ดนตรีสมัยบารอก

ดนตรีสมัยบารอก หรือบางแห่งเรียกว่า ดนตรีบารอก (อังกฤษ: Baroque music) เป็นลักษณะดนตรียุโรปคลาสสิก ราว ค.ศ.

1600-1750 เกิดขึ้นหลังดนตรีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และเกิดก่อนดนตรีสมัยคลาสสิก มีคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคคือ โยฮัน เซบัสทีอัน บัค, อันโตนีโอ วีวัลดี, ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี, จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล, อาร์คันเจโล คอเรลลี, คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี, ฌ็อง-ฟีลิป ราโม, เฮนรี เพอร์เซล ในยุคนี้ผู้ประพันธ์เพลงและผู้แสดงจะใช้องค์ประกอบทางด้านดนตรีที่ซับซ้อนมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบเสียงและได้พัฒนาการเล่นเครื่องดนตรีแบบใหม่ ดนตรีสมัยบารอกได้ขยับขยายขนาด ความกว้าง ความซับซ้อนของการแสดงเครื่องดนตรี

ที่มาของคำ

ทางด้านดนตรี คำว่า "บารอก" มีความหมายแนวทางที่กว้างจากภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง โดยมากในยุโรป เป็นงานดนตรีที่ประพันธ์ในช่วง 160 ปีก่อน การใช้คำว่า "บารอก" อย่างมีระบบทางด้านดนตรี เพิ่งมีการพัฒนาไม่นานนี้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1919 เมื่อควร์ท ซัคส์ พยายามที่จะประยุกต์ลักษณะ 5 ประการของทฤษฎีดนตรีที่มีระบบของไฮน์ริช เวิล์ฟลิน ในภาษาอังกฤษ คำนี้เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1940 ในงานเขียนของแลงและบูคอฟเซอร์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ยังคงถือว่ายังมีการโต้เถียงกันในวงการศึกษาอยู่ โดยเฉพาะในฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ถึงแม้กระนั้นก็ได้รวมเพลงที่มีความหลากหลายในลักษณะดนตรีของจาโกโป เปรี, โดเมนีโก สการ์ลัตตี และโยฮัน คริสทีอัน บัค รวมเข้าใช้เป็นคำเดียว คือ "ดนตรีสมัยบารอก" (Baroque music) ขณะนี้คำนี้กลายเป็นคำที่ใช้แพร่หลายและยอมรับในแนวเพลงที่กว้างเช่นนี้ และยังมีประโยชน์ในการจำแนกแนวเพลงก่อนหน้านี้ (สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) และหลังจากนี้ (คลาสสิก) ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ดนตรี

ลักษณะ

ในสมัยบารอก เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องเล่นประชันกัน เช่น เสียงร้องประชันกับเครื่องดนตรี หรือการเดี่ยวประชันเครื่องดนตรีบ้าง ซึ่งเรียกกันว่า Stile Concertante มีการใช้ บัสโซกอนตีนูโว (Basso Continuo) คือการที่เสียงเบส (เสียงต่ำ) เคลื่อนที่ตลอดเวลา โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลขบอกถึงการเคลื่อนที่ไปของเบส รวมถึงเสียงแนวอื่น ๆ ด้วย ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นบาสโซคอนตินิวโออาจเป็นคีย์บอร์ด เช่น ออร์แกน ฮาร์ปซิคอร์ด หรือเป็นกลุ่มของเครื่องดนตรี เช่น วิโอลา เชลโล บาสซูน

มีการใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์แทนโหมด (Mode) รูปพรรณของเพลงเป็นแบบสอดประสานทำนอง ที่เรียกว่า Contrapuntal เริ่มมีการใช้การประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ การเน้นความสำคัญของทำนองหลักโดยมีเสียงอื่นเล่นเสียงประสานคลอประกอบ มีการด้นสด (Improvisation) ของนักดนตรี โดยนักดนตรีจะแต่งเติมบทเพลง เริ่มมีการกำหนดความเร็วจังหวะของเพลง และความหนักเบาของเพลงลงในผลงานการประพันธ์ เช่น Adagio Andante และAllegro

รูปแบบของเพลงบางประเภทมีการพัฒนาจนมีแบบแผนแน่นอน ได้แก่ ฟิวก์ ลักษณะของเพลงร้องของดนตรีสมัยบารอก ได้แก่ โอเปร่า คันตาตา และออราทอริโอ ส่วนลักษณะรูปแบบ (Form) ของเพลงบรรเลง ได้แก่ โซนาตา คอนแชร์โต และเพลงชุด (Suite) ซึ่งเพลงชุดเป็นการนำเพลงจังหวะเต้นรำที่มีหลายลักษณะมาบรรเลงต่อกันเป็นท่อน ๆ เพลงจังหวะเต้นรำแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเพลงชุด ได้แก่ Allemande, Courante, Sarabande, Gavotte, Bourree, Minuet และGigue เป็นต้น

เพลงโบสถ์ยังเป็นที่นิยมในการประพันธ์ เพลงที่ประพันธ์กันในยุคนี้ คือ เพลงแมส โมเท็ต คันตาตา ออราทอริโอ และแพสชั่น (Passion) คือเพลงที่บรรยายเกี่ยวกับพระเยซูถูกตรึงกางเขน เป็นต้น

เครื่องดนตรีของดนตรีแนวนี้ คือการใช้เครื่องสายตระกูลวิโอลค่อย ๆ ลดความนิยมในการใช้ลง คงหลงเหลืออยู่เพียงการพัฒนาที่กลายมาเป็นดับเบิลเบสในปัจจุบัน เครื่องสายที่เข้ามาแทนที่คือ ตระกูลไวโอลิน ซึ่งประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอล่า และเชลโล ออร์แกนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และเริ่มมีการพัฒนาเปียโน เครื่องดนตรีเครื่องเป่าที่ใช้ในยุคนี้ คือ โอโบ บาสซูน และฟลูต เครื่องดนตรีที่ใช้ในการผสมวงของวงออร์เคสตรายังไม่มีการกำหนดเป็นที่แน่นอน

การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนาจนเป็นลักษณะการบันทึกโน้ตที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ การใช้บรรทัดห้าเส้น การใช้กุญแจโซ (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนค่าความยาวโน้ต และตำแหน่งของตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นแทนระดับเสียง และยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะ มีเส้นกั้นห้อง และสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี

คีตกวี

อ้างอิง

  • Palisca, Claude. "Baroque", Grove Music Online, ed. L. Macy (Accessed August 21, 2007), (subscription access) เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Sachs, Curt. 1919. "‘Barokmusik". Jahrbuch der Musikbibliothek Peters 1919, 7–15.
  • คมสันต์ วงค์วรรณ์. ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548

Tags:

ดนตรีสมัยบารอก ที่มาของคำดนตรีสมัยบารอก ลักษณะดนตรีสมัยบารอก คีตกวีดนตรีสมัยบารอก อ้างอิงดนตรีสมัยบารอกจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิลฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลีดนตรีสมัยคลาสสิกภาษาอังกฤษอันโตนีโอ วีวัลดีเครื่องดนตรีโยฮัน เซบัสทีอัน บัค

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

หลานม่าสล็อตแมชชีน (วงดนตรี)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเว็บไซต์พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีรอย อิงคไพโรจน์คันนะ ฮาชิโมโตะรามาวดี นาคฉัตรีย์สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีรัฐของสหรัฐตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิมจังหวัดปทุมธานีไอริณ ศรีแกล้วรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยขอนแก่นใบแดงรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้ามุฮัมมัดงูกะปะการบินไทยนิภาภรณ์ ฐิติธนการอแมนด้า ออบดัมเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสคนลึกไขปริศนาลับธนนท์ จำเริญกรมสรรพากรเปรม ติณสูลานนท์อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประเทศเกาหลีเหนือระบบดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนภคปภา นาคประสิทธิ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)มณี สิริวรสารทุเรียนจังหวัดเพชรบุรีสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาวินทร์ เลียววาริณจังหวัดสุรินทร์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงกองทัพเรือไทยเยือร์เกิน คล็อพชาบี อาลอนโซวันพีซมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเป็นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)แวมไพร์ ทไวไลท์พายุสุริยะพชร จิราธิวัฒน์เมลดา สุศรีสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดภาษาเกาหลีปวีณ พงศ์สิรินทร์จังหวัดมหาสารคามมหาวิทยาลัยรามคำแหงคาร์บอนไดออกไซด์ประเทศอิสราเอลเลือดมังกรโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทเหี้ยมหาวิทยาลัยบูรพาขันธ์เทย์เลอร์ สวิฟต์พระพรหมณัฐภัสสร สิมะเสถียรสกีบีดีทอยเล็ตเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ทิโมธี ชาลาเมต์🡆 More