เศรษฐกิจสีเขียว

เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นให้เกิดความกินดีอยู่ดีของมนุษย์และความเท่าเทียมทางสังคมโดยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรของระบบนิเวศน์เป็นผลลัพธ์ โดยทั่วไปแล้วเศรษฐกิจสีเขียวเป็นความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์พร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแทนการแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียวและการดำเนินธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและก่อมลพิษ โดยดำเนินระบบหรือทำการพัฒนาโดยตั้งอยู่บนฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืนและคำนึงถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจ (Cheng Siwei, 2011: 2)

อรรถาธิบาย

ในช่วงยี่สิบถึงสามสิบปีที่ผ่านมา เมื่อมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพบรรยากาศโลกมากขึ้นและปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลนกลายเป็นปัญหาในระดับระหว่างประเทศ เศรษฐกิจสีเขียวได้รับความสนใจทั้งในฐานะการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ การแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบเชิงบรรษัทของผู้ผลิต และกระแสความนิยมธรรมชาติอันเกิดจากการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมในหมู่ผู้บริโภคที่สร้างตลาดใหม่ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเกิดขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับการพัฒนาการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ (low-carbon development) ซึ่งหมายถึงรูปแบบของการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ที่มีกระบวนการลดการใช้พลังงานคาร์บอน และเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นคือการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอันเป็นสาเหตุของปัญหาเรือนกระจกและโลกร้อน และมีเป้าหมายระยะยาวคือสร้างระบบอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ประเด็นที่มักจะถูกหยิบยกให้เป็นประเด็นหลักของเศรษฐกิจสีเขียวคือพลังงานสีเขียว เนื่องจากพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโลก และเป็นต้นเหตุสำคัญของการทำลายสิ่งแวดล้อมและการปล่อยมลพิษ ประเด็นพลังงานสีเขียวจึงเป็นประเด็นที่ใหญ่มากประเด็นหนึ่งและอาจได้รับการพิจารณาโดยมิได้เกี่ยวข้องอะไรกับเศรษฐกิจสีเขียวในฐานะประเด็นเอกเทศ

องค์ประกอบของความเป็นเศรษฐกิจสีเขียว คาร์ล เบิร์คคาร์ท แบ่งเศรษฐกิจสีเขียวออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้

  • พลังงานซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงแดด ความร้อนใต้พิภพ ฯลฯ เป็นพลังงานธรรมชาติที่ไม่หมดไปเหมือนเชื้อเพลิงฟอสซิลชนิดต่างๆ และไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • อาคารสีเขียว อาคารซึ่งออกแบบและสร้างให้ใช้ทรัพยากรในการก่อสร้างน้อยและประหยัดพลังงานในการใช้สอย เช่น การติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบหมุนเวียนน้ำฝนมาใช้ภายในอาคาร ฯลฯ
  • พาหนะสะอาด ยานพาหนะซึ่งใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น รถไฮบริดจ์ รถพลังไฟฟ้า ฯลฯ
  • การจัดการน้ำ มีการอนุรักษ์แหล่งน้ำในธรรมชาติ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเชิงเศรษฐกิจให้มีการใช้งานคุ้มค่า มีการบำบัดน้ำเสียจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างปลอดภัย ฯลฯ
  • การจัดการของเสีย การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การบำบัดของเสีย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ให้เกิดขยะน้อยที่สุด
  • การจัดการที่ดิน การอนุรักษ์ที่ดิน การฟื้นฟูสภาพดิน การจัดพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ป่าชุมชน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ

เป้าหมายของเศรษฐกิจสีเขียวแตกต่างกันไปตามคำจำกัดความ ซึ่งมองได้ว่าเศรษฐกิจสีเขียวนั้นเป็นสำนักเศรษฐศาสตร์แบบใหม่ที่ยกให้ระบบนิเวศน์เหนือกว่ากำไรสุทธิหรือเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่เพิ่มเข้าไปในแนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกจะมองว่าธรรมชาติเป็นทุนอย่างหนึ่ง (natural capital) หรือสำนักมาร์กซิสต์มองว่าธรรมชาติเป็นเหมือนกับชนชั้นกรรมาชีพที่ถูกกดขี่จากการแสวงหาประโยชน์ของนายทุน แต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจสีเขียวมีเป้าหมายคือการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งในแง่การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนของมนุษย์ สมดุลของระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางธรรมชาติ (และยังรวมไปจนถึงการพัฒนาสังคมในด้านอื่นๆอย่างยั่งยืน เช่น การสร้างโอกาสให้แก่พลเมืองอย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้นในทุกๆด้านด้วยเช่นกัน)

ข้อวิจารณ์

เศรษฐกิจสีเขียวถูกวิจารณ์ว่าเป็นความพยายามรูปแบบใหม่ของบรรษัทที่จะควบคุมและบิดเบือนกลไกตลาดด้วยระบบราคาสินค้าที่อิงกับกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นโยบายต่างๆตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภคของเศรษฐกิจสีเขียวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมยังเป็นการขัดขวางการพัฒนาประเทศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้งระบบการเมืองการปกครองและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของระบบตลาดและบรรษัทก็มิได้อยู่ในสภาพที่สามารถจะรองรับเศรษฐกิจสีเขียวได้ การกดดันให้รัฐบาลออกกฎหมายที่เอื้อต่อเศรษฐกิจสีเขียวหรือกดดันให้บรรษัทต่างๆ ทำตามแนวทางสีเขียวจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม

ยิ่งไปกว่านั้น ยังคงมีคนบางกลุ่มเชื่อว่า ปัญหาสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ และการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์เป็นเพียงเรื่องหลอกลวงที่สร้างขึ้นมาเพื่อหาช่องทางแสวงหาผลกำไรเท่านั้น เศรษฐกิจสีเขียวจึงเป็นเพียงความพยายามที่จะกดขี่ควบคุมระบบตลาดเสรีไม่ให้แสวงหาผลประโยชน์สูงสุดสำหรับมนุษย์ ซึ่งเป็นเจ้าเหนือทุกสิ่งในโลก อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงทางสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและร้ายแรงทั่วโลก และภัยพิบัติทางธรรมชาติอันรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงความน่าเชื่อถือ และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น “จริง” ในโลก

ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย

สำหรับในส่วนของประเทศไทยนั้นเศรษฐกิจสีเขียวยังค่อนข้างได้รับความสนใจในวงจำกัด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยนั้นยังคงมีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองตลาดโลก และตลาดในภูมิภาคมากกว่าการพัฒนาด้านการเกษตรกรรม แต่ก็ใช่ว่าภาครัฐเองจะมิได้ให้ความสนใจในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเลย เพราะในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) ในส่วนที่ 3 บทที่ 6 ว่าด้วยเรื่อง “ยุทธศาสตร์การปรับตัวทางเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน” นั้นได้ระบุไว้บางส่วนถึงการพัฒนาการเกษตร และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ “มุ่งการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพและยั่งยืนด้วยการมุ่งเน้นการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ สู่อุตสาหกรรมสีเขียวและคาร์บอนต่ำบนฐานความรู้เชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน”

อ้างอิง

Tags:

เศรษฐกิจสีเขียว อรรถาธิบายเศรษฐกิจสีเขียว ข้อวิจารณ์เศรษฐกิจสีเขียว ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทยเศรษฐกิจสีเขียว อ้างอิงเศรษฐกิจสีเขียวทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติมนุษย์ระบบนิเวศน์เศรษฐกิจ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดจันทบุรีสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566วิดีโอณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2ธนาคารกสิกรไทยกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ลานีญาฟุตซอลโลก 2024คณะองคมนตรีไทยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63อาทิวราห์ คงมาลัยพ.ศ. 2567เมลดา สุศรีรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรจักรีวัชร วิวัชรวงศ์พิชิต ชื่นบานสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาจังหวัดยะลารอยรักรอยบาปตารางตัวหารราศีพฤษภเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชกรภัทร์ เกิดพันธุ์จังหวัดอุทัยธานีพิมประภา ตั้งประภาพรเจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ มกุฎราชกุมารแห่งบรูไนคลิปวิดีโอพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์รายชื่อสัตว์จังหวัดตรังบอดี้สแลมพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกช่องวัน 31กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)คณะรัฐมนตรีไทยเซเรียอาจังหวัดตราดหญิงรักร่วมเพศธนวรรธน์ วรรธนะภูติทวิตเตอร์ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดภูเก็ตจังหวัดสุโขทัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยสีประจำวันในประเทศไทยพรหมวิหาร 4สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรจังหวัดพัทลุงสโมสรฟุตบอลพีที ประจวบจังหวัดชุมพรพระไตรปิฎกรามาวดี นาคฉัตรีย์เครยอนชินจังชาติชาย ชุณหะวัณรินลณี ศรีเพ็ญพชร จิราธิวัฒน์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024หีจิรภพ ภูริเดชกฤษฏ์ อำนวยเดชกรนิภาภรณ์ ฐิติธนการหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระพุทธชินราชสุภาพร มะลิซ้อนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา🡆 More