อุปสงค์และอุปทาน

ในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (อังกฤษ: demand and supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน อุปสงค์ (อังกฤษ: demand) หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการ ในแบบจำลองนี้ อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าที่ซื้อขายกันในตลาด โดยตลาดอยู่ในภาวะสมดุลถ้าปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน

อุปสงค์อุปทานและจุดดุลยภาพ

อุปสงค์และอุปทาน 
แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q*

แนวคิดอุปสงค์และอุปทาน ตั้งอยู่บนข้อสมมติว่าผู้บริโภคและผู้ผลิตตอบสนองต่อราคาในตลาด โดยที่ตัวผู้ซื้อและผู้ขายไม่สามารถต่อรองราคาหรือมีอำนาจในการกำหนดราคาตลาดได้เอง ข้อสมมตินี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา

ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อนั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินค้า และปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ รสนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น หากสมมติว่าปัจจัยอื่นๆ เหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อกับราคานั้นเรียกว่าอุปสงค์ ซึ่งสามารถเขียนออกมาในลักษณะฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์โดยให้ปริมาณความต้องการซื้อเป็นฟังก์ชันของราคา และมักจะวาดออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น การวาดแผนภูมิอุปสงค์มักให้แกนตั้งหมายถึงราคาและแกนนอนหมายถึงปริมาณ โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าแต่ละชนิดจะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับราคา นั่นคือ หากว่าราคาของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นโดยที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะลดลง ความสัมพันธ์เชิงลบนี้เรียกว่ากฎอุปสงค์ (law of demand) สามารถเขียนออกมาในรูปแผนภูมิเส้นได้เป็นเส้นที่มีลักษณะความชันลาดลง

ในลักษณะเดียวกัน อุปทานหมายถึงความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิตที่ราคาแต่ละระดับ โดยที่ปริมาณความต้องการขายเป็นฟังก์ชันของราคา ฟังก์ชันอุปทานสามารถเขียนออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้นเช่นเดียวกัน ปริมาณอุปทานมักมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคา นั่นคือ หากราคาตลาดของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นโดยที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ปริมาณความต้องการขายสินค้าชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น เรียกว่ากฎอุปทาน (law of supply) สามารถเขียนออกมาในรูปแผนภูมิเส้นได้เป็นเส้นที่มีลักษณะความชันขึ้น

แบบจำลองอุปสงค์และอุปทานอธิบายว่าอุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยที่กำหนดราคาของสินค้าในตลาด โดยใช้แนวคิดของจุดสมดุล (equilibrium) จุดสมดุลในแบบจำลองนี้คือภาวะที่ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเท่ากับปริมาณความต้องการขายสินค้า ราคาสินค้าที่ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อเท่ากับปริมาณความต้องการขายนี้เรียกว่าราคาสมดุล และปริมาณสินค้าที่ซื้อขายในจุดสมดุลเรียกว่าปริมาณสมดุล ในแผนภูมิเส้นที่แสดงอุปสงค์และอุปทาน จุดสมดุลคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาสมดุลของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้าหรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาสมดุล จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน

การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์และอุปทาน 
เส้นอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P1 เป็น P2 และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q1 เป็น Q2

แผนภูมิเส้นของอุปสงค์และอุปทานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกับราคาโดยที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากว่าปัจจัยอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้น หรือต้นทุนการผลิตสินค้าลดต่ำลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นำเสนอออกมาในรูปของการเปลี่ยนเส้นอุปสงค์หรือเส้นอุปทานทั้งเส้นเป็นเส้นใหม่ นั่นคือ ปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายมีการเปลี่ยนแปลงที่ทุกๆ ระดับราคา

ปัจจัยหนึ่งที่สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์คือรายได้ของผู้บริโภค หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อชนิดหนึ่งมากขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น สินค้าชนิดนั้นเรียกว่าเป็นสินค้าปกติ แต่หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งน้อยลงเมื่อมีรายได้มากขึ้นแล้ว สินค้าชนิดนั้นจะเรียกว่าเป็นสินค้าด้อย

ความยืดหยุ่น

ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนนั้นสามารถแตกต่างกันไปได้ระหว่างสินค้าแต่ละชนิด ความยืดหยุ่นของอุปสงค์เป็นอัตราร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อหากว่าราคาเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 ความยืดหยุ่นของอุปทานสามารถนิยามได้ในลักษณะเดียวกันโดยเปลี่ยนจากปริมาณความต้องการซื้อเป็นปริมาณความต้องการขาย

หากกำหนดให้ อุปสงค์และอุปทาน  หมายถึงปริมาณสินค้า อุปสงค์และอุปทาน  หมายถึงราคาสินค้า และ อุปสงค์และอุปทาน  กับ อุปสงค์และอุปทาน  หมายถึงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณกับราคาตามลำดับ อัตราส่วนของความเปลี่ยนแปลงปริมาณสามารถเขียนได้ว่า อุปสงค์และอุปทาน  ในขณะที่อัตราส่วนความเปลี่ยนแปลงราคาสามารถเขียนได้ว่า อุปสงค์และอุปทาน  นิยามของความยืดหยุ่น (อุปสงค์และอุปทาน ) จึงสามารถเขียนออกมาได้ว่า

อุปสงค์และอุปทาน 
หากว่าเราพิจารณาลิมิตเมื่อ อุปสงค์และอุปทาน  เข้าใกล้ศูนย์ นิยามของความยืดหยุ่นสามารถเขียนได้ในรูปแบบทางแคลคูลัสว่า
อุปสงค์และอุปทาน 

หากว่าอุปสงค์ของสินค้าเป็นไปตามกฎอุปสงค์แล้ว ความยืดหยุ่นของอุปสงค์จะมีค่าเป็นจำนวนลบ โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์จึงมักเขียนค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์โดยละเครื่องหมายลบไว้ โดยเขียนความยืดหยุ่นอุปสงค์ในรูปของค่าสัมบูรณ์

อ้างอิง

Tags:

อุปสงค์และอุปทาน อุปสงค์อุปทานและจุดดุลยภาพอุปสงค์และอุปทาน การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นอุปสงค์และอุปทาน อ้างอิงอุปสงค์และอุปทานภาษาอังกฤษสินค้าเศรษฐศาสตร์โมเดลทางเศรษฐศาสตร์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สฤษดิ์ ธนะรัชต์กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ซิลลี่ ฟูลส์ธัชทร ทรัพย์อนันต์อาณาจักรธนบุรีรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชประเทศสเปนปตท.กาก้าจังหวัดมหาสารคามพิจักขณา วงศารัตนศิลป์ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาสนาพุทธสหภาพโซเวียตจังหวัดยโสธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยามหาวิทยาลัยนเรศวรรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยนิชคุณ ขจรบริรักษ์มหัพภาคไทยลีกคัพสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลภูมิภาคของประเทศไทยทวีปเอเชียกองบัญชาการตำรวจนครบาลพ.ศ. 2564ทีสปอร์ต 7วรนิษฐ์ ถาวรวงศ์ยูฟ่ายูโรปาลีกแฮร์รี่ พอตเตอร์สงครามโลกครั้งที่สองคณะรัฐมนตรีไทยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกองทัพเรือไทยณฐพร เตมีรักษ์สราลี ประสิทธิ์ดำรงภาสวิชญ์ บูรณนัติสถิตย์พงษ์ สุขวิมลพฤษภาคมคลิปวิดีโอทิโมธี ชาลาเมต์ฟุตซอลไทยลีกความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์สโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนากฤษณภูมิ พิบูลสงครามมิสอีโคอินเตอร์เนชันแนลรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครภาวะโลกร้อนสำนักพระราชวังสัญญา คุณากรประเทศอาเซอร์ไบจานภาษาไทยถิ่นเหนือปราชญา เรืองโรจน์ไพ่แคงวันแอนแซกจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดภูเก็ตศุภชัย เจียรวนนท์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าท่าอากาศยานดอนเมืองยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนายกรัฐมนตรีไทยยูโรรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปณิธาน บุตรแก้วการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยากรภัทร์ เกิดพันธุ์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวีบี-2 สปีริท🡆 More