เทียนกง-1

เทียนกง-1 (จีน: 天宫一号; พินอิน: Tiāngōng yīhào; แปลตรงตัว: วิมาน, ปราสาทลอยฟ้า) เป็นสถานีอวกาศต้นแบบแห่งแรกของจีน โคจรรอบโลกตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ถึงเมษายน 2561 ใช้เป็นห้องปฏิบัติการมีคนประจำและเป็นแท่นทดสอบเพื่อสาธิตสมรรถนะนัดพบและเทียบท่าในวงโคจรระหว่างช่วงปฏิบัติการสองปี

สถานีอวกาศเทียนกง 1
天宫一号
เทียนกง-1
ข้อมูลของสถานี
เลขทะเบียน COSPAR2011-053A
หมายเลข SATCAT37820แก้ไขบนวิกิสนเทศ
จำนวนลูกเรือ3 (คาดการณ์)
ส่งขึ้นเมื่อ29 กันยายน พ.ศ. 2554 21:16:03.507 CST
ฐานส่งศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน
มวล8,506 กิโลกรัม (18,753 ปอนด์)
ความยาว10.4 เมตร (34.1 ฟุต)
เส้นผ่านศูนย์กลาง3.35 เมตร (11.0 ฟุต)
ปริมาตรอากาศ15 เมตร³
จำนวนวันที่โคจร4596 (29 เมษายน)

มีการปล่อยโดยไม่มีมนุษย์โดยสารบนจรวดลองมาร์ช 2เอฟ/จี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554 เป็นองค์ประกอบปฏิบัติการแรกของโครงการเทียนกง ซึ่งมุ่งวางสถานีมอดูลใหญ่กว่าเข้าสู่วงโคจรในปี 2566 เทียนกง-1 เดิมคาดว่าจะออกจากวงโคจรในปี 2556 และถูกแทนที่ในทศวรรษต่อมาด้วยมอดูลเทียนกง-2 และเทียนกง-3 แต่โคจรจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2561

มียานอวกาศเฉินโจวหลายลำเยือนเทียนกง-1 เที่ยวแรก คือ เฉินโจว 8 ซึ่งไม่มีมนุษย์โดยสาร เทียบท่าสำเร็จกับมอดูลในเดือนพฤศจิกายน 2554 ส่วนภารกิจเฉินโจว 9 ที่มีมนุษย์โดยสารเทียบเท่าในเดือนมิถุนายน 2555 ภารกิจที่สามและสุดท้ายไปเทียนกง-1 คือ เฉินโจว 10 ที่มีมนุษย์โดยสาร เทียบท่าในเดือนมิถุนายน 2556

วันที่ 21 มีนาคม 2559 หลังต่ออายุมาสองปี สำนักงานวิศวกรรมอวกาศมีมนุษย์โดยสารของจีนประกาศว่าเทียนกง-1 ยุติบริการอย่างเป็นทางการแล้ว แล้วแถลงว่าการเชื่อมโยงวัดและส่งข้อมูลทางไกลกับเทียนกง-1 สูญหาย อีกหลายเดือนต่อมา ผู้ติดตามดาวเทียมสมัครเล่นที่เฝ้าดูเทียนกง-1 พบว่าองค์การอวกาศจีนเสียการควบคุมสถานี ในเดือนกันยายน หลังยอมรับว่าเสียการควบคุมสถานี ข้าราชการตั้งข้อสังเกตว่าสถานีจะกลับเข้าสู่บรรยากาศและเผาไหม้หมดในปลายปี 2560 ตามข้อมูลของสำนักงานวิศวกรรมอวกาศมีมนุษย์โดยสารของจีน เทียนกง-1 กลับเข้าสู่โลกเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตาฮีตี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 เมื่อเวลา 00:15 น. UTC

การออกแบบและพัฒนา

ตามข้อมูลขององค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) เทียนกง-1 เป็น "โมดุลห้องปฏิบัติการอวกาศ" หนัก 8.5 เมตริกตัน และสามารถเทียบกับอวกาศยานมีคนบังคับและอัตโนมัติได้ อวกาศยานเสินโจว 8, เสินโจว 9 และเสินโจว 10 คาดว่าจะเทียบกับเทียนกง 1 ระหว่างช่วงที่ยังปฏิบัติการได้อีกสองปีข้างหน้า

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 จาง เจียนชี (张建启) รองผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรมอวกาศมีคนบังคับของจีน (CMSEO) ประกาศในระหว่างการให้สัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์กลางจีน (CCTV) ว่า เทียนกง-1 จะปล่อยขึ้นสู่อวกาศใน พ.ศ. 2553 หรือ 2554 ภายหลังสำนักข่าวซินหัว แถลงว่า สถานีอวกาศไร้คนบังคับจะถูกปล่อยในปลาย พ.ศ. 2553 และประกาศว่า การปรับปรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ภาคพื้นดินกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ

ใน พ.ศ. 2551 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ CMSEO โพสต์รายละเอียดคร่าว ๆ ของเทียนกง-1 ร่วมกับเทียนกง 2 และเทียนกง 3 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอวกาศอีกสองแห่งซึ่งมีแผนจะปล่อยขึ้นสู่อวกาศหลังเทียนกง-1 แบบจำลองของสถานีอวกาศถูกเปิดเผยในรายการโทรทัศน์เฉลิมฉลองตรุษจีน ทาง CCTV เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

เทียนกง-1 ประกอบด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกายและสถานีนอนสองแห่ง กำแพงภายในโมดุลมีการแตกแต่งสีสองสี สีหนึ่งแทนพื้นดิน และอีกสีหนึ่งแทนท้องฟ้า ซึ่งตั้งใจจะช่วยให้นักบินอวกาศกำหนดทิศทางได้ถูกในสภาวะไร้น้ำหนัก

จนถึงกลาง พ.ศ. 2554 การก่อสร้างโมกุลเทียนกงเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังมีการทดสอบคุณสมบัติด้านอิเล็กทรอนิกส์ กลไกและความร้อน นอกจากนี้ยังมีการทดสอบจรวดขนส่งลองมาร์ช 2เอฟ ซึ่งเป็นตัวส่งเทียนกง-1 ขึ้นสู่อวกาศ นักบินอวกาศจีน ซึ่งเป็นหญิงสองคน กำลังอยู่ในระหว่างการฝึกภารกิจมีคนควบคุมไปยังสถานีอวกาศ

การปล่อย

เทียนกง-1 เดิมมีกำหนดปล่อยขึ้นสู่อวกาศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 และถูกส่งไปยังศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม และผ่านการทดสอบส่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม อย่างไรก็ดี หลังการปล่อยจรวดลองมาร์ช 2ซี ล้มเหลวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ทำให้การปล่อยสถานีอวกาศดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป หลังการสืบสวนสาเหตุความล้มเหลวของการปล่อยครั้งนั้น ได้มีการกำหนดใหม่ให้ปล่อยเทียนกง-1 ในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดพร้อมกับวันชาติจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พาหนะอวกาศถูกนำออกไปประจำฐานปล่อยที่ 1 แห่งจุดปล่อยใต้ที่จิ่วเฉฺวียน ในการเตรียมความพยายามปล่อยอีกครั้ง การปล่อยมีขึ้นเมื่อเวลา 13:16 UTC ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554 ประสบความสำเร็จด้วยดี และนำเทียนกง-1 ขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำของโลก โทรทัศน์จีนแพร่ภาพการปล่อยคลอไปกับเพลงทำนองปลุกใจรักชาติของสหรัฐ America the Beautiful ซึ่งเหตุผลที่เลือกเพลงดังกล่าวนั้นไม่มีคำอธิบายออกมา

อ้างอิง

Tags:

wikt:一wikt:号wikt:天wikt:宫การแปลตรงตัวจีนพินอินภาษาจีนสถานีอวกาศ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีอุณหภูมิแมนสรวงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแปลก พิบูลสงครามลมเล่นไฟรายชื่อตอนในเป็นต่อประเทศเยอรมนีทวี ไกรคุปต์วัดพระศรีรัตนศาสดารามรายชื่อธนาคารในประเทศไทยพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจังหวัดปทุมธานีจนกว่าจะได้รักกันแฮร์รี แมไกวร์เข็มอัปสร สิริสุขะสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนณัฐฐชาช์ บุญประชมกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)จังหวัดจันทบุรีจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)ชาคริต แย้มนามบัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี)ชานน สันตินธรกุลกองทัพบกไทยไค ฮาเวิทซ์ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์สะดุดรักยัยแฟนเช่ารอยรักรอยบาป25 เมษายนวรินทร ปัญหกาญจน์แบมแบมประเทศอินโดนีเซียประเทศอุซเบกิสถานรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยลุค อิชิกาวะ พลาวเดนมหาวิทยาลัยมหาสารคามระบบสุริยะไพ่แคงจักรพงษ์ แสงมณีสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีกูเกิลบรรดาศักดิ์อังกฤษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยนิภาภรณ์ ฐิติธนการตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชบีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)กวนอิมพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)มุกดา นรินทร์รักษ์สีประจำวันในประเทศไทยรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวศิริลักษณ์ คองสงครามยุทธหัตถีอำเภอสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีบาท (สกุลเงิน)รางวัลนาฏราชแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ธัญญ์ ธนากรวัลลภ เจียรวนนท์องศาเซลเซียสโชกุนชลน่าน ศรีแก้วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปริญ สุภารัตน์รหัสมอร์สนิพัทธ์ ทองเล็กจังหวัดนครศรีธรรมราชกบฏเจ้าอนุวงศ์ช่อง 3 เอชดี🡆 More