อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ในวันที่ 14 - 16 ตุลาคม พ.ศ.

2516 ตั้งอยู่เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกคอกวัว สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2544

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
อนุสรณ์สถานเมื่อปี 2563
ที่ตั้งสี่แยกคอกวัว เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภทอนุสรณ์สถาน
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2541
สร้างเสร็จพ.ศ. 2544
การเปิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2544
อุทิศแด่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ในวันที่ 14 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516

สถานที่

สถานที่จัดสร้างอนุสรณ์สถาน เช่ามาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ภายในอนุสรณ์สถานมีพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด สำนักงาน ห้องประชุม ลานกิจกรรม สวนสาธารณะ และประติมากรรมต่าง ๆ

หนึ่งในประติมากรรมที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ สถูปวีรชน 14 ตุลา เป็นรูปกรวยคว่ำ สูง 14 เมตร จารึกรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 72 คนและบทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รูปกรวยคว่าเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณการมนุษย์ ส่วนปลายยอดกรวยที่ดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จแทนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพที่ยังต้องดำเนินต่อไป

ประวัติการก่อสร้าง

การก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีประวัติอันยาวนาน เริ่มตั้งแต่มีการเสนอให้สร้างอนุสาวรีย์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผ่านคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่ประสบอุปสรรคนานัปการ วีรชนเดือนตุลาที่กลุ่มการเมืองแทบทุกฝ่ายยกเว้นกองทัพเห็นงามด้วยทีแรกกลับถูกตีความใหม่หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา (พ.ศ. 2519) ว่าเป็นผู้ก่อความวุ่นวาย เป็นเหตุให้ไม่ได้สร้างอนุสาวรีย์ทั้งที่วางศิลาฤกษ์แล้วในเดือนตุลาคม 2518:266 เริ่มมีความพยายามสร้างอนุสาวรีย์แก่วีรชนเดือนตุลา และนักศึกษา 6 ตุลาในปี 2532 แต่ล่าช้ามาเรื่อย ๆ จนสุดท้ายในปี 2541 มีการตั้งอนุสาวรีย์อุทิศให้แก่วีรชน 14 ตุลา 2516 ซึ่งศาสตราจารย์ธงชัย วนิจจะกุลแย้งว่าที่ตั้งได้ส่วนหนึ่งเพราะกันนักศึกษา 6 ตุลาไปแล้ว

ในปี 2532 รัฐบาลชาติชาย (ซึ่งตัวเขาเองสนับสนุนการเดินขบวนของฝ่ายขวาในเหตุการณ์ 6 ตุลา) ตกลงจะสร้างอนุสาวรีย์ แต่ก็ไม่ได้สร้าง ในปี 2538 แผนการสร้างอนุสาวรีย์ได้เริ่มขึ้นแล้วที่สวนสันติพร แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างถนนเลี่ยงเมืองในบริเวณนั้น ทำให้แผนต้องถูกยกเลิกไปอีก จนในปี 2541 ธีรยุทธ บุญมีอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวกับอานันท์ ปันยารชุนเจรจาทำสัญญาส่วนตัวกับผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนสุดท้ายมีการสร้างอนุสาวรีย์จนได้ แต่อุทิศให้แก่วีรชน 14 ตุลา 2516 เท่านั้น:268–9

จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2544 อนุสรณ์สถานแห่งนี้จึงจะสามารถสร้างได้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ก็ด้วยแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องจากขบวนการนิสิตนักศึกษา อดีตนักศึกษาในสมัย 14 ตุลา นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย

งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้มาจากเงินบริจาคของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และในโอกาสครบรอบ 28 ปี 14 ตุลา รวมกับเงินบริจาคของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรุงเทพมหานคร และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีมูลนิธิ 14 ตุลา เป็นผู้รับผิดชอบ

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′24″N 100°29′58″E / 13.756674°N 100.499352°E / 13.756674; 100.499352

Tags:

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สถานที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ประวัติการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ระเบียงภาพอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ดูเพิ่มอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา อ้างอิงอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แหล่งข้อมูลอื่นอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาสิ่งก่อสร้างสี่แยกคอกวัวเหตุการณ์ 14 ตุลา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ทอร์นาโดจีเอ็มเอ็มทีวีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจังหวัดชัยภูมิพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์หีพรหมวิหาร 4ปีเตอร์ เดนแมนบริษัทรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่วิดีโอรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วโปเตโต้ข้าราชการไทยรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงมหาวิทยาลัยทักษิณภาษาไทยประเทศญี่ปุ่นพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์อสุภท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสฤษดิ์ ธนะรัชต์เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสวันวิสาขบูชามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เลือดมังกรรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยเอกรัตน์ วงศ์ฉลาดโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ธี่หยด 2ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรวัชรเรศร วิวัชรวงศ์แคพิบาราพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเดอะทอยส์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารการ์ตูนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทยจังหวัดสุโขทัยสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์สาธุ (ละครโทรทัศน์)สัปเหร่อ (ภาพยนตร์)กองทัพบกไทยรายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือธนาคารทหารไทยธนชาตไผ่ พงศธรจังหวัดชุมพรจังหวัดจันทบุรีภาษาญี่ปุ่นฮารุ สุประกอบพรหมลิขิตรายการสัตว์น้ำประจำจังหวัดของไทยสโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซบิลลี ไอลิชพระพุทธเจ้าใบไม้ที่ปลิดปลิวคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63ข่าวช่อง 7HDสหราชอาณาจักรวชิรวิชญ์ ชีวอารีสโมสรฟุตบอลพีที ประจวบICD-10รอยรักรอยบาปหนังสือรุ่นพลอยจังหวัดปทุมธานีธงประจำพระองค์มาริโอ้ เมาเร่อประเทศบังกลาเทศมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์หลวงปู่ทวดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสุรเชษฐ์ หักพาลจังหวัดอุทัยธานีกัญญาวีร์ สองเมืองเครือเจริญโภคภัณฑ์สมเด็จพระเพทราชาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2🡆 More