดิ ฮัมมามัติ
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
อัสวาน
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
วาดิ เอล-ฮูดิ
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 
เกเบล เอล-อัสร์
เหมืองขุดในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3

คณะเดินทางทางทหาร

มีหลักฐานน้อยมากที่เกี่ยวข้องการเดินทางทางทหารในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 จารึกชิ้นหนึ่งได้บันทึกภารกิจเล็ก ๆ ในช่วงที่ 9 มันถูกพบในนิวเบียใกล้กับป้อมปราการคุมมา ซึ่งปรากฏข้อความขนาดสั้นรายงานว่า ภารกิจทางทหารได้รับชี้แนะจากปากของเนเคน ซามอนต์ ซึ่งระบุว่าเขาได้ออกเดินทางไปทางเหนือพร้อมกับกองทหารเล็ก ๆ และไม่มีใครเสียชีวิต เมื่อกลับมาทางใต้

คาบสมุทรไซนาย

กิจกรรมของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ในคาบสมุทรซีนายได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า ได้มีการออกเดินทางไปยังวาดิ มักฮารา ในปีที่ 2, 30 และ 41–43 โดยมีการเดินทางเพิ่มอีกหนึ่งครั้งในปีที่ 20 + x ที่ยังไม่ทราบ วิหารแห่งเทพฮาธอร์ได้รับการตกแต่งระหว่างการเดินทางในปีที่ 2 ซึ่งเป็นการเดินทางเดียวที่มีการขุดทองแดง จารึกที่เกี่ยวข้องซึ่งพบในอายน์ ซุคนา ชี้ให้เห็นว่า การเดินทางนี้เริ่มขึ้นที่เมืองเมมฟิสและอาจจะข้ามทะเลแดงไปยังคาบสมุทรไซนายโดยทางเรือ การเดินทางครั้งเดียวในวาดิ นาสบ์ ได้รับการยืนยันในปีที่ 20 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ได้มีการเดินทางไปยังเซราบิต เอล-คาดิมมากถึง 18 ถึง 20 ครั้ง ซึ่งได้รับการยืนยันในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 คือ ในปีที่ 2, 4–8, 13, 15, 20, 23, 25, 27, 30, 38, 40, 44, และอาจเป็นไปได้ในปีที่ 18, 29 และ 45 ปี ควบคู่ไปกับ 10 + x และ x + 17 ปี และมีจารึกมากมายที่ไม่สามารถระบุช่วงเวลาได้

อียิปต์

จารึกหนึ่งฉบับที่บันทึกขึ้นในปีที่ 43 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 มาจากทูรา และหมายถึงการขุดหินปูนที่นั่นเพื่อสร้างวัดฝังพระศพ ไม่ว่าจะที่ดาห์ชูร์หรือฮาวารา และจารึกมาจากเทือกเขาเกเบล เซอิต ซึ่งอยู่ห่างจากราส กาเรบไปทางทิศใต้ราว 50 กม. (31 ไมล์) บนชายฝั่งทะเลแดงแสดงกิจกรรมที่เหมืองกาเลนาที่นั่น จารึกที่ระบุเวลาเพียงบางส่วนที่บอกว่ามันถูกจารึกไว้ช่วงหลังปีที่ 10 แห่งการครองราชย์

มีการบันทึกการเดินทางหลายครั้งไปยังวาดิ ฮัมมามัต ซึ่งเป็นแหล่งที่ขุดเจาะหิน ช่วงเวลาดังกล่าวย้อนไปจนถึงปีที่ 2, 3, 19, 20 และ 33 จารึกสามชิ้นจากปีที่ 19 ได้บันทึกเกี่ยวกับทาสกรรมกรและทหารที่จ้างงาน และผลของความพยายามส่งผลให้มีการสร้างรูปสลักฟาโรห์อิริยาบถประทับนั่งสูง 2.6 ม. (8.5 ฟุต) จำนวน 10 รูป รูปสลักถูกส่งไปยังเขาวงกตที่ฮาวารา มีการเดินทางไปยังวาดิ เอล-ฮูดิเพียงไม่กี่ครั้ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอัสวานที่ชายแดนทางใต้ของอียิปต์ซึ่งเป็นแหล่งขุดแร่อเมทิสต์ จารึกนี้มีอายุย้อนไปจนถึงปีที่ 1, 11, 20 และ 28 มีการเดินทางไปยังวาดิ อาบู อะกัก ซึ่งใกล้กับอัสวานในปีที่ 13

นิวเบีย

ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาบู ซิมเบล และทางตะวันตกของทะเลสาบนาสเซอร์ เป็นที่ตั้งของเหมืองหินเกเบล เอล-เอสร์ ในนิวเบียล่าง ซึงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งของหินไดออไรต์สำหรับรูปสลักอิริยาบถประทับนั่งของฟาโรห์คาเฟรจำนวนหกรูป สถานที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่งของหินไนส์และแร่รัตนชาติแคลเซโดนีในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางอีกด้วย แหล่งขุดแร่แคลเซโดนี ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม 'สันเขาจารึก' เนื่องจากเป็นสถานที่ซึ่งที่มีจารึกและการถวายเครื่องบูชาตามคำปฏิญาณ จารึกเก้าชิ้นเหล่านี้มีอายุย้อนไปถึงรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 โดยเฉพาะช่วงปีที่ 2 และ 4

พุนต์

จารึกถูกค้นพบที่เมอร์ซา ซึ่งอยู่บนชายฝั่งทะเลแดงโดยโรซานนา พิเรลลี ในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางไปยังพุนต์ ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ได้มีการจัดคณะเดินทางโดยเซเนเบฟ เจ้าพนักงานราชสำนักชั้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองคณะเดินทาง ซึ่งคณะเดินทางแรกนำโดยอเมนโฮเทป และได้มุ่งหน้าไปยังพุนต์ เพื่อหาซื้อเครื่องหอม และคณะเดินทางที่สองนำโดยเบเนสุ ซึ่งเดินทางไปยังเหมืองที่เรียกว่า เบีย-พุนต์ เพื่อจัดหาโลหะที่แปลกใหม่ มีการเดินทางทั้งหมดระหว่างสองถึงห้าครั้ง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 มีการค้นพบจารึกสองชิ้นจากเหมืองดังกล่าวมีการระบุช่วงเวลาและกิจกรรมที่นั่นในปีที่ 23 และ 41 แห่งการครองราชย์ของพระองค์

การพัฒนาชลประทานในไฟยุม

ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 พระองค์ยังคงดำเนินแผนพัฒนาที่ริเริ่มโดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 เพื่อเชื่อมโยงโอเอซิสแห่งไฟยุม กับบาห์ร ยูสเซฟ แผนพัฒนานี้ได้มีการเวนคืนที่ดินบริเวณปลายน้ำริมทะเลสาบโมเอริส เพื่อพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตร หุบเขาที่ก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติยาว 16 กม. (9.9 ไมล์) และกว้าง 1.5 กม. (0.93 ไมล์) ถูกตัดเป็นคลองเพื่อเชื่อมที่ราบลุ่มกับบาห์ร ยูสเซฟ คลองที่ถูกตัดนั้นมีความลึก 5 ม. (16 ฟุต) และให้ตลิ่งชันในอัตราส่วน 1:10 และความเอียงเฉลี่ย 0.01° ตลอดความยาวของคลอง เป็นที่รู้จักกันในนามว่า เมอร์-เวอร์ หรือ คลองขนาดใหญ่ พื้นที่นี้ยังคงใช้งานต่อไปจนกระทั่งถึง 230 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อแม่น้ำไนล์สาขาย่อยในบริเวณลาฮูนได้เหือดแห้งไป

ประติมากรรม

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 เป็นที่มีหลักฐานที่ดีที่สุดในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางด้วยจำนวนของรูปสลัก โดยมีรูปสลักประมาณ 80 รูปที่สามารถกำหนดผู้สร้างได้ ประติมากรรมของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ผู้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 รูปสลักของพระองค์มีลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น ในขณะที่ยังคงรักษาภาพลักษณ์ในอุดมคติ มีการใช้หินหลากหลายรูปแบบสำหรับประติมากรรมของฟาโรห์ มากกว่าที่ฟาโรห์พระองค์ใดมาก่อน นอกจากนี้ พระองค์ก่อเกิดประติมากรรมประเภทใหม่และการตีความใหม่ ซึ่งหลายชิ้นได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานที่เก่ากว่ามาก ลักษณะพระพักตร์กว้างสองประเภทสามารถระบุถึงฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ได้:

  • รูปแบบการแสดงออก: พระพักตร์ของฟาโรห์แสดงให้เห็นกล้ามเนื้อ โครงสร้างกระดูก และร่องที่ใบหน้าชัดเจน เห็นได้ชัดว่ารูปแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปปั้นของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3
  • รูปแบบที่ทำให้เป็นมนุษย์: พระพักตร์ถูกทำให้เรียบง่ายขึ้นโดยไม่มีการริ้วและร่องหรือมีเพียงเล็กน้อย และมีไม่การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนระหว่างคุณสมบัติต่างๆ โดยทั่วไปแล้วสิ่งเหล่านี้มีการแสดงออกที่นุ่มนวลและดูอ่อนเยาว์กว่า

ข้าราชบริพารในรัชสมัย

ราชมนตรีนามว่า เคติ (H̱ty) ซึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ประมาณปีที่ 29 ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ได้ปรากฏบนบันทึกกระดาษปาปิรุสจากเอล-ลาฮูน ซึ่งเป็นบันทึกเอกสารทางธุรกิจที่เขียนโดยราชมนตรีในราชสำนัก เพื่อหารือเกี่ยวกับการจ่ายเงินของพี่น้องสองคนชื่อว่า ไอย์-เซเนบ (Ỉhy-snb) สำหรับการทำงานของพวกเขา สมัยนั้น พี่ชายคนหนึ่งของไอย์-เซเนบนามว่า อังค์-เรน (ꜥnḫ-rn) ซึ่งเป็น 'ผู้ช่วยฝ่ายพระคลัง' แต่ต่อมาก็มีบันทึกปาปิรุสที่มีพินัยกรรมของเขาลงช่วงเวลาในปีที่ 44 ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 เขาได้กลายมาเป็น ' หัวหน้าฝ่ายงาน บันทึกปาปรุสอย่างหลังนี้ได้ระบุไว้สองช่วงเวลาคือ ปีที่ 44, เดือนที่ 2 แห่งเชมู, วันที่ 13 และปีที่ 2, เดือนที่ 2 แห่งอาเคต, วันที่ 18 ช่วงเวลาหลังนั้นหมายถึงการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 หรือฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ยังมีบันทึกอักษรเฮียราติกอีกชิ้นหนึ่งและรายการหินปูนที่ไอย์-เซเนบ และอังค์-เรน ปรากฏอยู่ พี่ชายอีกคนนามว่า ไอย์-เซเนบ วาห์ (Wꜣḥ) เป็นนักบวชแห่งวาบและเป็น 'หัวหน้าคณะนักบวชแห่งเซปดู เจ้าแห่งตะวันออก'

คนุมโฮเทป (H̱nmw-ḥtp) เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งอย่างน้อยสามทศวรรษตั้งแต่ปีที่ 1 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 จนถึงรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ในช่วงต้นรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 เขามีตำแหน่งเป็นมหาดเล็ก แต่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เขามีตำแหน่งเป็นราชมนตรีและเจ้าพนักงานราชสำนักชั้นสูง หลุมฝังศพของเขาในดาห์ชูร์ที่ยังเป็นหลักฐานยืนยันถึงตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่ง รวมทั้ง "ข้าราชการระดับสูง" "ผู้ถือตราพระราชลัญจกร" "หัวหน้าคณะนักบวช" "เจ้าแห่งความลับ" และ "ผู้ดูแลนคร"

ราชมนตรีอีกคนหนึ่งที่สามารถสืบทราบได้ในรัชสมัยคือ อเมนิ (Ỉmny) อเมนิได้ปรากฏบนจารึกสองชิ้นจากอัสวาน พบชิ้นแรกโดยฟลินเดอร์ส เพทรี บนถนนระหว่างฟิเลและ อัสวาน และชิ้นที่สองพบโดยแฌ็ค เดอ มอร์แกง บนฝั่งขวาของแม่น้ำไนล์ระหว่างบาร์และอัสวาน จารึกมีชื่อของสมาชิกในครอบครัวของเขา รวมทั้งภรรยาของเขานามว่า เซโฮเทปอิบเร เนฮิ (Sḥtp-ỉb-rꜥ Nḥy) ผู้ที่ปรากฏบนจารึกในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโคเปนเฮเกนด้วย

ผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัตินามว่า อิเคอร์โนเฟรต (Y-ẖr-nfrt) ซึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ในช่วงปีแรก ๆ ของรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 จากจารึกพิธีศพในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร ข้าราชการคนนี้เป็นหนึ่งในผู้มีหลักฐานยืนยันที่ดีที่สุดในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบเกี่ยวกับครอบครัวของเขาก็ตาม จารึกพิธีศพของเขามีอายุย้อนไปถึงปีแรกของรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 และมีชื่อของเขาพร้อมกับชื่อตำแหน่งสามตำแหน่ง คือ 'ผู้ถือตราพระราชลัญจกรแห่งกษัตริย์อียิปต์ล่าง', 'พระสหายคนเดียวแห่งกษัตริย์' และ 'ผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติ' ข่าวถูกกล่าวถึงในจารึกพิธีศพของ อเมนิ (Ỉmny) ผู้มีตำแหน่งเป็น 'เสนาธิการสำนักราชมนตรี' ส่วนหลังของจารึกเล่าถึงการเข้างานของอิเกอร์โนเฟรต และซาเซเทต (Sꜣ-sṯt) ในงานเลี้ยงฉลองที่อไบดอสตามพระราชโองการของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 หลังจากการเดินการทางทหารต่อนิวเบียในปีที่ 19 และอเมนิยังถูกกล่าวถึงใน 'จารึกแห่งซาเซเทต' ซึ่งบันทึกช่วงเวลาปีแรกของรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ซึ่งเขายังคงดำรงตำแหน่งเดิม ซึ่งได้ระบุว่าซาเซเทตมีตำแหน่งเป็น 'เสนาธิการสำนักดูแลพระคลังฯ' บนจารึกนั้น

สิ่งประดิษฐ์คิดค้น

บันทึกปาปิรัสทางคณิตศาสตร์แห่งไรนด์ คิดว่าเขียนขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3

อ้างอิง

ที่มา

  • "136780: Stele". Arachne. Universität zu Köln. 2021. สืบค้นเมื่อ September 13, 2021.
  • Bard, Kathryn; Fattovich, Rodolfo; Manzo, Andrea (2013). "The ancient harbor at Mersa/Wadi Gawasis and how to get there: New evidence of Pharaonic seafaring expeditions in the Red Sea". ใน Förster, Frank; Riemer, Heiko (บ.ก.). Desert Road Archaeology in Ancient Egypt and Beyond. Cologne: Heinrich-Barth-Institut. pp. 533–557. ISBN 9783927688414.
  • Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3.
  • Chanson, Hubert (2004). Hydraulics of Open Channel Flow. Amsterdam: Elsevier/Butterworth-Heinemann. ISBN 9780750659789.* Clagett, Marshall (1989). Ancient Egyptian Science: A Source Book. Philadelphia: American Philosophical Society. ISBN 9780871691842.

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 พระราชวงศ์ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 รัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 พีระมิดฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 การจัดคณะเดินทางไปต่างแดนฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 การพัฒนาชลประทานในไฟยุมฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ประติมากรรมฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ข้าราชบริพารในรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 สิ่งประดิษฐ์คิดค้นฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 อ้างอิงฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ที่มาฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 แหล่งข้อมูลอื่นฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3ประเทศอียิปต์ฟาโรห์ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3ภาษาอียิปต์ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์อียิปต์โบราณ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อธนาคารในประเทศไทยอีเอฟแอลแชมเปียนชิประบบพระศรีอริยเมตไตรยวันพีซวอลเลย์บอลปานปรีย์ พหิทธานุกรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ณัฐฐชาช์ บุญประชมธัญญ์ ธนากรพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคราชวงศ์จักรีจังหวัดนครศรีธรรมราชพิมประภา ตั้งประภาพรสิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักอำเภอสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโลมารายชื่อโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่นพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยาบาปเจ็ดประการวันวิสาขบูชารายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีพรหมลิขิตภูมิภาคของประเทศไทย.comเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)พรรคเพื่อไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาลเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์สงครามโลกครั้งที่สองสมาคมกีฬาโรมาณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลทศกัณฐ์วันแรงงานรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์แวมไพร์ ทไวไลท์เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์บรรดาศักดิ์ไทยคริสเตียโน โรนัลโดการฆ่าตัวตายจังหวัดสุพรรณบุรีวัดพระศรีรัตนศาสดารามระบบสุริยะอนาคามีสมเด็จพระเพทราชาจังหวัดหนองคายอรรถกร ศิริลัทธยากรอังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธารหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์พันทิป.คอมสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)แฮร์รี่ พอตเตอร์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีรักร่วมสองเพศวัชรเรศร วิวัชรวงศ์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจังหวัดชัยภูมิเจมส์ มาร์นิสิต สินธุไพรอัสซะลามุอะลัยกุมเจ้าคุณพระประยุรวงศ์จังหวัดเชียงใหม่กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)วรินทร ปัญหกาญจน์พรรษา วอสเบียนกองทัพ พีคนริลญา กุลมงคลเพชรฉัตรชัย เปล่งพานิชภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากร🡆 More