หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์

ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (28 ธันวาคม พ.ศ.

2457 — 17 สิงหาคม พ.ศ. 2543) หรือเดิม หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ เป็นสตรีไทยคนแรกที่เป็นนักประพันธ์เพลง เมื่อ พ.ศ. 2480 และได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) เมื่อปี พ.ศ. 2529


พวงร้อย อภัยวงศ์

เกิดหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์
28 ธันวาคม พ.ศ. 2457
อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต17 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสเชียด อภัยวงศ์ (พ.ศ. 2485–2515)
บุตรกสก อภัยวงศ์
มัทนพันธุ์ ดุละลัมพะ
พัชราภรณ์ บุนนาค
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
รางวัลพ.ศ. 2529 – ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล)

ประวัติ

ท่านผู้หญิงพวงร้อย เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2457 เป็นบุตรีของหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ และยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม มังกรพันธ์) เป็นพี่สาวต่างมารดากับหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ทรงได้ประทานนามแก่เธอว่า"พวงร้อย" อันมีความหมายว่า "ไม้เลื้อย หนึ่งพวงมีร้อยดอก" เพื่อให้คล้องจองกับนามมารดาคือ "ยี่สุ่น" ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในครอบครัวของนักดนตรีจึงชอบดนตรี และเล่นเปียโนมาตั้งแต่เด็ก มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล หม่อมหลวงซัง สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์

หม่อมหลวงพวงร้อยสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2477 และปริญญาตรีด้านเปียโนจากวิทยาลัยดนตรีทรีนิตี (Trinity College of Music) ลอนดอน สหราชอาณาจักร

ชีวิตส่วนตัว

หม่อมหลวงพวงร้อยสมรสกับเชียด อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นน้องชายของควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2485 มีบุตรธิดา 3 คน คือ

  1. กสก อภัยวงศ์
  2. มัทนพันธุ์ ดุละลัมพะ
  3. พัชราภรณ์ บุนนาค

การประพันธ์เพลง

ในปี พ.ศ. 2480 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้ทรงสร้างภาพยนตร์เรื่อง "ถ่านไฟเก่า" และทรงนิพนธ์เพลงประกอบคือ บัวขาว และ ในฝัน ขึ้น และทรงมอบหมายให้หม่อมหลวงพวงร้อย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเมื่อมีอายุได้ 23 ปี เพลงบัวขาว กลายเป็นเพลงอมตะที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2522 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเชียของยูเนสโก ประเทศฟิลิปปินส์ ได้คัดเลือก "เพลงบัวขาว" เป็น "เพลงแห่งเอเชีย" นักร้องยอดนิยมของฮ่องกง "ฟรานซิส ยิป" ได้นำเพลงนี้ไปขับร้องบันทึกแผ่นเสียง ส่วเพลง ในฝัน ก็เป็นเพลงแรกของครูเอื้อ สุนทรสนาน นักดนตรีชื่อดังและบุคคลสำคัญของโลก

หม่อมหลวงพวงร้อยมีผลงานประพันธ์ทำนองและคำร้องเพลงมากมาย จำนวน 124 เพลง รวมทั้งบทเพลงปลุกใจ เพื่อถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เช่น เพลงดุจบิดามารดร เพลงแด่ ต.ช.ด. เพลงชายชาญทหารไทย ใน พ.ศ. 2516 ท่านได้เปลี่ยนลักษณะการแต่งเพลง ที่มักจะใส่คำไม่ลงโน้ต มาใช้คำที่มีวรรณยุกต์ตรงกับโน้ตเพลงมากขึ้น บทเพลงที่ท่านแต่งจึงมีความไพเราะ สละสลวย มีการผสมผสานการร้องแบบดนตรีไทยเดิมกับดนตรีสากล

หม่อมหลวงพวงร้อย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงใช้คำนำหน้าท่านผู้หญิง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สิริอายุ 85 ปี

รายชื่อเพลง

(ส่วนหนึ่ง)

  • บัวขาว พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์เรื่อง “ถ่านไฟเก่า”
  • ในฝัน พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์เรื่อง “ถ่านไฟเก่า”
  • เพลิน พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”
  • ลมหวน พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”
  • วันเพ็ญ พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “วันเพ็ญ”
  • ดอกไม้ พ.ศ. 2481 ภาพยนตร์เรื่อง “วันเพ็ญ”
  • เงาไม้ พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ลูกทุ่ง” และ “เรือนแพ”
  • สายัณห์ พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ลูกทุ่ง”
  • เปลี่ยวใจ พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ”
  • แรกรัก พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ”
  • จันทร์เอ๋ย พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ”
  • ตาแสนกลม พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • เกี้ยวสาว พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • ชายในฝัน พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • แสนห่วง พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • โอ้ความรัก พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • หัวใจเดียว พ.ศ. 2482 ละครเรื่อง “จุดไต้ตำตอ”
  • รักเธอแต่แรกยล
  • มะลิเจ้าเอ๋ย พ.ศ. 2490
  • ดุจบิดามารดร พ.ศ. 2516
  • แด่ ต.ช.ด. พ.ศ. 2516
  • ชายชาญทหารไทย พ.ศ. 2516
  • ตำรวจตระเวนชายแดน
  • ทหารพระนเรศวร พ.ศ. 2516
  • รินเข้าริน
  • ฝากรักเอาไว้ในเพลง
  • สวนหลวง ร.9

100 ปีชาตกาลท่านผู้หญิงพวงร้อย

โดยมีกฤษฎา ล่ำซำ รองประธานกรรมการของธนาคารกสิกรไทย ในนามบริการเดอะวิสคอมจัดงานแสดงดนตรี “ร้อยบรรเลง เพลงพวงร้อย : An Exclusive Orchestral Concert” และ นิทรรศการ “๑๐๐ ปี คีตกรหญิงแห่งกรุงสยาม” เป็นปีที่ 2 เพื่อเชิดชูเกียรติ ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ทั้งนี้ ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานในงาน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ภายในงานนิทรรศการ “๑๐๐ ปี คีตกรหญิงแห่งกรุงสยาม” มีการจัดแสดงประวัติ ผลงาน ของสะสมและเครื่องดนตรี โดยได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนจากทายาทท่านผู้หญิงพวงร้อย และหอสมุดแห่งชาติในการเอื้อเฟื้อข้อมูล ถือเป็นจุดกำเนิดเพลงอมตะของท่านผู้หญิงพวงร้อยหลายบทเพลง ผลงานของท่านในระยะแรกนั้น เป็นผลงานที่ประพันธ์ในการประกอบภาพยนตร์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และประกอบการแสดงต่าง ๆ อาทิ เพลง บัวขาว, เงาไม้, จันทร์เอ๋ย, ลมหวน ต่อมา ท่านผู้หญิงจึงเริ่มประพันธ์บทเพลงปลุกใจ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักชาติตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รวมถึงบทเพลงเทิดพระเกียรติ บทเพลงประจำสถาบัน และบทเพลงในวาระพิเศษต่าง ๆ

ส่วนการแสดงดนตรีนั้น แบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ คือ การ “ร้อง เต้น เล่นละคร” เป็นการขับร้องเพลงโดยศิลปินแนวหน้าระดับประเทศ จินตลีลาประกอบเพลงวอลทซ์ และการแสดงละคร โดยนำเพลงของ ท่านผู้หญิงพวงร้อย มาร้อยเป็นเรื่องราว บรรเลงโดยวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อำนวยเพลงและเรียบเรียงขึ้นใหม่โดย ทฤษฎี ณ พัทลุง และมี มัทนพันธุ์ ดุละลัมพะ ลูกสาวท่านผู้หญิงพวงร้อย ในฐานะนักเปียโนรับเชิญกิตติมศักดิ์ และยังมีศิลปินมาร่วมร้องได้แก่ ธนชัย อุชชิน, ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, กิตตินันท์ ชินสำราญ, กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พิจิกา จิตตะปุตตะ, ดวงพร พงศ์ผาสุก, สาธิดา พรหมพิริยะ, กรกันต์ สุทธิโกเศศ

การแสดงครั้งนี้มีการบรรเลง “เพลงวันเพ็ญ” ประกอบภาพยนตร์เรื่อง “วันเพ็ญ” ซึ่งมี หม่อมปริม บุนนาค นางเอกจากเรื่องวันเพ็ญ ในวัย 90 ปี มาร่วมชมการแสดง “เพลงเปลี่ยวใจ” ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “ปิดทองหลังพระ” ซึ่งมีการฉายภาพยนตร์ที่หายากมาให้ได้รับชม และไฮไลต์เพลง “ร้อยบรรเลง เพลงพวงร้อย” ซึ่งทฤษฎี ณ พัทลุง นำ 18 บทเพลงของท่านผู้หญิงมาเรียบแรง โดยให้ศิลปิน นักแสดง นักร้องประสานเสียง นักดนตรี กว่า 120 คน มาร่วมบรรเลง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ประวัติหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ชีวิตส่วนตัวหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ การประพันธ์เพลงหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ รายชื่อเพลงหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ 100 ปีชาตกาลท่านผู้หญิงพวงร้อยหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ อ้างอิงหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ แหล่งข้อมูลอื่นหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์นักประพันธ์เพลงศิลปินแห่งชาติ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดพิจิตรญาณี จงวิสุทธิ์กาจบัณฑิต ใจดีพชร จิราธิวัฒน์ฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566ประเทศปากีสถานดอลลาร์สหรัฐรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)พายุสุริยะเอเรอดีวีซีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยศรีปทุมกองทัพเรือไทยสกีบีดีทอยเล็ตเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกโอมเนื้อหนังมังผี69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ดาวิกา โฮร์เน่รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)จังหวัดสุรินทร์เมษายนรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)รามาวดี นาคฉัตรีย์เลเซราฟิมราชวงศ์จักรีภาคใต้ (ประเทศไทย)ปรียาดา สิทธาไชยภาษาญี่ปุ่นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดตากไอริณ ศรีแกล้วสายัณห์ สัญญาเพลิงพรางเทียนX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทอวตาร (ภาพยนตร์)กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)จังหวัดกำแพงเพชรภาษาในประเทศไทยเทพมรณะสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนเครยอนชินจังอาณาจักรสุโขทัยวิดีโอรหัสมอร์สกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)ซอร์ซมิวสิกเจมส์ มาร์จัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แอน ทองประสมหม่ำ จ๊กมกเซเรียอาราศีเมษสีประจำวันในประเทศไทยนภคปภา นาคประสิทธิ์ศาสนาอิสลามประเทศสิงคโปร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์จังหวัดศรีสะเกษสะดุดรักยัยแฟนเช่าอิษยา ฮอสุวรรณยุทธการที่เซกิงาฮาระจรินทร์พร จุนเกียรติราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนอนิเมะนิภาภรณ์ ฐิติธนการเศรษฐา ทวีสินบางกอกอารีนาพระศรีอริยเมตไตรยมิลลิ (แร็ปเปอร์)บีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)ปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)เกศริน ชัยเฉลิมพล🡆 More