กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา เป็นประชุมกฎหมายที่สัมพันธ์กับอาชญากรรม โดยห้ามความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม หรือเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชน กฎหมายอาญาส่วนใหญ่สร้างขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ กฎหมายอาญามีบทลงโทษและการทำให้กลับคืนดีซึ่งประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว

กฎหมายอาญาต่างจากกฎหมายแพ่ง ซึ่งเน้นการระงับข้อพิพาทและการใช้ค่าสินไหมทดแทน มากกว่าการลงโทษหรือการทำให้กลับคืนดี

วัตถุประสงค์

กฎหมายอาญามีความพิเศษจากผลลัพธ์ที่อาจรุนแรงหรือบทลงโทษที่ละเว้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอาญา อาชญากรรมทุกประเภทมีองค์ประกอบแห่งความผิดอาญา โทษทางอาญามีทั้งโทษประหารชีวิต ซึ่งบางเขตอำนาจศาลใช้บังคับสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด, การลงโทษทางกาย เช่น การเฆี่ยน แม้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกห้ามการลงโทษลักษณะนี้แล้ว, การกักขังในเรือนจำหรือคุกในสภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการแยกขังเดี่ยว ส่วนระยะเวลานั้นอาจมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงตลอดชีวิต, การคุมความประพฤติ เช่น การกักให้อยู่แต่ในบ้าน (house arrest) และผู้ต้องโทษอาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติ , ปรับ , และริบทรัพย์เป็นเงินหรือทรัพย์สิน

มีการยอมรับวัตถุประสงค์ 5 ประการสำหรับการบังคับใช้กฎหมายอาญาโดยการลงโทษ ได้แก่ การตอบแทน การป้องปราม การหมดความสามารถ การทำให้กลับคืนดีและการคืนสภาพ เขตอำนาจศาลต่าง ๆ ให้น้ำหนักแก่คุณค่าต่างกันไป

  • การตอบแทน (retribution): มองว่าอาชญากรสมควรถูกลงโทษในทางใดทางหนึ่ง เป็นเป้าหมายที่มองกันแพร่หลายมากที่สุด อาชญากรใช้ข้อได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม หรือก่อความเสียหายอย่างอยุติธรรมต่อผู้อื่น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงต้องทำให้อาชญากรได้รับผลเสียอันไม่น่าพึงประสงค์เพื่อให้ "สมดุลกัน" ในทำนองเดียวกัน ประชาชนยอมรับต่อกฎหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิในการไม่ถูกฆ่า และหากมีประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายข้อนี้ ถือว่าพวกเขายอมสละสิทธิที่กฎหมายมอบให้ ดังนั้นบุคคลที่ฆ่าผู้อื่นจึงอาจถูกประหารชีวิตด้วย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี "การรักษาสมดุล"
  • การป้องปราม (deterrence): การป้องปรามปัจเจกมุ่งต่อผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายคือการกำหนดบทลงโทษให้หนักเพียงพอเพื่อให้ประชาชนไม่คิดกระทำความผิด การป้องปรามทั่วไปมุ่งต่อสังคมทั้งหมด
  • การหมดความสามารถ (incapacitation): ออกแบบมาเพื่อกันอาชญากรจากสังคมเพื่อให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิด โทษอาจมีทั้งจำคุก ประหารชีวิตหรือเนรเทศ
  • การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความผิดให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของเขาผิด
  • การคืนสภาพ (restoration): ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย

ประเภทของความผิด

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

  1. ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ลักษณะของการทำความผิดทางอาญา

กฎหมายอาญากระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

  1. ความผิดโดยการกระทำ
  2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
  3. ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

สภาพบังคับของกฎหมายอาญา

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเข้าสู่สังคมอย่างเดิม

กฎหมายอาญาบางส่วน

องค์ประกอบแห่งความผิดอาญา

กฎหมายอาญาโดยทั่วไปห้ามการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการพิสูจน์ความผิดอาญาจึงอาศัยการพิสูจน์การกระทำบางอย่าง นักวิชาการระบุว่าเป็นข้อกำหนดการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญา (actus reus) ความผิดอาญาบางอย่าง โดยเฉพาะความผิดในข้อบังคับสมัยใหม่ไม่ต้องมีการพิสูจน์การกระทำ เรียก ความผิดความรับผิดโดยสิ้นเชิง (strict liability) เช่น การขับขี่ยานพานหะโดยมีแอลกอฮอลในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี เนื่องจากโทษอาญาอาจรุนแรง ผู้พิพากษาในระบบคอมมอนลอว์จึงมองหาการพิสูจน์เจตนาร้าย (mens rea) ด้วย สำหรับความผิดอาญาที่กำหนดทั้งการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญาและเจตนาร้ายนั้น ผู้พิพากษาสรุปว่าองค์ประกอบทั้งสองจะต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่เกิดขึ้นติดต่อกันตามวาระกัน

ดูเพิ่ม

  • ศาลอาญา

อ้างอิง

Tags:

กฎหมายอาญา วัตถุประสงค์กฎหมายอาญา ประเภทของความผิดกฎหมายอาญา ลักษณะของการทำความผิดทางอาญากฎหมายอาญา สภาพบังคับของกฎหมายอาญา บางส่วนกฎหมายอาญา ดูเพิ่มกฎหมายอาญา อ้างอิงกฎหมายอาญาอาชญากรรม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วัดโสธรวรารามวรวิหารเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ปีนักษัตรสกีบีดีทอยเล็ตเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)พิชิต ชื่นบานฐากูร การทิพย์สหรัฐสโมสรฟุตบอลเชลซีซอฟต์พาวเวอร์วิกิพีเดียแปลก พิบูลสงครามมิตร ชัยบัญชาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจังหวัดสุราษฎร์ธานีสุรเชษฐ์ หักพาลฉัตรมงคลบิลลี ไอลิชยูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)ฟุตซอลโลก 2021ธนาคารแห่งประเทศไทยประวิตร วงษ์สุวรรณจังหวัดยะลาหม่ำ จ๊กมกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีคณะวิชารายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครชา อึน-อูดาโน เซียกาจิรวัฒน์ สอนวิเชียรจนกว่าจะได้รักกันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไททานิค (ภาพยนตร์)ร่างทรง (ภาพยนตร์)จังหวัดสุโขทัยปักหมุดรักฉุกเฉินรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยสมชัย ศรีสุทธิยากรพระพุทธชินราชมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีบีบีซี เวิลด์นิวส์จัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีรายชื่อตอนในโปเกมอนไอคอนสยามประเทศมาเลเซียสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดประเทศไทยอาเลฆันโดร การ์นาโชเครยอนชินจังภรภัทร ศรีขจรเดชาธี่หยดเทเลทับบี้ส์บิตคอยน์ชาตรี ศิษย์ยอดธงอนุชา นาคาศัยซิตี้ฮันเตอร์FBพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบาร์เซโลนาสมณศักดิ์หอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ราชวงศ์จักรีรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ชาคริต แย้มนามถนนเพชรเกษมรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)ลัดดาแลนด์ (ภาพยนตร์)บยอน อู-ซ็อกประเทศเยอรมนีราชสกุล🡆 More