วิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv

ไฟนอลแฟนตาซี XIV (ญี่ปุ่น: ファイナルファンタジーXIV; อังกฤษ: Final Fantasy XIV) เป็นเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีภาคที่ 14 ของซี่รี่ย์นี้ โดยออกจำหน่ายบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ผู้ผลิตคือบริษัท สแควร์เอนิกซ์ โดยเป็นแบบออนไลน์ (MMORPG) เช่นเดียวกับไฟนอลแฟนตาซี XI เกมนี้มีการประกาศเปิดตัวครั้งแรกในงาน E3 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.

2552">พ.ศ. 2552 หลังจากดำเนินการสร้างมาเป็นเวลากว่า 5 ปี ก่อนที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553 โดยจำหน่ายแผ่นเกมพร้อมรหัสลงทะเบียนสำหรับเล่นบน PC ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์

ไฟนอลแฟนตาซี XIV
ファイナルファンタジーXIV
โลโก้เกม ไฟนอลแฟนตาซี XIV
โลโก้เกม ไฟนอลแฟนตาซี XIV
ผู้พัฒนาSquare Enix Product Development Division 3
ผู้ออกแบบโนบุอะกิ โคโมโตะ

เกมได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2553 จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ในช่วงต้น เกมได้รับคำวิจารณ์ด้านลบในส่วนของคุณภาพตัวเกม ทางบริษัทสแควร์เอนิกซ์จึงทำการปรับทีมพัฒนาและตัวเกมใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 14 ตุลาคม 2554 สแควร์เอนิกซ์ได้ประกาศว่าตัวเกมนี้คือเวอร์ชัน 1 และทำการประกาศตัวเกมภาคใหม่ที่กำลังพัฒนาในชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี XIV: อะเรียล์มรีบอร์น ให้เป็นเวอร์ชัน 2.0 และช่วงท้ายของการให้บริการเกมในเวอร์ชัน 1 ได้จัดเหตุการณ์ในเกมให้เสมือนคล้ายวันวิปโยค เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องในส่วนของ อะเรียล์มรีบอร์น และตัดการเชื่อมต่อผู้เล่นออกจากเกมรวมถึงยุติการให้บริการเมื่อถึงวันที่กำหนด

ตัวเกม อะเรียล์มรีบอร์น ได้เริ่มทำการทดสอบอัลฟ่าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2555 ถัดจากนั้นจึงเข้าสู่ช่วงเบต้า โดยแบ่งออกเป็นสี่ช่วง ซึ่งในช่วงที่สามได้เพิ่มการสนับสนุนเวอร์ชัน เพลย์สเตชัน 3 และเปิดให้บุคคลภายนอกได้ทดสอบในช่วงที่ 4 ทั้งนี้ ทางแควร์เอนิกซ์ได้ให้ข้อเสนอแก่ผู้เล่นที่สั่งจองตัวเกมก่อน โดยผู้เล่นจะได้เข้าเล่นก่อนวันเปิดตัวจริงเป็นระยะเวลา 2 วัน ในภาคใหม่นี้ ตัวเกมจะยังคงเนื้อเรื่อง และระบบการเล่นจากภาคเก่าไว้ แต่เปลี่ยนแปลงในส่วนของไคลแอนต์ กราฟิกเอนจิน เซิร์ฟเวอร์ ส่วนติดต่อผู้ใช้ เพิ่มเกมการเล่นใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น และเนื้อเรื่องเสริมเพิ่มเติม โดยเกมภาคใหม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556

โครงเรื่องหลัก

ในเวอร์ชันแรกผู้เล่นจะได้สวมบทบาทเป็นนักผจญภัยและเดินทางตามหาความท้าทายในอาณาจักรที่ชื่อเอออร์เซีย (Eorzea) ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมืองด้วยกันคือ ลิมซ่า-โลมินซ่า (Limsa-Lominsa), อุลดาห์ (U'ldah) และ กริดาเนีย (Gridania)

รูปแบบการเล่น

ไฟนอลแฟนตาซี XIV จะแบ่งการเก็บค่าประสบการณ์ออกเป็นสองส่วนคือ เลเวลทางกายภาพ (Physical Level) และ ระดับอาชีพ (Class Rank) โดยผู้เล่นสามารถเปลี่ยนอาชีพได้ตลอดเวลาด้วยการเปลี่ยนอาวุธหรืออุปกรณ์งานช่างต่าง ๆ

เมื่อเริ่มเกมผู้เล่นจะเลือกเผ่าพันธุ์จากทั้ง 5 เผ่า ได้แก่ ฮีวร์ (Hyur), เอเลเซน (Elezen), มิโคเท่ (Miqo'te), โรกาดีน (Rogadein), และ ลาลาเฟล (Lalafel) จากนั้นจึงเลือกอาชีพ ซึ่งมี 4 หมวด ได้แก่ หมวดนักสู้ (นักรบ นักธนู โจร จอมยุทธ และพลทวน) หมวดนักเวทย์ (ผู้ใช้ธรรมชาติ พ่อมด) หมวดนักประดิษฐ์ (ช่างตีดาบ พ่อครัว ช่างไม้ ช่างเกราะ ช่างทอง ช่างฟอกหนัง และช่างทอผ้า) และหมวดเกษตรกรรม (ชาวสวน ชาวประมง นักขุดแร่ และชาวเหมือง) นอกจากนี้ยังมีระบบการสร้างภารกิจ (ลีฟเควสต์) โดยใช้การ์ดสำหรับกำหนดลักษณะของเควสต์ ยิ่งมีการผสมการ์ดมากเควสท์ก็ยิ่งซับซ้อนมากตามไปด้วย

การพัฒนาตัวเกม

การปรับปรุงตัวเกม

หลังจากเกมได้รับเสียงตอบรับที่แย่ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 โยอิชิ วาดะ ประธานบริษัทสแควร์เอนิกซ์ ได้ประกาศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมพัฒนาเกมนี้ พร้อมกับ ฮิโรมิชิ ทานากะ ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นโปรดิวเซอร์และลาออกจากบริษัทไปทำให้ นาโอกิ โยชิดะ ได้รับตำแหน่งทั้งไดเรกเตอร์และโปรดิวเซอร์ของเกมนี้แทน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบุคลากรอีกมาก ส่งผลให้เวอร์ชัน เพลย์สเตชัน 3 ที่มีกำหนดออกวางจำหน่ายประมาณ มีนาคม พ.ศ. 2554 ต้องถูกเลื่อนออกไป โยชิดะได้กล่าวว่า เขาหวังว่าเวอร์ชัน เพลย์สเตชัน 3 จะวางจำหน่ายได้เมื่อเกมได้ทำการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้บริการให้เล่นฟรี 30 วันแรกได้ขยายเวลาออกไป โดยในระยะแรกได้ขยายเวลาออกไป 2 เดือน และมีการขยายเวลาเพิ่มเติมออกไปอีก เพื่อให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์จากการปรับปรุงตัวเกมของทีมบริหารชุดใหม่ ในที่สุด การเรียกเก็บค่าบริการได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งกินเวลามากกว่าหนึ่งปีหลังจากเกมเปิดตัว

นอกจากนี้โยชิดะได้เปิดกระดานสนทนา ไฟนอลแฟนตาซี XIV เพื่อฟังเสียงตอบรับและคำแนะนำจากผู้เล่น โยชิดะกล่าวว่า เขาจะเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการใกล้ชิดสังคมผู้เล่นเป็นสิ่งต้นๆ และผู้เล่นน่าจะยอมรับในการเปลี่ยนแปลงนี้ตัวเกมได้เริ่มปรับปรุงหลังจากเวอร์ชัน 1.18 เป็นต้นมา ทั้งในส่วนของกราฟิก การต่อสู้ การสร้างไอเทม และการให้ค่าประสบการณ์ ทั้งนี้ ในส่วนของระบบการปรับลดค่าประสบการณ์ที่ได้รับลงเรื่อยๆ เมื่อเล่นต่อเนื่องนานเกินไปถูกนำออก และในส่วนเสริมเวอร์ชันต่อๆ มาได้เพิ่มเนื้อหาของเกมเข้าไปใหม่ เช่น ระบบเมทีเรีย การเดินทางผ่านเรือเหาะ การขี่โจโคโบะ และยังเพิ่มความยากของสัตว์ประหลาดในเกม โดยเพิ่มการร่ายเวทของสัตว์ประหลาด และปรับค่าสถานะของตัวละครให้ส่งผลต่อการเล่นมากขึ้นอีกด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

วิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv โครงเรื่องหลักวิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv รูปแบบการเล่นวิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv การพัฒนาตัวเกมวิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv อ้างอิงวิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv แหล่งข้อมูลอื่นวิดีโอเกม พ.ศ. 2553 ไฟนอลแฟนตาซี Xiv21 กันยายน3 มิถุนายนE3MMORPGพ.ศ. 2552พ.ศ. 2553ภาษาญี่ปุ่นภาษาอังกฤษสแควร์เอนิกซ์ไฟนอลแฟนตาซีไฟนอลแฟนตาซี XIไมโครซอฟท์ วินโดวส์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ระบบสุริยะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสายัณห์ สัญญาโรงเรียนชลราษฎรอำรุงดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สกูบี้-ดูป๊อกเด้งเบบี้เมทัลดาวซานถี่ อุบัติการณ์สงครามล้างโลกสงครามโลกครั้งที่สองจังหวัดสระบุรีประเทศเยอรมนีอินเทอร์เน็ตดวงจันทร์อุปสงค์และอุปทานผู้หญิง 5 บาปยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์พระยศเจ้านายไทยวรกมล ชาเตอร์สเตรนเจอร์ ธิงส์พจมาน ณ ป้อมเพชรมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024X-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)บรูซ วิลลิสไตรลักษณ์แอทลาสรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่กองทัพบกไทยจังหวัดสุโขทัยโรงเรียนวัดสุทธิวรารามจูด เบลลิงงัมสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สฤษดิ์ ธนะรัชต์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์รายชื่อละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้จังหวัดนครปฐมฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีวศิน อัศวนฤนาทประเทศเวียดนามความเสียวสุดยอดทางเพศอชิรญา นิติพนภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวปีนักษัตรณัฐธิชา นามวงษ์น้ำอสุจิจังหวัดของประเทศไทยสโมสรฟุตบอลเชลซีรายชื่อภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลเงินตรารัฐของสหรัฐสะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (บอลทิมอร์)พรรคเพื่อไทยศุภนันท์ บุรีรัตน์งูสามเหลี่ยมดราก้อนบอลอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)4 KINGS อาชีวะ ยุค 90พัชราภา ไชยเชื้อจังหวัดปราจีนบุรีรายชื่อตัวละครในขอต้อนรับสู่ห้องเรียนนิยม (เฉพาะ) ยอดคนภาษาพม่ารายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครพาทิศ พิสิฐกุลคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ศาสนาคริสต์สุรสีห์ ผาธรรมพิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์ชิตพล ลี้ชัยพรกุลอันดับโลกฟีฟ่ารายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HD🡆 More