สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ.

1947–1949 หรือในอิสราเอล เรียก สงครามอิสรภาพ (ฮีบรู: מלחמת העצמאות) และในภาษาอาหรับเรียกว่าเป็นองค์ประกอบแกนกลางของนักบา (อาหรับ: النكبة) เป็นสงครามรบพึ่งกันในดินแดนปาเลสไตน์ภายใต้อาณัติของบริเตน เป็นสงครามครั้งแรกในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลอีกต่อหนึ่ง ในสงครามครั้งนี้ จักรวรรดิบริติชถอนตัวจากปาเลสไตน์ในอาณัติ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันจนถึงปี 1917 สงครามครั้งนี้ลงเอยด้วยการสถาปนารัฐอิสราเอลโดยชาวยิว และมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์อย่างเบ็ดเสร็จในดินแดนที่ยิวได้ยึดครอง โดยมีการพลัดถิ่นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ประมาณ 700,000 คน และการทำลายพื้นที่เมืองของชาวอาหรับปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ชาวอาหรับปาเลสไตน์ตกอยู่ในสภาพไร้รัฐเป็นอันมาก โดยกระจัดกระจายอยู่ตามดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกประเทศอียิปต์และจอร์แดนยึดครอง หรืออยู่ตามรัฐอาหรับที่อยู่ติดกัน ในบรรดาชาวอาหรับปาเลสไตน์นี้ มีจำนวนมากยังไร้รัฐและต้องอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949
ทหารอิสราเอลปักธงหมึก ณ ไอลัต เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1948
วันที่15 พฤษภาคม 1948 – 20 กรกฎาคม 1949
(1 ปี 7 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
อดีตปาเลสไตน์ในอาณัติ, คาบสมุทรไซนาย, ทางใต้ของเลบานอน
ผล

  • อิสราเอลชนะ
  • จอร์แดนชนะเพียงเล็กน้อย
  • ปาเลสไตน์อาหรับแพ้
  • อียิปต์แพ้
  • ความล้มเหลวทางยุทธศาสตร์ของสันนิบาตอาหรับ
  • การอพยพหนีภัยของชาวปาเลสไตน์ ค.ศ. 1948 และการอพยพของยิวออกจากประเทศอาหรับและมุสลิม ค.ศ. 1948
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ภายใต้ความตกลงสงบศึก ค.ศ. 1949:
  • ตั้งรัฐอิสราเอลที่มีเขตแดนมากกว่าที่กำหนดโดยแผนแบ่งปาเลสไตน์ของยูเอ็น
  • ตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์ทั้งปวงในฉนวนกาซาภายใต้การอุปถัมภ์ของอียิปต์
  • จอร์แดนปกครองเวสต์แบงก์และเยรูซาเลมตะวันออก
  • ซีเรียได้ที่มั่นทางเหนือและใต้ของทะเลกาลิลี
คู่สงคราม
ก่อน 26 พฤษภาคม 1948
อิสราเอล Yishuv
กำลังกึ่งทหาร:
  • สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Haganah
    • Palmach
    • สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Hish
    • สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Him

หลัง 26 พฤษภาคม 1948:
อิสราเอล อิสราเอล
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 กองกำลังป้องกันอิสราเอล

  • หน่วยชนกลุ่มน้อย

อาสาสมัครต่างด้าว:
Mahal

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 ALA
al-Najjada


สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Holy War Army
(ก่อน 15 พฤษภาคม 1948)
อียิปต์ อียิปต์
จอร์แดน ทรานส์จอร์แดน
อิรัก อิรัก
ซีเรีย ซีเรีย

เลบานอน เลบานอน
(หลัง 15 พฤษภาคม 1948)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อิสราเอล เดวิด เบนกูเรียน
อิสราเอล Yisrael Galili
อิสราเอล ยาคอฟ ดอรี่
อิสราเอล Yigael Yadin
อิสราเอล Yigal Allon
อิสราเอล ยิตซัค ราบิน
อิสราเอล David Shaltiel
อิสราเอล โมเช ดายัน

อิสราเอล Shimon Avidan

สันนิบาตอาหรับ สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Azzam Pasha
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
จอร์แดน สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Muzahim al-Pachachi
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Husni al-Za'im
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Haj Amin al-Husseini
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Ahmed Ali al-Mwawi
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Muhammad Naguib
จอร์แดน John Bagot Glubb
จอร์แดน Habis al-Majali
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Hasan Salama  

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 Fawzi al-Qawuqji
กำลัง
อิสราเอล: เริ่มแรกมีประมาณ 10,000 คน แต่เพิ่มขึ้นเป็น 115,000 คนในเดือนมีนาคม 1949 อียิปต์: 10,000 นาย ขั้นต้นและเพิ่มขึ้นถึง 20,000 นาย
อิรัก: 3,000 นาย ขั้นต้นและเพิ่มขึ้นถึง 15,000-18,000 นาย
ซีเรีย: 2,500-5,000 นาย
ทรานสจอร์แดน: 8,000-12,000 นาย
เลบานอน: 1,000 นาย
ซาอุดีอาระเบีย: 800-1,200 นาย (คำสั่งอียิปต์)
เยเมน: 300 นาย
กองทัพปลดปล่อยอาหรับ:. 3,500-6,000
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 6,080 คน (ทหาร 4,074 นายและพลเรือน 2,000 คน) เสียชีวิตระหว่าง +5,000 และ 20,000 คน (รวมพลเรือน) ในจำนวนนี้เป็นทหารอียิปต์ จอร์แดนและซีเรียรวมกัน 4,000 นาย
อาหรับเสียชีวิต 15,000 คนและได้รับบาดเจ็บ 25,000 คน (ประมาณการ)

ดินแดนที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริติชก่อนสงครามนั้นถูกแบ่งออกเป็นรัฐอิสราเอล ซึ่งควบคุมประมาณร้อยละ 78 ของพื้นที่ ราชอาณาจักรจอร์แดน (ขณะนั้นชื่อทรานส์จอร์แดน) ซึ่งควบคุมและต่อมาผนวกดินแดนซึ่งต่อมาเป็นเวสต์แบงก์ และประเทศอียิปต์ซึ่งยึดฉนวนกาซา ดินแดนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านสันนิบาตอาหรับสถาปนารัฐบาลปาเลสไตน์ทั้งปวง (All-Palestine Government)

สงครามนี้แบ่งออกเป็นสองระยะ ระยะแรกเป็นสงครามกลางเมืองในปาเลสไตน์ในอาณัติปี 1947–1948 ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1947 หนึ่งวันหลังสหประชาชาติลงมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐเอกราชยิวและอาหรับ และเยรูซาเลมซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของนานาชาติ (ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 181) ซึ่งผู้นำยิวยอมรับ แต่ผู้นำอาหรับและอาหรับปาเลสไตน์ปฏิเสธโดยพร้อมเพรียงกัน นักประวัติศาสตร์อธิบายความขัดแย้งในระยะนี้ว่าเป็นสงคราม "กลางเมือง", "เชื้อชาติ" หรือ "ระหว่างชุมชน" เพราะรบพุ่งกันระหว่างทหารอาสาสมัครยิวและอาหรับปาเลสไตน์ ซึ่งฝ่ายหลังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพปลดปล่อยอาหรับและรัฐอาหรับที่อยู่โดยรอบ สงครามในระยะนี้มีลักษณะเป็นการสงครามกองโจรและการก่อการร้าย และต่อมาบานปลายขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 1948 เมื่อยิวเป็นฝ่ายบุกและเป็นฝ่ายชนะชาวปาเลสไตน์ในการทัพและยุทธการขนาดใหญ่ จนเกิดเป็นแนวรบที่ชัดเจน ในระหว่างนี้ บริเตนยังคงปกครองดินแดนปาเลสไตน์อยู่ แม้ว่าจะน้อยลงเรื่อย ๆ และบางทีก็เข้าสอดในความรุนแรงนี้

จักรวรรดิบริติชกำหนดการถอนกำลังและสละการอ้างสิทธิ์ทั้งปวงในปาเลสไตน์ไว้วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ในวันนั้น เมื่อทหารและกำลังพลบริติชคนสุดท้ายออกจากนครไฮฟา ผู้นำยิวในปาเลสไตน์ประกาศสถาปนารัฐอิสราเอล หลังประกาศได้พลันกองทัพอาหรับและกำลังรบนอกประเทศของอาหรับที่อยู่โดยรอบอิสราเอลก็บุกครองอิสราเอลทันทีเพื่อขัดขวางอิสราเอลและเข้าช่วยชาวอาหรับปาเลสไตน์ซึ่งเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในเวลานั้น การบุกครองดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามในระยะที่สอง เรียก สงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 อียิปต์รุกคืบเข้ามาทางฝั่งทะเลตอนใต้และหยุดใกล้กับแอชดอด (Ashdod); ลีจันอาหรับจากจอร์แดนและกองทัพอิรักยึดที่ราบสูงตอนกลางของปาเลสไตน์ ประเทศซีเรียและเลบานอนรบปะทะกับกำลังอิสราเอลหลายครั้งทางตอนเหนือ ทหารอาสาสมัครอิสราเอล ซึ่งจัดระเบียบเป็นกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) สามารถหยุดยั้งกองทัพอาหรับไว้ได้ ในเดือนต่อ ๆ มามีการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่าง IDF กับกองทัพอาหรับ ซึ่งค่อย ๆ ถูกผลักดันกลับไป กองทัพจอร์แดนและอิรักสามารถควบคุมที่สูงตอนกลางปาเลสไตน์และยึดเยรูซาเลมตะวันออกไว้ได้ รวมทั้งกรุงเก่า เขตยึดครองของอียิปต์ถูกจำกัดไว้เพียงฉนวนกาซาและวงล้อมขนาดเล็กภายใต้การล้อมของกำลังอิสราเอลที่ Al-Faluja ในเดือนตุลาคมและธันวาคม 1948 กำลังอิสราเอลข้ามสู่ดินแดนเลบานอนและผลักดันเข้าสู่คาบสมุทรไซนายของอียิปต์ ล้อมกำลังอียิปต์ไว้ใกล้กับนครกาซา การปฏิบัติทางทหารสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 1949 เมื่อกำลังอิสราเอลยึดทะเลทรายเนเกฟและถึงทะเลแดง ในปี 1949 อิสราเอลลงนามการสงบศึกแยกกันกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้ กับประเทศอียิปต์ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์, กับประเทศเลบานอนในวันที่ 23 มีนาคม, กับทรานส์จอร์แดนในวันที่ 3 เมษายน และกับประเทศซีเรียในัวนที่ 20 กรกฎาคม ในช่วงนี้ การหนีของและการขับไล่ชาวอาหรับปาเลสไตน์ยังคงดำเนินต่อไป

ในช่วงสามปีหลังสงคราม ยิวประมาณ 700,000 คนเข้าเมืองอิสราเอลจากทวีปยุโรปและดินแดนอาหรับ โดยหนึ่งในสามของจำนวนนี้ออกหรือถูกขับออกจากประเทศถิ่นพำนักของตนในตะวันออกกลาง ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ถูกกลืนเข้าสู่อิสราเอลในแผนหนึ่งล้าน

แผนภาพ

แผนที่ชุดสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 1948
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 1948 
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 
สถานการณ์ในเดือนตุลาคม 1948
สถานการณ์ในเดือนตุลาคม 1948 
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 1948 – 7 มกราคม 1949
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 1948 – 7 มกราคม 1949 
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 5–10 มีนาคม 1949
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 5–10 มีนาคม 1949 
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 
แผนที่หลังการสงบศึก
แผนที่หลังการสงบศึก 

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 แผนภาพสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 อ้างอิงสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 บรรณานุกรมสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 แหล่งข้อมูลอื่นสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์จักรวรรดิบริติชจักรวรรดิออตโตมันปาเลสไตน์ในอาณัติภาษาอาหรับภาษาฮีบรูรัฐอิสราเอล

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ประเทศไต้หวันจังหวัดเพชรบุรีบี-2 สปีริทพระสุพรรณกัลยาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลเพลิงพรางเทียนรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ประเทศฟิลิปปินส์จังหวัดเลยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย4 KINGS 2พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพรรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ประเทศกรีซพรหมลิขิตรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีประเทศสเปนเปรียญธรรม 9 ประโยคสังโยชน์ลองของพระมหากษัตริย์ไทยปราบ ยุทธพิชัยรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันศรุต วิจิตรานนท์ข้ามเวลามาเซฟเมนกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)รายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)กังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์อรจิรา แหลมวิไลนิวจีนส์กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์เกิดชาตินี้พี่ต้องเทพสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีประเทศพม่าศาสนาพุทธโชเซ มูรีนโยมณฑลของประเทศจีนจิรายุ ตั้งศรีสุขมิลลิ (แร็ปเปอร์)สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จุดทิศหลักพรหมวิหาร 4ญาณี จงวิสุทธิ์พรีเมียร์ลีกไพ่แคงมินนี่ (นักร้อง)สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาแจ๊ส ชวนชื่นรัฐกะเหรี่ยงสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสุทิน คลังแสงระบบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครแจ็กสัน หวังพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกอริยบุคคลหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)เข็มทิศกรภัทร์ เกิดพันธุ์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1วรกมล ชาเตอร์เอกซ์เจแปนความเสียวสุดยอดทางเพศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยฟุตซอลทีมชาติไทยตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลอำเภอจ๊ะ นงผณีศาสนาอิสลามบอดี้สแลมสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้าสหประชาชาติจังหวัดชัยภูมิภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากร🡆 More