อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (อังกฤษ: RMS Carpathia) เป็นเรือกลไฟโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของสายการเดินเรือคูนาร์ดไลน์ (Cunard Line) สร้างโดยอู่ต่อเรือสวอนฮันเตอร์ แอนด์วิกแฮม ริชาร์ดสัน (Swan Hunter & Wigham Richardson) เมืองวอลล์เซนด์ ประเทศอังกฤษ

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย
RMS Carpathia
อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย
ประวัติ
อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทียสหราชอาณาจักร
ตั้งชื่อตามเทือกเขาคาร์เพเทียน
เจ้าของอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย คูนาร์ดไลน์
ท่าเรือจดทะเบียนลิเวอร์พูล
เส้นทางเดินเรือ
อู่เรืออังกฤษ ซี.เอส. สวอนแอนด์ฮันเตอร์, วอลล์เซนด์, อังกฤษ
Yard number274
ปล่อยเรือ10 กันยายน ค.ศ. 1901
เดินเรือแรก6 สิงหาคม ค.ศ. 1902
สร้างเสร็จกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1903
Maiden voyage5 พฤษภาคม ค.ศ. 1903
บริการ1903–1918
หยุดให้บริการ17 สิงหาคม ค.ศ. 1918
รหัสระบุ
ความเป็นไปอับปางโดยตอร์ปิโด 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน):
  • 13,603 ตันจดทะเบียน
  • 8,660 ตันสุทธิ
ความยาว: 558 ฟุต (170 เมตร)
ความกว้าง: 64 ฟุต 6 นิ้ว (19.66 เมตร)
กินน้ำลึก: 34 ฟุต 7 นิ้ว (10.54 เมตร)
ดาดฟ้า: 7
ระบบขับเคลื่อน:
  • เครื่องยนต์กระบอกสูบไอน้ำแบบ quadruple expansion 2 เครื่อง
  • ใบจักร 2 จักร
ความเร็ว: 14 นอต (16 ไมล์/ชม.; 26 กม./ชม.)
ความจุ:
  • ผู้โดยสาร 2,550 คน:
    • ชั้นหนึ่ง: 100 คน
    • ชั้นสอง: 200 คน
    • ชั้นสาม: 2,250 คน

เรือคาร์เพเทียออกเดินทางครั้งแรกในปี ค.ศ. 1903 จากลิเวอร์พูลไปยังบอสตัน และยังคงแล่นเส้นในทางนี้อยู่ก่อนที่จะถูกย้ายไปให้บริการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปี ค.ศ. 1904

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1912 เรือคาร์เพเทียมีชื่อเสียงโด่งดังจากการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) ซึ่งเป็นเรือคู่แข่งของสายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) หลังจากชนภูเขาน้ำแข็งและอับปางลงในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เรือคาร์เพเทียแล่นผ่านทุ่งน้ำแข็งด้วยความเร็วเต็มพิกัดและไปถึงจุดเกิดเหตุใน 2 ชั่วโมงหลังจากเรือไททานิกอับปาง และลูกเรือสามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิต 705 คนจากเรือชูชีพของไททานิกได้ เรื่องราวของการช่วยเหลือครั้งนี้กลายเป็นวีรกรรมอันน่าจดจำของเรือคาร์เพเทีย

เรือคาร์เพเทียอับปางในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยถูกเรือดำน้ำเยอรมัน U-55 โจมตีด้วยตอร์ปิโดสามลูก บริเวณชายฝั่งทางใต้ของไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 ส่งผลให้ลูกเรือเสียชีวิต 5 คน

ชื่อของเรือนำมาจากเทือกเขาคาร์เพเทียนในทวีปยุโรปตะวันออก

เบื้องหลัง

ในปี ค.ศ. 1900 สายการเดินเรือคูนาร์ดไลน์ต้องเผชิญกับการแข่งขันอันเข้มข้นจากคู่แข่งสำคัญ 3 ราย ได้แก่ ไวต์สตาร์ไลน์ นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ และฮัมบูร์กอเมริกาไลน์ (ฮาพัค) ที่ต่างก็มุ่งสร้างเรือขนาดใหญ่และรวดเร็วขึ้นเพื่อแย่งชิงความนิยม

ในปี ค.ศ. 1898 เรือเดินสมุทรสองลำที่ใหญ่ที่สุดของคูนาร์ดอย่างอาร์เอ็มเอส คัมปาเนีย (RMS Campania) และอาร์เอ็มเอส ลูคาเนีย (RMS Lucania) นั้นมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในเรื่องขนาดและความเร็ว ทั้งคู่มีระวางขับน้ำ 12,950 ตัน และเคยครองรางวัล "บลูริบันด์" สำหรับการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่เร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1897 เรือลำใหม่ของสายการเดินเรือนอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์อย่างเอสเอส ไกเซอร์ วิลเฮล์ม แดร์โกรส (SS Kaiser Wilhelm der Große) ได้ชิงรางวัลบลูริบันด์ไปจากเรือสองลำของคูนาร์ด ส่วนสายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ก็เตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวเรือยักษ์ลำใหม่ อาร์เอ็มเอส โอเชียนิก (RMS Oceanic) ที่มีขนาด 17,000 ตัน คูนาร์ดจึงปรับปรุงฝูงเรือของตนเอง ด้วยการสั่งต่อเรือใหม่ถึงสามลำ ได้แก่ เอสเอส ไอเวอร์เนีย (SS Ivernia) อาร์เอ็มเอส แซกโซเนีย (RMS Saxonia) และคาร์เพเทีย

แทนที่จะพยายามกอบกู้ชื่อเสียงอย่างเต็มที่ โดยการใช้จ่ายเงินเพิ่มเติมที่จำเป็นในการสร้างเรือที่เร็วพอที่จะชิงบลูริบันด์คืนจากเรือของเยอรมัน หรือใหญ่พอที่จะเทียบเคียงขนาดเรือของไวต์สตาร์ แต่คูนาร์ดกลับพยายามเพิ่มผลกำไรสูงสุดเพื่อให้สามารถรักษาสถานะทางการเงินให้มั่นคงพอที่จะต้านการพยายามเข้าซื้อกิจการโดยกลุ่มบริษัทเดินเรือคู่แข่งที่ชื่อ บริษัทเดินเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศ (International Mercantile Marine Co.; IMM)[ต้องการอ้างอิง]

เรือสามลำใหม่ของคูนาร์ดไม่ได้เน้นความเร็วเป็นพิเศษ เนื่องจากออกแบบมาเพื่อรองรับผู้โดยสารอพยพ แต่กลับช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้อย่างมาก เรือทั้งสามลำจึงกลายเป็นทั้งเครื่องมือและต้นแบบที่ทำให้คูนาร์ดสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้อย่างสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไวต์สตาร์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทนำของกลุ่ม IMM

เรือคาร์เพเทียนั้นเป็นเรือที่ออกแบบโดยดัดแปลงมาจากเรือชั้นไอเวอร์เนีย แต่มีความยาวสั้นกว่าเรือในชั้นเดียวกันประมาณ 40 ฟุต (12 เมตร) เช่นเดียวกับเรือรุ่นก่อนหน้า เรือคาร์เพเทียมีลักษณะการออกแบบที่เน้นลำเรือยาว โครงสร้างส่วนบนต่ำและสมดุล พร้อมเสากระโดงสี่ต้นพร้อมเครน ซึ่งช่วยให้ขนถ่ายสินค้าและสัมภาระจำนวนมากได้มากกว่าเรือเดินสมุทรทั่วไป

ประวัติ

การออกแบบและการสร้าง

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ถูกสร้างโดยบริษัท ซี.เอส. สวอนแอนด์ฮันเตอร์ (C. S. Swan & Hunter) ที่อู่ต่อเรือของพวกเขาในเมืองวอลล์เซนด์ ประเทศอังกฤษ สำหรับบริษัทเรือกลไฟคูนาร์ด (Cunard Steamship Company) เพื่อทำการเดินเรือระหว่างเมืองลิเวอร์พูลและบอสตันร่วมกับเรือไอเวอร์เนียและแซกโซเนีย กระดูกงูของเรือถูกวางในวันที่ 10 กันยานน ค.ศ. 1901 และปล่อยลงน้ำในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1902 หลังจากได้รับการตั้งชื่อจากบุตรสาวของรองประธานคูนาร์ดไลน์ เรือคาร์เพเทียทำการทดลองเดินเรือจากแม่น้ำไทน์ไปยังแม่น้ำเมอร์ซีย์ระหว่างวันที่ 22–25 เมษายน ค.ศ. 1903

ในช่วงพิธีปล่อยเรือ เรือคาร์เพเทียมีความยาว 558 ฟุต (170 เมตร) กว้าง 64 ฟุต 3 นิ้ว (19.58 เมตร) และมีน้ำหนักรวม 12,900 ตัน แต่เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ น้ำหนักรวมของเรือก็เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 13,500 ตัน

เรือลำนี้ได้รับการออกแบบให้มีชั้นดาดฟ้าทำจากเหล็กทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นล่างสุดสำหรับเก็บสัมภาระ 1 ชั้น ชั้นที่สองเป็นชั้นสะพานเดินเรือซึ่งมีความยาว 290 ฟุต รองรับห้องโดยสารชั้นหนึ่ง ห้องอาหาร ห้องโดยสารชั้นสอง และด้านบนสุดเป็นชั้นสำหรับเรือชูชีพ ในขณะที่ทำการปล่อยเรือ มีรายงานว่าเรือจะสามารถรองรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง 200 คน ชั้นสาม 600 คน และยังสามารถขนส่งเนื้อสัตว์แช่แข็งจำนวนมากได้ แต่เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ความจุผู้โดยสารของเรือก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 800 คนเป็นประมาณ 1,700 คน หมายความว่าเรือสามารถรองรับผู้โดยสารได้เกือบสองเท่าจากเดิม

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย 
เรือคาร์เพเทียในอู่แห้ง

แม้เรือคาร์เพเทียจะถูกจัดประเภทเป็นเรือเดินสมุทรขนาดกลาง (intermediate liner) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้โดยสารชั้นสองและสามเป็นหลัก แต่ภายในเรือกลับได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกินมาตรฐานในยุคนั้น ห้องอาหารของเรือคาร์เพเทียได้รับการออกแบบอย่างหรูหราและประณีต ผนังห้องตกแต่งด้วยสีครีมและทอง ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัวกับเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้มะฮอกกานี ผ้าม่านสีทองเก่าช่วยเพิ่มความหรูหราและกั้นแสงจากหน้าต่างเรือ เหนือเพดานของห้องอาหารมีโดมกระจกสี และด้านบนของโดมกระจกยังมีพัดลมไฟฟ้า ซึ่งช่วยระบายอากาศและให้ความเย็นสบาย ที่พักชั้นสองมีห้องสูบบุหรี่กรุผนังด้วยไม้วอลนัทซึ่งตั้งอยู่ที่ดาดฟ้าท้ายเรือ และห้องสมุดที่ปลายด้านหน้าของดาดฟ้าสะพานเดินเรือ (ชั้น A) หลังการปรับปรุงในปี ค.ศ. 1905 พื้นที่เหล่านี้ก็ถูกเปลี่ยนเป็นห้องพักชั้นหนึ่ง

สำหรับผู้โดยสารชั้นสามบนเรือคาร์เพเทียนั้นถือว่ามีความสะดวกสบายเกินมาตรฐานในยุคสมัยนั้นอย่างมาก ห้องอาหารชั้นสามกว้างขวางกินพื้นที่เต็มความกว้างของเรือ รองรับผู้โดยสารได้ถึง 300 คน ตกแต่งผนังด้วยไม้โอ๊กขัดเงาตัดกับฐานผนังไม้สัก สร้างบรรยากาศหรูหราเกินชั้น ห้องพักชั้นสามยังมีห้องสูบบุหรี่และห้องน้ำสำหรับผู้หญิง ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของห้องอาหารบนชั้น C ติดกับทางเดินยาว (หรือพื้นที่โล่ง) คล้ายกับการออกแบบบนเรือไอเวอร์เนียและแซกโซเนีย เจ้าหน้าที่และลูกเรือของเรือคาร์เพเทียพักอยู่ในห้องพักบนชั้นสะพานเดินเรือ (A) เหนือห้องอาหารชั้นสอง ส่วนห้องพักกัปตันนั้นตั้งอยู่บนชั้นเรือบด (boat deck) ใต้สะพานเดินเรือ[ต้องการอ้างอิง]

เรือคาร์เพเทียมีระบบระบายอากาศที่ยอดเยี่ยม ประกอบด้วยช่องระบายอากาศบนดาดเรือที่เสริมด้วยพัดลมไฟฟ้า ระบบระบายอากาศเหล่านี้ได้รับการออกแบบให้อากาศบริสุทธิ์ไหลผ่านท่อความร้อนแบบขด ซึ่งสามารถเติมน้ำเย็นได้ในช่วงฤดูร้อนหรือไอน้ำระหว่างฤดูหนาว ส่งผลให้เรือเย็นสบายหรืออบอุ่นตามสภาพอากาศ แม้เรือคาร์เพเทียจะใช้ระบบไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีหลอดไฟมากกว่า 2,000 ดวง แต่ในห้องโดยสารยังคงมีโคมไฟน้ำมันสำรองไว้ใช้งานเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ

เรือคาร์เพเทียมีหม้อต้มไอน้ำแบบเติมถ่านได้ฝั่งเดียว (single-ended boiler) 7 ใบ ติดตั้งระบบลมแรงของฮาวเดน ทำงานที่แรงดัน 210 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (1,400 กิโลปาสคาล) จ่ายไอน้ำเข้าสู่เครื่องยนต์ 4 กระบอกสูบไอน้ำแบบขยายตัวสี่เท่า (quadruple expansion engines) 2 เครื่อง ผลิตโดย บริษัท วิศวกรรมต่อเรือวอลล์เซนด์ จำกัด (Wallsend Slipway and Engineering Company, Ltd.) แห่งเมืองวอลล์เซนด์ ประเทศอังกฤษ โดยแต่ละสูบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 26 นิ้ว (0.66 เมตร) 37 นิ้ว (0.94 เมตร) 53 นิ้ว (1.3 เมตร) และ 76 นิ้ว (1.9 เมตร) และมีช่วงชัก 54 นิ้ว (1.4 เมตร) กำลังเครื่องยนต์ที่พร้อมใช้งานช่วยให้เรือมีความเร็วทดลองที่ตั้งใจไว้คือ 15.5 นอต (17.8 ไมล์|ชั่วโมง; 28.7 กม./ชม.)

เรือคาร์เพเทียออกเดินทางครั้งแรกในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1903 จากลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ไปยังบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และให้บริการเส้นทางระหว่างนครนิวยอร์ก กับเมืองท่าต่าง ๆ ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ยิบรอลตาร์ แอลเจียร์ เจโนวา เนเปิลส์ ตรีเยสเต และฟีอูเม

บริการช่วงแรกและการปรับปรุง

แม้ว่าจะขาดความเร็วและความหรูหราอลังการของเรือด่วน และไม่มีห้องพักชั้นหนึ่งจนกระทั่งปี ค.ศ. 1905 แต่เรือคาร์เพเทียก็ยังคงมีชื่อเสียงในฐานะเรือที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะในสภาพอากาศเลวร้าย เนื่องจากอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวที่ค่อนข้างมาก การใช้ครีบระบายน้ำ และการสั่นสะเทือนที่น้อย ซึ่งมักพบในเครื่องยนต์ทรงพลัง เรือคาร์เพเทียเป็นที่นิยมทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวและผู้อพยพ โดยให้บริการระหว่างลิเวอร์พูลและนครนิวยอร์กในฤดูร้อน และระหว่างนครนิวยอร์กและแถบเมดิเตอร์เรเนียนในฤดูหนาว

หลังจากที่คูนาร์ดไลน์ร่วมมือกับบริษัทเดินเรือเอเดรีย (Adria) ของฮังการีในปี ค.ศ. 1904 เรือคาร์เพเทียก็ได้รับภารกิจใหม่ในการขนส่งผู้อพยพชาวฮังการี ในปี ค.ศ. 1905 เรือคาร์เพเทียก็ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ ส่งผลให้ความจุผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 1,700 คนเป็น 2,550 คน การปรับปรุงครั้งนี้เน้นไปที่การเปลี่ยนห้องโดยสารชั้นสามขนาดเล็กให้เป็นห้องพักรวมขนาดใหญ่แบบหอพัก ส่วนบริเวณที่เคยเป็นห้องพักชั้นสองก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นห้องพักชั้นหนึ่งที่หรูหรามากขึ้น

จนถึงปี ค.ศ. 1912 เรือคาร์เพเทียมีขนาดใหญ่โตขึ้นโดยน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้นเป็น 13,600 ตัน และสามารถจุผู้โดยสารได้มากถึง 2,450 คน แบ่งเป็นชั้นหนึ่งและชั้นสอง 250 คน และชั้นสาม 2,200 คน ในปีเดียวกันนั้น เรือยังมีลูกเรือประมาณ 300 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ 6 คน และมีเรือชูชีพ 20 ลำ

ช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากการอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เรือคาร์เพเทียถูกใช้ในการขนส่งทหารแคนาดาและอเมริกาไปยังยุโรป และการเดินทางบางเที่ยวของเรือลำนี้ก็อยู่ในขบวนเรือ โดยแล่นออกจากนิวยอร์ก ผ่านแฮลิแฟ็กซ์ ไปยังลิเวอร์พูลและกลาสโกว์ ในบรรดาลูกเรือของคาร์เพเทียในช่วงสงครามโลกนั้น มีหนึ่งคนที่โดดเด่นเป็นพิเศษ นั่นคือ แฟรงก์ บักเคิลส์ (Frank Buckles) ซึ่งต่อมาเขาได้กลายเป็นทหารผ่านศึกชาวอเมริกันคนสุดท้ายที่รอดชีวิตจากมหาสงคราม ในช่วงระหว่างที่เรือเข้าประจำการ ปล่องไฟสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของสายการเดินเรือคูนาร์ดได้ถูกทาสีเทาเข้มแทนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในยามสงคราม

การอับปางและผลที่ตามมา

การค้นพบและกอบกู้ซากเรือ 

ความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไททานิกอัปปาง

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย 
นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) และกัปตันของเรือคาร์เพเทีย
อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย 
เรือคาร์เพเทีย อัปปาง

วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก ชนกับภูเขาน้ำแข็งและอัปปางระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรก เจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป และเรืออาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (RMS Carpathia) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ และคาร์เพเทียจะไปถึงเรือไททานิกภายในเวลา 4 ชั่วโมง เวลา 4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมดและพาสู่นิวยอร์ก และเรือคาร์เพเทียก็ได้มาถึงเมืองนิวยอร์กในวันที่ 18 เมษายน เวลาประมาณ 9.00 น.

รูปลักษณ์ตัวเรือ

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย 
รูปลักษณ์ตัวเรืออาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ระหว่างปี 1903–1905

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

  • เอสเอส แคลิฟอร์เนียน (SS Caifornian) เรืออีกลำที่เกี่ยวข้องกับการอับปางของไททานิก
  • เอสเอส เมาน์ท เทมเพิล (SS Mount Temple)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย เบื้องหลังอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ประวัติอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย การค้นพบและกอบกู้ซากเรือ อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไททานิกอัปปางอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย รูปลักษณ์ตัวเรืออาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ระเบียงภาพอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ดูเพิ่มอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย อ้างอิงอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย แหล่งข้อมูลอื่นอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทียคูนาร์ดไลน์ภาษาอังกฤษเรือจักรไอน้ำ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ตารางธาตุเด่นคุณ งามเนตรกองทัพ พีคนิวรณ์รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตจักรพรรดินโปเลียนที่ 1คุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายไทยลีกสุรเชษฐ์ หักพาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประเทศออสเตรียพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสายัณห์ ดอกสะเดาบิ๊กแอสพฤษภาคมอุษามณี ไวทยานนท์ลิขิตกามเทพอี โด-ฮย็อนพระพุทธเจ้ารายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สคาราบาวพิชชาภา พันธุมจินดาอาลิง โฮลันประเทศออสเตรเลียสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกมพีระมิด (ละครโทรทัศน์เกาหลีใต้)ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยพรรคประชาธิปัตย์ธนาคารแห่งประเทศไทยที-อาราจังหวัดชัยภูมิทวารวดีปฏิวัติ คำไหมมหาวิทยาลัยมหาสารคามฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประวัติศาสตร์จีนพระคเณศรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!พระโคตมพุทธเจ้าแจร์ดัน ชาชีรีสหภาพโซเวียตจังหวัดตากจังหวัดศรีสะเกษตี๋ เหรินเจี๋ยจักรภพ เพ็ญแขบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างธีรเทพ วิโนทัยขอบตาแพะประเทศรัสเซียประเทศลาวโชกุนจังหวัดของประเทศไทยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนักเรียนกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสงขลาสมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติเราะมะฎอนอาณาจักรสุโขทัยช้อปปี้จังหวัดของประเทศญี่ปุ่นกรุงเทพมหานครรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้ายอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์จังหวัดนครราชสีมาเพลงชาติไทยโฟร์อีฟจังหวัดสระบุรีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการจังหวัดราชบุรีสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ขุนพันธ์ 3🡆 More