คู่มือการเขียน/ผัง

คู่มือนี้นำเสนอผังโดยทั่วไปของบทความวิกิพีเดีย ซึ่งรวมส่วนที่ปกติบทความมี การเรียงลำดับส่วน และลีลาการจัดรูปแบบสำหรับส่วนย่อยต่าง ๆ ของบทความ

An article with a table of contents block and an image near the start, then several sections
ผังบทความตัวอย่าง (คลิกที่ภาพเพื่อชมขนาดใหญ่กว่า)

ลำดับส่วนย่อยของบทความ

บทความสั้นควรมีอย่างน้อยส่วนนำและอ้างอิง เมื่อผู้เขียนต่อเติมบทความ ส่วนย่อยที่ใช้ตรงแบบจะปรากฏตามลำดับดังนี้ แม้อาจไม่ปรากฏในบทความเดียวกันพร้อมกันก็ได้

  1. ก่อนส่วนนำ
    1. หมายเหตุบน (hatnote)
    2. คำอธิบายอย่างสั้น
    3. แม่แบบ {{บทความคัดสรร}} หรือ {{บทความคุณภาพ}} ตามสถานภาพของบทความ
    4. ป้ายระบุลบ/ป้องกัน
    5. ป้ายระบุบำรุงรักษา/พิพาท
    6. กล่องข้อมูล
    7. กล่องเตือนอักขระต่างประเทศ
    8. ภาพ
    9. กล่องนำทาง (กล่องนำทางส่วนหัว)
  2. เนื้อความ
    1. ส่วนนำ (หรือเรียกบทนำ)
    2. สารบัญ
    3. เนื้อหา
  3. ภาคผนวก
    1. ผลงานหรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่ (สำหรับชีวประวัติ)
    2. ดูเพิ่ม
    3. หมายเหตุและอ้างอิง (สามารถแบ่งเป็นสองส่วนในระบบการอ้างอิงบางระบบ)
    4. เอกสารอ่านเพิ่ม
    5. แหล่งข้อมูลอื่น (External links)
  4. ส่วนล่าง
    1. กล่องสืบตำแหน่งและกล่องภูมิศาสตร์
    2. แม่แบบนำทางอื่น (กล่องนำทางส่วนล่าง)
    3. พิกัดภูมิศาสตร์ (ถ้าไม่ระบุในกล่องข้อมูล)
    4. แม่แบบ Authority control (ให้ taxonbar อยู่เหนือ Authority control)
    5. การเรียงลำดับโดยปริยาย
    6. หมวดหมู่
    7. แม่แบบโครง

ส่วนเนื้อความ

คู่มือการเขียน/ผัง 
ส่วนเนื้อความปรากฏหลังส่วนนำและสารบัญ (คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่)

บทความที่ยาวกว่าโครงโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และส่วนที่มีความยาวระดับหนึ่งมักแบ่งออกเป็นย่อหน้าต่าง ๆ การแบ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมความน่าอ่านของบทความ ชื่อและลำดับของพาดหัวส่วนมักตัดสินจากโครงการวิกิที่เกี่ยวข้อง ทว่าบทความยังควรยึดหลักการจัดระเบียบและเขียนอย่างดีที่เกี่ยวข้องกับส่วนและย่อหน้าอยู่

พาดหัวและส่วน

พาดหัวนำเสนอส่วนและส่วนย่อย ทำให้บทความกระจ่างโดยแบ่งข้อความ จัดระเบียบเนื้อหา และเติมสารบัญ ส่วนและส่วนย่อยที่สั้นมากหรือยาวมากในบทความดูเกะกะและขัดขวางความลื่นไหลของร้อยแก้ว ย่อหน้าสั้นและประโยคเดี่ยวไม่ควรมีส่วนหัวของตัวเอง

พาดหัวมีลำดับขั้นหกระดับ เรียงตั้งแต่ 1 ถึง 6 ระดับของพาดหัวนิยามจากจำนวนเครื่องหมายเท่ากับที่อยู่ขนาบชื่อพาดหัวนั้น พาดหัว 1 (=พาดหัว 1=) ก่อกำเนิดอัตโนมัติเป็นชื่อบทความ และไม่เหมาะสมอยู่ในเนื้อความของบทความ ส่วนเริ่มจากระดับสอง (==พาดหัว 2==) โดยมีส่วนย่อยเริ่มที่ระดับสาม (===พาดหัว 3===) และส่วนย่อยระดับถัดไปที่ระดับสี่ (====พาดหัว 4====) ห้าและหก ส่วนควรเรียงลำดับกันไป คือให้ไม่ข้ามระดับจากส่วนไปยัส่วนของส่วนย่อย ระหว่างส่วนควรคั่นด้วยการแบ่งบรรทัดเดี่ยว เพราะบรรทัดว่างหลายบรรทัดในหน้าต่างแก้ไขจะทำให้เกิดที่ว่างสีขาวมากเกินไปในบทความ ไม่มีความจำเป็นต้องใส่บรรทัดว่างระหว่างพาดหัวและพาดหัวย่อย เมื่อเปลี่ยนหรือลบพาดหัว ลองเพิ่มแม่แบบหลักยึดที่มีชื่อส่วนหัวเดิมเพื่อรองรับแหล่งข้อมูลอื่นที่เข้ามาและวิกิลิงก์

ชื่อและลำดับของพาดหัวส่วน

เนื่องจากความหลากหลายของหัวข้อในวิกิพีเีดย จึงไม่มีมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติโดยทั่วไปว่าด้วยชื่อหรือลำดับของพาดหัวส่วนภายในเนื้อความของบทความ การปฏิบัติที่ยึดถือกันทั่วไปคือให้ตั้งชื่อและเรียงลำดับส่วนโดยอาศัยบทความคล้ายกันเป็นแบบอย่าง ผู้มีส่วนร่วมควรยึดแบบจำลองความเห็นพ้องเพื่อตั้งระเบียบ

แม่แบบส่วนและลีลาสรุป

เมื่อส่วนเป็นบทสรุปของบทความอื่นซึ่งให้อรรถาธิบายสมบูรณ์ของส่วนนั้น ควรปรากฏลิงก์ไปยังบทความนั้นทันทีหลังพาดหัวส่วน คุณสามารถใช้แม่แบบ {{บทความหลัก}} เพื่อก่อกำเนิดลิงก์ "บทความหลัก" ในลีลาหมายเหตุบนของวิกิพีเดีย

หากบทความตั้งแต่หนึ่งบทความขึ้นไปให้สารสนเทศหรือรายละเอียดเพิ่มเติม (นอกเหนือจากอรรถาธิบายสมบูรณ์ ดูข้างต้น) การพาดพิงถึงบทความเช่นว่าอาจวางไว้ทันทีหลังพาดหัวส่วนสำหรับส่วนนั้น หากทำแล้วไม่ซ้ำซ้อนกับวิกิลิงก์ในข้อความ การพาดพิงเพิ่มเติมควรจัดกลุ่มร่วมกับแม่แบบ {{บทความหลัก}} (ถ้ามี) คุณสามารถใช้แม่แบบต่อไปนี้เพื่อก่อกำเนิดต่อไปนี้

ย่อหน้า

ส่วนปกติประกอบด้วยร้อยแก้วหลายย่อหน้า ระหว่างย่อหน้าควรเว้นบรรทัดว่างบรรทัดเดียวเช่นเดียวกับส่วนต่าง ๆ ไม่ควรใช้จุดนำในส่วนนำของบทความ และไม่ควรใช้ในเนื้อความยกเว้นเพื่อแบ่งข้อความปริมาฯมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหัวข้อนั้นต้องใช้ความพยายามเข้าใจอย่างมาก ทว่า รายการจุดนำใช้ในส่วนอ้างอิงและเอกสารอ่านเพิ่มท้ายบทความ จุดนำปกติไม่คั่นด้วยบรรทัดว่าง เพราะจะทำให้เกิดปัญหาด้านความน่าอ่าน

ควรให้มีย่อหน้าประโยคเดียวน้อยที่สุด เพราะสามารถยับยั้งความลื่นไหลของข้อความได้ เช่นเดียวกับที่ย่อหน้าที่มีความยาวมากเกินไปจะทำให้อ่านยาก ย่อหน้าสั้นและประโยคเดียวโดยทั่วไปไม่ควรมีพาดหัวย่อยของมันเอง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ควรใช้จุดนำแทน

ภาคผนวกและข้อความท้ายหน้ามาตรฐาน

พาดหัว

เมื่อใช้ส่วนภาคผนวก ควรปรากฏที่ท้ายบทความ พร้อมกับ ==พาดหัวระดับ 2== ตามด้วยข้อความท้ายเรื่องต่าง ๆ เมื่อเป็นประโยชน์ในการแบ่งส่วนนี้ย่อยลงไป (ตัวอย่างเช่น เพื่อแยกรายการบทความนิตยสารจากรายการหนังสือ) ให้ใช้พาดหัวระดับ 3 (===หนังสือ===) แทนพาดหัวรายการนิยาม (;หนังสือ)

งานหรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่

เนื้อหา: งานที่สร้างโดยสิ่งที่เป็นหัวเรื่องของบทความในลักษณะรายการจุดนำที่ปกติเรียงลำดับตามเวลา

ชื่อเรื่อง: มีใช้หลายชื่อขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง มักใช้ "งาน" เมื่อรายการนั้นรวมสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์เผยแพร่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย (เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ จิตรกรรม การออกแบบการเต้น หรือการออกแบบสถาปัตยกรรม) หรือหากรวมงานหลายประเภท "บรรณานุกรม" "งานเพลง" หรือ "งานภาพยนตร์" บางทีใช้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดาม ไม่ควรใช้ "บรรณานุกรม" เพราะไม่ชัดเจนว่าจำกัดรวมเฉพาะงานของสิ่งที่เป็นของหัวเรื่องบทความหรือไม่

ส่วน "ดูเพิ่ม"

เนื้อหา: รายการจุดนำซึ่งรวบรวมลิงก์ภายในไปยังบทความวิกิพีเดียที่สัมพันธ์ พิจารณาใช้ {{Columns-list}} หรือ {{Div col}} ถ้ารายการยาวมาก รายการควรรเรียงลำดับตามตรรกะ ตามเวลา หรืออย่างน้อยตามพยัญชนะ ลิงก์ในส่วน "ดูเพิ่ม" จะเป็นหน้าที่มีความเกี่ยวข้องโดยอ้อมกับหัวข้อบทความก็ได้ เพราะวัตถุประสงค์หนึ่งของลิงก์ "ดูเพิ่ม" คือเพื่อให้ผู้อ่านสำรวจหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กันผิวเผินด้วย

ผู้เขียนควรใส่ความเห็นประกอบสั้น ๆ เมื่อความเกี่ยวข้องของลิงก์ไม่ได้ชัดเจนทันที เมื่อความหมายของคำนั้นไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วไป หรือคำนั้นกำกวม ตัวอย่างเช่น

    • บุคคลที่เกี่ยวข้อง – ผู้ประสบความสำเร็จอย่างเดียวกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2548
    • ฮอโลคอสต์ – พันธุฆาตโดยนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

การตัดสินว่าลิงก์ใดควรอยู่ในส่วน "ดูเพิ่ม" หรือไม่นั้นสุดท้ายเป็นปัญหาการวินิจฉัยทางบรรณาธิการและสามัญสำนึก ลิงก์ในส่วน "ดูเพิ่ม" ควรมีความเกี่ยวข้อง ควรสะท้อนลิงก์ที่จะมีการนำเสนอในบทความที่ครอบคลุมเกี่ยวกับหัวข้อนั้น และควรจำกัดอยู่ในจำนวนที่สมเหตุผล ส่วนนี้ไม่ได้บังคับว่าต้องมี เพราะบทความคุณภาพสูงและครอบคลุมจำนวนมากไม่มีส่วน "ดูเพิ่ม"

ส่วน "ดูเพิ่ม" ไม่ควรโยงไปยังหน้าที่ยังไม่ได้สร้าง (ลิงก์แดง) หรือไปหน้าแก้ความกำกวม (ยกเว้นใช้แก้ความกำกวมในหน้าแก้ความกำกวมอีกทีหนึ่ง) เป็นกฏทั่วไปว่า ส่วน "ดูเพิ่ม" ไม่ควรซ้ำลิงก์ที่ปรากฏในเนื้อความของบทความแล้ว หรือกล่องนำทาง

ลิงก์ภายในอื่น: ลิงก์ {{สถานีย่อย}} และ {{Wiki books}} ปกติควรวางอยู่ในส่วนนี้

ชื่อ: ชื่อที่ใช้กันบ่อยที่สุดของส่วนนี้ คือ "ดูเพิ่ม"

หมายเหตุและการอ้างอิง

คู่มือการเขียน/ผัง 
หมายเหตุและเชิอรรถ ปรากฏหลัง ดูเพิ่ม (คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่)

เนื้อหา: ส่วนนี้ หรือกลุ่มส่วนนี้ อาจประกอบด้วยเนื้อหาต่อไปนี้

  1. เชิงอรรถอธิบายซึ่งให้สารสนเทศที่มีรายละเอียดมากเกินหรือไม่สละสลวยจนใส่ในส่วนเนื้อความของบทความไม่ได้
  2. เชิงอรรถอ้างอิง (อาจเป็นการอ้างอิงแบบสั้นหรือสมบูรณ์ก็ได้) ซึ่งเชื่อมโยงเนื้อความจำเพาะในบทความกับแหล่งที่มาหนึ่ง ๆ
  3. การอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างสมบูรณ์ หากมีการใช้การอ้างอิงสั้นในเชิงอรรถแล้ว
  4. แหล่งอ้างอิงทั่วไป (การอ้างอิงบรรณานุกรมสมบูรณ์ซึ่งมีการค้นคว้าในการเขียนบทความแต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับเนื้อความอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจนในบทความ)

ผู้เขียนสามารถเลือกวิธีการอ้างอิงวิธีใดก็ได้

หากมีเชิงอรรถอ้างอิงและเชิงอรรถอธิบาย ผู้ใช้อาจรวมทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นส่วนเดี่ยว หรือแยกกันโดยใช้ฟังก์ชันเชิงอรรถจัดเป็นกลุ่ม (grouped footnotes) การอ้างอิงทั่วไปและการอ้างอิงสมบูรณ์อาจรวมหรือแยกกันได้ในทำนองเดียวกัน (เช่น "แหล่งอ้างอิง" และ "แหล่งอ้างอิงทั่วไป") เบ็ดเสร็จแล้วอาจมีส่วนได้ตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงสี่ส่วน

ชื่อเรื่อง: ผู้เขียนอาจเลือกชื่อเรื่องส่วนที่สมเหตุสมผลชื่อใดก็ได้ ตัวเลือกที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ "หมายเหตุ", "เชิงอรรถ" หรือ "งานที่อ้าง"

สำหรับชื่ออื่น (เช่น "บรรณานุกรม") อาจใช้ได้ แต่ "บรรณานุกรม" อาจสับสนกับรายการงานที่บุคคลที่เป็นหัวเรื่องพิมพ์

หนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่ม

เนื้อหา: รายการจุดนำที่ประกอบด้วยสิ่งพิมพ์เผยแพร่จำนวนสมเหตุสมผลซึ่งจะช่วยผู้อ่านที่สนใจให้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นหัวเรื่องของบทความเพิ่มเติม ปกติเรียงลำดับตามพยัญชนะ และจะมีหรือไม่มีก็ได้ ผู้เขียนอาจใส่ความเห็นประกอบสั้น ๆ ได้ สิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่แสดงรายการในส่วนนี้จะมีการอ้างในลีลาการอ้างอิงแบบเดียวกับที่ส่วนที่เหลือของบทความใช้ ส่วนหนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่มไม่ควรทำซ้ำเนื้อหาของส่วนแหล่งข้อมูลอื่น และปกติไม่ควรทำซ้ำเนื้อหาของส่วนอ้างอิง ยกเว้นส่วนอ้างอิงยาวเกินกว่าผู้อ่านจะใช้เป็นรายการอ่านทั่วไปได้ ส่วนนี้ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นที่เก็บแหล่งอ้างอิงทั่วไปหรือการอ้างอิงสมบูรณ์ที่ใช้สร้างเนื้อหาบทความ

แหล่งข้อมูลอื่น

เนื้อหา: รายการจุดนำที่ประกอบ้ดวยเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องแนะนำ ซึ่งแต่ละลิงก์มีคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ ไฮเปอร์ลิงก์เหล่านี้ไม่ควรปรากฏในข้อความส่วนเนื้อความของบทความ หรือลิงก์ที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงปกติไม่ควรใช้ซ้ำในส่วนนี้ ส่วนนี้อาจใส่ไว้ร่วมกับหรือแทนส่วน "หนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่ม" โดยขึ้นอยู่กับสภาพของเนื้อหาลิงก์

การเชื่อมโยงไปยังโครงการพี่น้อง

การเชื่อมโยงไปยังโครงการพี่น้องของวิกิพีเดียและ {{Spoken Wiki}} (วิกิพีเดีย:โครงการวิกิบทความเสียง) ปกติควรปรากฏใน "แหล่งข้อมูลอื่น" ไม่ใช่ภายใต้ "ดูเพิ่ม" ถ้าบทความไม่มีส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" ให้วางลิงก์ข้ามโครงการไว้บนสุดของส่วนสุดท้ายของบทความ ยกเว้น วิกิพจนานุกรมและวิกิซอร์ซที่สามารถเชื่อมโยงในบรรทัดได้ (เช่น ไปยังคำที่ไม่คุ้นเคยหรือข้อความของเอกสารที่กำลังกล่าวถึง)

หากจะกล่าวให้แม่นยำขึ้น แม่แบบชนิดกล่องอย่าง {{Commons category}} ที่แสดงด้านขวามือจะต้องวางไว้ ณ จุดเริ่มต้นของส่วนสุดท้ายของบทความ (ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น") เพื่อให้กล่องปรากฏอยู่ข้าง ไม่ใช่ใต้ รายการ อย่าสร้างส่วนที่มีแม่แบบชนิดกล่องเป็นเนื้อหาเดียว

หากแม่แบบชนิดกล่องใช้ไม่ได้ ไม่ว่าเหตุผลทำให้เกิดลำดับกล่องจัดชิดขวายาวห้อยลงจากด้านล่างสุดของบทความ หรือเนื่องจากไม่มีแหล่งข้อมูลอื่นนอกจากโครงการพี่น้อง ให้พิจารณาใช้แม่แบบ "ในบรรทัด" แทน เช่น {{Commons category-inline}} ในส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" เพื่อให้การเชื่อมโยงไปยังโครงการพี่น้องปรากฏเป็นรายการ ดังนี้

  • คู่มือการเขียน/ผัง  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Wiki Foundation

แม่แบบนำทาง

เนื้อหา: แม่แบบนำทางและกล่องนำทางท้ายเรื่อง อย่าง "กล่องสืบตำแหน่ง" และกล่องภูมิศาสตร์ (ตัวอย่างเช่น {{Geographic location}}) กล่องนำทางส่วนใหญ่ไม่ปรากฏในบทความวิกิพีเดียฉบับพิมพ์

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

ซึ่งจะได้

ดูเพิ่ม

Tags:

คู่มือการเขียน/ผัง ลำดับส่วนย่อยของบทความคู่มือการเขียน/ผัง ส่วนเนื้อความคู่มือการเขียน/ผัง ภาคผนวกและข้อความท้ายหน้ามาตรฐานคู่มือการเขียน/ผัง ดูเพิ่มคู่มือการเขียน/ผัง เชิงอรรถคู่มือการเขียน/ผัง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)ฮารุ สุประกอบสล็อตแมชชีนกกพระศรีอริยเมตไตรยตารางธาตุฟุตซอลโลก 2016โอลิมปิกฤดูร้อน 2024ปารีณา ไกรคุปต์กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)อาเลฆันโดร การ์นาโชเบบีมอนสเตอร์หลานม่าเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันคลิปวิดีโอวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024ยูฟ่ายูโรปาลีกสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ระบบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโป๊กเกอร์FBสังโยชน์จังหวัดบึงกาฬรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรประเทศออสเตรเลียก็อตซิลลาพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไดโนเสาร์จังหวัดนนทบุรีณัฐฐชาช์ บุญประชมวันวิสาขบูชานารีริษยาชลน่าน ศรีแก้วกรมการปกครองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพรรคชาติพัฒนากล้าสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดไทโอยูเรียเอฟเอคัพสำนักพระราชวังไททานิค (ภาพยนตร์)ความเสียวสุดยอดทางเพศกูเกิลพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดวรกมล ชาเตอร์วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ไพรวัลย์ วรรณบุตรศุกลวัฒน์ คณารศท้าวสุรนารีมหาวิทยาลัยมหิดลดราก้อนบอลประเทศอินเดียอินเทอร์เน็ตรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นสุทิน คลังแสงสมศักดิ์ เทพสุทินรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยเซเรียอาสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนวิทยุเสียงอเมริกาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพซอร์ซมิวสิกข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีชาลี ไตรรัตน์🡆 More