สัตว์ขาปล้อง

สัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน

สัตว์ขาปล้อง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 540–0Ma Earliest Cambrian (Fortunian)–Recent
สัตว์ขาปล้อง
สัตว์ขาปล้องที่สูญพันธุ์และสมัยใหม่. ภาพจากบนไปซ้าย: ไทรโลไบต์, †Stylonurus, แมงป่อง, ปู, ตะขาบ, และ ผีเสื้อ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไม่ได้จัดลำดับ: แทกโทโพดา
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
Gravenhorst, 1843
ไฟลัมย่อย และ ชั้น

ลักษณะทั่วไป

สัตว์ขาปล้องจะมีลักษณะของลำตัวเป็นปล้อง ๆ บางจำพวกนั้นสามารถแยกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง แต่ก็มีสัตว์ขาปล้องบางจำพวกที่มีส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพียงแค่ 2 ส่วน คือมีเพียงแค่ส่วนหัวกับส่วนอกติดกันและส่วนท้องเท่านั้นเอง

สัตว์ขาปล้องจะมีช่องเปิดที่สำคัญ มีลักษณะเป็นรูจำนวน 2 รู และมีอวัยวะรับความรู้สึกที่ดี เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างรวดเร็ว และหาอาหารได้อย่างง่ายดาย อาศัยอยู่เกือบทุกแห่งของโลก หรืออาจเรียกได้ว่าสัตว์ขาปล้องนั้นมีถิ่นอาศัยอยู่ทุกแห่งในโลก เรียกได้ว่าประมาณ 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหลายภายในโลก คือสัตว์จำพวกสัตว์ขาปล้อง

การจัดจำแนก

ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของอาร์โทรพอดใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมจากดีเอ็นเอจากไมโทคอนเดรีย ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 5 ไฟลัมย่อย คือ

  • ไฟลัมย่อยไทรโลบิโตมอร์ฟา สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว พบแต่ในซากชีวิตโบราณ ถือว่าเป็นสัตว์ขาปล้องกลุ่มแรก
  • ไฟลัมย่อยเชลิเซอราตา ลำตัวแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนหัวและอกรวมเป็นชิ้นเดียวเรียกเซฟาโลทอแรกซ์ กับส่วนท้อง มีรยางค์สำคัญ 1 คู่ข้างหน้า ใช้หาอาหาร แบ่งย่อยเป็น
  • ไฟลัมย่อยครัสตาเชีย เซฟาโลทอแรกซ์มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ อวัยวะรับความรู้สึกมีตาประกอบเป็นก้าน ขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัสและอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย ชั้นที่สำคัญได้แก่
  • ไฟลัมย่อยยูนิราเมีย มีระยางค์ซึ่งไม่มีแขนง มีแอนเทนนาคู่เดียว กรามไม่แบ่งเป็นปล้อง แบ่งเป็น

อ้างอิง

  • เพทาย บุณยรัตพันธุ์ และ รัตน์สุณี สุขพณิชนันท์. ชีววิทยา 1 (แอคทีฟพริ้นท์, กรุงเทพฯ; 2557; หน้า 150)

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สัตว์ขาปล้อง ลักษณะทั่วไปสัตว์ขาปล้อง การจัดจำแนกสัตว์ขาปล้อง อ้างอิงสัตว์ขาปล้อง แหล่งข้อมูลอื่นสัตว์ขาปล้อง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลจังหวัดน่านจังหวัดชัยภูมิยูฟ่ายูโรปาลีกสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สินจัย เปล่งพานิชจักรพรรดินโปเลียนที่ 1สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลภาคภูมิ ร่มไทรทองอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนจังหวัดตราดพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถมหาเวทย์ผนึกมารต้นตะวัน ตันติเวชกุลกวนอิมสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดวันพีซรัฐกะเหรี่ยงเฟซบุ๊กประเทศคาซัคสถานเปรม ติณสูลานนท์อินเทอร์เน็ตรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลบุพเพสันนิวาสสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีโดราเอมอนจังหวัดนครสวรรค์ราณี แคมเปนปรีชญา พงษ์ธนานิกรลำไย ไหทองคำจ๊ะ นงผณีจังหวัดนนทบุรีธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)ดอลลาร์สหรัฐเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์บรรดาศักดิ์อังกฤษแปลก พิบูลสงครามเทย์เลอร์ สวิฟต์สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนจังหวัดอุดรธานีลมเล่นไฟนิษฐา คูหาเปรมกิจมหาวิทยาลัยมหิดลหอเกียรติยศพรีเมียร์ลีกจนกว่าจะได้รักกันอริยบุคคลการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติฤดูกาลวงจันทร์ ไพโรจน์อสมทชญานิศ จ่ายเจริญเข็มอัปสร สิริสุขะทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีอักษรไทยเลเซราฟิมสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งปัสคาสโมสรฟุตบอลอินเตอร์ไมแอมีสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันแอลเอ แกลักซีเสกสรรค์ ศุขพิมายศาสนาอิสลามนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์พ.ศ. 2564พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขโรงพยาบาลในประเทศไทยอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์คณะรัฐมนตรีไทยรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยมาตาลดารายชื่อวันสำคัญอาณาจักรอยุธยามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา🡆 More