โรงเรียนสตรีวิทยา 2

โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (อักษรย่อ: ส.ว.๒) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษา และเป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนสตรีวิทยา ๒
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
Satriwitthaya 2 School
ที่ตั้ง
29 ซอยสุคนธสวัสดิ์ 3 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ว.๒ (SW2)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญเรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
สถาปนา7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
ผู้ก่อตั้งคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1010238002
ผู้อำนวยการดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.ศ.1 - ม.ศ.6
จำนวนนักเรียน4,339 คน
สี███ ขาว
███ แดง
เพลงมาร์ชสตรีวิทยา ๒
เว็บไซต์www.Sw2.ac.th

 ประวัติ

โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็นนามพระราชทานอยู่ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในกรุงเทพมหานคร

         เมื่อ พ.ศ. 2516 นางสาวสุ่น พานิชเฮง  มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินให้กรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 19 ตารางวา  เพื่อสร้างเป็นโรงเรียน คุณหญิงบุญเจือ  ไชยภัฏ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ในขณะนั้นได้รับเรื่องจากกรมสามัญศึกษามาดำเนินการก่อตั้งเป็นโรงเรียนแห่งใหม่

          ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ นางสาวสุ่น พานิชเฮง  ดร.ก่อ สวัสดิพานิช (อธิบดีกรมสามัญศึกษา) กรรมการสตรีวิทยา สมาคมและนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อสนองพระราชดำริเรื่องการก่อตั้งโรงเรียนและมีพระเมตตาพระราชทานนามโรงเรียนว่า “สตรีวิทยา ๒”  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นชาวสตรีวิทยา ๒ จึงถือว่าวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่สถาปนาโรงเรียนนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

        ต่อมานางหลง ไว้สาลี น้องสาวของนางสาวสุ่น  พานิชเฮง ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 24 ไร่ 77 ตารางวา เมื่อวันที่ 22 มกราคม  พ.ศ. 2518 คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ได้นำนางหลง ไว้สาลี เข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีน้อมเกล้า ฯ ถวายที่ดินดังกล่าว  เพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้นต่อมาคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ  ได้ติดต่อขอเช่าที่ดินของมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์เพิ่มเติมอีก 36 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวน 80 ไร่ 45 ตารางวา ซึ่งขณะนั้นที่ดินเป็นทุ่งนา  ทุรกันดาร ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ นางสมหมาย  เอมสมบัติ ผู้บริหารโรงเรียนคนแรกเป็นผู้ติดต่อกับ การไฟฟ้านครหลวง จนสามารถนำไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชนได้สำเร็จก่อนเปิดภาคเรียน           โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่  17 พฤษภาคม  พ.ศ. 2517 โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ซึ่งติดกับที่ตั้งโรงเรียน เป็นสถานที่ศึกษาชั่วคราว นางสมหมาย  เอมสมบัติ เป็นผู้บริหารคนแรก มีนักเรียน 277 คน  ครู 13 คน แบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (มศ.๑) จำนวน 5 ห้อง มัธยมศึกษาปีที่ 4 (มศ.๔)  จำนวน 2 ห้อง สภาพของโรงเรียนในปี  พ.ศ. 2517 การคมนาคมสู่โรงเรียนยากลำบากถนนเป็นดิน ถ้ามีฝนตกรถจะไม่สามารถเข้าถึงโรงเรียนได้  ทั้งครู และนักเรียนต้องถอดรองเท้าเดินทางเข้าโรงเรียน จากสภาพดังกล่าว ทำให้การก่อสร้างโรงเรียนประสบความยากลำบากนานัปการ แต่ก็สามารถสร้างอาคารกลุ่มแรก จำนวน 4 หลัง ได้สำเร็จลงในระยะเวลาเพียง 1 ปี  อาคารกลุ่มแรกตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนชื่อ “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์”

          สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จพระราชดำเนิน มาเป็นประธานในพิธีเปิด “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์” เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 และยังทรงปลูกต้นพิกุลที่เกาะหน้าอาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ ชาวสตรีวิทยา ๒ จึงน้อมนำดอกพิกุลไม้มหามงคลนี้เป็น  ดอกไม้ประจำโรงเรียน การก่อสร้างโรงเรียนในกลุ่มที่ 2 จำนวน 4 หลัง แล้วเสร็จ พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนกลุ่มที่ 2 นามว่า “อาคารวชิรา” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวสตรีวิทยา ๒ เป็นล้นพ้น

           ในปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ขยายเต็มรูปแบบคือ รับนักเรียน 6 ระดับ 12 ห้องเรียน รวมเป็น 72 ห้องเรียน  จึงเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานครทำให้มีงบประมาณแผ่นดิน และงบบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธามาสร้างอาคาร และสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย ได้แก่ อาคารนวราชชนนี อาคารหอสมุดนพ บุณยุปการ อาคารไขศรี   ปราโมช อาคารคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ อาคารพลศึกษา อาคาร 7 ชั้น  2 หลัง อาคารฝึกงาน  อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา   อาคารโอษธีศ สนามเทนนิส “จึงพานิช“ นอกจากนี้ยังได้งบประมาณสร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน ให้นักเรียนว่ายน้ำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ พลานามัยที่ดี และเป็นสถานที่แข่งขันว่ายน้ำนักเรียนระดับประเทศพิกุลแชมเปี้ยนชิพเป็นประจำทุกปี  ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนปัจจุบัน

ด้วยคุณภาพความรู้ และคุณธรรม โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงเป็นโรงเรียนผู้ปกครองปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในปีการศึกษา 2536 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ ฯ มีชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 80 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 3,610 คน  แต่ก็ยังมีผู้ประสงค์จะเข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ ฯ อีกเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนมีถึง 84 ไร่เศษ กรมสามัญศึกษาต้องการใช้ปัจจัยทั้งหมดให้คุ้มค่าโดยจะให้มีการเปิดสอนระดับละ 20 ห้องเรียนรวมเป็น 120 ห้องเรียน  

จึงให้แยกโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็น 2 โรงเรียน โรงเรียนที่ตั้งเพิ่มขึ้นใช้ชื่อ “โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น“ เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และส่งนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒

           ปี พ.ศ. 2544 กรมสามัญศึกษาพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น ได้ดำเนินการสำเร็จเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่สมบูรณ์แบบ  พร้อมด้วยครูอาจารย์  อาคารสถานที่  และคุณภาพของผู้เรียนประสบผลสัมฤทธิ์ในระดับสูงแสดงถึงการวางระบบงานที่มีประสิทธิภาพ  จึงให้รวมโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น และ  โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เพื่อให้การส่งต่อผู้เรียน และการพัฒนาด้านต่างๆเป็นไปอย่างสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สุด มีคุณภาพระดับแนวหน้าของประเทศไทย จึงประกาศรวมโรงเรียน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม  พ.ศ. 2544

ปัจจุบัน โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ จัดการเรียนการสอนระดับช่วงชั้นที่ 3-4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยเปิดทำการและมีพัฒนาการเรื่อยมา


ผู้บริหาร

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
รายชื่อ วาระ
1. สมหมาย เอมสมบัติ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2529
2. ศิริลักษณ์ นันทพิศาล พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533
3. สมภาพ คมสัน พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537
4. ลือชา สร้อยพาน พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2540
5. ณรงค์ ตามรักษา พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545
6. เชิดชัย พลานิวัติ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2551
7. ดร.เกษม สดงาม พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2556
8. ดร.พชรพงศ์ ตรีเทพา พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557
9. ดร.ธีรัช ไชยยศ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
10. ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น (พ.ศ. 2537-2544)
รายชื่อ วาระ
1. สมภาพ คมสัน พ.ศ. 2537
2. อุดร บุญถาวร พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
3. สุรินทร์ ต่อเนื่อง พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
4. ณรงค์ ตามรักษา พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544

รางวัลและเกียรติประวัติ

  • รางวัลเหรียญทอง ยอดเยี่ยมวงโยธวาทิตประเภท Open จากการแข่งขันวงโยธวาทิตโลก “Kuala Lampur World Marching Band Competition ครั้งที่ 3” ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 12–21 ธันวาคม 2552
  • รางวัล Best of The best , The best of cheer , The best creative ในรายการ Sponsor Thailand championship 2011 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี (แชมป์ประเทศไทย) โดยคณะจามจุรี โรงเรียนสตรีวิทยา 2

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

โรงเรียนที่เกี่ยวข้อง

สถานที่ใกล้เคียงโรงเรียน

  • ตลาดทรัพย์นิมิตร (ด้านหน้าโรงเรียน)
  • วัดสาครสุ่นประชาสรรค์
  • ตลาดหัวมุม
  • สนามฝึกซ้อมกอล์ฟเกียรติธาดา
  • สวนสาธารณะบึงน้ำ ลาดพร้าว 71
  • โรงเรียนเพชรถนอม
  • โรงเรียนโชคชัย
  • สำนักงานเขตลาดพร้าว
  • เดอะวอร์ค เกษตร-นวมินทร์
  • ดีไซน์วิลเลจ เกษตร-นวมินทร์
  • เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา
  • เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์
  • โลตัส เลียบทางด่วนรามอินทรา
  • พระตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4
  • กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ โชคชัย 4

แหล่งข้อมูลอื่น

13°49′52″N 100°36′57″E / 13.830985°N 100.615814°E / 13.830985; 100.615814

Tags:

โรงเรียนสตรีวิทยา 2  ประวัติโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ผู้บริหารโรงเรียนสตรีวิทยา 2 รางวัลและเกียรติประวัติโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงโรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนที่เกี่ยวข้องโรงเรียนสตรีวิทยา 2 สถานที่ใกล้เคียงโรงเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา 2 แหล่งข้อมูลอื่นโรงเรียนสตรีวิทยา 2กระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนราชการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประเทศฝรั่งเศสสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงภาคใต้ (ประเทศไทย)กองบัญชาการตำรวจนครบาลลองของภาคตะวันออก (ประเทศไทย)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พระโคตมพุทธเจ้าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงช่องวัน 31สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสูตรลับตำรับดันเจียนมหาวิทยาลัยรังสิตรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดสามก๊กพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)สรพงศ์ ชาตรีสโมสรฟุตบอลโบโลญญา 1909พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทักษิณ ชินวัตรสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเครยอนชินจังกรมสรรพากรอลิชา หิรัญพฤกษ์จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาสล็อตแมชชีนรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ประเทศอินเดียปีนักษัตรภรภัทร ศรีขจรเดชายิ่งลักษณ์ ชินวัตรสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดฉัตรชัย เปล่งพานิชบุนเดิสลีการ่างทรง (ภาพยนตร์)คณะรัฐมนตรีไทยแปลก พิบูลสงครามโพลีแคตจังหวัดตากหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ปิยวดี มาลีนนท์ช่อง 3 เอชดีประเทศบรูไนอักษรไทยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ไคจูหมายเลข 8ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลรายการรหัสไปรษณีย์ไทยชญานิศ จ่ายเจริญเร็ว..แรงทะลุนรก 10กฤษฏ์ อำนวยเดชกรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์นิวจีนส์ธงประจำพระองค์รายชื่อผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024ทวีปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตโรงเรียนนายร้อยตำรวจเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ธีรเดช เมธาวรายุทธอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์อี เจ-โนเจนี่ อัลภาชน์ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ประเทศออสเตรเลียเจมส์ มาร์เด็กหอ🡆 More