จระเข้

จระเข้ (อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia)

จระเข้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีนสมัยโฮโลซีน, 46–0Ma
จระเข้
จระเข้แม่น้ำไนล์ (Crocodylus niloticus)
จระเข้
จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: อันดับจระเข้
วงศ์ใหญ่: Crocodyloidea
วงศ์: Crocodylidae
Cuvier, 1807
สกุลต้นแบบ
Crocodylus
Laurenti, 1768
วงศ์ย่อย
  • Crocodylinae
  • Osteolaeminae

มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาวบางตัวปากเป็นรูปตัว v และ u ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ขี้หมา" "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ

จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าวคือเมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะหรือลำไส้เพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย

แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้จระเข้แม่นำไนล์วิ่งได้เร็วถึง30-35กิโลเมตรต่อชั่วโมง

มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้

ชนิด

จระเข้ 
การกระจายพันธุ์ของจระเข้

การจัดจำแนก

ส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในสกุล Crocodylus ส่วนอีกสกุลที่เหลือ คือ Osteolaemus เป็นสกุลที่มีสปีชีส์เดียว

  • สกุล Crocodylus
    • จระเข้อเมริกา (American Crocodile), Crocodylus acutus
    • จระเข้ปากแหลม (Slender-snouted Crocodile), Crocodylus cataphractus
    • จระเข้โอริโนโก (Orinoco Crocodile), Crocodylus intermedius
    • จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Freshwater Crocodile), Crocodylus johnstoni
    • จระเข้ฟิลิปปินส์ (Philippines Crocodile), Crocodylus mindorensis
    • จระเข้มอเรเล็ต (Morelet's Crocodile), Crocodylus moreletii
    • จระเข้แม่น้ำไนล์ (Nile Crocodile), Crocodylus niloticus
    • จระเข้นิวกินี (New Guinea Crocodile), Crocodylus novaeguineae
    • จระเข้มักเกิล (Mugger Crocodile, Marsh Crocodile หรือ Persian Crocodile), Crocodylus palustris
    • จระเข้น้ำเค็ม (Saltwater Crocodile), Crocodylus porosus
    • จระเข้คิวบา (Cuban Crocodile), Crocodylus rhombifer
    • จระเข้น้ำจืด (Siamese Crocodile), Crocodylus siamensis
  • สกุล Osteolaemus
  • Crocodylus anthropophagus
  • Crocodylus checchiai
  • Crocodylus falconensis
  • Crocodylus palaeindicus
  • Crocodylus thorbjarnarsoni
 Crocodylus 
 Asia+Australia 


C. porosusจระเข้ 




C. palustrisจระเข้ 



C. siamensisจระเข้ 






C. johnsoniจระเข้ 




C. novaeguineae



C. mindorensis





 Africa+New World 

C. suchus




C. niloticusจระเข้ 


 New World 

C. rhombiferจระเข้ 




C. moreletii




C. acutusจระเข้ 



C. intermedius









 Crocodyloidea 

"Asiatosuchus" germanicus



Prodiplocynodon langi




Asiatosuchus grangeri



"Crocodylus" affinis



"Crocodylus" depressifrons




Brachyuranochampsa eversolei



"Crocodylus" acer


 Crocodylidae 
 Tomistominae 

Kentisuchus spenceri




Dollosuchoides densmorei



Megadontosuchus arduini






Gavialosuchus eggenburgensis



Toyotamaphimeia machikanensis





Tomistoma lusitanica



Tomistoma schlegeliiจระเข้ 






"Tomistoma" cairense




Thecachampsa antiqua



Thecachampsa americana



Thecachampsa carolinense





Penghusuchus pani




Paratomistoma courti



Maomingosuchus petrolica








 Crocodylinae 

"Crocodylus" megarhinus


 Mekosuchinae 

Kambara implexidens



Australosuchus clarkae




Trilophosuchus rackhami



Quinkana







Brochuchus pigotti



"Crocodylus" gariepensis




Euthecodon arambourgii



Euthecodon brumpti




 Osteolaeminae 

Rimasuchus lloydi




Voay robustus




Osteolaemus osborniจระเข้ 



Osteolaemus tetraspis







Mecistops cataphractusจระเข้ 


 Crocodylus 

C. checchiai



C. palaeindicus




C. anthropophagus



C. thorbjarnarsoni




C. niloticus จระเข้ 




C. siamensis จระเข้ 




C. palustris จระเข้ 




C. porosusจระเข้ 



C. johnsoni จระเข้ 



C. mindorensis




C. novaeguineae



C. raninus








C. acutus จระเข้ 



C. intermedius



C. rhombiferจระเข้ 



C. moreletii












ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของจระเข้และเครือญาติ

จระเข้ยุคปัจจุบันหรือเรียกตามภาษานักวิชาการว่าจระเข้ยุคใหม่นั้น โผล่หน้าขึ้นมาบนโลกเมื่อราว 90 ล้านปีก่อน เก่าแก่กว่ามนุษย์เมื่อ 2 ล้านปีที่ผ่านมานี้หลายเท่า จระเข้ยุคใหม่มีร่วมเผ่าพันธุ์อยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ จระเข้ (น้ำจืด-น้ำเค็ม) อัลลิเกเตอร์ และตะโขง เริ่มที่ 248 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นยุคโบราณเทียบเท่ากับยุคไดโนเสาร์ ตรงกับช่วงต้น “มหายุคมีโซโซอิค (Mesozoic Era)” ซึ่งต้นตระกูลจระเข้ นั้นมีนามว่า “โปรเทอโรซูซุส (Proterosuchus)” จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ จระเข้ แต่ก็ไม่อาจที่จะเรียกเป็นจระเข้ได้เต็มตัว เพราะตามตำราแล้วถือว่ามันเป็นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) ที่คล้ายจระเข้ เท่านั้น พวกจระเข้เต็มร้อยเริ่มปรากฏเมื่อตอนช่วงกึ่งกลางมหายุคมีโซโซอิคหรือ “ยุคจูราสสิก” (206 ถึง 144 ล้านปีก่อน) จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ที่กำลังรุ่งเรืองนั้นเอง จระเข้ โบราณรุ่นแรกเริ่มนั้นก็ได้แก่ “เมทรี-โอรินซุส (Metriorhynchus)” ซึ่งดำรงชีพอยู่ใต้ น้ำ มีความยาวประมาณ 3 เมตร ปลายหางบานเหมือนหางปลา แต่ขึ้นมาวางไข่บนบก อีกตัวหนึ่งเป็น จระเข้ยักษ์ “ซาร์โค-ซูซุส (Sarcosuchus)” จัดว่าเป็นขนาดใหญ่ที่สุดของทุกยุค เพราะยาวตั้ง 12 เมตร มีน้ำหนัก 10 ตัน ช่วง “ยุคครี-เตเชียส (Cretaceous)” (144 ถึง 65 ล้านปีก่อน) อันถัดจากยุคจูราสสิก และเป็นยุคปลีกย่อยสุดท้ายแห่งมหายุคมีโซโซอิค นั่นก็เพราะต้นตระกูลจระเข้ รุ่นใหม่ทวีจำนวนเพิ่มพงศ์เผ่าขึ้นอย่างมากมายในยุคนี้ ตัวที่น่าสนใจที่สุดนั้นก็คือ จระเข้ยักษ์ “ไดโนซูซุส (Dienosuchus)” มันเป็นญาติสนิท ตัวหนึ่งของจระเข้รุ่นปัจจุบัน ซึ่งเคยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์เมื่อ 70 กว่าล้านปีก่อน ก็เป็นจระเข้ยักษ์ตัวหนึ่ง ที่ยาวเหยียด 10 ถึง 12 เมตร น้ำหนักตั้ง 9 ตัน จะมีขนาดเท่ากับ “จระเข้ยักษ์ ซาร์โคซูซุส” บรรพบุรุษของมัน สำหรับส่วนลักษณะภายนอกของ ไดโนซูซุสนั้นดูแล้วคล้ายจระเข้แม่น้ำไนล์ ซึ่งปกติชอบกินกุ้งหอยปูปลาเป็นพื้น และบางทีก็กินสัตว์ป่าที่ตัวใหญ่ด้วย เช่น ม้าลาย ในอดีต ด้วยเหตุที่ไดโนซูซุสมีขนาดเข้าขั้นจระเข้ยักษ์ มันจึงจู่โจมไดโนเสาร์ขนาดปานกลางที่มาใกล้ริมตลิ่งได้อย่างสบาย ๆ เช่น ไดโนเสาร์กินพืช “พาราซอโรลอฟอัส (Parasaurolophus)” ที่น้ำหนักเท่าช้าง (ราว 3 ตันครึ่ง) เทคนิคในการกินสัตว์ที่ขนาดใหญ่ คือ ลอยตัวเงียบกริบใต้ผิวน้ำตามลำน้ำหนองบึง หาเวลาเหมาะไดโนเสาร์ที่มาดื่มน้ำโดยไม่ระมัดระวัง มันก็กระโจนพุ่งตัวขึ้นงับติดแน่น แล้วลากไดโนเสาร์ลงน้ำ จนจมน้ำตายในที่สุด เชื่อกันว่าเจ้าไดโนซูซุส สามารถกระโจนได้ไกลเท่ากับความยาวของตัวมันเองเลยทีเดียว ดังนั้น แม้แต่ไดโนเสาร์ติดปีก “นิคโธซอรัส (Nyctosaurus)” ถ้าบินเฉียดผิวน้ำก็มีสิทธิ์โดนมันขย้ำลงไปงาบใต้น้ำได้ง่าย ๆ เช่นกัน ตอนปลายยุคมีโซโซอิค (65 ล้านปีก่อน) โลกที่โดนดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนเข้าปังใหญ่ แค่ไม่กี่เดือนกี่ปีถัดมา บรรดาสัตว์ และพืชพรรณก็มีอันสูญ พันธุ์ไปเกือบครึ่งโลก เป็นต้นว่า ไดโนเสาร์หายไปหมด แต่จระเข้ บางชนิดยังอยู่รอดและขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ซึ่ง ได้แก่ จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม ตะโขง และอัลลิเกเตอร์ (หรือเคย์แมน) มาจนถึงปัจจุบัน

การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของจระเข้

จระเข้ จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด 4 กลุ่ม สืบสายพันธุ์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคจูแรคสิคและครีเทเซียสจนถึงยุคปัจจุบัน มีความสามารถในการปรับสภาพร่างกายในการอยู่รอดจากภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากว่า 160 ล้านปี คงลักษณะโบราณทางด้านกายวิภาคเกือบทั้งหมดของร่างกาย ตั้งแต่ปลายจมูกจรดปลายหาง ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษในยุคโบราณ จระเข้ส่วนใหญ่จะมีจมูกที่ยาวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีขากรรไกรที่แข็งแรงรวมทั้งฟันที่แหลมคม ขนาดความยาวประมาณ 3 - 4 เมตร ลักษณะลำตัวใหญ่โตและดุร้าย ทำให้แลดูน่ากลัวและน่าเกรงขามต่อผู้พบเห็น ผิวหนังแข็งเป็นเกล็ดปกคลุมตลอดลำตัว ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก ออกลูกเป็นไข่ครั้งละประมาณ 20 - 28 ฟอง จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินเนื้อทุกชนิดด้วย

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Iskandar, DT (2000). Turtles and Crocodiles of Insular Southeast Asia and New Guinea. ITB, Bandung.
  • Crocodilian Biology Database, FAQ. FLMNH.ufl.edu, "How long do crocodiles live for?" [sic] Adam Britton.
  • Crocodilian Biology Database, FAQ. FLMNH.ufl.edu, "How fast can a crocodile run?" Adam Britton.
  • เลาหะจินดา, วีรยุทธ์ (2552). วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-016-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • จระเข้  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Crocodilia

Tags:

จระเข้ ชนิดจระเข้ การจัดจำแนกจระเข้ ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของและเครือญาติจระเข้ การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของจระเข้ อ้างอิงจระเข้ บรรณานุกรมจระเข้ แหล่งข้อมูลอื่นจระเข้

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วัดพระศรีรัตนศาสดารามไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรบาปเจ็ดประการนิชคุณ ขจรบริรักษ์จ้าว ลู่ซือพระศรีอริยเมตไตรยเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่พิชัย ชุณหวชิรวันวิสาขบูชาฟุตซอลโลก 2012สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟินพชร จิราธิวัฒน์ปารีณา ไกรคุปต์ฉัตรชัย เปล่งพานิชแอน ทองประสมสหประชาชาติเปรียญธรรม 9 ประโยคแอน อรดี1เขตพื้นที่การศึกษาประเทศตุรกีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวันมูหะมัดนอร์ มะทาพิธา ลิ้มเจริญรัตน์จังหวัดพระนครศรีอยุธยามังกี้ ดี. ลูฟี่นิภาภรณ์ ฐิติธนการโทกูงาวะ อิเอยาซุศรัณยู ประชากริชสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิแปลก พิบูลสงครามเมลดา สุศรีใบแดงสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ข้อมูลนิวจีนส์ประเทศอิสราเอลน้ำอสุจิAวอลเลย์บอลพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)ชาลี ไตรรัตน์ธนวรรธน์ วรรธนะภูติสำนักพระราชวังรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)พิจักขณา วงศารัตนศิลป์เจนนิเฟอร์ คิ้มเกศริน ชัยเฉลิมพลกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์วิชัย สังข์ประไพเอกซ์เจแปนจีเอ็มเอ็มทีวีสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)ประเทศมัลดีฟส์จีรนันท์ มะโนแจ่มเพลิงพรางเทียนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสุทิน คลังแสงรัฐฉานเปรม ติณสูลานนท์อาณาจักรอยุธยามหาวิทยาลัยศรีปทุมข่าวช่อง 7HDพระสุริโยทัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เด่นคุณ งามเนตรสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดพรหมลิขิตปวีณ พงศ์สิรินทร์🡆 More