อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม: นักแสดงชาวไทย

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม (เกิด 31 พฤษภาคม พ.ศ.

2525) ชื่อเล่น จ่อย เป็นนักแสดงลูกครึ่งออสเตรเลีย-ลาว เข้าวงการบันเทิงเมื่ออายุ 14 ปี โดยคำชักชวนของมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ กับภาพยนตร์เรื่องแรก อันดากับฟ้าใส และ 303 กลัว/กล้า/อาฆาต หลังจากไม่มีผลงานบันเทิงระยะหนึ่ง ได้กลับมาอีกครั้งกับละครเรื่อง ทะเลฤๅอิ่ม ของหม่อมน้อย หลังจากนั้นก็มีผลงานการแสดงเรื่อยมา

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม: ประวัติ, ชีวิตส่วนตัว, ภาพลักษณ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด31 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสณิชชา ธนาลงกรณ์
(2566–ปัจจุบัน)
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นายแบบ
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2540–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นอันดามันอันดากับฟ้าใส (2540)
กุศลสร้าง303 กลัว/กล้า/อาฆาต (2541)
ธรรม์ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (2547)
ส่างหม่องชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
โรม ฤทธิไกร (อินทรีแดง)อินทรีแดง (2553)
อธินเกมรักทรยศ (2566)
ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)ขุนพันธ์ (2559) / ขุนพันธ์ 2 (2561) / ขุนพันธ์ 3 (2566)
สุพรรณหงส์นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2551 – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2553 – ชั่วฟ้าดินสลาย
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2551 – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2553 – ชั่วฟ้าดินสลาย
คมชัดลึกนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์
พ.ศ. 2553 – ชั่วฟ้าดินสลาย

จนใน พ.ศ. 2547 อนันดาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2547 หรือ สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 จากเรื่อง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และจากภาพยนตร์เรื่อง Me Myself อนันดาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 6 สถาบัน ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 อนันดามีผลงานการแสดงภาพยนตร์ถึง 10 เรื่อง และในปี พ.ศ. 2552 อนันดาได้รางวัลด้านการแสดงในสาขานักแสดงนำจาก 6 สถาบัน จากผลงานภาพยนตร์เรื่อง แฮปปี้เบิร์ธเดย์

ทางด้านธุรกิจ ได้ร่วมทำธุรกิจกับ ตั้งบริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น รับทำงานอีเวนต์เกี่ยวกับงานศิลปะ อีกทั้งยังเคยมีธุรกิจร้านอาหารกึ่งผับกึ่งรีสอร์ตที่เกาะเสม็ด อนันดายังได้ร่วมลงทุน รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ และยังเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโฆษณาจักรยานยนต์ ซูซูกิ รุ่น “มาโช โชกุน 125” และเป๊ปซี่ แม็กซ์

ประวัติ

ชีวิตช่วงแรก

อนันดาเกิดในประเทศไทย เป็นลูกชายของจอห์น เอเวอริงแฮม ช่างภาพชาวออสเตรเลีย กับแก้วสิริ สมพร หญิงชาวลาว ปัจจุบันอนันดาถือสัญชาติไทย (เดิมถือสัญชาติออสเตรเลีย) เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย หลังจากนั้นกลับมาประเทศไทยเมื่ออายุได้ 9 ปี เข้าศึกษาที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา และกลับไปบริสเบนระหว่างปิดภาคเรียนที่ประเทศไทย สมัยเด็ก ๆ เป็นคนดื้อมาก เรียนหนังสือเก่งแต่ไม่ยอมเรียน จนเมื่ออายุได้ 13 - 14 ปี โดนไล่ออกจากโรงเรียน ทำให้คุณพ่อต้องการดัดนิสัยโดยจะส่งไปเรียนโรงเรียนประจำที่ประเทศอินเดีย แต่มีวันหนึ่งขณะรอเดินทางไป อนันดาได้ช่วยงานร้านอาหารอินเดียชื่อ “หิมาลัย ชา ช่า” ที่บิดาเปิดอยู่ย่านสุริวงศ์ ได้พบมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เข้ามาถามว่าต้องการเป็นดาราหรือไม่ และด้วยความที่ไม่อยากไปอินเดียจึงตอบตกลง อนันดาจึงเข้าสู่วงการบันเทิงโดยเริ่มงานกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ จากนั้นก็ได้มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ อันดากับฟ้าใส

เข้าสู่วงการบันเทิง (พ.ศ. 2540-2550)

ภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง อันดากับฟ้าใส กำกับโดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ในตอนนั้นอนันดายังพูดภาษาไทยไม่ได้เลย แต่อนันดาก็เล่าถึงตัวเองว่า ผมเข้าใจภาษาไทยนะ แต่ว่าไม่ได้ใช้และเพื่อนฝูงเป็นฝรั่งหมด หลังจากนั้นอนันดาก็มีงานเข้ามาเรื่อย และเป็นที่รู้จัก แต่ด้วยความเป็นคนรักในการท่องเที่ยว จึงหายไปจากวงการช่วงหนึ่ง

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม: ประวัติ, ชีวิตส่วนตัว, ภาพลักษณ์ 
อนันดา ในงานแถลงข่าวภาพยนตร์เรื่อง พลอย

หลังว่างเว้นจากวงการบันเทิง 3 ปีอนันดาก็หวนกลับเข้าวงการอีกครั้งหนึ่งกับละครของหม่อมน้อย ในเรื่อง "ทะเลฤๅอิ่ม" ส่วนเรื่องการเรียน อนันดาเรียนที่บ้าน จากนั้นมีผลงานภาพยนตร์เรื่อง คนสั่งผี ตามมาด้วย ภาพยนตร์เรื่อง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทำรายได้สูงมากเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น ด้วยรายได้ 120 ล้านบาท อนันดาให้สัมภาษณ์ภายหลังเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "ชัตเตอร์ก็มีผลต่อเราค่อนข้างมากนะ จะเรียกว่าเป็นหนังแจ้งเกิดอีกรอบหนึ่งก็ได้...แต่ก่อน ที่เล่นหนังป็อป ๆ ที่เป็นป็อปไอดอล...งานที่เข้ามาหลังจากนั้นก็แตกต่างเยอะ ด้านการแสดงก็คิดว่าเป็นสเต็ปแรกที่ทำให้เรากว้างไปสู่งานที่มีเนื้อหาที่โตขึ้น" จากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดสสาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม หลังจากนั้นอนันดาได้แสดงภาพยนตร์ เรื่อง Me…Myself ขอให้รักจงเจริญ กำกับโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ในภาพยนตร์เรื่องนี้เขารับบทเป็นกะเทยชีวิตรันทด โดยได้ไปเรียนการแสดงเพิ่มเติมกับหม่อมน้อย ให้รู้จักใช้ร่างกาย "หม่อมน้อยไม่ได้สอนให้ผมเป็นผู้หญิง หรือว่าทำตัวให้เป็นกะเทย" ในส่วนคำวิจารณ์การแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ข่าวสดวิจารณ์ไว้ว่า "ด้วยลักษณะตัวละครที่ค่อนข้างซับซ้อน มีปัญหาทั้งทางด้านความทรงจำ ความเป็นชายและหญิง และปัญหาทางด้านความรัก ทำให้ตัวละครที่อนันดารับบท เป็นตัวละครที่เล่นยาก (คือถ้าเล่นเป็นกะเทยไปเลยทั้งเรื่องคงไม่ยากเท่านี้) แต่อนันดาก็สามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวนั้นได้อย่างเข้าถึงและน่าเชื่อในทุกมิติ"

ภาพยนตร์เรื่องถัดมาคือ พลอย ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง ซึ่งอนันดาเคยร่วมงานกับเป็นเอก มาแล้วกับภาพยนตร์สั้น เรื่อง Twelve Twenty ในภาพยนตร์เรื่องนี้อนันดารับบทเป็นนัท บาร์เทนเดอร์หนุ่ม ที่มีบทพูดเพียงประโยคเดียวในเรื่องคือ “ เด็กมันติดยา ครับพี่” นอกนั้นเป็นบทเลิฟซีนกับ พรทิพย์ ปาปะนัย ต่อมาเขายังได้รับเลือกให้เป็น นักแสดงดาวรุ่งที่มีศักยภาพสูง และกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังในเอเชีย หรือ สตาร์ ซัมมิท เอเซีย ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน และอนันดาก็ได้แสดงในภาพยนตร์นอกกระแส อย่าง ดึกแล้วคุณขา ที่อนันดาไม่รับค่าตัวและช่วยออกเงินทำภาพยนตร์ และปลายปี 2550 อนันดามีผลงานภาพยนตร์เรื่อง Pleasure Factory หรือ Kuaile Gongchang ของเอกชัย เอื้อครองธรรม ผู้กำกับ Beautiful Boxer เป็นโปรเจกต์หนังนานาชาติของเอกชัย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ที่แคนาดา ณ เทศกาลภาพยนตร์โลกกรุงมอนทรีอัล และยังได้รับเลือกให้เข้าฉายใน สาย Midnight Passion ณ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงปูซานครั้งที่ 12 ด้วย

พ.ศ. 2551 และ อนาคต

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 อนันดามีผลงานการแสดงภาพยนตร์ถึง 10 เรื่อง โดยเริ่มรับแสดงเรื่อง The Coffin ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และต่อด้วย ปืนใหญ่จอมสลัด แต่เนื่องจากรอเปิดกล้องอยู่นานไม่ได้ถ่ายทำ จึงไปรับถ่ายเรื่อง The Leap Years ซึ่งใช้เวลาถ่ายทำนานกว่า 3 ปี

ในปี พ.ศ. 2551 นี้ อนันดาได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง เมมโมรี่ รัก...หลอน โดยอนันดารับบทเป็น กฤช มีอาชีพเป็นจิตแพทย์ อนันดาได้พูดถึงตัวละครนี้ว่า "หมอกฤชเป็นจิตแพทย์ที่มีปัญหา เป็นจิตแพทย์ที่ควรจะพบจิตแพทย์เสียเอง" ต่อมาอนันดามีผลงาน แสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง สะบายดี หลวงพะบาง เป็นภาพยนตร์เอกชนลาวเรื่องแรกในรอบ 33 ปี โดยได้ผู้กำกับไทย ศักดิ์ชาย ดีนาน และผู้กำกับลาว อนุสอน สิริสักดา โดยครั้งแรกที่ได้รับการติดต่อมาเพื่อแสดงในเรื่องนี้ แต่เมื่ออ่านบทและทำการถ่ายทำได้สักพักจึงตัดสินใจหาเงินระดมทุนสร้างกว่า 10 ล้านบาท รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

ภาพยนตร์เรื่อง โลงต่อตาย (The Coffin) ภาพยนตร์ร่วมทุนไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง กำกับโดยและเขียนบทโดยเอกชัย เอื้อครองธรรม ที่ได้รับรางวัล Best Project และเงินรางวัลจากกองทุน Hubert Bal ในงาน HAF ฮ่องกง เอเชี่ยน ไฟแนนซ์เชี่ยล ฟอรัม ภาพยนตร์เรื่องนี้อนันดารับบทเป็น คริส สถาปนิก ที่กลัวความแคบอย่างรุนแรง แต่มานอนโลงเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ให้แฟนชาวญี่ปุ่นที่ป่วยเข้าขั้นโคม่า ในบทบาทของ "คริส" อภินันท์ บุญเรืองพะเนา จากผู้จัดการออนไลน์วิจารณ์ว่า "บทของคริสก็คืออีกหนึ่งบทบาทซึ่งขับรัศมีแห่งความเป็นนักแสดงมืออาชีพในตัวของอนันดาออกมาให้คนดูได้เห็นอย่างเด่นชัดยิ่งขึ้นอีก" ต่อมาในภาพยนตร์เรื่อง ปืนใหญ่จอมสลัด ภาพยนตร์ทุนสร้างสูงแนวแอกชัน-แฟนตาซี เขารับบทเป็นปารี ชาวเล ผู้มีวิชาดูหลำ สามารถบังคับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลได้ โดยนนทรีย์ นิมิบุตรและเอก เอี่ยมชื่นได้กล่าวว่าออกแบบตัวละครตัวนี้จากตัวอนันดา ซึ่งเขาก็สงสัยว่าคล้ายกับเขาตอนไหน

อนันดาและฉายนันท์ มโนมัยสันติภาพ กลับมาแสดงร่วมกันอีกครั้งใน แฮปปี้เบิร์ธเดย์ หลังจากเจอกันใน Me Myself ขอให้รักจงเจริญ กับผู้กำกับคนเดิม พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ซึ่งเขาส่งอนันดาและฉายนันท์เข้าไปพัฒนาการแสดงกับหม่อมน้อย ที่อนันดาเคยแสดงในภาพยนตร์กำกับโดยหม่อมน้อยใน อันดากับฟ้าใส หม่อมน้อยพูดถึงอนันดาว่า "ถามว่าอนันดาเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ทางด้านการแสดงมั๊ย ก็ตอบเลยว่าไม่ แต่ว่ามีความมานะ มีความพยายาม แล้วก็ขัดเกลาตัวเองอยู่เสมอ ทำให้ฝีมือการแสดงของเขาขึ้นไปทีละขั้นช้า ๆ แต่มั่นคง..." ซึ่งการแสดงของอนันดาเรื่องนี้ก็ได้รับคำชมว่า "อนันดาในหนังเรื่องนี้ “บทเด่น” และ “เล่นดี” มากจนหาที่ตำหนิไม่เจอ" จากผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้อนันดาได้รับรางวัลในสาขานักแสดงนำจาก 4 สถาบัน

อนันดามีส่วนร่วมในโครงการภาพยนตร์ เสน่ห์กรุงเทพ ที่เป็นโครงการภาพยนตร์สั้นถ่ายทอดจากผู้กำกับ 9 คน โดยอนันดาแสดงในตอน "Bangkok Blues" กำกับโดย อาทิตย์ อัสสรัตน์ ในปี พ.ศ. 2553 เขายังได้กลับมาร่วมงานแสดงภาพยนตร์ในการกำกับของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุลอีกครั้งในเรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย ในปีเดียวกันเขาแสดงในภาพยนตร์ทุนสร้างสูง 150 ล้านบาทเรื่อง อินทรีแดง ในบทบาท อินทรีแดง จากบทบาทนี้ รัชชพร เหล่าวานิช นักวิจารณ์เห็นว่า บทบาทนี้อยู่แค่สอบผ่าน เพราะไม่มีรังสีอำมหิต

ชีวิตส่วนตัว

ครอบครัวและความสัมพันธ์

อนันดาเป็นลูกครี่งออสเตรเลีย-ลาว บิดาชื่อ จอห์น เอเวอริงแฮม เป็นนักข่าวออสเตรเลีย สมัยสงครามเวียดนาม ด้วยการไปดำน้ำใช้แท็งก์ (สกุ๊ปบ้าไดฟ์วิง) พามารดาของอนันดาชื่อว่า แก้วสิริ สมพร หนีข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวมาอยู่ฝั่งไทย และเรื่องราวของทั้งคู่เป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก ฮอลลีวูดนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง Love Is Forever ในปี พ.ศ. 2526 กำกับโดย ฮอลล์ บาร์ตเล็ตต์ หลังจากนั้นทั้งคู่หย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2540 จอห์นแต่งงานใหม่และมีลูกชื่อ เชสเตอร์ เจย์ เอเวอริงแฮม และ ซีนิธ ลี เอเวอริงแฮม ปัจจุบันจอห์นทำนิตยสารภาษาอังกฤษ ส่วนแก้วสิริทำธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไทย ทางด้านชีวิตครอบครัว อนันดาเล่าว่า "ถูกเลี้ยงมาแบบอิสระมาก ๆ ปล่อยให้เราอิสระมาก ๆ คืออย่างจะทำอะไรก็ไปทำซะ ให้เราค้นหาเอาเอง" โครงการสำหรับครอบครัว คือซื้อบ้าน เนื่องจากตั้งแต่เด็กมาไม่เคยซื้อบ้าน มีแต่บ้านเช่า จึงอยากซื้อบ้านอาจเป็นที่เชียงใหม่หรือกรุงเทพเพื่อเป็นศูนย์รวมของครอบครัว

อนันดามีข่าวคบหากับ แสงทอง เกตุอู่ทอง และยอมรับว่าอยู่ด้วยกัน ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "เราไม่พยายามหลอกคน คือทั้งผมและจี๊ดรับผิดชอบตัวเองได้ เราตรงไปตรงมา เราก็รักกันคบกัน ถึงจุดจุดหนึ่งก็อยู่ด้วยกัน" แต่ท้ายสุด ในเดือนมกราคม 2553 ทั้งคู่ก็ออกมายอมรับว่าเลิกกัน หลังคบกันมานาน 4 ปี ต่อมาได้คบหากับมนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล หลังจากคบหาดูใจกันมาได้ถึง 2 ปี ได้เลิกกันช่วงกลางปี พ.ศ. 2556

ความสนใจ

ด้วยเพราะพ่อของเขาเป็นช่างภาพ เขาเริ่มถ่ายรูปพ่อของเขาตั้งแต่ยังเด็กด้วยกล้อง "Nikon FM2" และเขามีความสนใจอยากจะทำงานเบื้องหลัง คืออยากเป็นตากล้อง เพราะมีพื้นฐานทางนี้มาก่อน ในช่วงที่ถ่ายทำหนัง อนันดามีความรู้สึกอยากอยู่ใกล้กล้อง จึงวิเคราะห์ตัวเองว่าคงชอบในจุดนี้ ภาพยนตร์ที่อนันดาชอบดู หลายคนคงคิดว่าอนันดาชอบดูหนังอาร์ตที่เข้าใจยาก แต่เขาดูหนังได้ทุกประเภท เขาเสริมว่า "ภาพยนตร์ที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นภาพยนตร์ที่ดูไม่รู้เรื่อง"

ส่วนความสนใจตั้งแต่เด็ก คือ อยากเป็นนักชีววิทยาทางทะเล ชอบดำน้ำ ชอบทะเล และยังมีโครงการอีกหลายโครงการเช่น เรื่องการเรียน เรื่องธุรกิจ ส่วนในยามว่างอนันดาชอบการท่องเที่ยว เคยขี่มอเตอร์ไซค์ไปประเทศลาวกับ กมล สุโกศล แคลปป์ มาแล้ว สถานที่อนันดาหลงใหลมากคือที่ประเทศเนปาล

นักแสดงที่อนันดาชื่นชอบในบทบาทการแสดงคือ เจฟฟรีย์ รัช, แกรี โอลด์แมน, จอห์นนี เด็ปป์, แดเนียล เดย์-ลูอิส และ เคต วินสเลต เขายังชื่นชมนักแสดงฮอลลีวูดในตำนานอย่างออเดรย์ เฮปเบิร์น และ ฮัมฟรีย์ โบการ์ต ผู้กำกับที่เขาชื่นชอบเช่น คลิ้นต์ อีสต์วูด, มาร์ติน สกอร์เซซี และ เปรโด อัลโมโดวาร์ อนันดาเป็นคนชอบฟังเพลงมาก โดยเฉพาะเพลงที่มีเสียงธรรมชาติ พวกทะเล ลม น้ำตก จำพวกเพลงแนวเวิลด์มิวสิก วงดนตรีที่เขาชอบฟังเช่น เดอะโรลลิงสโตนส์และเวลเวตอันเดอร์กราวด์ เขายังชอบอ่านหนังสือ Steppenwolf ของ แฮร์มันน์ เฮสเซอ

บุคลิกและนิสัย

อนันดาเป็นคนมีโลกส่วนตัว เป็นคนตรงไป ตรงมา เกลียดการโกหก ไม่ชอบอยู่ในสถานที่ที่คนเยอะ และเป็นคนเครียด จากบุคลิกที่ไม่ปล่อยวางอะไรง่าย เขาเล่าว่าที่เขาคิดเยอะ เพราะมีเรื่องต้องรับผิดชอบเยอะ อีกทั้งชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งอนันดาเคยไปปรึกษาจิตแพทย์มาแล้ว 2 ครั้ง ใน 4 ปี

อนันดาพูดถึงตัวเอง เกี่ยวกับการใช้เงินว่า ถึงแม้จะมีผลงานภาพยนตร์มาหลายเรื่อง แต่อนันดาก็บอกว่า "ตนเองใช้เงินเก่ง"

เอกชัย ผู้กำกับเรื่อง โลงต่อตาย พูดถึงอนันดาว่า "เขาทำงานง่าย เป็นคนที่แคร์กับคาแร็กเตอร์ เข้าใจว่าตัวละครตัวนี้ เลือดเนื้อวิญญาณของมันคืออะไร"

ภาพลักษณ์

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม: ประวัติ, ชีวิตส่วนตัว, ภาพลักษณ์ 
รับรางวัลในงานครบรอบ 6 ปี นิตยสารเซเวนทีน

ในช่วงที่เข้าวงการใหม่ ๆ อนันดามีภาพลักษณ์ในลักษณะ "นักแสดงติสต์แตก" สาเหตุมาจากแรก ๆ เป็นคนคุยกับใครไม่ค่อยเป็น คุยไม่รู้เรื่อง จึงทำให้ดูเป็นคนมีโลกส่วนตัว ไม่คบกับใคร แต่อนันดาเล่าว่า "ผมก็แคร์นะ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง อาจเพราะยังเด็กก็ได้" และอธิบายว่า "ผมว่า ติสท์ มันจะออกแนวไม่ค่อยมีเหตุผล แต่ชีวิตผมเป็นชีวิตที่มีเหตุผลค่อนข้างสูง ...ผมไม่ได้เข้าถึงยาก เพียงแต่ว่าถ้าอันไหนที่ผมคิดว่ามันถูกต้อง นี่คือสิ่งที่ผิด ผมก็จะยืนยันอย่างนั้น"

อนันดาถือเป็นบุคคลในวงการภาพยนตร์ไทย คนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าทุ่มเทให้กับการแสดงของตัวเองอย่างเต็มที่ หลายครั้งที่เขารับบทบาททางด้านการแสดงก็ต้องประสบกับความเครียดอันเนื่องจากความพยายามที่จะเข้าให้ถึงบทบาทและกลายเป็นตัวละครตัวนั้น อนันดายังเป็นคนที่เลือกบทและไม่คำนึงถึงเพียงค่าตัวในการแสดง แต่จะเลือกในงานที่น่าสนใจ รวมถึงการทำหนังเล็ก ๆ นอกกระแสอย่างหนังของ สันติ แต้พานิช เรื่อง ดึกแล้วคุณขา และ เรื่อง สะบายดี หลวงพระบาง และยังตั้งเป้า ผลักดันวงการหนังไทยให้ดีขึ้น "จุดหมายในตอนนี้ของผมคืออยากเอาหนังไทยไปให้ฝรั่งดู"

ในปี พ.ศ. 2551 อนันดาได้รับรางวัลพระเอกภาพยนตร์ขวัญใจประชาชน ที่จัดขึ้นโดยนิตยสารทีวีพูล และยังได้รับรางวัลเซเวนทีนชอยส์แอ็กเตอร์ จากการแจกรางวัลของนิตยสารเซเวนทีน

ชื่อเสียงของอนันดายังดังข้ามไปยังต่างประเทศ คาเรน ม็อก นักแสดงชื่อดังชาวฮ่องกงที่ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง โลงต่อตาย ก็รู้ว่าเขามีชื่อเสียง ส่วนอากิ ชิบูยะ นักแสดงชาวญี่ปุ่นที่ร่วมงานกับภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน ก็เล่าว่า "อนันดา เขาดังมากที่ญี่ปุ่น" นอกจากความโด่งดังแล้วยังมีดารานักแสดงชื่นชอบอนันดา คือ มาริโอ้ เมาเร่อ ที่ชอบวิธีการพูดจา การดำเนินชีวิต และแนวคิดของเขา

กิจกรรมและงานอื่น

ทางด้านธุรกิจ ได้ร่วมกันทำธุรกิจกับผู้จัดการส่วนตัว นภัสริญญ์ พรหมพิลา ตั้งบริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จำกัดเปิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 รับทำงานอีเวนต์เกี่ยวกับงานศิลปะ อีกทั้งยังเคยมีธุรกิจร้านอาหารกึ่งผับกึ่งรีสอร์ตที่เกาะเสม็ด (ปิดไปแล้ว) อนันดามีผลงานถ่ายภาพบันทึกเรื่องราวการเดินทาง โดยใช้ชื่อว่า “99 Days- Photobook กับ อนันดา เอเวอริงแฮม ” (โฟโต้บุ๊ก ไดอารี่ “99 วัน”)

อนันดาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโฆษณาจักรยานยนต์ ซูซูกิ รุ่น “มาโช โชกุน 125” และเป๊ปซี่ แม็กซ์ กับอีก 4 พรีเซนเตอร์ ด้วยแต่ละคนให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตและดูแลตัวเองในทุก ๆ ด้าน โดยอนันดาเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงรสชาติเต็มที่ของเป๊ปซี่ แมกซ์ อนันดา ยังเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้กับโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่า สำหรับผลิตภัณฑ์ตระกูล MOTORAZR อนันดาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์เม็ดอม ดับเบิ้ลมินต์ มินต์ และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าสำหรับผู้ชาย การ์นิเย่

ด้านงานช่วยเหลือสังคม ในปี พ.ศ. 2551 อนันดา ได้เข้าร่วมกับเอ็มทีวี เอ็กซิท เป็นแอมบาสเดอร์ประจำประเทศไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ด้านวงการวิทยุ อนันดา เอเวอริงแฮม ขึ้นแท่นบริหารนำทีม บริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จำกัด ร่วมมือกับบริษัท อินดิเพนเด้นท์ คอมมิวนิเคชั่น เนทเวิร์ค จำกัด บริหารคลื่น CLICK RADIO FM.102.5 CHIANG MAI ซึ่งได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 และได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา

ผลงาน

ภาพยนตร์

ปี ภาพยนตร์ บทบาท หมายเหตุ
2540 อันดากับฟ้าใส อันดามัน
2541 303 กลัว กล้า อาฆาต กุ

กุศลส้าง"

2546 คนสั่งผี ปิโรญาณ
2547 ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ธรรม์
2550 Me Myself แทน
พลอย นัท
ดึกแล้วคุณขา ผู้ชายแก้เหงาทางโทรศัพท์
โรงงานอารมณ์ คริส ภาพยนตร์ร่วมทุนหลายประเทศ (สิงคโปร์เป็นหลัก)
2551 เมมโมรี่ รักหลอน กฤช
หยุดหัวใจไว้รอเธอ เจเรมี่ ภาพยนตร์สิงคโปร์
สะบายดี หลวงพะบาง สอน ภาพยนตร์ร่วมทุนไทยและลาว
โลงต่อตาย คริส ภาพยนตร์ร่วมทุนไทย ฮ่องกง และสิงคโปร์
ปืนใหญ่จอมสลัด ปารี
แฮปปี้เบิร์ธเดย์ เต็น
2552 เสน่ห์กรุงเทพ อนันดา ตอน "Bangkok Blues" (ภาพยนตร์สั้นทางทีวีไทย)
2553 ชั่วฟ้าดินสลาย ส่างหม่อง
อินทรีแดง อินทรีแดง / โรม ฤทธิไกร
แฟนใหม่ แฟนเก่าของซี รับเชิญตอนท้ายเรื่อง
2554 หลุดสี่หลุด หนึ่ง ตอน คืนจิตหลุด
อุโมงค์ผาเมือง ขุนศึกเจ้าหล่าฟ้า
ไฮโซ อนันดา
2555 ชัมบาลา ทิน
2556 สะบายดีปากเซ - หลวงพะบาง ช่างภาพ ชื่อ "สอน" โดยนำท่อนฟิล์มภาค 1 และ 2 มาตัดต่อเป็นเรื่องใหม่
ห้องสมุดแห่งรัก จิม อโนทัย ภาพยนตร์สั้น
2557 ห้องหุ่น นพ
ภวังค์รัก มัด
O.T. ผี over time บดินทร์ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจาก O.T. (1 ในเรื่องสั้นของตีสาม 3D)
2558 คน•อก•หัก Love H2O โอม
แม่เบี้ย เอกภพ รับเชิญ
2559 ขุนพันธ์ ขุนพันธรักษ์ราชเดช
2561 ขุนพันธ์ ภาค 2 ขุนพันธรักษ์ราชเดช
7days เรารักกัน จันทร์-อาทิตย์ เชฟก้อง
สิงสู่ เดช
2566 ทิดน้อย มาก
ปรากฏการณ์ บ็อบบี้
ขุนพันธ์ ภาค 3 ขุนพันธรักษ์ราชเดช
2567 ปิดเมืองล่า Pattaya Heat ไซม่อน

ละครโทรทัศน์

ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท เครือข่าย
2545 มหัศจรรย์แห่งรัก ดอน ช่อง 7
คนเริงเมือง เปรมฤทัย ช่อง 5
ทะเลฤๅอิ่ม เจ้าภูตะวัน ไอทีวี
2549 ในฝัน เจ้าชายพิรียพงศ์ ช่อง 9
2555 วุ่นวายสบายดี โก่ง / ช่างภาพถ่ายนางแบบ ช่อง 3
2558 เสือ (เลือดมังกร) ภรพ รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เสือ)
2560 ศรีอโยธยา พิมาน / พระพิมานสถานมงคล ทรูโฟร์ยู
2562 Secret Garden อลเวงรักสลับร่าง ธนัท
2564 XYZ ธร ทรูเอเชียนซีรีส์
2566 เกมรักทรยศ อธิน พัฒนกิจ ช่อง 3 HD
2567 เจ้าแม่ วันเส้นพันกัง

มิวสิกวิดีโอ

โปรดิวเซอร์

  • โครงการ "มหาสมุทร" (MahaSamutr) ของ เพส ดีเวลล็อปเม้นท์ (Pace Development)

รางวัล

ปี รางวัล สาขา ผล ผลงานที่เข้าชิง
พ.ศ. 2547 สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ
พ.ศ. 2550 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน รางวัลดาวรุ่ง ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2551 คมชัดลึกอวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง Me Myself
สตาร์พิกส์อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2552 สตาร์พิกส์อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง สะบายดี หลวงพะบาง
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รางวัล แฮปปี้เบิร์ธเดย์
แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ท็อปอวอร์ดส 2008 ดารานำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
รางวัลสุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2009 นักแสดงชายแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง สะบายดี หลวงพะบาง
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล แฮปปี้เบิร์ธเดย์
คมชัดลึกอวอร์ดส นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2008 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
สยามดารา สตาร์ ปาร์ตี้ 2009 ดารานำชายยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2554 คมชัดลึกอวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล ชั่วฟ้าดินสลาย
รางวัลสุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2555 คมชัดลึกอวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ไฮโซ
สตาร์พิคส์อวอร์ดส นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2557 รางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 24 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ภวังค์รัก
สตาร์พิคส์อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2559 ดาราเดลี่ เดอะเกรต อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 ดารานำชาย สาขาภาพยนตร์ที่สุดแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง O.T. ผี Over time
เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2016 นักแสดงชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ได้รับรางวัล เสือ
รางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ขุนพันธ์
พ.ศ. 2561 รางวัลเณศไอยรา นักแสดงนำชายภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้รับรางวัล ศรีอโยธยา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือและบทความ

  • Ainslie, M. J. 2022. The changing status of the Thai luk khrueng (Eurasian) performer: a case study of Ananda Everingham. in J. Driskell (ed.), Film Stardom in Southeast Asia (pp. 182-202). Edinburge: Edinburge University Press.

เว็บไซต์

Tags:

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ประวัติอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ชีวิตส่วนตัวอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ภาพลักษณ์อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม กิจกรรมและงานอื่นอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ผลงานอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รางวัลอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม อ้างอิงอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม แหล่งข้อมูลอื่นอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ภาษาอังกฤษจุลจักร จักรพงษ์ไทยลีกพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคเพลงชาติไทยรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)กรุงเทพมหานครจังหวัดนครสวรรค์ไฮบ์คอร์ปอเรชันรณิดา เตชสิทธิ์สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสจังหวัดสงขลาสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรผู้หญิง 5 บาปญินสำนักพระราชวังข้าราชการส่วนท้องถิ่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์แคพิบาราหมึกฮัมโบลต์รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรพิชิตรัก พิทักษ์โลกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิภาคตะวันออก (ประเทศไทย)ประเทศเนเธอร์แลนด์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์2ตัน ภาสกรนทีดาบสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดธนินท์ เจียรวนนท์จังหวัดจันทบุรีแทททูคัลเลอร์มหาวิทยาลัยมหิดลสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดประเทศรัสเซียวชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์เหี้ยอาวุธนิวเคลียร์สงกรานต์ในประเทศไทยคนลึกไขปริศนาลับดอลลาร์สหรัฐคิม จี-ว็อน (นักแสดง)อัจฉริยะหมอ 2 แผ่นดินพรรคเพื่อไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโรนัลโดมิตร ชัยบัญชาศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอุณหภูมิจังหวัดอุทัยธานีวอน (สกุลเงินเกาหลีใต้)บาท (สกุลเงิน)สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีศาสนาฮินดูสโมสรฟุตบอลหนองบัว พิชญX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)จูด เบลลิงงัมเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินหมาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตณฐพร เตมีรักษ์เขตพื้นที่การศึกษายูฟ่ายูโรปาลีกสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งจีเอ็มเอ็มทีวีปีนักษัตรหม่ำ จ๊กมกกองทัพเรือไทยชวลิต ยงใจยุทธจักรพรรดิเฉียนหลงลิซ่า (แร็ปเปอร์)สมเด็จพระนารายณ์มหาราช🡆 More