ศรีรัศมิ์ สุวะดี: อดีตพระวรชายา

พลตรีหญิง ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี พระนามเดิม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ.

2514) เป็นอดีตพระวรชายาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร


ศรีรัศมิ์ สุวะดี

ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 (52 ปี)
จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (BMS, พ.ศ. 2545)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (MS, พ.ศ. 2550)
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ. 2544–2557)
บุตรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ
ญาติพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ (น้า)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ ไทย
แผนก/สังกัดศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ กองทัพบกไทย
ชั้นยศศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ พลตรี
บังคับบัญชาทหารรักษาพระองค์
ลายมือชื่อ
ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ

พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ได้อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ในเวลาต่อมา จนในปี 2557 มีข่าวริบนามสกุลพระราชทานและกวาดล้างเครือข่ายของพระองค์ ซึ่งสื่อมองว่าเป็นการหย่าร้างของทั้งสอง สุดท้ายท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ ได้ถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงค์กับทั้งได้รับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ประวัติ

พื้นฐานครอบครัวและการศึกษา

ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี มีชื่อเล่นว่า อี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดห้าคน ของอภิรุจ สุวะดี และวันทนีย์ (สกุลเดิม: เกิดอำแพง) พื้นเพเดิมเป็นชาวจังหวัดสมุทรสงคราม บิดาเป็นชาวตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนมารดาเป็นชาวมอญจากตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์มีพี่สาวและพี่ชายคือ สุดาทิพย์ ม่วงนวล, ณรงค์ สุวะดี ส่วนน้องสาวและน้องชายคือ ปณิดา สุวะดี และณัฐพล สุวะดี อดีตราชองครักษ์เวร ส่วนพลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เป็นน้าของเธอ

ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดสุนทรสถิต (สามัคคีวิทยาคม) ในอำเภอบ้านแพ้ว ระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุกูลราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดน้อยใน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ก่อนจะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (หลักสูตร 4 ปี) เมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2545 และสำเร็จการศึกษาปริญญาโท หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาวิชาการพัฒนาการครอบครัวและเด็ก คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.94

เข้าสู่พระราชวงศ์

ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ 
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ กับท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา ปี พ.ศ. 2550

ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์เริ่มเข้าถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยรับผิดชอบหน้าที่การงานในฐานะข้าราชการพลเรือนในพระองค์ นอกจากนี้ยังได้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในด้านศิลปาชีพ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ต่อมาเข้ารับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น "หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา" เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวว่า

ตอนนี้อยู่เป็นครอบครัว มีกันอยู่ 4 คน มีเรา หม่อม พระองค์ภา และท่านหญิง อยู่กับหม่อมมาตั้งแต่ปี 2536 อยู่มานาน รู้จักกันมา 9-10 ปีแล้ว ดูใจกันมานานแล้ว [...] เราอยากจะสร้างครอบครัวขึ้นมาให้ดี หม่อมมีหน้าที่ดูแลเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้าน ดูแลข้าราชบริพาร รวมทั้งถวายงานสมเด็จ (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) เราใช้ชีวิตกันแบบสบาย ๆ ไม่มีอะไร [...] เราอายุ 50 ปีแล้ว ไม่อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ อยากได้ครอบครัวที่ดี ที่คนพอใจเป็นประโยชน์ คบได้ ไม่ใช่เป็นการเอาอะไรมาใส่ประชาชน แต่ขอให้ประชาชนยอมรับว่าคนนี้ใช้ได้ ถ้าเป็นหม่อมในพระบรมฯ ทุกคนก็ต้องกราบไหว้ มันก็พัง

พระบิดาและพระมารดาของพระองค์รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "อัครพงศ์ปรีชา" เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 หม่อมศรีรัศมิ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และได้ประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร พระราชโอรส เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 ภายในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548

ทรงขอลาออกจากฐานันดรศักดิ์

กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศขณะนั้น) มีหนังสือลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 แจ้งถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน "อัครพงศ์ปรีชา" โดยให้ผู้ใช้ชื่อสกุลพระราชทานนี้ในปัจจุบันกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม โดยก่อนหน้านั้นมีการกวาดล้างพระญาติใกล้ชิดของพระองค์ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยทั้งหมดกลับไปใช้สกุลเดิมก่อนพระราชทานคือ "เกิดอำแพง" ต่อมาข้อมูลนามสกุลนั้นผิด เมื่อตรวจสอบแล้วจึงเปลี่ยนให้ใช้ชื่อสกุลว่า "สุวะดี" อันเป็นชื่อสกุลเดิมทีแท้จริง ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งสำนักข่าวบีบีซีมองว่า นี่อาจเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การหย่าร้างของทั้งสองพระองค์

วันที่ 12 ธันวาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (ยศในขณะนั้น) ได้ทรงนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยศในขณะนั้น) เป็นลายลักษณ์อักษรว่าขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557 การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานเงิน 200,000,000 บาท แก่พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์เพื่อทรงใช้ในการดำรงพระชนม์ชีพและทรงดูแลครอบครัว มีข่าวกระทรวงการคลังยืนยันว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยศในขณะนั้น) ขอรับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และยังขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเผยแพร่เอกสารที่ไม่เหมาะสมในสื่อทุกชนิด

ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ 
ประกาศการลาออกจากฐานันดรศักดิ์ ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 13 ธันวาคม สังคมออนไลน์ส่งภาพศรีรัศมิ์ทรงทำบัตรประชาชนใหม่ต่อ ๆ กัน เธอทรงใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว" และพระองค์ได้ทรงย้ายออกจากวังศุโขทัยเสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักในอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี อย่างไรก็ตามเธอจะมีคำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" เนื่องจากพระองค์ได้ทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ทั้งนี้ มติชนออนไลน์ ได้ให้ข้อมูลว่าพระองค์ได้ทรงลาออกจากการเป็นข้าราชการทหาร วันที่ 17 ธันวาคม เธอเขียนจดหมายขอบคุณสื่อมวลชนที่ติดตาม และขอปฏิบัติธรรมเงียบ ๆ กับครอบครัว เนื่องจากมีสื่อมวลชนติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดจนรบกวนการปฏิบัติธรรมของพระองค์

กรณียกิจ

กรณียกิจส่วนใหญ่ของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ ขณะเป็นพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารนั้น จะเน้นในด้านครอบครัวและเด็กเป็นหลัก โดยโครงการแรกของคือ โครงการสายใยรักจากแม่สู่ลูก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่รณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว เพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันครอบครัว และลดปัญหาสังคมทางหนึ่ง ต่อมาได้มีดำริในการเปิด ศูนย์ ๓ วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว อันจะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นวงจรทุกช่วงวัย ระหว่างวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยชรา ให้มีความสัมพันธ์กลมเกลียว

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงประกอบพระกรณียกิจครั้งสุดท้ายก่อนลาออกจากฐานันดรศักดิ์ในพิธีเปิดมหกรรม 9 ปี สายใยรักแห่งครอบครัว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2557

ด้านสาธารณสุข

มีพระดำริจัดตั้ง ศูนย์ศรีทวีรัก อันมีความหมายว่า "ศูนย์แห่งการแบ่งปันและเพิ่มพูนความรัก" มีหลักการเดียวกับสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่เปลี่ยนมาเป็นบริการแก่ผู้สูงอายุแทน โดยให้ลูกหลานนำผู้สูงอายุมาฝากในเวลากลางวันเพื่อไปประกอบอาชีพ ณ ที่นั่นผู้สูงอายุก็จะพบปะกับสหายวัยเดียวกัน บริการผู้สูงวัยอายุระหว่าง 65-80 ปี ให้ได้รับการพักผ่อนอย่างมีความสุขในบั้นปลายชีวิต

มีการสร้าง ศุโขโยคะ ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างสุขภาพ ณ พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้ข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาใช้ประโยชน์ มีระบบการออกกำลังกายแบบ "ไจโรทานิก" (Gyrotonic) โดยกล่าวไว้ว่า "ไปเล่นที่เมืองนอกมา เห็นว่าอะไรดีก็นำเข้ามาให้ประชาชนได้เล่นกัน" ที่สุดศุโขโยคะ ได้ปิดตัวลงในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

นอกจากนี้มีการจัดตั้ง "กองทุนทีปังกรนภัทรบุตร" ที่นำเงินไปสนับสนุนโครงการที่ช่วยเหลือทารก ซึ่งถือเป็นโครงการที่ผลักดันให้มีการจัดทำนโยบายสาธารณสุขระดับประเทศแก่ทารกวัยตั้งแต่ 0-5 ปี รวมไปถึงการช่วยเหลือทารกที่คลอดก่อนกำหนด และการรณรงค์และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร

ด้านสาธารณประโยชน์

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (พระยศในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ

ในด้านสาธารณประโยชน์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น หลังอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้ทรงร่วมกิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยการทำความสะอาดพื้นอาคารและกระจกของอาคารศรีรัศมิ์ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยก่อนหน้านี้ได้ทรงเยี่ยมผู้ประสบภัย และประทานถุงยังชีพแก่ราษฎรในต่างจังหวัด

ทั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้ทรงอุปการะเด็กกำพร้า คือ จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อปี พ.ศ. 2554 รวมทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูกลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2556 เป็นต้น

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

  • ศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว
  • มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ในพระอุปถัมภ์ฯปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อมูลนิธิเป็น มูลนิธีส่งเสริมการพัฒนาบุคคล
  • กองทุนทีปังกรนภัทรบุตร

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร
(พ.ศ. 2548 — พ.ศ. 2557)
ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ 
ธงประจำพระอิสริยยศ
ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ 
ตราประจำพระองค์
ศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ 
ธงประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม

พระอิสริยยศและคำนำหน้าพระนาม

  • ศรีรัศมิ์ สุวะดี (9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 — 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  • หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 — 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร (15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 — 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
  • ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (11 ธันวาคม พ.ศ. 2557 — ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระยศทหาร

พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี
รับใช้กองทัพบกไทย
ประจำการ1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ชั้นยศศรีรัศมิ์ สุวะดี: ประวัติ, กรณียกิจ, พระเกียรติยศ  พลตรีหญิง
  • ว่าที่ร้อยตรีหญิง และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ (5 เมษายน พ.ศ. 2555)
  • ร้อยตรีหญิง และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (12 เมษายน พ.ศ. 2555)
  • พันเอกหญิง (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555)
  • ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักเวชศาสตร์ครอบครัว กรมแพทย์ทหารบก (1 พฤศจิกายน 2556)
  • พลตรีหญิง (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556)

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ปริญญากิตติมศักดิ์ สถาบัน อ้างอิง
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการปฐมวัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ศรีรัศมิ์ สุวะดี ประวัติศรีรัศมิ์ สุวะดี กรณียกิจศรีรัศมิ์ สุวะดี พระเกียรติยศศรีรัศมิ์ สุวะดี สถานที่อันเนื่องด้วยนามศรีรัศมิ์ สุวะดี อ้างอิงศรีรัศมิ์ สุวะดี แหล่งข้อมูลอื่นศรีรัศมิ์ สุวะดี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

น้ำอสุจิอดิศัย โพธารามิกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังณัฐพล นาคพาณิชย์รายการรหัสไปรษณีย์ไทยหลานม่าเครื่องคิดเลขสงครามเวียดนามสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์บยอน อู-ซ็อกมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงไทยลีก 2คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติคริสเตียโน โรนัลโดสล็อตแมชชีนณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลมาริลิน เคท การ์ดเนอร์การ์ตูนเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีทวิตเตอร์แพนเซ็กชวลนิชคุณ ขจรบริรักษ์จีเอ็มเอ็มทีวีนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์กติกาฟุตบอลลูกัส บัซเกซจุดทิศหลักจังหวัดสระบุรีพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกศรีรัศมิ์ สุวะดีภูริ หิรัญพฤกษ์ลิงเซบิยาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอมีนา พินิจสามเณรอาลิง โฮลันลมเล่นไฟกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์หม่ำ จ๊กมกรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)เครยอนชินจังหวยพัฒนาหม่อมเจ้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลกูเกิล แผนที่กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากรประเทศรัสเซียสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนในฤดูกาล 2019–20ประเทศเกาหลีจังหวัดพิจิตรประเทศออสเตรียจังหวัดมหาสารคามยูฟ่ายูโรปาลีกรายชื่อสัตว์ราณี แคมเปนสำนักพระราชวังจังหวัดศรีสะเกษอลิชา หิรัญพฤกษ์นิภาภรณ์ ฐิติธนการโป๊กเกอร์วัดพระธรรมกายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ฉัตรชัย เปล่งพานิชมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2023–24จังหวัดเพชรบูรณ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชพระองค์เจ้าดำภรภัทร ศรีขจรเดชาชลน่าน ศรีแก้วโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าสถิตย์พงษ์ สุขวิมล🡆 More