หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร

พลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร (26 มีนาคม พ.ศ.

2424 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500) อดีตสมาชิกวุฒิสภา องคมนตรี กรรมการองคมนตรี และเจ้ากรมพลาธิการทหารบก เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร
หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 เมษายน พ.ศ. 2458 – 2 กันยายน พ.ศ. 2470
ประสูติ26 มีนาคม พ.ศ. 2424
สวรรคต2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (76 ปี)
ชายา/หม่อมหม่อมสนิท
หม่อมผอบ
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร
พระบุตร8 คน
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลกฤดากร
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2446 – พ.ศ. 2475
ชั้นยศหม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร พลโท
บังคับบัญชากรมพลาธิการทหารบก

พระประวัติ

นายพลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร ประสูติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2423 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2424) เมื่อทรงพระเยาว์ได้รับการศึกษาจากครูพิเศษซึ่งพระบิดาได้ทรงเลือกมาสอนแก่พระโอรส พระธิดา ในวัง เพราะในสมัยนั้นโรงเรียนยังไม่ดีพอ โดยครูภาษาอังกฤษท่านหนึ่ง นามว่า Mr. Morant ซึ่งภายหลังได้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 เมื่อพระชันษาได้ 10 ปี ได้เสด็จไปเรียนในทวีปยุโรปพร้อมกับพระยาสุริยานุวัติ (เกิด บุนนาค) ผู้ซึ่งออกไปเป็นราชทูตในกรุงปารีส เริ่มแรกเมื่อไปถึงได้ไปพำนักอยู่กับพระยามหาโยธา (นกแก้ว คชเสนี) ผู้เป็นราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เนื่องจากมีศักดิ์เป็นคุณตาน้อย จนถึงปี พ.ศ. 2434 พระยามหาโยธา ย้ายมาเป็นราชทูตที่กรุงลอนดอน หม่อมเจ้าเสรฐศิริ จึงทรงย้ายมายังอังกฤษด้วย ในปี พ.ศ. 2435 จึงได้เข้าเรียนกินนอนชั้นต้นที่ซาลฟอนท์ เซนท์โจน Charlefont St. Giles จนถึงปี พ.ศ. 2438 จึงได้เข้าโรงเรียนแฮร์โรว์ Harrow อยู่ในโรงเรียนนี้ 3 ปี

หลังจากนั้นได้ศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับประเทศไทยจึงได้รับราชการเป็นผู้ช่วยนายช่างภาคสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-เพชรบุรี แล้วย้ายไปรับราชการทหาร มีหน้าที่ซ่อมแซมดูแลอาวุธของกองทัพบก เมื่อมีการตั้งกรมช่างแสงทหารบก เพื่อให้ประเทศไทยได้ผลิตอาวุธปืนและกระสุน พลโทหม่อมเจ้าเสรฐศิริ จึงได้เป็นอธิบกรมแสงสรรพาวุธคนแรก รั้งเจ้ากรมช่างแสง และเป็นผู้ทำลูกปืนลูกแรกให้กับกองทัพไทย

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี

หม่อมเจ้าเสรฐศิริ รับราชการจนมียศ "พลโท" ในตำแหน่งเจ้ากรมพลาธิการทหารบก จนกระทั่งลาออกจากราชการเมื่อมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ในตอนต้นรัชกาลที่ 9 หม่อมเจ้าเสรฐศิริ มีตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในช่วงเวลาสั้นๆ วุฒิสภา ชุดที่ 2 (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2489) ก่อนจะสิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500

หม่อมเจ้าเสรษฐสิริ มีโอรสและธิดา ดังนี้

  1. พลตรี หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร)
  2. หม่อมราชวงศ์ทันพงศ์ กฤดากร อดีตอธิบดีกรมสรรสามิต
  3. หม่อมราชวงศ์ทรงพัฒน์ กฤดากร
  4. หม่อมราชวงศ์ทัดเผ่า กฤดากร
  5. หม่อมราชวงศ์เถาพงศ์ กฤดากร
  6. หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์สิริ กฤดากร
  7. หม่อมราชวงศ์หญิงประภาสิริ กฤดากร ประสูติแต่ หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร
  8. หม่อมราชวงศ์อ๊อด กฤดากร

หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร ประชวรพระโรคพระหทัยวาย ไม่ทรงแข็งแรงมาหลายปี จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2500 เกิดมีพระอาการบรรทมไม่หลับ เสวยไม่ได้ จึงได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลเนิซซิงโฮม ถนนคอนแวนต์ พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด จึงกระทั่งถึงชีพิตักษัย ณ โรงพยาบาล พระชนมายุได้ 76 ปี 8 เดือน

ตำแหน่งราชการ

  • – เจ้ากรมช่างแสง
  • มิถุนายน 2456 – เจ้ากรมสรรพาวุธและรักษาราชการในตำแหน่งเจ้ากรมช่างแสง

พระยศ

  • 21 มิถุนายน 2447 – นายพันตรี
  • 27 กันยายน 2449 – นายพันโท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร พระประวัติหม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร ตำแหน่งราชการหม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร พระยศหม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร เครื่องราชอิสริยาภรณ์หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร อ้างอิงหม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากรกรรมการองคมนตรีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์สมาชิกวุฒิสภาองคมนตรี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดรายชื่อตัวละครในวันพีซวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12ธนินท์ เจียรวนนท์หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลกูเกิล แปลภาษาสโมสรฟุตบอลเบิร์นลีย์สหรัฐพีท ทองเจือชาลี ไตรรัตน์อินสตาแกรมกองทัพไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์เว็บไซต์อนุดิษฐ์ นาครทรรพประเทศกัมพูชาพิชชา อาภากาศพระสุนทรโวหาร (ภู่)สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์วิทยา แก้วภราดัยราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนช้อปปี้คณะรัฐมนตรีไทยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสศาสนาพุทธขมิ้นกับปูนอนิสา นูกราฮาธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรัฐภูมิ โตคงทรัพย์วัน อยู่บำรุงรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)ลัดดาแลนด์ (ภาพยนตร์)ธนภัทร กาวิละจังหวัดนนทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ชุติมา ทีปะนาถพินทองทา คุณากรวงศ์ธัญญาเรศ เองตระกูลสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2017คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์มหัพภาคการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548ภาคอีสาน (ประเทศไทย)รายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรจังหวัดอุดรธานีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอสมทพระคเณศทองเนื้อเก้าไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ทพีชญา วัฒนามนตรีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรีศาสนาคริสต์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลกอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ชาติชาย ชุณหะวัณสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรฮย็อน บินทุเรียนจังหวัดสงขลาจังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติคริส โปตระนันทน์🡆 More