พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ (เดิม หม่อมเจ้าวงศ์จันทร์; 18 มิถุนายน พ.ศ.

2393 – 29 เมษายน พ.ศ. 2459) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์
ประสูติ18 มิถุนายน พ.ศ. 2393
สิ้นพระชนม์29 เมษายน พ.ศ. 2459 (65 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าคุณจอมมารดาเอม

พระประวัติ

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 8 บูรพาษาฒ ขึ้น 9 ค่ำ ปีจอ โทศก จ.ศ. 1212 ตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2393 ได้รับพระราชทานหีบหมากเสวยลงยา โต๊ะทองคำ และพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 12 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. 1278 ตรงกับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2459 พระชันษา 67 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศไม้สิบสอง ในคราวพระราชทานเพลิงพระศพ

ผู้สำเร็จราชการวังหน้า

เมื่อปีพ.ศ. 2429 เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสยามมกุฎราชกุมารอย่างสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าตามราชประเพณีเดิม จึงประกาศพระราชกฤษฎีกาเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าแต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะไม่ให้พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ร้าง จึงโปรดฯ ให้คงจัดรักษาเป็นพระราชวัง ให้มีเจ้าพนักงานรักษาหน้าที่อยู่อย่างเดิม ทรงมอบหมายการปกครองให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในทั่วไป และโปรดฯ ให้เสด็จขึ้นมาประทับอยู่ที่พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส

เมื่อพระองค์เจ้าดวงประภาสิ้นพระชนม์ โปรดฯ ให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรองลงมา ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้าต่อมา เหมือนอย่างพระองค์เจ้าดวงประภา และโปรดฯ ให้พระองค์เจ้าวงจันทร์ พระเจ้าน้องนางร่วมพระชนนีกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จขึ้นมาประทับที่พระที่นั่งบวรบริวัติมาจนตลอดรัชกาลที่ 5

ถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์สิ้นพระชนม์ จึงโปรดฯ ให้พระองค์เจ้าวงจันทร์ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้าแทนพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ต่อมาจนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อปีขาล พ.ศ. 2459 เจ้านายในวังหน้าจึงได้เสด็จไปประทับที่พระบรมมหาราชวัง และมิมีผู้ใดดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการวังหน้าอีก

พระที่นั่งวงจันทร์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับยังพระบวรราชวัง พระองค์ทรงสร้างพระราชมณเฑียรแห่งใหม่ขึ้น โดยมีลักษณะเป็นเก๋งจีน เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปประทับ ณ พระราชมณเฑียรแห่งใหม่นั้น พระองค์เกิดพระอาการประชวรติดต่อเป็นเวลานาน เมื่อซินแสเข้ามาดูจึงกราบทูลว่า เนื่องจากพระที่นั่งเก๋งจีนองค์นี้ สร้างในที่ฮวงจุ้ยที่เป็นอัปมงคล ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้รื้อพระที่นั่งเก๋งจีนลง ไปปลูกไว้ที่นอกวัง

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่บริเวณที่สร้างพระที่นั่งเก๋งจีนองค์เดิม แต่ได้เลื่อนตำแหน่งที่ตั้งไปทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นตึกฝรั่ง เรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า "พระที่นั่งวงจันทร์" ตามพระนามของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์

ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระที่นั่งใหม่ว่า "พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์"

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าวงจันทร์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2393 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ (2 เมษายน พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2430)
  • พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ (พ.ศ. 2430 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 29 เมษายน พ.ศ. 2459)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ พระประวัติพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ ผู้สำเร็จราชการวังหน้าพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ พระที่นั่งวงจันทร์พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ พระเกียรติยศพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ อ้างอิงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจังหวัดปราจีนบุรีวันมูหะมัดนอร์ มะทาวิโรจน์ ลักขณาอดิศรมังกี้ ดี. ลูฟี่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียภาคเหนือ (ประเทศไทย)หลิว อี้เฟย์สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จิรัชพงศ์ ศรีแสงเนย์มาร์เร็ว..แรงทะลุนรกฮวัง อิน-ย็อบใต้เงาตะวันเดอะกลอรีเมลดา สุศรีไพ่แคงเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์พรรคเส้นด้ายประเทศอินเดียสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีเรือหลวงช้าง (LPD-792)อีลอน มัสก์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญกรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยอัสนี โชติกุลธรรมนัส พรหมเผ่าเหยา หมิงคาราบาวสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25ชุติมา ทีปะนาถมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ไทยลีกกองทัพอากาศไทยอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์วัดพระศรีรัตนศาสดารามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่วุฒิสภาไทยวิทยา แก้วภราดัยยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์จังหวัดเพชรบูรณ์บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อประธานาธิบดีสหรัฐจังหวัดเชียงใหม่หวัง อีปั๋วศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามกองทัพไทยซีเกมส์ 2023สหราชอาณาจักรการโฆษณาหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดสงขลาประเทศอังกฤษฆาตกรต่อเนื่องพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุลมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ทวีพร พริ้งจำรัสจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)พระโคตมพุทธเจ้าอุตตม สาวนายนมิสแกรนด์แพร่ยังโอมดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พิมพ์จิรา เจริญลักษณ์อารยะ ศุภฤกษ์🡆 More