ดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม

พระยาศรีสิทธิสงคราม (10 พฤษภาคม พ.ศ.

2434 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2476) นามเดิม ดิ่น ท่าราบ เป็นนายทหารบกชาวไทย มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพภาคที่ 1 ในเหตุการณ์กบฎบวรเดช

พระยาศรีสิทธิสงคราม
(ดิ่น ท่าราบ)
ดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2434
อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ราชอาณาจักรสยาม
เสียชีวิต23 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (42 ปี)
อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประเทศสยาม
คู่สมรสคุณหญิงตลับ ศรีสิทธิสงคราม
บุตร4 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม สยาม
ดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม ไทย
สังกัด
ประจำการพ.ศ. 2457 – 2476
ยศพันเอก
บังคับบัญชากองทัพภาคที่1
ผ่านศึกกบฎบวรเดช

ประวัติ

ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

พระยาศรีสิทธิสงคราม มีนามเดิมว่า ดิ่น ท่าราบ เกิดที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ในครอบครัวชนชั้นกลางซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดิ่นเป็นคนเรียนเก่ง สอบเข้านายร้อยทหารบก และจบการศึกษาได้ที่ 1 จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่จักรวรรดิเยอรมันรุ่นเดียวกับพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ทั้งสามคนเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยในเมืองพ็อทซ์ดัมเป็นเวลาหนึ่งปี และเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยปรัสเซียในกรุงเบอร์ลิน ในช่วงนี้ทั้งสามคนสนิทสนมกันมากจนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "สามทหารเสือ" เช่นเดียวกับสามทหารเสือในนวนิยายของอาแล็กซ็องดร์ ดูว์มา

ระหว่างที่อยู่ทวีปยุโรปนี้ ประยูร ภมรมนตรี เริ่มเป็นตัวกลางชักชวนบุคคลต่างๆให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ประยูรใช้เวลาตามจีบพระยาศรีสิทธิสงครามกว่าปีเศษจึงยอมร่วมมือ แต่มีเงื่อนไขว่าขอดูตัวผู้ที่จะเป็นหัวหน้าคณะก่อการเสียก่อน แต่เมื่อทราบผู้นำการก่อการคือสองเพื่อนสนิทของตน ดิ่นจึงขอถอนตัวโดยรับปากว่าจะไม่เอาความลับไปแพร่งพราย และจะติดตามดูอยู่จากวงนอกเท่านั้น

ดิ่นอยู่ที่ยุโรปประมาณสิบปีแล้วจึงเดินทางกลับสยามและได้รับยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2457 และมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ตามลำดับ จนได้รับยศเป็นพันเอก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ขณะอายุได้ 37 ปี แรกเป็นนายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ต่อมาได้เป็นหัวหน้าแผนกที่ 2 กรมเสนาธิการทหารบกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2473 และดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน พระศรีสิทธิสงครามได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 ขณะอายุได้ 40 ปี พระยาศรีสิทธิสงครามเคยออกความเห็นว่าระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นไม่เหมาะสมแก่ยุคสมัย สมควรเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ต้องเป็นวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรง

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาพหลพลพยุหเสนาชักชวนพระยาศรีสิทธิสงครามเข้าร่วมคณะราษฎร แต่พระยาศรีสิทธิฯก็ปฏิเสธไปเนื่องจากไม่ชอบวิธีการรุนแรงที่คณะราษฎรใช้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงสุรเดชไม่พอใจจึงสั่งย้ายพระยาศรีสิทธิฯไปประจำกระทรวงธรรมการ นัยว่าเป็นการลงโทษ

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 พระยาพหลฯกับพระยาทรงฯทะเลาะกันเรื่องงานจนวังปารุสก์แทบแตก พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ), พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) ปรึกษากันแล้วเห็นว่าถ้ารับราชการแล้วต้องมาทะเลาะกันแบบนี้ก็ลาออกดีกว่า ทั้งสามพระยาจึงลาออก ส่งผลให้พระยาพหลฯต้องลาออกตามเพื่อรักษามารยาท นั่นทำให้ตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลและกองทัพที่เคยเป็นของสี่เสือคณะราษฎรว่างลงทั้งหมด

นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาปรึกษากับพันโทหลวงพิบูลสงคราม ได้ข้อสรุปว่าจะให้พันโทประยูรไปเชิญพลตรีพระยาพิไชยสงครามมาเป็นผู้บัญชาการทหารบก, เชิญพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามมาเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก ส่วนตัวหลวงพิบูลจะขอเป็นเพียงผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พระยาพหลฯไม่คัดค้านจึงเป็นอันตกลงกันได้ ในที่สุดก็มีพระบรมราชานุญาติให้สี่ทหารเสือลาออกในวันที่ 18 มิถุนายน และจะมีผลในวันที่ 24 มิถุนายน ระหว่างนี้ให้บุคลลที่จะได้รับแต่งตั้งรักษาราชการในตำแหน่งที่ว่างลงไปพลางก่อน

เมื่อกลับสู่กองทัพ พระยาศรีสิทธิสงครามเตรียมโยกย้ายนายทหารสายคณะราษฎรทั้งหมดออกจากตำแหน่งคุมกำลังพล การข่าวเรื่องนี้หลุดไปถึงหลวงพิบูลสงคราม ทำให้ในวันที่ 20 มิถุนายน พระยาพหลฯ หลวงพิบูลฯ และหลวงศุภชลาศัย ชิงก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา หลวงพิบูลบอกพันโทประยูรว่า "ประยูร จำเป็นต้องทำ ไม่มีทางเลี่ยง เพราะเจ้าคุณศรีสิทธิสงครามเล่นไม่ซื่อหักหลัง เตรียมสั่งย้ายนายทหารผู้กุมกำลังทั้งกองทัพ พวกก่อการจะถูกตัดตีนมือและถูกฆ่าตายในที่สุด" ประยูรได้เขียนบันทึกไว้ว่า "ต่อมาอีก 2-3 วัน ท่านเจ้าคุณศรีสิทธิสงครามมาหาข้าพเจ้าที่บ้านบางซื่อ หน้าเหี้ยมเกรียม ตาแดงก่ำเป็นสายเลือด นั่งกัดกรามพูดว่าหลวงพิบูลสงครามเล่นสกปรก ท่านจะต้องกำจัด จะต้องฆ่าหลวงพิบูลสงคราม แต่จะต้องดูเหตุการณ์ไปก่อน ถ้าหลวงพิบูลล่วงเกินพระเจ้าแผ่นดินเมื่อใด ท่านเป็นลงมือเด็ดขาด..." พระยาศรีสิทธิสงครามถูกโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงธรรมการตามเดิม

กบฏบวรเดช

ในเหตุการณ์กบฏบวรเดชในเดือนตุลาคม 2476 พระยาศรีสิทธิสงครามเข้าร่วมด้วย มีฐานะเป็นแม่ทัพ รับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง จนเมื่อทางฝ่ายกบฏเพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาล ในเวลาพลบค่ำของวันที่ 23 ตุลาคม ปีเดียวกัน พระยาศรีสิทธิสงครามถูกยิงเสียชีวิตใกล้กับที่สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี โดยหน่วยของว่าที่ร้อยตรีตุ๊ จารุเสถียร จากนั้นร่างของพระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกส่งกลับกรุงเทพมหานคร โดยทำการฌาปนกิจอย่างเร่งด่วนที่วัดอภัยทายาราม หรือวัดมะกอก โดยที่ทางครอบครัวไม่ได้รับรู้มาก่อนเลย และกว่าจะได้อัฐิกลับคืนก็เป็นเวลาล่วงไป 3-4 ปีแล้ว อีกทั้งยังถูกคุกคามต่าง ๆ นานา ตลอดสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งวันที่ 27 มกราคม 2491 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานคืนยศ บรรดาศักดิ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ย้อนหลังให้กับท่าน

ชีวิตส่วนตัว

ชีวิตครอบครัวของพระยาศรีสิทธิสงคราม สมรสกับคุณหญิงศรีสิทธิสงคราม (ตลับ ท่าราบ - นามสกุลเดิม อ่ำสำราญ) มีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นางอัมโภช จุลานนท์ (มารดาของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์), แพทย์หญิงโชติศรี ท่าราบ, นางอารีพันธ์ ประยูรโภคราช และนายชัยสิทธิ์ ท่าราบ

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการสร้างแอนิเมชันเรื่อง ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ โดยมีตัวละคร พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พากย์เสียงโดย วันชนะ สวัสดี

บรรดาศักดิ์และยศ

  • 21 สิงหาคม 2457 – นายร้อยตรี
  • 2 กันยายน 2457 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศทหารบกไปพระราชทาน
  • 30 เมษายน 2458 – นายร้อยโท
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2461: หลวงศรีสิทธิสงคราม
  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2467: พระศรีสิทธิสงคราม
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2474: พระยาศรีสิทธิสงคราม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

ดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม ประวัติดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม ชีวิตส่วนตัวดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม ในวัฒนธรรมสมัยนิยมดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม บรรดาศักดิ์และยศดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงคราม อ้างอิงดิ่น ท่าราบ พระยาศรีสิทธิสงครามกบฎบวรเดช

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ปตท.สมเด็จพระมหินทราธิราชพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสนามกีฬาเวมบลีย์จังหวัดเพชรบุรีอริยสัจ 4เสกสรรค์ ศุขพิมายประเทศเกาหลีสหประชาชาติหน้าไพ่เครยอนชินจังสาวิกา ไชยเดชเจนนีดราก้อนบอล ซูเปอร์สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาพฤษภาคมสโมสรฟุตบอลมิดเดิลส์เบรอจังหวัดหนองคายจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทวีปกองทัพเรือไทยฝันรักห้วงนิทรา My Marvellous Dream Is Youรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครFBพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชินีแห่งน้ำตาพระพุทธโสธรรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์อิงฟ้า วราหะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จังหวัดระยองประเทศเกาหลีเหนือวัดพระศรีรัตนศาสดารามกฤษฏ์ อำนวยเดชกรพรหมลิขิตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กจังหวัดสงขลาอาณาจักรสุโขทัยเฟซบุ๊กคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรายชื่อธนาคารในประเทศไทยพระเจ้าบุเรงนองไตรลักษณ์กรมสรรพากรสมศักดิ์ เทพสุทินกวนอิมพ.ศ. 2564นักเรียนต่อศักดิ์ สุขวิมลจังหวัดสุรินทร์ธนาคารแห่งประเทศไทยกัญญาวีร์ สองเมืองไทยลีกวัดโสธรวรารามวรวิหาร23.5 องศาที่โลกเอียงประเทศอิสราเอลปิยวดี มาลีนนท์ประเทศอินเดียพิกซี่ (วงดนตรี)เมียวดียูฟ่ายูโรปาลีกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากรคิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสนิวรณ์ธนาคารไทยพาณิชย์โฟร์อีฟสถานีกลางบางซื่อพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา🡆 More