เขตคันนายาว: เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

คันนายาว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

เขตคันนายาว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Khan Na Yao
บรรยากาศภายในสยามอะเมซิ่งพาร์ค
บรรยากาศภายในสยามอะเมซิ่งพาร์ค
คำขวัญ: 
การเกษตรมากมี ของดีชุมชน เที่ยวยลสวนสยาม สนามกอล์ฟเล่นกีฬา ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ขับสบายใจถนนวงแหวน
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคันนายาว
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคันนายาว
ประเทศเขตคันนายาว: ที่ตั้งและอาณาเขต, ที่มาของชื่อเขต, ประวัติ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.980 ตร.กม. (10.031 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด95,201 คน
 • ความหนาแน่น3,664.40 คน/ตร.กม. (9,490.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10230
รหัสภูมิศาสตร์1043
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 9 ซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/khannayao
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

เขตคันนายาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต

ประมาณ พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่ ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ "คันนา" มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย) ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า "โรงแดง" เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ "คันนายาว"

ประวัติ

ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยใน พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ใน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม เขตสะพานสูง เขตหลักสี่ เขตวังทองหลาง และเขตคลองสามวา โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552

การแบ่งเขตการปกครอง

ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
คันนายาว Khan Na Yao
12.917
47,151
3,650.31
เขตคันนายาว: ที่ตั้งและอาณาเขต, ที่มาของชื่อเขต, ประวัติ 
2.
รามอินทรา Ram Inthra
13.063
48,050
3,678.33
ทั้งหมด
25.980
95,201
3,664.40

ประชากร

การคมนาคม

เขตคันนายาว: ที่ตั้งและอาณาเขต, ที่มาของชื่อเขต, ประวัติ 
ถนนกาญจนาภิเษกในแขวงรามอินทรา

ในพื้นที่เขตคันนายาวมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
  • ถนนคู้บอน
  • ถนนปัญญาอินทรา
  • ซอยรามอินทรา 44 (หมู่บ้านปัฐวิกรณ์ 2)
  • ซอยรามอินทรา 62 (ยังสว่าง)
  • ซอยรามอินทรา 77 (มิตรทหาร)
  • ซอยคู้บอน 6 (คู้บอน 3)
  • ซอยคู้บอน 27 (สยามธรณี)
  • ซอยนวมินทร์ 163 (อมรวิวัฒน์)

ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน ใช้สัญจร

สถานที่สำคัญ

เขตคันนายาว: ที่ตั้งและอาณาเขต, ที่มาของชื่อเขต, ประวัติ 
สไลเดอร์ยักษ์ในดินแดนวอเตอร์เวิลด์ สวนสยาม

อ้างอิงและเชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

เขตคันนายาว ที่ตั้งและอาณาเขตเขตคันนายาว ที่มาของชื่อเขตเขตคันนายาว ประวัติเขตคันนายาว การแบ่งเขตการปกครองเขตคันนายาว ประชากรเขตคันนายาว การคมนาคมเขตคันนายาว สถานที่สำคัญเขตคันนายาว อ้างอิงและเชิงอรรถเขตคันนายาว แหล่งข้อมูลอื่นเขตคันนายาวกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชานน สันตินธรกุลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรงูเขียวพระอินทร์เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสอดอล์ฟ ฮิตเลอร์วิกิพีเดียรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยการรถไฟแห่งประเทศไทยพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันอังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสุรยุทธ์ จุลานนท์ภาคกลาง (ประเทศไทย)ลำไย ไหทองคำรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยสามก๊กสหภาพโซเวียตชลน่าน ศรีแก้วหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากรเพลงชาติไทยธนาคารออมสินโรนัลโดโลมาสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ดจังหวัดลำปางเลือดมังกรเซเว่น อีเลฟเว่นชีวิตเพื่อชาติ รักนี้เพื่อเธอเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีสโมสรฟุตบอลบาเลนเซียจักรพรรดิเฉียนหลงจิรายุ ตั้งศรีสุขพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)เดือนสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลธี่หยดธีรเดช เมธาวรายุทธกูเกิลอลิชา หิรัญพฤกษ์ธรรมนัส พรหมเผ่าศรีรัศมิ์ สุวะดีภาษาเกาหลีอักษรไทยบาปเจ็ดประการสโมสรฟุตบอลทรูแบงค็อก ยูไนเต็ดธนินท์ เจียรวนนท์พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จีรนันท์ มะโนแจ่มประเทศเยอรมนีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์อสมทกาจบัณฑิต ใจดีจักรพรรดิโชวะสโมสรคริกเกตและฟุตบอลเจนัววรรณี เจียรวนนท์ รอสส์จุลจักร จักรพงษ์มรรคมีองค์แปดวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารเปรม ติณสูลานนท์สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาประเทศอังกฤษโปเตโต้พระโคตมพุทธเจ้าจังหวัดชลบุรีภาษาไทยเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์เยือร์เกิน คล็อพจังหวัดกำแพงเพชร🡆 More