กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Caucasian languages) หรือกลุ่มภาษาปอนติก หรืออับคาซ-อะดืยเก เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเทือกเขาคอเคซัส โดยเฉพาะในรัสเซีย จอร์เจีย และตุรกี และมีผู้พูดภาษาเหล่านี้กลุ่มเล็กๆในตะวันออกกลาง ทางยูเนสโกจัดให้ภาษาทั้งหมดอยู่ในช่วง เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือ เสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมาก

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ
West Caucasian
Abkhazo-Circassian
Abkhaz–Adyghean
North Pontic
Pontic
ภูมิภาค:คอเคซัสเหนือในยุโรปตะวันออก
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลของภาษาแรกของโลก
ภาษาดั้งเดิม:Proto-Northwest Caucasian
กลุ่มย่อย:
  • Abazgi
  • Circassian
  • Ubykh
กลอตโตลอก:abkh1242
{{{mapalt}}}
  Circassian
  Abazgi
  Ubykh (สูญหาย)

ลักษณะสำคัญ

กลุ่มภาษานี้ทั้งหมดมีเสียงสระน้อย ( 2 หรือ 3 เสียง) แต่มีเสียงพยัญชนะมาก ตัวอย่างเช่น ภาษาอูบึกมีสระเพียง 2 เสียง แต่ถือเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะมากที่สุดสำหรับภาษาที่อยู่นอกเขตแอฟริกาตอนใต้ ซึ่งนักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่าการเกิดเสียงพยัญชนะจำนวนมากเกิดจากการรวมกันของเสียงพยัญชนะที่อยู่ใกล้เคียงกันหรือกับเสียงพยัญชนะที่กลายมาจากเสียงกึ่งสระและควบรวมกันกลายเป็นพยัญชนะใหม่ และอาจเกิดจากระบบอุปสรรคในไวยากรณ์สมัยโบราณ ที่เสียงพยัญชนะที่เป็นอุปสรรคควบรวมกับพยัญชนะอีกตัวกลายเป็นเสียงพยัญชนะใหม่ เช่นกัน

ไวยากรณ์

ภาษาในกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือมีระบบนามแบบการกที่เรียบง่าย แต่มีระบบของคำกริยาที่ซับซ้อนจนดูเหมือนว่าโครงสร้างของประโยคทั้งหมดรวมอยู่ภายในคำกริยา

การจัดจำแนก

ภาษาในกลุ่มนี้มี 5 ภาษาคือ ภาษาอับฮาเซีย ภาษาอบาซา ภาษากาบาร์เดียหรือภาษาเซอร์คาเซียตะวันออก ภาษาอะดืยเกหรือเซอร์คาเซียตะวันตก และภาษาอูบึกซึ่งตายแล้ว

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ 
  • ภาษาอะดืยเก เป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากภาษาหนึ่งในกลุ่มนี้ มี 500,000 คน ในรัสเซียและตะวันออกกลาง แบ่งเป็นในตุรกี 180,000 คน ในรัสเซีย 125,000 คน และเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐอะดืยเกีย ในจอร์แดน 45,000 คน ในซีเรีย 25,000 คน และในอิรัก 20,000 คน มีผู้พูดจำนวนเล็กน้อยในสหรัฐ
  • ภาษากาบาร์เดีย มีผู้พูดทั้งหมดราว 1 ล้านคน แบ่งเป็นในตุรกี 550,000 คน และในรัสเซีย 450,000 คน และเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐกาบาร์ดิโน-บัลกาเรีย และสาธารณรัฐการาเชย์-เซอร์กัสเซีย มีเสียงพยัญชนะน้อยที่สุดในกลุ่มนี้คือมีเพียง 48 เสียง
  • ภาษาอับฮาเซีย มีผู้พูดราว 100,000 คนในอับคาเซีย ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองในจอร์เจียและเป็นภาษาราชการด้วย จำนวนผู้พูดในตุรกีไม่แน่นอน ภาษานี้เริ่มใช้เป็นภาษาเขียนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 บางครั้งจัดให้เป็นภาษาเดียวกับภาษาอบาซา โดยแยกเป็นคนละสำเนียงเพราะมีความใกล้เคียงกันมาก
  • ภาษาอบาซา มีผู้พูดทั้งหมด 45,000 คน แบ่งเป็นในรัสเซีย 35,000 คน และในตุรกี 10,000 คน มีการใช้เป็นภาษาเขียนแต่ไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ
  • ภาษาอูบึก เป็นภาษาที่ใกล้เคยงกับภาษาอับคาซและภาษาอบาซามากกว่าอีก 2 ภาษาของกลุ่มนี้ ผู้พูดภาษานี้เปลี่ยนไปพูดภาษาอะดืยเก ภาษาอูบึกเป็นภาษาตายอย่างแท้จริงเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เมื่อ ผู้พูดภาษานี้คนสุดท้ายคือ เตฟฟิก เอเซนต์ เสียชีวิตลง จัดเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะมากที่สุดในโลกเพราะมีถึง 81 เสียง ไม่มีการใช้เป็นภาษาเขียน

ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น

ความเชื่อมโยงกับภาษาฮัตติก

ในอดีตจนถึง 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช บริเวณอนาโตเลียรอบๆฮัตตูซา ซึ่งต่อมาถูกยึดครองโดยชาวฮิตไตต์ เคยเป็นดินแดนของชาวฮัตเตียนมาก่อน ซึ่งพูดภาษาที่ไม่ใช่ตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน และไม่เกี่ยวข้องกับภาษาฮิตไตต์ ภาษาฮัตติกที่เป็นภาษาโดดเดี่ยวนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษานี้ได้

ความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนืออาจเคยมีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนมาก่อนเมื่อ 12,000 ปีก่อนหน้านี้ โดยมีภาษษปอนดิกดั้งเดิมเป็นภาษาในยุคเริ่มแรกแต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับเท่าใดนัก

ความเชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือ

นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่รวมกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือเข้ากับกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือเป็นกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือแต่ความเชื่อมโยงของภาษาสองกลุ่มนี้มีไม่มากนัก

ความเชื่อมโยงระดับสูง

มีนักภาษาศาสตร์บางคนพยายามเชื่อมโยงในระดับที่สูงกว่านี้ เช่นเชื่อมโยงเข้ากับภาษาเดเน-คอเคเซียน ภาษาบาสก์ ภาษาบูรูศัสกี ภาษาเยนิสเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความพยายามเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ตระกูลภาษายูราลิก ตระกูลภาษาอัลไตอิก ตระกูลภาษาคาร์ทเวเลียน แต่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะสำคัญกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ ไวยากรณ์กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ การจัดจำแนกกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ ความสัมพันธ์กับภาษาอื่นกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ อ้างอิงกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ อ่านเพิ่มกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ แหล่งข้อมูลอื่นกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือจอร์เจียตะวันออกกลางตุรกีรัสเซียเทือกเขาคอเคซัส

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

หน้าไพ่กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์โชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ประเทศเยอรมนีนิชคุณ ขจรบริรักษ์วิธวัฒน์ สิงห์ลำพองเกาะเสม็ดกฤษณภูมิ พิบูลสงครามทวิตเตอร์กรมการปกครองจรินทร์พร จุนเกียรติพรรคเพื่อไทยลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลเรวัช กลิ่นเกษรรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันศุภชัย โพธิ์สุทะเลทรายสะฮารารามาวดี นาคฉัตรีย์ประวิตร วงษ์สุวรรณทิโมธี ชาลาเมต์แคพิบาราอสมทกูเกิล แผนที่ภาษาไทยถิ่นเหนือประเทศรัสเซียอาณาจักรอยุธยาชวน หลีกภัยนักเรียนณัฐฐชาช์ บุญประชมท่าอากาศยานดอนเมืองรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดศรีสะเกษสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีเขตพื้นที่การศึกษาเมืองพัทยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเงินตราอชิรญา นิติพนพรหมลิขิตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชไลแคน (บอยแบนด์)สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติพรรคก้าวไกลพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์บรูนู ฟือร์นังดึชเอเรอดีวีซีซินดี้ บิชอพทวี ไกรคุปต์สำราญ นวลมาทักษิณ ชินวัตรนกกะรางหัวขวานแวมไพร์ ทไวไลท์พระยศเจ้านายไทยตระกูลบุนนาคสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์จักรพรรดิยงเจิ้งฉัตรชัย เปล่งพานิชสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024มหาวิทยาลัยนเรศวรกวนอิมหลานม่าฟุตซอลโลกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณขจร เจียรวนนท์ฟุตซอลทีมชาติไทยกกณฐพร เตมีรักษ์ประเทศออสเตรเลียภาษาญี่ปุ่นรายชื่อตัวละครในวันพีซกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)🡆 More