ฟลอปปีดิสก์

แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (อังกฤษ: floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ (floppy disk drive)

ฟลอปปีดิสก์
ฟลอปปีดิสก์ขนาด 8 นิ้ว, 5¼ นิ้ว, และ 3½ นิ้ว
ฟลอปปีดิสก์
เครื่องขับดิสก์ทั้งสามขนาดตามลำดับ

ประวัติ

แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดยเดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง

นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด 5¼ นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 กิโลไบต์ ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 กิโลไบต์

แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลาย ๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้ ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น 3½ นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว คือ 360 กิโลไบต์ สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 กิโลไบต์ สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 เมกะไบต์ โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 เมกะไบต์ โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอม, ดีวีดีรอม

อ้างอิง

  • Immers, Richard; Neufeld, Gerald G. (1984). Inside Commodore DOS. The Complete Guide to the 1541 Disk Operating System. DATAMOST, Inc & Reston Publishing Company, Inc. (Prentice-Hall). ISBN 0-8359-3091-2.
  • Englisch, Lothar; Szczepanowski, Norbert (1984). The Anatomy of the 1541 Disk Drive. Grand Rapids, MI: Abacus Software (translated from the original 1983 German edition, Düsseldorf: Data Becker GmbH). ISBN 0-916439-01-1.
  • Hewlett Packard: 9121D/S Disc Memory Operator's Manual; Printed 1 September 1982; Part No. 09121-90000

ดูเพิ่ม

Tags:

ข้อมูลคอมพิวเตอร์พลาสติกภาษาอังกฤษสนามแม่เหล็ก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ธงประจำพระองค์ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทาสสุดแกร่งแห่งหน่วยป้องกันอสูรจังหวัดสระแก้วสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)นิษฐา คูหาเปรมกิจพาทิศ พิสิฐกุลเจริญ สิริวัฒนภักดีจ้าว ลู่ซือฟุตบอลทีมชาติบราซิลหน้าหลักธัชทร ทรัพย์อนันต์ประเทศมัลดีฟส์โรนัลโดพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรศรุต วิจิตรานนท์พรรคประชาธิปัตย์เซี่ยงไฮ้จรินทร์พร จุนเกียรติอุปสงค์และอุปทานนวลพรรณ ล่ำซำจังหวัดของประเทศไทยอุษามณี ไวทยานนท์ประเทศอิสราเอลคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสภาผู้แทนราษฎรไทยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)แฮร์รี่ พอตเตอร์เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์รายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดFace Off แฝดคนละฝาจนกว่าจะได้รักกันพิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์งูสามเหลี่ยมประเทศไทยธงไชย แมคอินไตย์โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตารางธาตุปรีดี พนมยงค์เนย์มาร์ก็อดซิลล่า ปะทะ คองรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครอสมทจังหวัดสมุทรสาครธิษะณา ชุณหะวัณณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลปฏิจจสมุปบาทโฟร์อีฟกองอาสารักษาดินแดนโทโยโตมิ ฮิเดโยชิรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566พงษ์สิทธิ์ คำภีร์เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเมแทบอลิซึมเครื่องคิดเลขสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2018–19นพเก้า เดชาพัฒนคุณเกริกพล มัสยวาณิชแฟกทอเรียลมหัพภาคเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาคพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรประเทศนิวซีแลนด์รายชื่อตัวละครในวันพีซธนาคารกสิกรไทยกองทัพ พีคกีลียาน อึมบาเปมหาวิทยาลัยมหาสารคามมัสเกตเทียส์พิมประภา ตั้งประภาพรมหาวิทยาลัยมหิดล🡆 More