เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์: เขื่อนในประเทศไทย

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำที่ใหญ่ ยาว ลึก ที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.

2537">พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์: ประวัติ, สถานที่ท่องเที่ยว, อ้างอิง
ชื่อทางการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ที่ตั้งตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และ
ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
เริ่มต้นการก่อสร้าง2 ธันวาคม พ.ศ. 2537
วันที่เปิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
งบประมาณ23,336 ล้านบาท
โครงสร้างและทางน้ำล้น
ความสูง301.50 เมตร
ความยาว4,860 เมตร
ความกว้าง (ที่ฐาน)187.40 เมตร
กั้นแม่น้ำป่าสัก
อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำโบ๊บ
ความจุ756 ล้านลูกบาศก์เมตร
สะพาน
ช่องถนน2 ช่อง

ประวัติ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์: ประวัติ, สถานที่ท่องเที่ยว, อ้างอิง 
บริเวณตอนเหนือของเขื่อน

สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ "

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

สถานที่ท่องเที่ยว

นอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะทำการกักเก็บน้ำแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลพบุรี ซึ่งทางด้านสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีหลากหลายสถานที่ ดังนี้

  • ฝั่งจังหวัดลพบุรี
    • อาคารอเนกประสงค์ริมอ่างเก็บน้ำ มีสถานที่ปล่อยปลา และ จุดนั่งชมวิวริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • หอคอยเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์ฯ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • สันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีบริการรถลากจูง ชมสันเขื่อนฯ ไป - กลับความยาว 9,720 เมตร
  • ฝั่งจังหวัดสระบุรี
    • พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์: ประวัติ, สถานที่ท่องเที่ยว, อ้างอิง 
ขบวนรถไฟสายท่องเที่ยวที่จอดบนเหนือเขื่อน ให้ผู้โดยสารนักท่องเที่ยวถ่ายรูป
ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์: ประวัติ, สถานที่ท่องเที่ยว, อ้างอิง 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
สาย
ชานชาลา1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 มิถุนายน พ.ศ. 2541
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
Pa Sak Jolasid Dam
กิโลเมตรที่ 162.38
แก่งเสือเต้น
Kaeng Sue Ten
−2.73 กม.
โคกสลุง
Khok Salung
+14.17 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (อังกฤษ: Pa Sak Jolasid Dam) เป็นที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี อยู่ในเขตทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยที่หยุดรถนี้จะมีรถไฟสายพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว คือ สายกรุงเทพ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิดให้บริการในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี

ประวัติ

สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟแก่งเสือเต้นถึงสถานีรถไฟสุรนารายณ์ (เดิม) ซึ่งเส้นทางรถไฟตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับการกักเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องย้ายเส้นทางรถไฟที่จะถูกน้ำท่วมให้ทันกับการสร้างเขื่อน พร้อมทั้งสร้างที่หยุดรถไฟบริเวณดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนั้นได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2540 ใช้เวลา 14 เดือน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ทางรถไฟที่ย้ายมาสร้างใหม่จะอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทางรวม 24 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เริ่มมีการเดินรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะเห็นขบวนรถวิ่งบนสันเขื่อนลัดเลาะไปข้างๆ อ่างเก็บน้ำ มองดูเหมือนขบวนรถวิ่งไปบนผิวน้ำ จนชาวบ้านเรียกกันว่า รถไฟลอยน้ำ ตลอด 2 ข้างทางจะได้ชมทัศนียภาพข้างทางรถไฟอันงดงาม

เส้นทางรถไฟก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนถึงสถานีรถไฟหินซ้อน จะผ่านไร่ดอกทานตะวันบานสะพรั่งตลอดเส้นทางรถไฟสวยงามมาก ว่ากันว่าเป็นไร่ดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยวชมความงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูหนาวทุกปี ขบวนรถออกจากกรุงเทพ 06.40 น. ถึงกรุงเทพ 17.45 น.

ตารางเวลาการเดินรถ

เที่ยวขึ้น
ขบวนรถ ต้นทาง เขื่อนป่าสัก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท433 ชุมทางแก่งคอย 05.28 06:09 ชุมทางบัวใหญ่ 10.10
น921 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.40 10:40 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 10.40 เฉพาะวันหยุดราชการ
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 11:07 หนองคาย 17.30
ท439 ชุมทางแก่งคอย 11.45 12:27 ชุมทางบัวใหญ่ 16.45
ท437 ชุมทางแก่งคอย 16.55 17:41 ลำนารายณ์ 18.30 งดเดินรถ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า
เที่ยวล่อง
ขบวนรถ ต้นทาง เขื่อนป่าสัก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท438 ลำนารายณ์ 06.07 06:51 ชุมทางแก่งคอย 07.35 งดเดินรถ
ท440 ชุมทางบัวใหญ่ 05.50 10:08 ชุมทางแก่งคอย 10.40
ด76 หนองคาย 07.45 14:04 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
น926 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 14.20 14:20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.45 เฉพาะวันหยุดราชการ
ท434 ชุมทางบัวใหญ่ 12.20 16:57 ชุมทางแก่งคอย 17.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°51′07″N 101°04′59″E / 14.852°N 101.083°E / 14.852; 101.083

Tags:

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประวัติเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สถานที่ท่องเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ้างอิงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แหล่งข้อมูลอื่นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์2 ธันวาคมกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พ.ศ. 2537พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ไทยลีก 3ภาษาในประเทศไทยกูเกิล แปลภาษาFประเทศมาเลเซียเศรษฐา ทวีสินจุดทิศหลักแอน อรดีวันแรงงานจังหวัดเชียงรายรัตนวดี วงศ์ทองพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีเหี้ยกองทัพบกไทยบรรดาศักดิ์อังกฤษจังหวัดพังงาจุลจักร จักรพงษ์รามาวดี นาคฉัตรีย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ดจังหวัดสระแก้วเจ้าหญิงดิสนีย์มาสค์ไรเดอร์ก็อตชาร์ดX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)จังหวัดสระบุรีผู้หญิง 5 บาปชาลี ไตรรัตน์รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยศาสนาฮินดูบอดี้สแลมปีนักษัตรกระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลบาเลนเซียพิมพ์ภัทรา วิชัยกุลเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24โทกูงาวะ อิเอยาซุจอนนี่ แอนโฟเนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)ประวิตร วงษ์สุวรรณสโมสรฟุตบอลเซบิยาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรนิวรณ์จังหวัดอุดรธานีภาคกลาง (ประเทศไทย)จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแหลม มอริสันรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยไชยา พรหมาประเทศบรูไนพระเยซูชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขฟุตซอลโลกปีเตอร์ เดนแมนรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาพระเจ้าบุเรงนองก็อตซิลลาประวัติศาสตร์ไทยสล็อตแมชชีนศุภวุฒิ เถื่อนกลางธนาคารทหารไทยธนชาตGซอฟต์พาวเวอร์การทำฝนเทียมพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)รายชื่อตัวละครในเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพรณิดา เตชสิทธิ์องศาเซลเซียสทวีปยุโรปเป็นต่อ🡆 More