พญาแสนหลวง

พญาแสนหลวง เป็นขุนนางเมืองเชียงใหม่ซึ่งทำหน้าที่รักษาเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ.

2101–2317)">เชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2175 ถึง พ.ศ. 2206 และถูกกล่าวถึงในหลักฐานของอยุธยา พม่า และเชียงแสน พญาแสนหลวงอาจเป็นบุคคลหลายคนที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากกันในช่วงเวลาดังกล่าว

พญาแสนหลวง
รักษาการเจ้าเมืองเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2206
ก่อนหน้าเจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม
ถัดไปมีนเยละจอ
ธิดาพระนางกุสาวดี

ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่

แสนหลวง หรือพญาแสนหลวง เป็น 1 ใน 4 ตำแหน่งขุนนางชั้นสูงของอาณาจักรล้านนาในสมัยราชวงศ์มังราย เมื่อพม่าเข้าปกครองล้านนา ก็ให้คงตำแหน่งไว้ตามเดิม โดยพญาแสนหลวงจะมีตำแหน่งสูงกว่าตำแหน่งอื่น

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่าหลังจากพระเจ้าตาลูนตีเมืองเชียงใหม่แตกในปี พ.ศ. 2175 ทรงตั้งให้เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรแห่งเชียงแสน "กินนาสามล้านแต่งเชียงใหม่" ซึ่งสามล้านหมายถึงตำแหน่งขุนนางชั้นสูงรองจากพญาแสนหลวง ในขณะที่พื้นเมืองเชียงแสนและพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนระบุว่าทรงตั้งให้เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตร "เป็นใหญ่แก่ลานนาทั้งมวลคือว่า เชียงราย พะเยา เมืองฝาง หาง สาด ชะวาด น้อย ยาง มัน เมืองตวน ปุ เรง เมืองกก พู เพียง เชียงตุบ เมืองกาย สามท้าว เมืองม้า ท่าล่อ เมืองวะ เชียงขาน บ้านยู้ เมืองหลวย เมืองยอง เมืองสิง นอ เมืองหลวง ภูคา ภูคะทาง และเชียงชี เชียงของ เทิง เมืองล่อ น่าน แพร่ ละคร ทั้งมวล" โดยไม่มีเมืองเชียงใหม่อยู่ในรายชื่อ จากความคลาดเคลื่อนหลายประการของตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูกที่ 6 เกริก อัครชิโนเรศ และ ภูเดช แสนสา เห็นว่า ตำนานส่วนนี้นำเอาเอกสารปูมโหรของฝ่ายเชียงแสนมาใช้โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง

พงศาวดารเชียงใหม่ฉบับพม่า (Zinme Yazawin [en]), ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น และพงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงรายได้บันทึกพระราชโองการของพระเจ้าตาลูนในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2186 ระบุรายการเครื่องยศที่พระราชทานให้แก่พญาแสนหลวง พญาสามล้าน พญาจ่าบ้าน และขุนนางอื่นๆในเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองน่าน และเจ้าเมืองอื่นๆในแคว้นล้านนา โดยไม่มีการกล่าวถึงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังมีพระราชโองการเพิ่มเติมว่า หากพญาแสนหลวงเสียชีวิต ให้เจ้าเมืองเชียงแสนสืบทอดตำแหน่งพญาแสนหลวงต่อไป หลักฐานเหล่านี้จึงสนับสนุนข้อสันนิษฐานว่า ในขณะนั้นเมืองเชียงใหม่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง โดยมีพญาแสนหลวงทำหน้าที่รักษาการเจ้าเมืองแทน แม้ว่ามหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่าระบุว่าในปี พ.ศ. 2207 เจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นผู้รายงานการถอยทัพของกองทัพอยุธยาแก่กษัตริย์พม่า แต่ในมหาราชวงศ์ฉบับภาษาอังกฤษระบุเพียงว่าเป็นคนจากเมืองเชียงใหม่ (the men of Chiang Mai) เท่านั้น

พญาแสนหลวงเริ่มถูกกล่าวถึงในฐานะเจ้าเมืองเชียงใหม่ จากพระราชพงศาวดารไทยที่ชำระในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม

พญาแสนหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

พญาแสนหลวงถูกกล่าวถึงในพื้นเมืองเชียงแสนและพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนในฐานะผู้นำประชาชนกลับมาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ร่วมกับพญาสามล้านในปี พ.ศ. 2175 หลังจากถูกพระเจ้าตาลูนกวาดต้อนผู้คนไปจนเมืองร้าง อย่างไรก็ตาม มหาราชวงศ์ระบุไว้ในเชิงขัดแย้งว่า ในระหว่างที่มังรายกะยอฉะวาแห่งซะกุ๊กำลังล้อมเมืองขวาง (อังกฤษ: Maingkhwin) ที่ยังไม่ยอมอ่อนน้อมหลังเมืองเชียงใหม่ถูกตีแตกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2175 พระเจ้าตาลูนประทับอยู่ที่เชียงใหม่ และได้ทรงต้อนรับราชทูตจากยะไข่ในเดือนกรกฎาคม กองทัพพม่าล้อมเมืองขวางอยู่ 8 เดือนจึงเข้ายึดสำเร็จ มังรายกะยอฉะวาเสด็จกลับไปรวมพลกับพระเจ้าตาลูนที่เมืองเชียงใหม่ จากนั้นทั้งสองพระองค์จึงเสด็จออกจากเชียงใหม่ในเดือนมกราคม/กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2176 โดยแต่งตั้งคนและกองทัพไว้รักษาเมือง

ในปี พ.ศ. 2175 เดียวกัน จดหมายเหตุวันวลิตระบุว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงยกทัพขึ้นมาตีเชียงใหม่ ทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ต้องทิ้งเมืองหนีไป ทำให้กองทัพอยุธยาเปลี่ยนเป้าหมายไปโจมตีนครลาวซึ่งเป็นประเทศราชของเชียงใหม่ หลักฐานนี้บ่งชี้ว่า กองทัพอยุธยาพบว่าเมืองเชียงใหม่ที่อยู่ในสภาวะไม่มีเจ้าเมือง ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของเชียงแสน

พญาแสนหลวงถูกกล่าวถึงอีกครั้งโดยพื้นเมืองเชียงแสนและพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนในปี พ.ศ. 2193/2194 (จ.ศ. 1012) ในการบรรยายว่าเมืองเชียงใหม่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมากจากเมื่อปี พ.ศ. 2175

พญาแสนหลวงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สงครามระหว่างราชวงศ์หมิงใต้และราชวงศ์ชิงในปี พ.ศ. 2202 ทำให้เกิดการรุกรานของจีนฮ่อในพม่าตอนบนและดินแดนโดยรอบ ตำนานล้านนาเชียงใหม่ ใบลานวัดแม่แก้ดหลวงและหนังสือพื้นเมืองเชียงใหม่ ใบลานวัดศรีภุมมาบันทึกว่ากองทัพจีนฮ่อสร้างความกังวลจนพญาแสนหลวงต้องนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เมื่อเห็นว่าพม่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองเมืองเชียงใหม่ได้ พญาแสนหลวงจึงตัดสินใจสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2203 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้จัดกองทัพขึ้นไปป้องกันเมืองเชียงใหม่ในเดือนพฤศจิกายน ฝ่ายเชียงใหม่หลังจากทราบว่าการรุกรานของจีนฮ่อคลี่คลายแล้วจึงกลับไปสวามิภักดิ์กับพม่าตามเดิม สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงดำรัสสั่งให้เข้าตีเมืองเชียงใหม่แทน

กองทัพอยุธยาเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้ในต้นปี พ.ศ. 2204 (จ.ศ. 1022 ปลายศก) หรือไม่ช้ากว่าเดือนตุลาคม เมืองเชียงใหม่จึงตกเป็นประเทศราชของอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2206 หลังจากพบว่าอยุธยาไม่ประสบความสำเร็จในการตีหัวเมืองมอญพม่า พญาแสนหลวงจึงแข็งเมืองต่ออยุธยา ทำให้อยุธยายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 กองทัพอยุธยาตีเมืองเชียงใหม่แตกในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2206 และโจมตีทัพหนุนจากพม่าที่เพิ่งมาถึงจนล่าถอยกลับไป ชาวเชียงใหม่หลบหนีออกจากเมืองและคอยซุ่มโจมตีกองทัพอยุธยา จนในที่สุดฝ่ายอยุธยาตัดสินใจทิ้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2207

พญาแสนหลวงและชาวล้านนาถูกกวาดต้อนลงไปที่กรุงศรีอยุธยาหลังจากเมืองเชียงใหม่แตก เมื่อพระเจ้าปเยทรงทราบข่าวจากทางเมืองเชียงใหม่ จึงทรงแต่งตั้งให้มีนเยละจอให้เป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่พระองค์ใหม่ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2207

การกล่าวถึงในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์

ตำนานพระนางกุสาวดี

พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมระบุว่า หลังจากตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับธิดาของพญาแสนหลวงมาเป็นสนม และมีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์ คือ พระเจ้าเสือ ซึ่งคล้ายคลึงกับตำนานพระนางกุสาวดีในคำให้การชาวกรุงเก่า อย่างไรก็ตาม ตำนานดังกล่าวได้รับการวิจารณ์ว่ามีจุดที่น่าสงสัยและขาดการสนับสนุนจากหลักฐานอื่น

วรรณกรรมพระยาตรัง

พญาแสนหลวงได้รับการกล่าวถึงในฐานะ เจ้าเชียงใหม่ ผู้สนทนาโต้ตอบกับศรีปราชญ์เป็นโคลงกวี ซึ่งพระยาตรังได้รวบรวมไว้ในผลงานชื่อ โคลงกวีโบราณ

ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง

ชื่อพญาแสนหลวงปรากฏอยู่ในกระบวนพยุหะม้าร่วมกับเจ้าล้านนาจากเมืองต่างๆที่ถูกกวาดต้อนมายังอยุธยา ในโคลงพยุหยาตราเพชรพวง ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

การตีความตัวตนทางประวัติศาสตร์และข้อขัดแย้ง

พญาแสนหลวงที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ถูกตีความในชั้นหลังว่าเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าฟ้าแสนเมืองแห่งเชียงแสน เช่น ในพงศาวดารโยนก และในพงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงศรีอยุทธยา อย่างไรก็ตาม การตีความดังกล่าวมีข้อขัดแย้งกับหลักฐานต่างๆ ดังนี้

  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุเกี่ยวกับเจ้าฟ้าแสนเมืองเพียงว่า "เอาพระแสงเมืองเป็นพระยาเชียงแสน แทนได้ 3 ปีเอาเมือเสียอังวะ" (แปล: พระแสนเมืองขึ้นครองเมืองเชียงแสน 3 ปีต่อมาเดินทางไปเมืองอังวะ) โดยไม่ได้ระบุว่าเจ้าฟ้าแสนเมืองเคยปกครองเชียงใหม่ พื้นเมืองเชียงแสนและพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนบันทึกไปในทำนองเดียวกันว่าเจ้าฟ้าแสนเมืองปกครองเมืองเชียงแสนเท่านั้น
  • พงศาวดารและหลักฐานในสมัยรัตนโกสินทร์บ่งชี้ว่า พญาแสนหลวงถูกกวาดต้อนไปกรุงศรีอยุธยาหลังเมืองเชียงใหม่แตกในปี พ.ศ. 2206 ในขณะที่เจ้าฟ้าแสนเมืองยังคงปกครองเมืองเชียงแสนต่อไปจนถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2215/2216 (จ.ศ. 1034) และเจ้าฟ้าอินทร์เมืองพระโอรสได้ขึ้นครองเชียงแสนต่อมา

อ้างอิง

ก่อนหน้า พญาแสนหลวง ถัดไป
เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม พญาแสนหลวง  รักษาการเจ้าเมืองเชียงใหม่
(พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2206)
พญาแสนหลวง  มีนเยละจอ

Tags:

พญาแสนหลวง ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่พญาแสนหลวง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพญาแสนหลวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพญาแสนหลวง การกล่าวถึงในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์พญาแสนหลวง การตีความตัวตนทางประวัติศาสตร์และข้อขัดแย้งพญาแสนหลวง อ้างอิงพญาแสนหลวงประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (พ.ศ. 2101–2317)พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)มหาราชวงศ์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรพิมประภา ตั้งประภาพรสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)นิษฐา คูหาเปรมกิจกรรชัย กำเนิดพลอยกาก้าจรินทร์พร จุนเกียรติมหายานสินจัย เปล่งพานิชคนลึกไขปริศนาลับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหัวใจรักสี่ดวงดาวตัวเลขโรมัน1จีรนันท์ มะโนแจ่มอชิรญา นิติพนสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอลิชา หิรัญพฤกษ์วันแอนแซกเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินพีรวัส แสงโพธิรัตน์บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567เจริญ สิริวัฒนภักดีสุภาพบุรุษชาวดินเปรียญธรรม 9 ประโยคประเทศอินเดียสุจาริณี วิวัชรวงศ์เมตาสีประจำวันในประเทศไทยกรมสรรพสามิตเมลดา สุศรีจักรราศีมหาวิทยาลัยรามคำแหงโฟร์อีฟประเทศออสเตรเลียFคณะรัฐมนตรีไทยนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ประเทศอุซเบกิสถานสกูบี้-ดูสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาจังหวัดลพบุรีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสุทิน คลังแสงหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินอาเอฟเซ อายักซ์ประเทศอิหร่านพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)ตราประจำพระองค์ในประเทศไทยเมาริซิโอ โปเชติโนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์มณฑลของประเทศจีนมหาวิทยาลัยรังสิตประเทศจอร์เจียณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลการ์โล อันเชลอตตีฟุตซอลโลก 2024สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีโชเซ มูรีนโยสหรัถ สังคปรีชาดาบพิฆาตอสูรใหม่ เจริญปุระยงวรี อนิลบลไทใหญ่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชข้ามเวลามาเซฟเมนประเทศอาร์มีเนียกระทรวงในประเทศไทยภาคใต้ (ประเทศไทย)หม่ำ จ๊กมกสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนวรนิษฐ์ ถาวรวงศ์จังหวัดพะเยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปรีชญา พงษ์ธนานิกร🡆 More