สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ.

112 (อังกฤษ: Franco–Siamese Treaty of 1893; ฝรั่งเศส: Traité français–siamois de 1893) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ กับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในสมัยของประธานาธิบดีมารี ฟร็องซัว ซาดี การ์โน (Marie François Sadi Carnot) ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ตรงกับ ร.ศ. 112 และ ค.ศ. 1893) เพื่อยุติวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส
ร.ศ. 112
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112
ผู้ลงนามในสนธิสัญญาของฝ่ายสยาม (ซ้าย) และ ฝ่ายฝรั่งเศส (ขวา)
ประเภทสนธิสัญญาสันติภาพ
บริบท
วันลงนาม3 ตุลาคม พ.ศ. 2436
ที่ลงนามกรุงเทพมหานคร
ผู้ลงนามไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
ฝรั่งเศส ชาร์ล เลอร์ มี เดอ วิแลร์
ภาคีไทย ราชอาณาจักรสยาม
ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
ภาษาภาษาไทย
ภาษาฝรั่งเศส

112 มีสาระสำคัญดังนี้:

  • สยามต้องยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดถึงเกาะแก่งในแม่น้ำโขงทั้งหมด เป็นพื้นที่ 143,800 ตารางกิโลเมตร พลเมืองประมาณ 600,000 คน ให้แก่ฝรั่งเศส
  • สยามต้องห้ามมิให้มีเรือติดอาวุธไว้ใช้ หรือเดินไปมาในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง
  • สยามต้องไม่สร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และเมืองนครเสียมราฐ รวมทั้งบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในรัศมี 25 กิโลเมตร
  • ฝรั่งเศสสงวนสิทธิจะตั้งกงสุล ณ ที่ใดก็ได้ โดยเฉพาะที่น่านและโคราช
  • สยามต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสเป็นเงินจำนวน 3 ล้านฟรังก์ ตีเป็นเงินไทยประมาณ 1,560,000 บาท ในสมัยนั้น
  • ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรีไว้ในอารักขาจนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายจนครบ

การลงนาม

ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายสยามซึ่งลงลายมือชื่อในสนธิสัญญา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนฝ่ายฝรั่งเศส คือ ชาร์ล เลอร์ มี เดอ วิแลร์ (Charles Le Myre de Vilers) ผู้แทนฝรั่งเศส ซึ่งลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ. 112 (ตรงกับ ค.ศ. 1893 และ พ.ศ. 2436)

เหตุการณ์สืบเนื่อง

ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้ในอารักขา พ.ศ. 2436–2447

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 
ตึกแดงเป็นอาคารที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นในสมัยที่ฝรั่งเศสยึดครองเมืองจันทบุรี ระหว่าง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2436 ถึง 8 มกราคม พ.ศ. 2447

ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรีตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2436 ถึง 8 มกราคม พ.ศ. 2447 รวมเป็นเวลา 10 ปี 6 เดือน โดยฝรั่งเศสได้สร้างตึกแดงให้เป็นฐานทัพบัญชาการทหารฝรั่งเศส และสร้างคุกขี้ไก่ขึ้นมาเพื่อกักขังนักโทษชาวไทยที่ได้ต่อต้านกับชาวฝรั่งเศส

หลังจากผลของสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สยามจึงต้องเอาฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง นครจำปาศักดิ์ จังหวัดตราด และจังหวัดปัจจันตคีรีเขตเข้าแลก เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรี ฝรั่งเศสจึงจะยอมถอนทหารออกจากจันทบุรีไปอยู่ตราด

การถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

แผนที่ทางรัฐศาสตร์ของราชอาณาจักรสยาม: (ซ้าย)​ ก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (ขวา)​ หลังสนธิสัญญาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436

หลังการลงนามในหนังสือสัญญา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 แล้ว เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อมาซึ่งสืบเนื่องกับวิกฤตการณ์คือ การถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง การประกาศให้คนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เข้ามาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับถิ่นฐานของตนเอง

การพิจารณาคดีพระยอดเมืองขวาง

การพิจารณาคดีพระยอดเมืองขวาง ในกรณีพระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร) ซึ่งเป็นข้าหลวงไทยประจำเมืองคำเกิด คำมวน และเป็นผู้นำในการต่อสู้กับทหารฝรั่งเศส เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2436 ทำให้ทหารฝรั่งเศสชื่อ นายโกรส กูแรง กับทหารญวน อีก 12 คนถึงแก่ความตาย (แต่ฝรั่งเศสกล่าวหาว่ามีทหารเสียชีวิตระหว่าง 16 - 24 คน) ฝ่ายไทยเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 5 คน ฝรั่งเศสต้องการให้ลงโทษพระยอดเมืองขวาง รัฐบาลไทยจึงตั้ง “ศาลรับสั่งพิเศษ” ขึ้นมาพิจารณาคดีนี้และมีคำตัดสินว่า พระยอดเมืองขวางไม่ผิด เพราะเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสไม่พอใจจึงเรียกร้องให้ไทยตั้ง “ศาลผสม” ฝรั่งเศส-ไทย ขึ้นทำหน้าที่พิพากษาคดี ทำให้ฝ่ายไทยไม่พอใจมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงกับทรงปรารภว่า “แลไม่เห็นเลยว่าจะจบเพียงใด กว่าจะได้ตัดหัวพระยอด...” ศาลผสมได้ตัดสินคดีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2437 ว่าพระยอดเมืองขวางมีความผิดให้จำคุกเป็นเวลา 20 ปี พระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่จนเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2441 จึงได้รับการปล่อยตัวโดยข้อตกลงระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

การเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2440 และ 2450

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 และ 125

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Tags:

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 การลงนามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 เหตุการณ์สืบเนื่องสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 ดูเพิ่มสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112กรุงเทพมหานครประธานาธิบดีฝรั่งเศสประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112สาธารณรัฐฝรั่งเศส

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จักรภพ ภูริเดชโลจิสติกส์ดวงใจเทวพรหมท้องที่ตำรวจพชร จิราธิวัฒน์ฟุตซอลเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างซน ฮึง-มินเกรซ มหาดำรงค์กุลภาคใต้ (ประเทศไทย)ทวีปแอฟริกาหัวใจไม่มีปลอมประเทศสวีเดนคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นประวัติยูทูบดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์จังหวัดภูเก็ตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ณฐพร เตมีรักษ์จังหวัดอุบลราชธานีอารยา เอ ฮาร์เก็ตจังหวัดเพชรบูรณ์อัสซะลามุอะลัยกุมค็อบบี ไมนูธีรเดช เมธาวรายุทธสงกรานต์ในประเทศไทยบัลลังก์ลูกทุ่งเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)กังฟูแพนด้า 4โรงเรียนชลกันยานุกูลปภาวดี ชาญสมอนกติกาฟุตบอลโมเสส2สามก๊กเอกซ์เจแปนรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ชานน สันตินธรกุลสินจัย เปล่งพานิชมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กคิม โก-อึนธิษะณา ชุณหะวัณอินเทอร์เน็ตภาษาพม่าบูมเมอแรง (ประเทศไทย)กระทรวงในประเทศไทยFประชาธิปไตยมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์หลานม่าจังหวัดราชบุรีเอฟเอคัพฉัตรชัย เปล่งพานิชอสุภปรีดี พนมยงค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)สาปซ่อนรัก4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ปานวาด เหมมณีระบบตี๋ เหรินเจี๋ยรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่พงศกร เมตตาริกานนท์มหาวิทยาลัยกรุงเทพสติปัฏฐาน 4ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์FBรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)บอดี้สแลมชาติชาย ชุณหะวัณ🡆 More